นาซือเราะ เจะฮะ
สมศักดิ์ หุ่นงาม
ศูนย์ข่าวอิศรา สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
www.tjanews.org
“เสียงแม่ค้าตะโกนร้องเรียกลูกค้ามาซื้อ เสื้อผ้าดังไปทั่วตลาด” มีสินค้ามากมายวางขายเรียงรายใต้เต็นท์ตามถนนรามโกมุท อ.ยะหริ่ง หรือเป็นชื่อที่รู้กันทั่วไปว่า ตลาดนัดยามู เป็นตลาดขายสินค้ามือสอง ตั้งอยู่หลังสถานีตำรวจ อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี
นับว่าเป็นเรื่องปกติทุกเช้าวันพุธ ถนนสายนี้กลายเป็นตลาดนัด มีพ่อค้าแม่ค้ามาวางสินค้ามือสองขายเต็มไปทั่วทั้งสองฝากฝั่งวางขายยาวกว่า 1 ก.ม
แต่จะมีใครสักกี่คนล่วงรู้ว่า สินค้าดีราคาถูก ที่เป็นของแท้ ที่วางขายตามท่องตลาดนั้นบรรดาพอค้าแม่ค้าไปรับสินค้าเหล่านั้นมาจากที่ไหน ของแท้ของปลอมมีวิถีการดูกันอย่างไรและเป็นของแท้จริงหรือเปล่านั้น
สินค้ามือสองนับว่าเป็นสินค้าที่ขึ้น ชื่อของคนภาคใต้ ปัจจุบันนี้กลายเป็นที่นิยมจากคนที่มาจากกรุงเทพฯ อย่างทุกครั้งเมื่อมีเพื่อนหรือญาติพี่น้องมาเที่ยวในพื้นที่ 3 จังหวัดภาคใต้ก็จะฝากซื้อเสื้อผ้ามือสองอย่างเป็นที่รู้กันโดยทั่วไปว่าของฝากจากภาคใต้คือสินค้ามือสอง
จากการลงสำรวจของทีมงานศูนย์ข่าวอิศราพบว่าที่หมู่บ้านบางปู ม.2 ต.บางปู อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี เป็นพื้นที่ติดทะเลปัตตานีซึ่งเหมาะแก่การประกอบอาชีพประมงอย่างมาก แต่ด้วยเหตุด้วยผลอะไรที่เขาต้องเลือกอาชีพค้าขายมากกว่าทำประมง
นายมูฮัมหมัดฮัสมี สะอะ ผู้ใหญ่บ้านบางปูกล่าวถึงพื้นที่บางปูว่า แต่เดิมชาวบ้านบางปูส่วนมากประกอบอาชีพทำประมง เมื่อไม่นานนี้ประมาณ ปี 2516 ชาวบ้านเริ่มเข้าไปทำงานเป็นลูกจ้างของประเทศมาเลเซีย ได้นำเสื้อผ้าและสินค้ามาเลมาขาย ทุกครั้งที่กลับมาที่บางปูก็จะซื้อเสื้อผ้ามือสองจากมาเลมาขายปรากฏว่าขายดี ชาวบ้านจึงยึดอาชีพขายสินค้ามือสองเป็นอาชีพ จนถึงทุกวันนี้ชุมชนบางปูกลายเป็นแหล่งรวมของพ่อค้ารายใหญ่และรายย่อย 70% ของชุมชนแห่งนี้ที่เลือกทำอาชีพขายเสื่อผ้ามือสอง
ผู้ใหญ่บ้านยังกล่าวอีกว่าปัจจุบันนี้ในพื้นที่บางปูมีสินค้ามือสองขายทั่ง เสื่อผ้า กางเกง รองเท้า ถุงเท้า กระเป๋าและชุดชั้นในรวมไปถึงผ้าเช็ดหน้าผ้าเช็ดตัวมือสอง
