สุราษฏร์ธานี-รัฐส่งกำลังเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องนำจีพีเอส. ลงพื้นที่ตรวจสอบที่ดินเหมืองแร่เก่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี หลังชาวบ้านร้องเรียนนายหัวภูเก็ตบุกครองที่ พบทำเหมืองแร่เกินกว่าที่ได้รับสัมปทานจริงกว่าพันไร่ ด้านหัวหน้าป้องกันป่าระบุอยู่นอกเขต ส.ป.ก./ป่าสงวน รอผู้เชี่ยวชาญตรวจอีกครั้ง หากผิดจริงพร้อมดำเนินคดีตามกฎหมายทันที
จากกรณีที่ชาวบ้านชุมชนบ้านเหมืองแกะ ต.นาสาร อ.บ้านนาสาร จ.สุราษฏร์ธานี นำโดยนายโพธิ์ เพชรชิต ได้รวบรวมรายชื่อชาวบ้าน 200 ราย เข้ายื่นต่อนายวิจิตร วิชัยสาร ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฏร์ธานี เพื่อขอให้มีการตรวจสอบการได้มาซึ่งโฉนดที่ดินและเอกสารสิทธิ ส.ป.ก.4-01 ของกลุ่มนายหัวคนดังจาก จ.ภูเก็ต บริษัท เหมืองแร่สุราษฏร์ จำกัด ซึ่งหมดสัมปทานบัตรการทำเหมืองแร่ดีบุก ไปตั้งแต่เมื่อปี 2537

แต่กลับไม่มีการคืนที่ดินดังกล่าวให้แก่รัฐ พร้อมทั้งได้ยึดครองที่ดินทำสวนยางพารา และในช่วงที่อยู่ระหว่างการได้สัมปทาน ยังได้มีการทำเหมืองแร่ดีบุกเกินเนื้อที่ได้รับสัมปทานจริงกว่า 1 พันไร่ดังกล่าวว่ามีความชอบธรรมหรือไม่ ตามข่าวที่เสนอไปแล้วนั้น
เกี่ยวกับความคืบหน้าเรื่องดังกล่าวนายธวัชชัย เทอดเผ่าไท รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฏร์ธานี ซึ่งเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบ กล่าวว่า เบื้องต้นได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเร่งเข้าตรวจสอบตามที่ชาวบ้านร้องเรียนเพื่อให้ทราบข้อเท็จจริงโดยด่วน
พร้อมตั้งคณะกรรมการร่วมหลายฝ่ายเพื่อร่วมกันตรวจสอบ หากพบว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐคนใดเอื้อประโยชน์ให้แก่กลุ่มนายทุนเพื่อให้ได้โฉนดที่ดิน และเอกสารสิทธิ ส.ป.ก.4-01 โดยไม่ถูกต้องและชอบธรรม จะต้องถูกดำเนินคดีทางวินัยและอาญา รวมทั้งทางเพ่งกรณีที่ทำให้ภาครัฐได้รับความเสียหาย
นอกจากนั้นเมื่อช่วงเที่ยงวันที่ 20 ต.ค.ที่ผ่านมา นายเจริญ จิตพิภพ นายช่างสำรวจ 6 หัวหน้ากลุ่มช่างสำรวจ ส.ป.ก.สุราษฏร์ธานี นายสุมล พัฒนราช หัวหน้าประสานงานป้องกันรักษาป่า (นปป.) ประจำจังหวัดสุราษฏร์ธานี ที่ 2 สำนักงานประสานงานภาคสนามที่ 4 ภาคใต้ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สายตรวจตำรวจป่าไม้ประจำจังหวัดสุราษฏร์ธานี ได้ลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบ โดยมีนายโพธิ์ เพชรชิต พร้อมด้วยตัวแทนชาวบ้านได้นำชี้ตรวจบริเวณพื้นที่ของกลุ่มนายทุนที่ได้โฉนดที่ดินและที่ชาวบ้านอ้างว่าได้เอกสารสิทธิ ส.ป.ก.4-01
