ระนอง –นักธรณีวิทยาสั่งปิดท่าเทียบเรือประมง บ้านท่าโพธิ์ หลังพบรอยร้าวผลมาจากแผ่นทรุดตัว พร้อมเร่งให้ผู้เลี้ยงหอยรีบเก็บกู้หอยที่เหลือ ก่อนที่ตลิ่งจะพังมากว่าเดิมจนหอยตายหมด
จากกรณีที่เกิดแผ่นดินยุบและพังทลาย ทำให้ฟาร์มหอยแมลงภู่ของชาวบ้าน ได้รับความเสียหาย สะพานท่าเทียบเรือประมงบ้านท่าโพธิ์ รวมทั้งบ้านเรือนแตกร้าว เมื่อเวลา 07.30 น.วันที่ 13 กุมภาพันธ์ นายไพศาล อินทสุทน นายกองค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.)ทรายแดง ได้นำนักวิชาการจากกรมทรัพยากรธรณี โดยการนำของ ดร.อัศนี มีสุข ผอ.ส่วนธรณีวิทยา 4 ไปตรวจพิสูจน์พื้นที่เกิดแผ่นดินพลังทลาย บริเวณชายฝั่งแม่น้ำกระบุรี หมู่ที่ 1 ต.ทรายแดง อ.เมือง จ.ระนอง
นอกจากนี้ ได้ตรวจสอบสะพานท่าเทียบเรือประมงบ้านท่าโพธิ์ ม.2 ต.ทรายแดง ซึ่งเป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กยาวออกไปในทะเล 150 เมตร เป็นสะพานอยู่ในโครงการพัฒนาประมงทะเลชายฝั่ง ก่อสร้างเมื่อปี 2536
นอกจากนั้นจากการตรวจดูบ้านของนายจรูญ กลิ่นผกา เลขที่ 14/3 ม.2 ต.ทรายแดง ซึ่งเป็นบ้านคอนกรีตชั้นเดียว ตั้งอยู่เชิงสะพานท่าเทียบเรือซอยท่าโพธิ์ ที่เกิดรอยร้าวบริเวณฐานรากและฝาผนังของบ้านหลายจุดด้วย
ดร.อัศนี กล่าวว่า บริเวณดังกล่าวมีผลกระทบมาจากคลื่นสึนามิ อย่างแน่นอน เนื่องจากขณะที่เกิดคลื่นยักษ์สินามิทำให้น้ำทะเลไหลขึ้น-ลงเชี่ยว และแรงกว่าเดิมมาก กระแสน้ำได้พัดเอาตะกอนที่ปากแม่น้ำออกไป ทำให้ระดับน้ำลดลงมากผิดปกติอย่างรวดเร็ว ทำให้ไม่มีความสมดุลระหว่างแรงดันน้ำกับดิน ทำให้ดินตลิ่งพังทลายซึ่งเกิดขึ้นได้กับชายฝั่งตามแม่น้ำโดยทั่วไป และจุดที่เกิดเหตุมีความลาดชันมากกว่าปกติด้วย
ดร.อัศนี กล่าวด้วยว่า จากที่ได้รับรายงานในเบื้องต้น ดินพังทลายมีความยาวเพียง 1 กม.เศษๆ แต่วันนี้เท่าที่สำรวจดูก็พบว่า ดินบริเวณนั้นพังทลายขยายออกไป และในส่วนของริมตลิ่งที่ดินพังก็จะขยายเนื้อที่ออกไปอีกเรื่อยๆ จนกว่าจุดนั้นเกิดความสมดุลระหว่างดินกับน้ำ โดยเฉพาะบริเวณนี้ ซึ่งเป็นจุด”รอยเลื่อนระนอง” มีส่วนพื้นดินชั้นล่างเป็นชั้นหินแกรนิต จึงทำให้ดินชั้นบนเลื่อนไหลได้ง่าย
สำหรับสะพานท่าเทียบเรือประมงบ้านท่าโพธิ์ ที่เสาตอหม้อ และคานของสะพานเกิดรอยร้าวหลายจุด รวมทั้งบ้านของนายจรูญด้วยนั้น สาเหตุเพราะว่าดินในบริเวณดังกล่าวและ ตรงฐานรากทรุดตัว
จึงได้ให้ อบต.ประกาศงดใช้ท่าเรือดังกล่าวไว้ก่อน เพื่อให้กรมโยธาธิการและผังเมืองได้เข้ามาตรวจสอบความแข็งแรงอีกครั้ง
