xs
xsm
sm
md
lg

นักวิจัยผสมเทียม “ปลาดุกทะเล” สำเร็จครั้งแรกในไทย

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งฯ วิจัยเพาะพันธ์ปลาดุกทะเลตั้งแต่ปี 2548 จนประสบผลสำเร็จเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ชี้ทะเลสาบสงขลาสามารถเลี้ยงกุ้งกุลาดำกว่า 200,000 ไร่

นายสุพล ตั่นสุวรรณ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง (พื้นที่ทะเลสาบสงขลาพัทลุง นครศรีธรรมราช) เปิดเผยว่า ทะเลสาบที่สามารถใช้ประโยชน์เพื่อฟาร์มทะเลชุมชน มีพื้นที่กว่า 235,000 ไร่ แต่ตอนนี้มีการใช้ฟาร์มทะเลชุมชนเพียงประมาณ 30,000 ไร่ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านประมงได้ให้ความเห็นว่ากุ้งที่จับได้จากฟาร์มทะเลชุมชนมีคุณภาพดี ไม่มีสารตกค้าง ถ้านำมาพัฒนาจะได้กุ้งกุลาดำนำมาพัฒนาเกรดดี ก็จะได้ราคาดี

ทางสถาบันวิจัยยังพบกับความสำเร็จในการวิจัยเพาะพันธุ์ปลาดุกทะเลเป็นครั้งแรก และปลาดุกทะเลมีความสำคัญทางเศรษฐกิจเป็นที่นิยมบริโภค ราคาค่อนข้างสูง ราคา 120 – 150 บาท / กก. มีมากชลบุรี สมุทรสาคร สมุทรปราการ สุราษฎร์ธานี สงขลา ปัตตานี ระนอง สตูล จันทบุรี และตราด ในขณะที่ตามแหล่งน้ำจืดกำลังกำลังลดน้อยลง จึงมีความจำเป็นต้องพัฒนาศึกษาเทคนิคการเพาะ อนุบาลปลาดุกทะเลแล้วปล่อยลงในน้ำแหล่งธรรมชาติ และเป็นการส่งเสริมให้เกษตรกรให้เลี้ยงเป็นอาชีพด้วย

“สถาบันวิจัยได้พยายามศึกษาวิจัยเพาะพันธุ์มาตั้งแต่ปี 2548 โดยการผสมเทียมหลายครั้งจนประสบความสำเร็จครั้งแรกของประเทศไทยก็ว่า เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2549 โดยใช้วิธีผสมเทียมรีดไข่จากแม่ปลาซึ่งใช้ฮอร์โมนเร่ง ได้ไข่ 3,600 ฟอง นำมาผสมกับเชื้อตัวผู้ แล้วนำไปฟัก ไข่ปลาเริ่มพัฒนาเป็นตัวภายใน 4 วัน หลังจากผสมและทยอยฟักออกเป็นตัวเรื่อย ๆ จนหมด ภายใน 6 วัน หลังจากผสม ได้ลูกปลาอายุ 1 วัน จำนวน 500 ตัว”

ขณะนี้การจับสัตว์น้ำในทะเลสาบขณะนี้จับได้มาก กุ้งขาว 500 – 600 กก. / วัน กุ้งหัวเล็ก 100 – 150 กก. / วัน กุ้งหัวมัน 200 – 300 กก. ปลาช่อน 60 -80 กก. / กก. ปลาหมอ 30 – 40 ก. / วัน ปลาโคบ 200 – 300 กก. / วัน ปลาหัวแข็งหนวดอ่อน 20-30 กก. / วัน ปลาแมว 10 – 20 กก. / วัน ส่วนกุ้งกุลาดำเพิ่งเริมปล่อยเมื่อเดือนกุมภาพันธ์
กำลังโหลดความคิดเห็น