อับดุลเลาะห์ ลออแมน
ศูนย์ข่าวอิศรา สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
ในหนังสือ “ฮิกายัต ปาตานี” ระบุว่า มัสยิดหลังนี้สร้างในสมัยการปกครองของสุลต่านมุฎ็อฟฟาร์ชาห์ โดยกล่าวความเป็นมาของการสร้างมัสยิดหลังนี้ ตามที่อาจารย์วัน มะโรหบุตร แปลลงในหนังสือ “เรื่องเล่าจากชาวใต้ ชุดที่ 2” เรื่อง “เล่าเรื่องเมืองปัตตานี ภาคที่ ๑” ตอนหนึ่ง เกี่ยวกับการสร้างมัสยิตหลังแรกที่เมืองปาตานีว่า
“ต่อมาก็มีชาวเมืองปาไซผู้หนึ่งชื่อว่า เช็คซอฟียุดดิน ได้มายังเมืองปัตตานี และมาสร้างบ้านเรือนอยู่ที่นอกกำแพงเมืองใกล้กับประตูเมือง เจ้าเมืองได้เชิญเช็คซอฟียุดดินเข้าไป ไต่ถามเรื่องเกี่ยวกับศาสนาอิสลาม เช็คซอฟียุดดีนได้กราบทูลว่า “อันเมืองอิสลามนั้นจะต้องมีมัสยิดสำหรับราษฎรจะได้กราบไหว้องค์อัลลอฮฺ จึงจะเป็นเมืองอิสลามอย่างสมบูรณ์ ถ้าหากไม่มีมัสยิดแล้วความเป็นอิสลามก็จะไม่ปรากฏเป็นที่ชัดแจ้ง"

“สุลต่านมุดาฟาร์ชาห์จึงรับสั่งบันดาราให้จัดสร้างมัสยิด*ตามคำแนะนำของเช็คซอฟียุดดิน และพระองค์ได้ทรงขนานนามเช็คซอฟียุดดินเป็นฟากิฮฺ (ผู้รู้ทางด้านศาสนาอิสลาม) ต่อจากนั้นศาสนาอิสลามก็เผยแพร่ออกไปจนถึงเมืองโกตามหาลิฆัยต่างก็ได้พากันเข้านับถือศาสนาอิสลาม ตามคำสอนของท่านนะบีมูฮำหมัด (ซ็อลลอลลอฮุ อะลัยฮิวะสัลลัม = ขอความสันติสุขจงประสบแด่ท่าน) อย่างไรก็ดี การปฏิบัติอันเป็นพฤติการณ์ของชาวกาฟิรฺนอกศาสนาเช่น การกราบไหว้ต้นไม้ หิน และภูตผีนั้น ชาวบ้านก็ยังหาได้งดเว้นไม่ คงงดเว้นแต่เฉพาะการกินเหล้าและกินหมูเท่านั้น ที่งดเว้นจริง ๆ”
ในเรื่องเกี่ยวกับการสร้างมัสยิดนั้น ต้นฉบับเล่มนี้ระบุให้สร้างมัสยิด (menyuruh berbuat mesjid) โดยไม่ได้ระบุว่า ทรงให้สร้างกี่หลัง แต่บางต้นฉบับ ระบุว่า ทรงรับสั่งให้สร้างมัสยิด 2 หลัง คือสร้างในเมือง 1 หลัง และที่ท่าเรือ (บานา) อีก 1 หลัง (Sebuah mesjid didalam negerinya dan sebuah mesjid di bandar / one mosque in the town and one by the harbour.)