“หากคนที่ไม่เคยผ่านมาแถวบางปูจะสามารถสังเกตได้เลยเมื่อเข้าเขตพื้นที่บางปู จะเห็นรอบๆรั้วบ้านมีร้องเท้าแควนตากไปทั่วบ้านและบางบ้านก็จะมีเสื่อผ้ารวมทั่งกางเกงตากกระจายทั่วบ้าน”ผู้ใหญ่บ้านบางปูกล่าว
เคยมีนักช้อปคนหนึ่งเล่าให้ฟังว่าเขาเคยซื้อกระเป๋าใบหนึ่งสภาพยังใหม่ยีห้อ เจสเปอร์ หนึ่งใบต่อราคา 150 บาทเขาเล่าว่าเขารีบรับซื้ออย่างไม่ลังเลเลยเพราะเขารู้ว่าหากสินค้าชิ้นนั้นได้นำไปขายในห้างแถวกรุงเทพก็คงจะเห็นป้ายราคาติดไว้ไม่ต่ำกว่า สีห้าพันบาทต่อใบแน่นอน
นายมะเซ็ง มือยอ พ่อค้าขายเสื้อผ้ามือสองเล่าถึงตอนที่แรกเริ่มขายเสื้อผ้ามือสองครั้งแรก “ผมเริ่มจากเริ่มจากผมและภรรยาได้เข้าไปรับจ้างดำนาในประเทศมาเลเซีย” มีวันหนึ่งเถ้าแก่มาบอกว่าจะพาไปซื้อเสื้อผ้าใส่เล่น “ตอนแรกๆก็คิดว่าจะพาไปซื้อตามตลาดทั่วๆไป แต่เมื่อไปถึงก็ได้เห็นโรงงานเสื่อผ้ามือสองกองเต็มไปหมด”
ตัดสินใจยืมเงินเถ้าแก่ซื้อเสื้อผ้าในกองนั้นกลับมาขายที่บ้านบางปู 20 ตัวปรากฏว่าขายได้หมดทุกตัว ครั้งที่สองเข้าไปซื้อเพิ่มอีก 30 ตัวก็ขายได้หมดอีก หลังจากนั้นเลิกรับจ้างดำนาที่มาเลเซียเข้าไปซื้อเสื้อผ้ามือสองมาขายเพียงอย่างเดียว ซื้อมาเป็นก้อนเลยจนถึง นับระยะเวลาเป็น 32 ปีมาแล้วที่เขายึดอาชีพขายเสื้อผ้ามือสอง
มะเซ็งเล่าถึงราคาสินค้าที่รับมาแต่ละครั้งว่า ราคาสินค้ามีอยู่หลายประเภท อย่างสินค้าเกรด A ก็จะมีราคาสูงกว่าสินค้าเกรด B รองลงมาก็เกรด C
สินค้าเกรด B จากเมืองราคาก้อนละ 8,500 บาท มาขายส่งให้กับกลุ่มรายย่อยก้อนละ รวมค้าขนส่งและหักภาษีแล้วได้กำไรมาเพียง 500 บาท “เราจะไม่เอากำไรเยอะ เพราะเราต่างต้องการทำมาหากิน เราต้องช่วยๆกันแล้วเราจะทำการค้าได้นาน”
มะเซ็ง ได้กล่าถึงการเปิดก้อนแต่ละครั้งต้องใช้ดวงมาช่วยอย่างมาก “ดวงดีก็จะมีของดีแทรกเข้ามาในก้องบ้างดวงไม่ดีก็ขาดทุนไป” เมื่อ 3 ปีที่แล้ว” ผมโชคดีมากเปิดก้อนมาได้กางเกงยีนส์ลีวาย มา 1 ตัว ขายได้ในราคาสองหมื่นบาทซึ่งเฉลี่ยทุนแล้วตกประมาณตัวละ 60 บาท ไม่เคยพบสินค้าที่ดีมาแล้วขายได้ในราคาแพงกว่านี้อย่างมากก็ขายในราคา หนึ่งหมื่นถึง สองสามพันบาท แต่โอกาสดีๆอย่างนั้นน้อยมากที่จะได้เจอ ล่าสุดนี้ได้กางเกงยีนส์ลีวายมาอีกตัวขายไปในราคาหนึ่งหมื่นบาท