หลังจากการตรวจพิกัดด้วยสัญญาณดาวเทียม (จีพีเอส ) ตรวจสอบแล้ว นายสุมล พัฒนราช กล่าวว่า จากการตรวจสอบเบื้องต้นปรากฏว่าพื้นที่ที่กลุ่มนายทุนคนดังจาก จ.ภูเก็ตได้รับโฉนดที่ดินจำนวน 34 แปลง เนื้อที่ 553-1-43 ไร่นั้น อยู่นอกเขตปฏิรูปที่ดิน ส.ป.ก.และนอกเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าบ้านนา ป่าท่าเรือ และป่าเคียนซาเดิม หลังจากที่มีพระราชกฤษฏีกา ประกาศให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดินเมื่อปี 2542 โดยน่าจะได้โดยชอบธรรมตามโครงการเดินสำรวจออกโฉนดตั้งตำบลทั่วประเทศเมื่อปี 2539 ที่ไม่ต้องมีใบ สค.1 หรือใบเหยียบย่ำ เพียงแต่มีการครอบครองทำประโยชน์ที่ดินก็เพียงพอแล้ว

สำหรับประเด็นที่ชาวบ้านอ้างว่าได้ออกเอกสารสิทธิ ส.ป.ก.4-01 จำนวน 426 ไร่นั้น จากการตรวจสอบพื้นที่ดังกล่าวไม่ได้มีการออก ส.ป.ก.4-01 ซึ่งจะต้องตรวจสอบว่า ได้ปรับปรุงพื้นที่คืนให้กับภาครัฐหรือว่าอยู่ในช่วงที่กำลังเช่าเพื่อทำผลประโยชน์หรือไม่ ถ้าไม่มีบริษัทฯได้ครอบครองพื้นที่ดังกล่าวเพื่อปลูกสวนยางพาราโดยมิชอบธรรม ซึ่งถือว่ามีความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ 2507 ฐานบุกรุก ครอบครอง
นอกจากนี้ จากการตรวจสอบยังพบว่ามีการทำเหมืองแร่เกินกว่าที่ได้รับสัมปทาน 226-143 ไร่จริง ภายในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าบ้านนา ป่าท่าเรือ และป่าเคียนซามากกว่า 1-1.5 พันไร่
นายสุมล กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับการตรวจพิกัดตรวจสอบที่ดินในครั้งนี้ยังไม่แน่ชัดว่าถูกต้องหรือไม่ ซึ่งจะต้องให้ผู้เชี่ยวชาญด้านการรังวัดที่ดิน ด้านแผนที่เกี่ยวข้องร่วมกันพิสูจน์ตรวจสอบให้แน่ชัดอีกครั้ง
ด้านนายอดุล คงเจริญ หัวหน้าฝ่ายจัดการทรัพยากรธรรมชาติส่วนใช้ประโยชน์ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดราษฎร์ธานี กล่าวว่า บริษัท เหมืองแร่สุราษฎร์ จำกัด ได้สัมปทานเมื่อวันที่ 11 ก.พ. 23 หมดอายุ 10 กพ.37 เนื้อที่ 226-143 ไร่ เมื่อหมดสัมปทานบัตรแล้วทางบริษัทฯไม่ได้ปรับปรุงที่ดินคืนให้แก่ภาครัฐ และไม่ได้มีการขอเช่าเพื่อทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าว และพื้นที่ตรงนั้นตามข้อตกลงระหว่างสำนักงานป่าไม้ กับสำนักงานปฏิรูปที่ดิน ได้กันออกจากเขตปฏิรูปที่ดินเป็นที่ดินเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าบ้านนา ป่าท่าเรือ และป่าเคียนซา การครอบครองเพื่อทำประโยชน์ต่อนั้นเท่ากับเป็นการบุกรุกป่าสงวนฯ ผิด พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ 2507
ขณะที่กลุ่มชาวบ้านเหมืองแกะ กล่าวว่า ภายหลังที่ได้ร่วมกับเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานต่างๆ ลงพื้นที่ทำการตรวจสอบที่ดินนั้น ได้ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการได้มาซึ่งโฉนดที่ดินว่า ไม่ได้อยู่ในพื้นที่เขตป่าสงวนแห่งชาติตามที่ได้รับการร้องเรียน แต่ว่าการออกเอกสารสิทธิ ส.ป.ก.4-01 ระหว่างพื้นที่ที่ได้กันออกจากเขตปฏิรูปที่ดินแปลงที่ 9 เนื้อที่ 426 ไร่ กับพื้นที่แนวเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าบ้านนา ป่าท่าเรือ และป่าเคียนซา ก่อนที่จะมีพระราชกฤษฏีกา ประกาศให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดินเมื่อปี 2542 ซึ่งพื้นที่บริเวณนั้นบริษัทเหมืองแร่สุราษฎร์ จำกัด ได้ทำเหมืองแร่เกินเนื้อที่สัมปทานจริงประมาณกว่า 1,500 ไร่
