ยะลา – ผู้นำศาสนายะลาเตือนมุสลิมเล่นน้ำสงกรานต์ผิดหลักศาสนาอิสลาม แต่ไม่ห้ามการมีส่วนร่วมบริจาคหรือทำกิจกรรมสาธารณะประโยชน์ ชี้ทาง กอส.จะดับไฟใต้ได้ต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วม แนะควรต้องตั้งคนในพื้นที่ร่วมเป็นกรรมการเพิ่มขึ้นอีก
นายนิมุ มะกาเจ รองประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดยะลา กล่าวถึงมุสลิมร่วมเล่นสาดน้ำในวันสงกรานต์ว่า เป็นสิ่งที่ไปเลียนแบบประเพณีวัฒนธรรมของศาสนาอื่น ซึ่งไม่มีกำหนดในศาสนาอิสลาม
“ถือว่าเป็นการกระทำที่ผิดหลักศาสนาอิสลาม เพราะถือว่าไปร่วมพิธีกรรมในศาสนาอื่น แต่หากไปมีส่วนร่วมในการทำการกุศล หรือการทำสาธารณประโยชน์ การกระทำอย่างนี้เป็นสิ่งที่ไม่ได้ห้ามในศาสนาอิสลาม”
ส่วนการร่วมบริจาคเงินทำบุญในวันสงกรานต์นั้น ศาสนาอิสลามไม่ระบุวันเวลาในการบริจาคทรัพย์เพื่อการทำบุญ ซึ่งสามารถกระทำการได้ทุกเวลา และเงินบริจาคดังกล่าวจะไม่มีการนำไปสวดหรือไปทำพิธีอื่นใดได้ และมีการระบุชัดเจนว่าจะไปทำอะไร
นายนิมุ กล่าวถึงคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ (กอส.) ว่า การทำงานของ กอส.จะประสบผลสำเร็จได้ ประชาชนต้องมีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลต่างๆ นอกจากนี้ กอส.จะต้องรายงานความคืบหน้าให้ประชาชนทราบทุกระยะด้วย
ตนมองว่าคณะกรรมการ กอส.ที่ได้รับการแต่งตั้งไปนั้น มีจำนวนน้อยมาก โดยเฉพาะจากพื้นที่ที่มีเพียง 16 คน ดูแล้วยังไม่เพียงพอ ทำให้เป็นภาระหนัก โดยเฉพาะการลงพื้นที่ใน จ.นราธิวาสที่ประชาชนมีบาดผลและคับแค้นใจ ซึ่ง กอส.ต้องรับภาระในการไปสมานแผล สมานใจด้วย จึงควรต้องเพิ่มให้มากกว่านี้
นายนิมุ มะกาเจ รองประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดยะลา กล่าวถึงมุสลิมร่วมเล่นสาดน้ำในวันสงกรานต์ว่า เป็นสิ่งที่ไปเลียนแบบประเพณีวัฒนธรรมของศาสนาอื่น ซึ่งไม่มีกำหนดในศาสนาอิสลาม
“ถือว่าเป็นการกระทำที่ผิดหลักศาสนาอิสลาม เพราะถือว่าไปร่วมพิธีกรรมในศาสนาอื่น แต่หากไปมีส่วนร่วมในการทำการกุศล หรือการทำสาธารณประโยชน์ การกระทำอย่างนี้เป็นสิ่งที่ไม่ได้ห้ามในศาสนาอิสลาม”
ส่วนการร่วมบริจาคเงินทำบุญในวันสงกรานต์นั้น ศาสนาอิสลามไม่ระบุวันเวลาในการบริจาคทรัพย์เพื่อการทำบุญ ซึ่งสามารถกระทำการได้ทุกเวลา และเงินบริจาคดังกล่าวจะไม่มีการนำไปสวดหรือไปทำพิธีอื่นใดได้ และมีการระบุชัดเจนว่าจะไปทำอะไร
นายนิมุ กล่าวถึงคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ (กอส.) ว่า การทำงานของ กอส.จะประสบผลสำเร็จได้ ประชาชนต้องมีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลต่างๆ นอกจากนี้ กอส.จะต้องรายงานความคืบหน้าให้ประชาชนทราบทุกระยะด้วย
ตนมองว่าคณะกรรมการ กอส.ที่ได้รับการแต่งตั้งไปนั้น มีจำนวนน้อยมาก โดยเฉพาะจากพื้นที่ที่มีเพียง 16 คน ดูแล้วยังไม่เพียงพอ ทำให้เป็นภาระหนัก โดยเฉพาะการลงพื้นที่ใน จ.นราธิวาสที่ประชาชนมีบาดผลและคับแค้นใจ ซึ่ง กอส.ต้องรับภาระในการไปสมานแผล สมานใจด้วย จึงควรต้องเพิ่มให้มากกว่านี้