มะเซ็งเล่าถึงสถานทีที่เขาเข้าไปรับสิ้นค้า เขาเลือกไปซื้อสิ้นค้าที่มาจาก โกตาบารูหรือปีนัง ประเทศมาเลเซีย ขับรถไปเช้าเย็นก็กลับได้ ขณะที่ไปซื้อของที่โรงเกลื่อต้องใช้เวลาประมาณ 2-3 วัน การขนส่งสิ้นค้าก็ยากลำบากกว่า แม้ราคาจะถูกกว่า ยอมจ่ายแพงกว่านิดหน่อยโดยไม่ต้องเสียเวลามันคุ่มกว่า นอกจากไม่เสียเวลาแล้วเราไม่เหนื่อยด้วย
“ต้องเข้าไปรับสิ้นค้าทุกครั้งเมื่อพ่อค้าฝ่ายโกตาบารูโทรมาบอกว่าของถึงแล้ว ผมจะเข้าไปรับทุกครั้ง บางครั้งเวลาของเดิมยังมีอยู่อีกเยอะ ก็จะเข้าไปคัดสิ้นค้าที่มีเกรดดีมาเท่านั้นมา”
แล้วจะนำสิ้นค้ากลับมาแยกออกเป็น 3 เกรด เกรด A จะส่งไปขายที่กรุงเทพ ส่วนเกรด B- C นำมาขายตามท้องตลาดนัด“ผมเลือกไปขายตามตลาดใหญ่ๆ เพราะจะขายดีกว่าตลาดเล็กๆ” อย่างตลาดสะเดา จ.สงขลา ตลาดคลองแงะ อ.สะเดา จ.สงขลา และตลาดรูสะมิแลอ.เมืองจ.ปัตตานี รวมทั้งตลาดลาดพร้าวจ.ยะลา แล้วก็จะมาหยุดทุกๆวันศุกร์ของสัปดาห์
ขณะที่พ่อค้าแม่ค้าคนอื่นๆจะรับของมา แล้วก็จะนำไปขายเลยโดยไม่นำมาแยกแล้ว เพราะจะเสียเวลากว่า แต่เขาอาศัยประสบการณ์ขายมานาน พอรู้หลักในการคัดสินค้ามาขายและพอรู้วิธีการเลือกสรรสินค้ามือสอง เพื่อสรรหาสินค้าที่เป็นของดี ราคาถูก และเป็นของแท้มาขายให้ลูกค้า
มะเซ็งยังเล่าอีกว่าบางครั้งสถานการณ์ทำให้เขาต้องหยุดขายไปสักพัก แล้วก็จะโทรเช็คจากพักพวกเมื่อเหตุการณ์สงบลงจึงออกไปขายต่อ มีครั้งหนึ่งออกไปขายของไม่ได้ของก็ยังมีเต็มบ้านและฝ่ายโกตาบารูโทรมาให้ไปรับของ “ ผมก็ต้องไป” แต่จะคัดมาเฉพาะของที่มีเกรดดีจริงๆมาเท่านั้น
แต่โชคยังดีที่ครั้งนั้นผมได้สิ้นค้าที่มีคุณภาพมาหลายตัวจึงขายไปได้ในราคาดีกว่าทำให้มากลบกับสิ้นค้าที่กองเต็มในบ้านได้ แล้วก็จะเอาของที่เหลือขายอย่างถูกๆมะเซ็งกล่าวอย่าง
ด้าน นางปราณี มูซอ แม่ค้าขายเสื่อผ้ามือสองจากบ้านบางปู กล่าวว่า เขารับของจากพ่อค้ารายใหญ่ในหมู่บ้านอีกที่ เมื่อก่อนเคยเข้าไปรับจากโกตาบารู แต่มันจะทำให้ขาดทุนมากกว่าที่จะได้กำไรมา
น้อยมากที่จะฟลุ๊กได้ของดีๆมา ยิ่งเดียวนี้มีการแบ่งสิ้นค้าออกเป็นเกรดกันแล้ว จึงเปลี่ยนทิศทางมารับสินค้าจากพ่อค้าคนกลางดีกว่าได้กำไรมากกว่าที่จะขาดทุน
