ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ – ความเคลื่อนไหว ภายหลังจากที่ราคาน้ำมันดีเซลปรับขึ้นลิตรละ 3 บาทในช่วง 2 วัน ที่ผ่านมา ขณะนี้ได้เริ่มแผลงฤทธิ์ ส่งผลกระทบขยายวงกว้างขึ้นเรื่อยๆ โดยล่าสุด กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งกุลาดำใน อ.ระโนด จ.สงขลา ซึ่งมีสัดส่วนพื้นที่การเลี้ยงกุ้งกุลาดำมากที่สุดใน จ.สงขลา เตรียมออกมาเคลื่อนไหวแล้วเช่นเดียวกัน
นายพงษ์พล จินดาพล หนึ่งในกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งกุลาดำ ใน อ.ระโนด และเป็นเจ้าของกิจการ “ปกครองฟาร์ม” ซึ่งดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับกุ้งกุลาดำครบวงจร เปิดเผยว่า ขณะนี้ราคาน้ำมันดีเซลที่เพิ่มขึ้นถึงลิตรละ 3 บาท ได้ส่งผลกระทบต่อการเลี้ยงกุ้งกุลาดำทั้งระบบ ส่งผลให้ต้นทุนในการเลี้ยงกุ้งสูงขึ้น เนื่องจากน้ำมันดีเซลเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักของการเลี้ยงกุ้ง โดยใช้เป็นเชื้อเพลิงของเครื่องปั่นออกซิเจนในนากุ้ง
“โดยเฉลี่ยหากเลี้ยงกุ้งกุลาดำในบ่อขนาด 3 ไร่ จนกระทั่งจับขายได้ จะต้องใช้น้ำมันราว 6-7 หมื่นบาท แต่เมื่อน้ำมันเพิ่มขึ้นอีก 3 บาทประมาณการว่าต้นทุนในส่วนนี้น่าจะเกินหลักแสน โดยเฉพาะในบ่อใหญ่ๆ ที่เลี้ยงกุ้งตั้งแต่ 3-6 ไร่ เมื่อน้ำมันขึ้นราคา ต้นทุนการเลี้ยงในด้านอื่นๆ ก็ปรับตัวตามไปด้วย โดยเฉพาะค่าอาหาร เนื่องจากโรงงานผลิตปลาป่น ซึ่งเป็นอาหารหลักของกุ้งขึ้นราคา โดยเชื่อมโยงกับปริมาณสัตว์น้ำ ที่จะนำมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตซึ่งเริ่มขาดตลาด เนื่องจากขณะนี้ชาวประมงจอดเรือกันเป็นจำนวนมาก ด้วยเหตุที่ได้รับผลกระทบจากน้ำมันแพงเช่นเดียวกัน”
นายพงษ์พล กล่าวว่า พื้นที่การเลี้ยงกุ้งทั้งหมดใน จ.สงขลา มีอยู่ประมาณ 25,000 ไร่ และมากกว่าครึ่งหนึ่งอยู่ในเขต อ.ระโนด ขณะนี้ต่างประสบปัญหาเดียวกันหมด ในขณะที่ราคากุ้งกุลาดำยังไม่ดีขึ้น โดยเฉลี่ยราคาอยู่ที่กิโลกรัมละ 160-170 บาท ทางรอดที่จะประคับประคองกิจการให้รอดพ้นช่วงนี้ไปได้ คือ ให้ภาครัฐช่วยหามาตรการทำให้ราคากุ้งขยับขึ้นอีก 20-30 บาท
ทั้งนี้ เพราะหากสถานการณ์ในอนาคตยังเป็นอยู่ในลักษณะนี้ เชื่อว่าต้องขาดทุนแน่นอน และไม่มีเงินหมุนเวียนไปใช้หนี้เก่า เนื่องจากผู้เลี้ยงกุ้งแทบทุกรายล้วนใช้เครดิต ทั้งในเรื่องของค่าอาหารและอุปกรณ์การเลี้ยงกุ้งทั้งระบบ เมื่อร้านค้าเก็บเงินค้างเก่าไม่ได้ก็ไม่ปล่อยเครดิต ต่อไปคนที่มีเงินสดในมือเท่านั้นที่จะเลี้ยงกุ้งกุลาดำได้ ซึ่งกลุ่มนี้มีน้อยมาก ผลกระทบที่เห็นชัดขณะนี้คือเกษตรกรถูกธนาคารฟ้องร้อง และยึดนากุ้งไปแล้วกว่าพันบ่อผู้เลี้ยงกุ้งอยู่ในภาวะล้มละลาย
นายพงษ์พล กล่าวว่า ผลกระทบของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งใน จ.สงขลา ขณะนี้ไม่เฉพาะเรื่องราคาน้ำมันเท่านั้น แต่ยังได้รับผลกระทบจากภาวะภัยแล้งตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา เนื่องจากน้ำในบ่อมีปริมาณความเค็มสูงมาก ทำให้กุ้งไม่กินอาหารและไม่แข็งแรง โตช้าและเป็นโรคระบาด จำเป็นต้องจับกุ้งขายในภาวะฉุกเฉินขณะที่เลี้ยงได้เพียง 1-2 เดือน จากเดิมที่ต้องเลี้ยงถึง 4 เดือน ซึ่งยังไม่ทันคุ้มทุน แต่ต้องอยู่ในภาวะจำยอมเพื่อไม่ให้กุ้งตายเกลี้ยงบ่อ ซึ่งจะไม่เหลืออะไรเลย