ทั้งนี้ มีการครอบครองอย่างต่อเนื่องและมีการบุกรุกป่าสงวนฯครอบครองต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2523 จนกระทั่งกลุ่มญาติและพรรคพวกของบริษัทฯดังกล่าวได้รับเอกสารสิทธิ ส.ป.ก.4-01 ในปัจจุบันนั้น อยากให้มีการตรวจสอบรายชื่อบุคคลที่ได้รับเอกสารสิทธิดังกล่าวว่ามีคุณสมบัติตามที่ ส.ป.ก.กำหนดหรือไม่ เช่น เป็นเกษตรกรจริงหรือไม่ และพื้นที่บริเวณนั้นบริษัทเหมืองแร่สุราษฎร์ จำกัด ได้บุกรุกป่าสงวนแห่งชาติ จึงไม่น่าออก ส.ป.ก4.-01 ให้แก่พรรคพวกญาติพี่น้องกลุ่มบริษัทดังกล่าว
จากกรณีที่ชาวบ้านชุมชนบ้านเหมืองแกะ ต.นาสาร อ.บ้านนาสาร จ.สุราษฏร์ธานี นำโดยนายโพธิ์ เพชรชิต ได้รวบรวมรายชื่อชาวบ้าน 200 ราย เข้ายื่นต่อนายวิจิตร วิชัยสาร ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฏร์ธานี เพื่อขอให้มีการตรวจสอบการได้มาซึ่งโฉนดที่ดินและเอกสารสิทธิ ส.ป.ก.4-01 ของกลุ่มนายหัวคนดังจาก จ.ภูเก็ต บริษัท เหมืองแร่สุราษฏร์ จำกัด ซึ่งหมดสัมปทานบัตรการทำเหมืองแร่ดีบุก ไปตั้งแต่เมื่อปี 2537
แต่กลับไม่มีการคืนที่ดินดังกล่าวให้แก่รัฐ พร้อมทั้งได้ยึดครองที่ดินทำสวนยางพารา และในช่วงที่อยู่ระหว่างการได้สัมปทาน ยังได้มีการทำเหมืองแร่ดีบุกเกินเนื้อที่ได้รับสัมปทานจริงกว่า 1 พันไร่ดังกล่าวว่ามีความชอบธรรมหรือไม่ ตามข่าวที่เสนอไปแล้วนั้น
เกี่ยวกับความคืบหน้าเรื่องดังกล่าวนายธวัชชัย เทอดเผ่าไท รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฏร์ธานี ซึ่งเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบ กล่าวว่า เบื้องต้นได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเร่งเข้าตรวจสอบตามที่ชาวบ้านร้องเรียนเพื่อให้ทราบข้อเท็จจริงโดยด่วน
พร้อมตั้งคณะกรรมการร่วมหลายฝ่ายเพื่อร่วมกันตรวจสอบ หากพบว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐคนใดเอื้อประโยชน์ให้แก่กลุ่มนายทุนเพื่อให้ได้โฉนดที่ดิน และเอกสารสิทธิ ส.ป.ก.4-01 โดยไม่ถูกต้องและชอบธรรม จะต้องถูกดำเนินคดีทางวินัยและอาญา รวมทั้งทางเพ่งกรณีที่ทำให้ภาครัฐได้รับความเสียหาย
นอกจากนั้นเมื่อช่วงเที่ยงวันที่ 20 ต.ค.ที่ผ่านมา นายเจริญ จิตพิภพ นายช่างสำรวจ 6 หัวหน้ากลุ่มช่างสำรวจ ส.ป.ก.สุราษฏร์ธานี นายสุมล พัฒนราช หัวหน้าประสานงานป้องกันรักษาป่า (นปป.) ประจำจังหวัดสุราษฏร์ธานี ที่ 2 สำนักงานประสานงานภาคสนามที่ 4 ภาคใต้ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สายตรวจตำรวจป่าไม้ประจำจังหวัดสุราษฏร์ธานี ได้ลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบ โดยมีนายโพธิ์ เพชรชิต พร้อมด้วยตัวแทนชาวบ้านได้นำชี้ตรวจบริเวณพื้นที่ของกลุ่มนายทุนที่ได้โฉนดที่ดินและที่ชาวบ้านอ้างว่าได้เอกสารสิทธิ ส.ป.ก.4-01