ตนเลือกที่ขายของตามตลาดที่อยู่ในเขตปัตตานีเท่านั้น เป็นตลาดเล็กๆจะไม่คอยขายตลาดใหญ่ เพราะตลาดเล็กไม่คอยมีพ่อค้าไปขายมากนัก
เหตุการณ์ทำให้ขายไม่ค่อยได้เลย แต่เราต้องขายเพราะมันเป็นอาชีพของเรา เราขายอย่างระวัง เห็นเหตุการณ์ไม่คอยดีเราก็จะเก็บของเตรียมกลับบ้าน มันเป็นอาชีพของเราสถานการณ์จะรุนแรงเราก็ต้องขายเพราะการขายของคือเงินของเรา เราไม่ขายเราไม่มีเงิน เราก็อด
ด้านนางมาเรียม เตซา เจ้าของร้านค้าขายสินค้ามือสองย่านตลาดสุไงโกลก เล่าถึงธุรกิจเสื้อผ้ามือสองที่สุไงโกลกว่า “กว่า 3 ปีแล้วที่การค้าของคนที่นี้ขายไม่ได้เศรษฐ์กิจตกต่ำขายไม่ค่อยดี ยิ่งช่วงเมือปี 2548 ก็ยิ่งขายไม่ได้เลย เศรษฐกิจทรุดหนักมาก ไม่คอยมีนักท่องเทียวเลย ไม่มีลูกค้าเลย”
ต่างจากหลายปีก่อนที่จะปีลูกค้ามาจากกรุงเทพฯ เชียงราย เชียงใหม่ เข้ามาเที่ยวจับจ่ายใช้สอยในตลาดแห่งนี้เป็นทุกปี อย่างช่วงปิดเทอมก็จะมีนักท่องเทียวมากที่สุก ทำให้ตลาดแห่งเป็นไปอย่างคึกคักมาก ทุกวันนี้ไม่มีแม้คนเดียวที่กล้าลงมาเทียว สองสามวันก็จะมีคนไทยที่กลับจากมาเลเซียแวะเวียนมาสักคน ขายได้บ้างไม่ได้บ้าง ชาวต่างชาติก็ยิ่งไม่มาเลย
เมื่อหลายปีก่อนมักมีชาวมาเลเซียออกมาซื้อของทุกวันเพราะคนมาเลเซียเขานิยมที่จะใส่เสื้อผ้ามือสองแต่พวกเขาไม่นิยมที่จะขายกัน ดังนั้นพวกเขาจึงออกมาซื้อที่ด้านสุไงโกลก บางคนก็มากินข้าว มาซื้อของ แต่เดียวนี้ไม่มีเลย เขาไม่กล้าออกมาเลย
เมื่อก่อนเปิดกระสอบครั้งหนึ่งใช้เวลาขายเพียงสามวันของก็หมดแล้ว แต่ทุกวันนี้เปิดกระสอบมาสามอาทิตย์กว่าก็ยังขายของไม่หมด สิ้นค้าที่ขายไม่หมดก็จะมีพ่อค้ามารับซื้อถึงบ้าน ตัวละบาท บ้างครั้งก็แจกคนยากจนที่ผ่านมาหน้าร้าน เรืองสินค้าตนไปรับสินค้าจากมาเซีย “ยอมจ่ายแพงกว่าที่จะต้องเสียเวลา”
“ทุกวันนี้ขายของได้น้อยมากแต่ไม่มีทางเลือกแล้วมันคืออาชีพของเรา”
ที่เห็นๆว่ามีพ่อค้าแม่ค้าขายเสื้อผ้ามือสองกันนี้ไม่ใช่ว่าเขาจะข่ายดีเพียงแต่ ทุนน้อยของก็ไม่บูดไม่เนากลุ่มวัยรุนจึงหันมาขาสิค่าพวกนี้ เพราะคนว่างงานไม่รู้จะไปทำงานอะไร จึงนั่งเฝ้าร้านไปวันๆนางพูดพร้อมใช้นิ้วชี้ไปมาตามร้านข้างๆ