จากผลกระทบที่เกิดขึ้นขณะนี้ทางกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งใน อ.ระโนด กำลังอยู่ระหว่างหารือ เพื่อเตรียมการเคลื่อนไหวกดดันให้รัฐบาลเร่งหามาตรการ มาช่วยเหลือกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งโดยด่วน เหมือนกับภาคธุรกิจขนส่งและภาคการประมง
นายพงษ์พล จินดาพล หนึ่งในกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งกุลาดำ ใน อ.ระโนด และเป็นเจ้าของกิจการ “ปกครองฟาร์ม” ซึ่งดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับกุ้งกุลาดำครบวงจร เปิดเผยว่า ขณะนี้ราคาน้ำมันดีเซลที่เพิ่มขึ้นถึงลิตรละ 3 บาท ได้ส่งผลกระทบต่อการเลี้ยงกุ้งกุลาดำทั้งระบบ ส่งผลให้ต้นทุนในการเลี้ยงกุ้งสูงขึ้น เนื่องจากน้ำมันดีเซลเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักของการเลี้ยงกุ้ง โดยใช้เป็นเชื้อเพลิงของเครื่องปั่นออกซิเจนในนากุ้ง
“โดยเฉลี่ยหากเลี้ยงกุ้งกุลาดำในบ่อขนาด 3 ไร่ จนกระทั่งจับขายได้ จะต้องใช้น้ำมันราว 6-7 หมื่นบาท แต่เมื่อน้ำมันเพิ่มขึ้นอีก 3 บาทประมาณการว่าต้นทุนในส่วนนี้น่าจะเกินหลักแสน โดยเฉพาะในบ่อใหญ่ๆ ที่เลี้ยงกุ้งตั้งแต่ 3-6 ไร่ เมื่อน้ำมันขึ้นราคา ต้นทุนการเลี้ยงในด้านอื่นๆ ก็ปรับตัวตามไปด้วย โดยเฉพาะค่าอาหาร เนื่องจากโรงงานผลิตปลาป่น ซึ่งเป็นอาหารหลักของกุ้งขึ้นราคา โดยเชื่อมโยงกับปริมาณสัตว์น้ำ ที่จะนำมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตซึ่งเริ่มขาดตลาด เนื่องจากขณะนี้ชาวประมงจอดเรือกันเป็นจำนวนมาก ด้วยเหตุที่ได้รับผลกระทบจากน้ำมันแพงเช่นเดียวกัน”
นายพงษ์พล กล่าวว่า พื้นที่การเลี้ยงกุ้งทั้งหมดใน จ.สงขลา มีอยู่ประมาณ 25,000 ไร่ และมากกว่าครึ่งหนึ่งอยู่ในเขต อ.ระโนด ขณะนี้ต่างประสบปัญหาเดียวกันหมด ในขณะที่ราคากุ้งกุลาดำยังไม่ดีขึ้น โดยเฉลี่ยราคาอยู่ที่กิโลกรัมละ 160-170 บาท ทางรอดที่จะประคับประคองกิจการให้รอดพ้นช่วงนี้ไปได้ คือ ให้ภาครัฐช่วยหามาตรการทำให้ราคากุ้งขยับขึ้นอีก 20-30 บาท
ทั้งนี้ เพราะหากสถานการณ์ในอนาคตยังเป็นอยู่ในลักษณะนี้ เชื่อว่าต้องขาดทุนแน่นอน และไม่มีเงินหมุนเวียนไปใช้หนี้เก่า เนื่องจากผู้เลี้ยงกุ้งแทบทุกรายล้วนใช้เครดิต ทั้งในเรื่องของค่าอาหารและอุปกรณ์การเลี้ยงกุ้งทั้งระบบ เมื่อร้านค้าเก็บเงินค้างเก่าไม่ได้ก็ไม่ปล่อยเครดิต ต่อไปคนที่มีเงินสดในมือเท่านั้นที่จะเลี้ยงกุ้งกุลาดำได้ ซึ่งกลุ่มนี้มีน้อยมาก ผลกระทบที่เห็นชัดขณะนี้คือเกษตรกรถูกธนาคารฟ้องร้อง และยึดนากุ้งไปแล้วกว่าพันบ่อผู้เลี้ยงกุ้งอยู่ในภาวะล้มละลาย
นายพงษ์พล กล่าวว่า ผลกระทบของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งใน จ.สงขลา ขณะนี้ไม่เฉพาะเรื่องราคาน้ำมันเท่านั้น แต่ยังได้รับผลกระทบจากภาวะภัยแล้งตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา เนื่องจากน้ำในบ่อมีปริมาณความเค็มสูงมาก ทำให้กุ้งไม่กินอาหารและไม่แข็งแรง โตช้าและเป็นโรคระบาด จำเป็นต้องจับกุ้งขายในภาวะฉุกเฉินขณะที่เลี้ยงได้เพียง 1-2 เดือน จากเดิมที่ต้องเลี้ยงถึง 4 เดือน ซึ่งยังไม่ทันคุ้มทุน แต่ต้องอยู่ในภาวะจำยอมเพื่อไม่ให้กุ้งตายเกลี้ยงบ่อ ซึ่งจะไม่เหลืออะไรเลย
จากผลกระทบที่เกิดขึ้นขณะนี้ทางกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งใน อ.ระโนด กำลังอยู่ระหว่างหารือ เพื่อเตรียมการเคลื่อนไหวกดดันให้รัฐบาลเร่งหามาตรการ มาช่วยเหลือกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งโดยด่วน เหมือนกับภาคธุรกิจขนส่งและภาคการประมง