อย่างไรก็ตาม การเกิดดินริมฝั่งแม่น้ำกระบุรีพังทลาย และพื้นดินในนั้นทรุดตัว ก็จะไม่ทำให้เกิดอันตรายแก่ชาวบ้านในบริเวณใกล้เคียงแต่อย่างใด แต่ก็ต้องช่วยกันคอยสังเกต หรือเฝ้าระวังไว้บ้างก็จะดี อยากเตือนให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบ รีบเก็บหอยแมลงภู่ให้หมดโดยเร็ว ก่อนที่จะเกิดความเสียหายมากกว่าที่เป็นอยู่ในขณะนี้ เพราะการพังทลายของริมตลิ่งจะมีต่อไปเรื่อย ๆ จนเกิดความสมดุล แต่
การเข้าไปเก็บหอยของชาวบ้าน ขอให้อยู่บนเรือจะปลอดภัยกว่าขึ้นไปยืนอยู่บนดินเลน ที่อาจจะมีการพังทลายได้ตลอดเวลา
ด้านนายรังสิโรจน์ วงศ์พรหมเมฆ นักธรณีวิทยา 8 ซึ่งได้นำเครื่องวัดความไหวสะเทือนแบบสะท้อนกลับระดับตื้น พร้อมด้วยเครื่องหาตำแหน่งดาวเทียม จีพีเอส ลงไปตรวจวัดในบริเวณที่เกิดเหตุพบความลึกของน้ำ บริเวณที่มีการพังทลายของดินลึก 5 เมตร และบางจุดลึกถึง 30 เมตร และเป็นจุดรอยเลื่อนระนอง และการพังทลายของดิน จะขยายบริเวณออกไปเรื่อยๆจนกระทั่งไปชนชั้นหินแกรนิตแนวตลิ่งก็จะหยุด
สาเหตุเนื่องจากกระแสน้ำ ที่เปลี่ยนแปลงไป คือน้ำขึ้นหรือลง จะไหลเชี่ยวกรากมากกว่า
ที่ผ่านมา เมื่อมีการพัดพาเอาตะกอนออกไปธรรมชาติ ต้องการปรับสมดุล จึงต้องเอาดินจากตลิ่งลงมายังพื้นที่เดิม ที่ทางกระแสน้ำได้พัดพาไป จนกว่าจะเป็นเหมือนเดิม อาจจะส่งผลกระทบไปถึงสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ที่อยู่บนพื้นดินเลนอาจจะมีการทรุดตัวลงมาบ้าง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าบริเวณสิ่งก่อสร้างเหล่านั้นมีชั้นหินแกรนิตกั้นอยู่มากน้อยแค่ไหน
จากกรณีที่เกิดแผ่นดินยุบและพังทลาย ทำให้ฟาร์มหอยแมลงภู่ของชาวบ้าน ได้รับความเสียหาย สะพานท่าเทียบเรือประมงบ้านท่าโพธิ์ รวมทั้งบ้านเรือนแตกร้าว เมื่อเวลา 07.30 น.วันที่ 13 กุมภาพันธ์ นายไพศาล อินทสุทน นายกองค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.)ทรายแดง ได้นำนักวิชาการจากกรมทรัพยากรธรณี โดยการนำของ ดร.อัศนี มีสุข ผอ.ส่วนธรณีวิทยา 4 ไปตรวจพิสูจน์พื้นที่เกิดแผ่นดินพลังทลาย บริเวณชายฝั่งแม่น้ำกระบุรี หมู่ที่ 1 ต.ทรายแดง อ.เมือง จ.ระนอง
นอกจากนี้ ได้ตรวจสอบสะพานท่าเทียบเรือประมงบ้านท่าโพธิ์ ม.2 ต.ทรายแดง ซึ่งเป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กยาวออกไปในทะเล 150 เมตร เป็นสะพานอยู่ในโครงการพัฒนาประมงทะเลชายฝั่ง ก่อสร้างเมื่อปี 2536
นอกจากนั้นจากการตรวจดูบ้านของนายจรูญ กลิ่นผกา เลขที่ 14/3 ม.2 ต.ทรายแดง ซึ่งเป็นบ้านคอนกรีตชั้นเดียว ตั้งอยู่เชิงสะพานท่าเทียบเรือซอยท่าโพธิ์ ที่เกิดรอยร้าวบริเวณฐานรากและฝาผนังของบ้านหลายจุดด้วย