สมศักดิ์ หุ่นงาม
ศูนย์ข่าวอิศรา สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
www.tjanews.org
“เสียงแม่ค้าตะโกนร้องเรียกลูกค้ามาซื้อ เสื้อผ้าดังไปทั่วตลาด” มีสินค้ามากมายวางขายเรียงรายใต้เต็นท์ตามถนนรามโกมุท อ.ยะหริ่ง หรือเป็นชื่อที่รู้กันทั่วไปว่า ตลาดนัดยามู เป็นตลาดขายสินค้ามือสอง ตั้งอยู่หลังสถานีตำรวจ อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี
นับว่าเป็นเรื่องปกติทุกเช้าวันพุธ ถนนสายนี้กลายเป็นตลาดนัด มีพ่อค้าแม่ค้ามาวางสินค้ามือสองขายเต็มไปทั่วทั้งสองฝากฝั่งวางขายยาวกว่า 1 ก.ม
แต่จะมีใครสักกี่คนล่วงรู้ว่า สินค้าดีราคาถูก ที่เป็นของแท้ ที่วางขายตามท่องตลาดนั้นบรรดาพอค้าแม่ค้าไปรับสินค้าเหล่านั้นมาจากที่ไหน ของแท้ของปลอมมีวิถีการดูกันอย่างไรและเป็นของแท้จริงหรือเปล่านั้น
สินค้ามือสองนับว่าเป็นสินค้าที่ขึ้น ชื่อของคนภาคใต้ ปัจจุบันนี้กลายเป็นที่นิยมจากคนที่มาจากกรุงเทพฯ อย่างทุกครั้งเมื่อมีเพื่อนหรือญาติพี่น้องมาเที่ยวในพื้นที่ 3 จังหวัดภาคใต้ก็จะฝากซื้อเสื้อผ้ามือสองอย่างเป็นที่รู้กันโดยทั่วไปว่าของฝากจากภาคใต้คือสินค้ามือสอง
จากการลงสำรวจของทีมงานศูนย์ข่าวอิศราพบว่าที่หมู่บ้านบางปู ม.2 ต.บางปู อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี เป็นพื้นที่ติดทะเลปัตตานีซึ่งเหมาะแก่การประกอบอาชีพประมงอย่างมาก แต่ด้วยเหตุด้วยผลอะไรที่เขาต้องเลือกอาชีพค้าขายมากกว่าทำประมง
นายมูฮัมหมัดฮัสมี สะอะ ผู้ใหญ่บ้านบางปูกล่าวถึงพื้นที่บางปูว่า แต่เดิมชาวบ้านบางปูส่วนมากประกอบอาชีพทำประมง เมื่อไม่นานนี้ประมาณ ปี 2516 ชาวบ้านเริ่มเข้าไปทำงานเป็นลูกจ้างของประเทศมาเลเซีย ได้นำเสื้อผ้าและสินค้ามาเลมาขาย ทุกครั้งที่กลับมาที่บางปูก็จะซื้อเสื้อผ้ามือสองจากมาเลมาขายปรากฏว่าขายดี ชาวบ้านจึงยึดอาชีพขายสินค้ามือสองเป็นอาชีพ จนถึงทุกวันนี้ชุมชนบางปูกลายเป็นแหล่งรวมของพ่อค้ารายใหญ่และรายย่อย 70% ของชุมชนแห่งนี้ที่เลือกทำอาชีพขายเสื่อผ้ามือสอง
ผู้ใหญ่บ้านยังกล่าวอีกว่าปัจจุบันนี้ในพื้นที่บางปูมีสินค้ามือสองขายทั่ง เสื่อผ้า กางเกง รองเท้า ถุงเท้า กระเป๋าและชุดชั้นในรวมไปถึงผ้าเช็ดหน้าผ้าเช็ดตัวมือสอง