ส่วนตำแหน่งที่เช็คศ็อฟยุดดีนได้รับ บางฉบับระบุแต่เพียง ฟะกีฮฺ (Fakih) เฉย ๆ แต่ในบางฉบับระบุว่า ศรีราชาฟะกีฮฺ (Seri Raja Fakih) หมายถึง ผู้ทรงความรู้แห่งพระราชา หรือแห่งราชสำนัก
เรื่องพฤติการณ์ของชาวเมืองครั้นรับอิสลามใหม่ ๆ ยังเหมือนเดิม คือทำทุกอย่างที่เคยทำในสมัยยังไม่ได้เป็นมุสลิม ที่งดเว้นเพียงแต่ กราบไหว้รูปเคารพกับกินหมูเท่านั้น (menyembah berhala dan makan babi / it was only the worship of idols and the eating of pork.) แต่อาจารย์วันฯ เผลอไปแปลว่า “การกินเหล้าและกินหมูเท่านั้น” ที่งดเว้นจริง ๆ
เรื่องสร้างมัสยิดกรือเซะนี้ “ฮิกายัตปาตานี” ระบุว่า สร้างในสมัยสุลต่านมุฎ็อฟฟาร์ ชาห์ (สิ้นพระชนม์ ค.ศ.1564) นักเขียนประวัติศาสตร์ปาตานีหลายท่านสับสน กล่าวคือ บางท่านเขียนว่า สร้างสมัยต่วนซูหลง บ้างก็ว่า สร้างสมัยหลงยูนุส (Alung Yunus)
ใน ฮิกายัตปาตานี ระบุว่า หลงยูนุสสร้างมัสญิดที่บานา (Bandar) ไม่ได้สร้างมัสญิดกรือเซะ เรื่องนี้ อาจารย์ วัน มะโรหบุตร ได้แปลว่า
“เมื่อ Alung Yunus ครองเมือง ก็รื้อบ้านของ Raja Dajang ที่ในเมือง มาสร้างเป็นมัสยิดที่บ้านบานา”
ถ้าเป็นการรื้อ ก็น่าจะเป็นการสร้างด้วยไม้ ไม่ใช่ด้วยอิฐ จึงไม่ใช่มัสยิดกรือเซะ
ส่วนสมัยต่วนซูหลงนั้น เป็นสมัยที่ปาตานีถูกแบ่งแยกออกเป็น 7 หัวเมืองแล้ว ถ้าสร้างในสมัยนี้ก็น่าจะเป็นการบูรณะมากกว่าการก่อสร้าง
ชาวฮอลันดาได้มาเยือนปาตานีใน ค.ศ.1603 ตามที่ ชีฮาน (J.J. Sheehan) เขียนใน JMBRAS 12.2 เรื่อง “ผู้มาเยือนแหลมมลายูในคริสต์ศตวรรษที่ 17 : แล่นเรือรอบโลกโดยคาเรรี (XVIIth Century Visitors to the Malay Peninsula : A Voyage Round the World, by Dr. J.F.G. Careri) ตอนหนึ่งได้กล่าวถึงมัสยิดหลังหนึ่งมีความว่า
“โบสถ์ของชาวมุสลิม (Mohametan church) หรือที่เรียกว่า ‘มัสญิด’ (Maskita) เป็นอาคารใหญ่โอ่โถงสง่างาม สร้างจากอิฐสีแดงเนื้อไม้ (red Brickkwood) คนจีนเป็นผู้สร้าง ด้านในเคลือบอย่างหรูหรามาก และประดับประดาด้วยเสาทีทำด้วยรูปสลักที่หายาก ด้านในที่ติดกับกำแพงคือ มิมบัร (pulpit) และสลักและเคลือบทั่วทั้งหมด บรรดาอุละมาอ์ (priests) เท่านั้นที่อนุญาตให้ขึ้นไป (เทศนา) ได้ ซึ่งมีบันได 4 ชั้น”