ดร.อัศนี กล่าวว่า บริเวณดังกล่าวมีผลกระทบมาจากคลื่นสึนามิ อย่างแน่นอน เนื่องจากขณะที่เกิดคลื่นยักษ์สินามิทำให้น้ำทะเลไหลขึ้น-ลงเชี่ยว และแรงกว่าเดิมมาก กระแสน้ำได้พัดเอาตะกอนที่ปากแม่น้ำออกไป ทำให้ระดับน้ำลดลงมากผิดปกติอย่างรวดเร็ว ทำให้ไม่มีความสมดุลระหว่างแรงดันน้ำกับดิน ทำให้ดินตลิ่งพังทลายซึ่งเกิดขึ้นได้กับชายฝั่งตามแม่น้ำโดยทั่วไป และจุดที่เกิดเหตุมีความลาดชันมากกว่าปกติด้วย
ดร.อัศนี กล่าวด้วยว่า จากที่ได้รับรายงานในเบื้องต้น ดินพังทลายมีความยาวเพียง 1 กม.เศษๆ แต่วันนี้เท่าที่สำรวจดูก็พบว่า ดินบริเวณนั้นพังทลายขยายออกไป และในส่วนของริมตลิ่งที่ดินพังก็จะขยายเนื้อที่ออกไปอีกเรื่อยๆ จนกว่าจุดนั้นเกิดความสมดุลระหว่างดินกับน้ำ โดยเฉพาะบริเวณนี้ ซึ่งเป็นจุด”รอยเลื่อนระนอง” มีส่วนพื้นดินชั้นล่างเป็นชั้นหินแกรนิต จึงทำให้ดินชั้นบนเลื่อนไหลได้ง่าย
สำหรับสะพานท่าเทียบเรือประมงบ้านท่าโพธิ์ ที่เสาตอหม้อ และคานของสะพานเกิดรอยร้าวหลายจุด รวมทั้งบ้านของนายจรูญด้วยนั้น สาเหตุเพราะว่าดินในบริเวณดังกล่าวและ ตรงฐานรากทรุดตัว
จึงได้ให้ อบต.ประกาศงดใช้ท่าเรือดังกล่าวไว้ก่อน เพื่อให้กรมโยธาธิการและผังเมืองได้เข้ามาตรวจสอบความแข็งแรงอีกครั้ง
อย่างไรก็ตาม การเกิดดินริมฝั่งแม่น้ำกระบุรีพังทลาย และพื้นดินในนั้นทรุดตัว ก็จะไม่ทำให้เกิดอันตรายแก่ชาวบ้านในบริเวณใกล้เคียงแต่อย่างใด แต่ก็ต้องช่วยกันคอยสังเกต หรือเฝ้าระวังไว้บ้างก็จะดี อยากเตือนให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบ รีบเก็บหอยแมลงภู่ให้หมดโดยเร็ว ก่อนที่จะเกิดความเสียหายมากกว่าที่เป็นอยู่ในขณะนี้ เพราะการพังทลายของริมตลิ่งจะมีต่อไปเรื่อย ๆ จนเกิดความสมดุล แต่
การเข้าไปเก็บหอยของชาวบ้าน ขอให้อยู่บนเรือจะปลอดภัยกว่าขึ้นไปยืนอยู่บนดินเลน ที่อาจจะมีการพังทลายได้ตลอดเวลา
ด้านนายรังสิโรจน์ วงศ์พรหมเมฆ นักธรณีวิทยา 8 ซึ่งได้นำเครื่องวัดความไหวสะเทือนแบบสะท้อนกลับระดับตื้น พร้อมด้วยเครื่องหาตำแหน่งดาวเทียม จีพีเอส ลงไปตรวจวัดในบริเวณที่เกิดเหตุพบความลึกของน้ำ บริเวณที่มีการพังทลายของดินลึก 5 เมตร และบางจุดลึกถึง 30 เมตร และเป็นจุดรอยเลื่อนระนอง และการพังทลายของดิน จะขยายบริเวณออกไปเรื่อยๆจนกระทั่งไปชนชั้นหินแกรนิตแนวตลิ่งก็จะหยุด
สาเหตุเนื่องจากกระแสน้ำ ที่เปลี่ยนแปลงไป คือน้ำขึ้นหรือลง จะไหลเชี่ยวกรากมากกว่า
ที่ผ่านมา เมื่อมีการพัดพาเอาตะกอนออกไปธรรมชาติ ต้องการปรับสมดุล จึงต้องเอาดินจากตลิ่งลงมายังพื้นที่เดิม ที่ทางกระแสน้ำได้พัดพาไป จนกว่าจะเป็นเหมือนเดิม อาจจะส่งผลกระทบไปถึงสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ที่อยู่บนพื้นดินเลนอาจจะมีการทรุดตัวลงมาบ้าง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าบริเวณสิ่งก่อสร้างเหล่านั้นมีชั้นหินแกรนิตกั้นอยู่มากน้อยแค่ไหน