“หากคนที่ไม่เคยผ่านมาแถวบางปูจะสามารถสังเกตได้เลยเมื่อเข้าเขตพื้นที่บางปู จะเห็นรอบๆรั้วบ้านมีร้องเท้าแควนตากไปทั่วบ้านและบางบ้านก็จะมีเสื่อผ้ารวมทั่งกางเกงตากกระจายทั่วบ้าน”ผู้ใหญ่บ้านบางปูกล่าว
เคยมีนักช้อปคนหนึ่งเล่าให้ฟังว่าเขาเคยซื้อกระเป๋าใบหนึ่งสภาพยังใหม่ยีห้อ เจสเปอร์ หนึ่งใบต่อราคา 150 บาทเขาเล่าว่าเขารีบรับซื้ออย่างไม่ลังเลเลยเพราะเขารู้ว่าหากสินค้าชิ้นนั้นได้นำไปขายในห้างแถวกรุงเทพก็คงจะเห็นป้ายราคาติดไว้ไม่ต่ำกว่า สีห้าพันบาทต่อใบแน่นอน
นายมะเซ็ง มือยอ พ่อค้าขายเสื้อผ้ามือสองเล่าถึงตอนที่แรกเริ่มขายเสื้อผ้ามือสองครั้งแรก “ผมเริ่มจากเริ่มจากผมและภรรยาได้เข้าไปรับจ้างดำนาในประเทศมาเลเซีย” มีวันหนึ่งเถ้าแก่มาบอกว่าจะพาไปซื้อเสื้อผ้าใส่เล่น “ตอนแรกๆก็คิดว่าจะพาไปซื้อตามตลาดทั่วๆไป แต่เมื่อไปถึงก็ได้เห็นโรงงานเสื่อผ้ามือสองกองเต็มไปหมด”
ตัดสินใจยืมเงินเถ้าแก่ซื้อเสื้อผ้าในกองนั้นกลับมาขายที่บ้านบางปู 20 ตัวปรากฏว่าขายได้หมดทุกตัว ครั้งที่สองเข้าไปซื้อเพิ่มอีก 30 ตัวก็ขายได้หมดอีก หลังจากนั้นเลิกรับจ้างดำนาที่มาเลเซียเข้าไปซื้อเสื้อผ้ามือสองมาขายเพียงอย่างเดียว ซื้อมาเป็นก้อนเลยจนถึง นับระยะเวลาเป็น 32 ปีมาแล้วที่เขายึดอาชีพขายเสื้อผ้ามือสอง
มะเซ็งเล่าถึงราคาสินค้าที่รับมาแต่ละครั้งว่า ราคาสินค้ามีอยู่หลายประเภท อย่างสินค้าเกรด A ก็จะมีราคาสูงกว่าสินค้าเกรด B รองลงมาก็เกรด C
สินค้าเกรด B จากเมืองราคาก้อนละ 8,500 บาท มาขายส่งให้กับกลุ่มรายย่อยก้อนละ รวมค้าขนส่งและหักภาษีแล้วได้กำไรมาเพียง 500 บาท “เราจะไม่เอากำไรเยอะ เพราะเราต่างต้องการทำมาหากิน เราต้องช่วยๆกันแล้วเราจะทำการค้าได้นาน”
มะเซ็ง ได้กล่าถึงการเปิดก้อนแต่ละครั้งต้องใช้ดวงมาช่วยอย่างมาก “ดวงดีก็จะมีของดีแทรกเข้ามาในก้องบ้างดวงไม่ดีก็ขาดทุนไป” เมื่อ 3 ปีที่แล้ว” ผมโชคดีมากเปิดก้อนมาได้กางเกงยีนส์ลีวาย มา 1 ตัว ขายได้ในราคาสองหมื่นบาทซึ่งเฉลี่ยทุนแล้วตกประมาณตัวละ 60 บาท ไม่เคยพบสินค้าที่ดีมาแล้วขายได้ในราคาแพงกว่านี้อย่างมากก็ขายในราคา หนึ่งหมื่นถึง สองสามพันบาท แต่โอกาสดีๆอย่างนั้นน้อยมากที่จะได้เจอ ล่าสุดนี้ได้กางเกงยีนส์ลีวายมาอีกตัวขายไปในราคาหนึ่งหมื่นบาท