เวน บูกัส ได้เขียนว่า เป็นไปได้ว่า คนจีนที่สร้างมัสยิดหลังนี้เป็นจีนมุสลิม นิยายปรัมปราท้องถิ่นกล่าวว่า คนจีนกลุ่มหนึ่งที่นับถือศาสนาอิสลาม อาจเป็นไปได้ว่า เป็นจีนจากยูนาน ซึ่งเคยอาศัยอยู่ที่ปาตานีและเป็นไปได้ว่า มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาปาตานีในด้านการนับถือศาสนาอิสลาม คนจีนที่ไม่ได้นับถือศาสนาอิสลามก็คงได้ถูกใช้ให้สร้างมัสยิดอันเนื่องมาจากความชำนาญของพวกเขาในการสร้างกำแพงจากอิฐ และเชี่ยวชาญในการแกะสลัก คนจีนได้สร้างมัสยิดหลายแห่ง เช่น มัสยิดที่บันเตน ในชวาตะวันตก คาดว่าสร้างโดยคนจีน มัสยิด เดมักก็เช่นเดียวกัน”
ศูนย์ข่าวอิศรา สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
ในหนังสือ “ฮิกายัต ปาตานี” ระบุว่า มัสยิดหลังนี้สร้างในสมัยการปกครองของสุลต่านมุฎ็อฟฟาร์ชาห์ โดยกล่าวความเป็นมาของการสร้างมัสยิดหลังนี้ ตามที่อาจารย์วัน มะโรหบุตร แปลลงในหนังสือ “เรื่องเล่าจากชาวใต้ ชุดที่ 2” เรื่อง “เล่าเรื่องเมืองปัตตานี ภาคที่ ๑” ตอนหนึ่ง เกี่ยวกับการสร้างมัสยิตหลังแรกที่เมืองปาตานีว่า
“ต่อมาก็มีชาวเมืองปาไซผู้หนึ่งชื่อว่า เช็คซอฟียุดดิน ได้มายังเมืองปัตตานี และมาสร้างบ้านเรือนอยู่ที่นอกกำแพงเมืองใกล้กับประตูเมือง เจ้าเมืองได้เชิญเช็คซอฟียุดดินเข้าไป ไต่ถามเรื่องเกี่ยวกับศาสนาอิสลาม เช็คซอฟียุดดีนได้กราบทูลว่า “อันเมืองอิสลามนั้นจะต้องมีมัสยิดสำหรับราษฎรจะได้กราบไหว้องค์อัลลอฮฺ จึงจะเป็นเมืองอิสลามอย่างสมบูรณ์ ถ้าหากไม่มีมัสยิดแล้วความเป็นอิสลามก็จะไม่ปรากฏเป็นที่ชัดแจ้ง"
“สุลต่านมุดาฟาร์ชาห์จึงรับสั่งบันดาราให้จัดสร้างมัสยิด*ตามคำแนะนำของเช็คซอฟียุดดิน และพระองค์ได้ทรงขนานนามเช็คซอฟียุดดินเป็นฟากิฮฺ (ผู้รู้ทางด้านศาสนาอิสลาม) ต่อจากนั้นศาสนาอิสลามก็เผยแพร่ออกไปจนถึงเมืองโกตามหาลิฆัยต่างก็ได้พากันเข้านับถือศาสนาอิสลาม ตามคำสอนของท่านนะบีมูฮำหมัด (ซ็อลลอลลอฮุ อะลัยฮิวะสัลลัม = ขอความสันติสุขจงประสบแด่ท่าน) อย่างไรก็ดี การปฏิบัติอันเป็นพฤติการณ์ของชาวกาฟิรฺนอกศาสนาเช่น การกราบไหว้ต้นไม้ หิน และภูตผีนั้น ชาวบ้านก็ยังหาได้งดเว้นไม่ คงงดเว้นแต่เฉพาะการกินเหล้าและกินหมูเท่านั้น ที่งดเว้นจริง ๆ”
ในเรื่องเกี่ยวกับการสร้างมัสยิดนั้น ต้นฉบับเล่มนี้ระบุให้สร้างมัสยิด (menyuruh berbuat mesjid) โดยไม่ได้ระบุว่า ทรงให้สร้างกี่หลัง แต่บางต้นฉบับ ระบุว่า ทรงรับสั่งให้สร้างมัสยิด 2 หลัง คือสร้างในเมือง 1 หลัง และที่ท่าเรือ (บานา) อีก 1 หลัง (Sebuah mesjid didalam negerinya dan sebuah mesjid di bandar / one mosque in the town and one by the harbour.)