มะเซ็งเล่าถึงสถานทีที่เขาเข้าไปรับสิ้นค้า เขาเลือกไปซื้อสิ้นค้าที่มาจาก โกตาบารูหรือปีนัง ประเทศมาเลเซีย ขับรถไปเช้าเย็นก็กลับได้ ขณะที่ไปซื้อของที่โรงเกลื่อต้องใช้เวลาประมาณ 2-3 วัน การขนส่งสิ้นค้าก็ยากลำบากกว่า แม้ราคาจะถูกกว่า ยอมจ่ายแพงกว่านิดหน่อยโดยไม่ต้องเสียเวลามันคุ่มกว่า นอกจากไม่เสียเวลาแล้วเราไม่เหนื่อยด้วย
“ต้องเข้าไปรับสิ้นค้าทุกครั้งเมื่อพ่อค้าฝ่ายโกตาบารูโทรมาบอกว่าของถึงแล้ว ผมจะเข้าไปรับทุกครั้ง บางครั้งเวลาของเดิมยังมีอยู่อีกเยอะ ก็จะเข้าไปคัดสิ้นค้าที่มีเกรดดีมาเท่านั้นมา”
แล้วจะนำสิ้นค้ากลับมาแยกออกเป็น 3 เกรด เกรด A จะส่งไปขายที่กรุงเทพ ส่วนเกรด B- C นำมาขายตามท้องตลาดนัด“ผมเลือกไปขายตามตลาดใหญ่ๆ เพราะจะขายดีกว่าตลาดเล็กๆ” อย่างตลาดสะเดา จ.สงขลา ตลาดคลองแงะ อ.สะเดา จ.สงขลา และตลาดรูสะมิแลอ.เมืองจ.ปัตตานี รวมทั้งตลาดลาดพร้าวจ.ยะลา แล้วก็จะมาหยุดทุกๆวันศุกร์ของสัปดาห์
ขณะที่พ่อค้าแม่ค้าคนอื่นๆจะรับของมา แล้วก็จะนำไปขายเลยโดยไม่นำมาแยกแล้ว เพราะจะเสียเวลากว่า แต่เขาอาศัยประสบการณ์ขายมานาน พอรู้หลักในการคัดสินค้ามาขายและพอรู้วิธีการเลือกสรรสินค้ามือสอง เพื่อสรรหาสินค้าที่เป็นของดี ราคาถูก และเป็นของแท้มาขายให้ลูกค้า
มะเซ็งยังเล่าอีกว่าบางครั้งสถานการณ์ทำให้เขาต้องหยุดขายไปสักพัก แล้วก็จะโทรเช็คจากพักพวกเมื่อเหตุการณ์สงบลงจึงออกไปขายต่อ มีครั้งหนึ่งออกไปขายของไม่ได้ของก็ยังมีเต็มบ้านและฝ่ายโกตาบารูโทรมาให้ไปรับของ “ ผมก็ต้องไป” แต่จะคัดมาเฉพาะของที่มีเกรดดีจริงๆมาเท่านั้น
แต่โชคยังดีที่ครั้งนั้นผมได้สิ้นค้าที่มีคุณภาพมาหลายตัวจึงขายไปได้ในราคาดีกว่าทำให้มากลบกับสิ้นค้าที่กองเต็มในบ้านได้ แล้วก็จะเอาของที่เหลือขายอย่างถูกๆมะเซ็งกล่าวอย่าง
ด้าน นางปราณี มูซอ แม่ค้าขายเสื่อผ้ามือสองจากบ้านบางปู กล่าวว่า เขารับของจากพ่อค้ารายใหญ่ในหมู่บ้านอีกที่ เมื่อก่อนเคยเข้าไปรับจากโกตาบารู แต่มันจะทำให้ขาดทุนมากกว่าที่จะได้กำไรมา
น้อยมากที่จะฟลุ๊กได้ของดีๆมา ยิ่งเดียวนี้มีการแบ่งสิ้นค้าออกเป็นเกรดกันแล้ว จึงเปลี่ยนทิศทางมารับสินค้าจากพ่อค้าคนกลางดีกว่าได้กำไรมากกว่าที่จะขาดทุน
ตนเลือกที่ขายของตามตลาดที่อยู่ในเขตปัตตานีเท่านั้น เป็นตลาดเล็กๆจะไม่คอยขายตลาดใหญ่ เพราะตลาดเล็กไม่คอยมีพ่อค้าไปขายมากนัก
เหตุการณ์ทำให้ขายไม่ค่อยได้เลย แต่เราต้องขายเพราะมันเป็นอาชีพของเรา เราขายอย่างระวัง เห็นเหตุการณ์ไม่คอยดีเราก็จะเก็บของเตรียมกลับบ้าน มันเป็นอาชีพของเราสถานการณ์จะรุนแรงเราก็ต้องขายเพราะการขายของคือเงินของเรา เราไม่ขายเราไม่มีเงิน เราก็อด
ด้านนางมาเรียม เตซา เจ้าของร้านค้าขายสินค้ามือสองย่านตลาดสุไงโกลก เล่าถึงธุรกิจเสื้อผ้ามือสองที่สุไงโกลกว่า “กว่า 3 ปีแล้วที่การค้าของคนที่นี้ขายไม่ได้เศรษฐ์กิจตกต่ำขายไม่ค่อยดี ยิ่งช่วงเมือปี 2548 ก็ยิ่งขายไม่ได้เลย เศรษฐกิจทรุดหนักมาก ไม่คอยมีนักท่องเทียวเลย ไม่มีลูกค้าเลย”
ต่างจากหลายปีก่อนที่จะปีลูกค้ามาจากกรุงเทพฯ เชียงราย เชียงใหม่ เข้ามาเที่ยวจับจ่ายใช้สอยในตลาดแห่งนี้เป็นทุกปี อย่างช่วงปิดเทอมก็จะมีนักท่องเทียวมากที่สุก ทำให้ตลาดแห่งเป็นไปอย่างคึกคักมาก ทุกวันนี้ไม่มีแม้คนเดียวที่กล้าลงมาเทียว สองสามวันก็จะมีคนไทยที่กลับจากมาเลเซียแวะเวียนมาสักคน ขายได้บ้างไม่ได้บ้าง ชาวต่างชาติก็ยิ่งไม่มาเลย
เมื่อหลายปีก่อนมักมีชาวมาเลเซียออกมาซื้อของทุกวันเพราะคนมาเลเซียเขานิยมที่จะใส่เสื้อผ้ามือสองแต่พวกเขาไม่นิยมที่จะขายกัน ดังนั้นพวกเขาจึงออกมาซื้อที่ด้านสุไงโกลก บางคนก็มากินข้าว มาซื้อของ แต่เดียวนี้ไม่มีเลย เขาไม่กล้าออกมาเลย
เมื่อก่อนเปิดกระสอบครั้งหนึ่งใช้เวลาขายเพียงสามวันของก็หมดแล้ว แต่ทุกวันนี้เปิดกระสอบมาสามอาทิตย์กว่าก็ยังขายของไม่หมด สิ้นค้าที่ขายไม่หมดก็จะมีพ่อค้ามารับซื้อถึงบ้าน ตัวละบาท บ้างครั้งก็แจกคนยากจนที่ผ่านมาหน้าร้าน เรืองสินค้าตนไปรับสินค้าจากมาเซีย “ยอมจ่ายแพงกว่าที่จะต้องเสียเวลา”
“ทุกวันนี้ขายของได้น้อยมากแต่ไม่มีทางเลือกแล้วมันคืออาชีพของเรา”
ที่เห็นๆว่ามีพ่อค้าแม่ค้าขายเสื้อผ้ามือสองกันนี้ไม่ใช่ว่าเขาจะข่ายดีเพียงแต่ ทุนน้อยของก็ไม่บูดไม่เนากลุ่มวัยรุนจึงหันมาขาสิค่าพวกนี้ เพราะคนว่างงานไม่รู้จะไปทำงานอะไร จึงนั่งเฝ้าร้านไปวันๆนางพูดพร้อมใช้นิ้วชี้ไปมาตามร้านข้างๆ