ส่วนตำแหน่งที่เช็คศ็อฟยุดดีนได้รับ บางฉบับระบุแต่เพียง ฟะกีฮฺ (Fakih) เฉย ๆ แต่ในบางฉบับระบุว่า ศรีราชาฟะกีฮฺ (Seri Raja Fakih) หมายถึง ผู้ทรงความรู้แห่งพระราชา หรือแห่งราชสำนัก
เรื่องพฤติการณ์ของชาวเมืองครั้นรับอิสลามใหม่ ๆ ยังเหมือนเดิม คือทำทุกอย่างที่เคยทำในสมัยยังไม่ได้เป็นมุสลิม ที่งดเว้นเพียงแต่ กราบไหว้รูปเคารพกับกินหมูเท่านั้น (menyembah berhala dan makan babi / it was only the worship of idols and the eating of pork.) แต่อาจารย์วันฯ เผลอไปแปลว่า “การกินเหล้าและกินหมูเท่านั้น” ที่งดเว้นจริง ๆ
เรื่องสร้างมัสยิดกรือเซะนี้ “ฮิกายัตปาตานี” ระบุว่า สร้างในสมัยสุลต่านมุฎ็อฟฟาร์ ชาห์ (สิ้นพระชนม์ ค.ศ.1564) นักเขียนประวัติศาสตร์ปาตานีหลายท่านสับสน กล่าวคือ บางท่านเขียนว่า สร้างสมัยต่วนซูหลง บ้างก็ว่า สร้างสมัยหลงยูนุส (Alung Yunus)
ใน ฮิกายัตปาตานี ระบุว่า หลงยูนุสสร้างมัสญิดที่บานา (Bandar) ไม่ได้สร้างมัสญิดกรือเซะ เรื่องนี้ อาจารย์ วัน มะโรหบุตร ได้แปลว่า
“เมื่อ Alung Yunus ครองเมือง ก็รื้อบ้านของ Raja Dajang ที่ในเมือง มาสร้างเป็นมัสยิดที่บ้านบานา”
ถ้าเป็นการรื้อ ก็น่าจะเป็นการสร้างด้วยไม้ ไม่ใช่ด้วยอิฐ จึงไม่ใช่มัสยิดกรือเซะ
ส่วนสมัยต่วนซูหลงนั้น เป็นสมัยที่ปาตานีถูกแบ่งแยกออกเป็น 7 หัวเมืองแล้ว ถ้าสร้างในสมัยนี้ก็น่าจะเป็นการบูรณะมากกว่าการก่อสร้าง
ชาวฮอลันดาได้มาเยือนปาตานีใน ค.ศ.1603 ตามที่ ชีฮาน (J.J. Sheehan) เขียนใน JMBRAS 12.2 เรื่อง “ผู้มาเยือนแหลมมลายูในคริสต์ศตวรรษที่ 17 : แล่นเรือรอบโลกโดยคาเรรี (XVIIth Century Visitors to the Malay Peninsula : A Voyage Round the World, by Dr. J.F.G. Careri) ตอนหนึ่งได้กล่าวถึงมัสยิดหลังหนึ่งมีความว่า
“โบสถ์ของชาวมุสลิม (Mohametan church) หรือที่เรียกว่า ‘มัสญิด’ (Maskita) เป็นอาคารใหญ่โอ่โถงสง่างาม สร้างจากอิฐสีแดงเนื้อไม้ (red Brickkwood) คนจีนเป็นผู้สร้าง ด้านในเคลือบอย่างหรูหรามาก และประดับประดาด้วยเสาทีทำด้วยรูปสลักที่หายาก ด้านในที่ติดกับกำแพงคือ มิมบัร (pulpit) และสลักและเคลือบทั่วทั้งหมด บรรดาอุละมาอ์ (priests) เท่านั้นที่อนุญาตให้ขึ้นไป (เทศนา) ได้ ซึ่งมีบันได 4 ชั้น”
เวน บูกัส ได้เขียนว่า เป็นไปได้ว่า คนจีนที่สร้างมัสยิดหลังนี้เป็นจีนมุสลิม นิยายปรัมปราท้องถิ่นกล่าวว่า คนจีนกลุ่มหนึ่งที่นับถือศาสนาอิสลาม อาจเป็นไปได้ว่า เป็นจีนจากยูนาน ซึ่งเคยอาศัยอยู่ที่ปาตานีและเป็นไปได้ว่า มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาปาตานีในด้านการนับถือศาสนาอิสลาม คนจีนที่ไม่ได้นับถือศาสนาอิสลามก็คงได้ถูกใช้ให้สร้างมัสยิดอันเนื่องมาจากความชำนาญของพวกเขาในการสร้างกำแพงจากอิฐ และเชี่ยวชาญในการแกะสลัก คนจีนได้สร้างมัสยิดหลายแห่ง เช่น มัสยิดที่บันเตน ในชวาตะวันตก คาดว่าสร้างโดยคนจีน มัสยิด เดมักก็เช่นเดียวกัน”