หลังจากการตรวจพิกัดด้วยสัญญาณดาวเทียม (จีพีเอส ) ตรวจสอบแล้ว นายสุมล พัฒนราช กล่าวว่า จากการตรวจสอบเบื้องต้นปรากฏว่าพื้นที่ที่กลุ่มนายทุนคนดังจาก จ.ภูเก็ตได้รับโฉนดที่ดินจำนวน 34 แปลง เนื้อที่ 553-1-43 ไร่นั้น อยู่นอกเขตปฏิรูปที่ดิน ส.ป.ก.และนอกเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าบ้านนา ป่าท่าเรือ และป่าเคียนซาเดิม หลังจากที่มีพระราชกฤษฏีกา ประกาศให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดินเมื่อปี 2542 โดยน่าจะได้โดยชอบธรรมตามโครงการเดินสำรวจออกโฉนดตั้งตำบลทั่วประเทศเมื่อปี 2539 ที่ไม่ต้องมีใบ สค.1 หรือใบเหยียบย่ำ เพียงแต่มีการครอบครองทำประโยชน์ที่ดินก็เพียงพอแล้ว
สำหรับประเด็นที่ชาวบ้านอ้างว่าได้ออกเอกสารสิทธิ ส.ป.ก.4-01 จำนวน 426 ไร่นั้น จากการตรวจสอบพื้นที่ดังกล่าวไม่ได้มีการออก ส.ป.ก.4-01 ซึ่งจะต้องตรวจสอบว่า ได้ปรับปรุงพื้นที่คืนให้กับภาครัฐหรือว่าอยู่ในช่วงที่กำลังเช่าเพื่อทำผลประโยชน์หรือไม่ ถ้าไม่มีบริษัทฯได้ครอบครองพื้นที่ดังกล่าวเพื่อปลูกสวนยางพาราโดยมิชอบธรรม ซึ่งถือว่ามีความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ 2507 ฐานบุกรุก ครอบครอง
นอกจากนี้ จากการตรวจสอบยังพบว่ามีการทำเหมืองแร่เกินกว่าที่ได้รับสัมปทาน 226-143 ไร่จริง ภายในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าบ้านนา ป่าท่าเรือ และป่าเคียนซามากกว่า 1-1.5 พันไร่
นายสุมล กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับการตรวจพิกัดตรวจสอบที่ดินในครั้งนี้ยังไม่แน่ชัดว่าถูกต้องหรือไม่ ซึ่งจะต้องให้ผู้เชี่ยวชาญด้านการรังวัดที่ดิน ด้านแผนที่เกี่ยวข้องร่วมกันพิสูจน์ตรวจสอบให้แน่ชัดอีกครั้ง
ด้านนายอดุล คงเจริญ หัวหน้าฝ่ายจัดการทรัพยากรธรรมชาติส่วนใช้ประโยชน์ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดราษฎร์ธานี กล่าวว่า บริษัท เหมืองแร่สุราษฎร์ จำกัด ได้สัมปทานเมื่อวันที่ 11 ก.พ. 23 หมดอายุ 10 กพ.37 เนื้อที่ 226-143 ไร่ เมื่อหมดสัมปทานบัตรแล้วทางบริษัทฯไม่ได้ปรับปรุงที่ดินคืนให้แก่ภาครัฐ และไม่ได้มีการขอเช่าเพื่อทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าว และพื้นที่ตรงนั้นตามข้อตกลงระหว่างสำนักงานป่าไม้ กับสำนักงานปฏิรูปที่ดิน ได้กันออกจากเขตปฏิรูปที่ดินเป็นที่ดินเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าบ้านนา ป่าท่าเรือ และป่าเคียนซา การครอบครองเพื่อทำประโยชน์ต่อนั้นเท่ากับเป็นการบุกรุกป่าสงวนฯ ผิด พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ 2507
ขณะที่กลุ่มชาวบ้านเหมืองแกะ กล่าวว่า ภายหลังที่ได้ร่วมกับเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานต่างๆ ลงพื้นที่ทำการตรวจสอบที่ดินนั้น ได้ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการได้มาซึ่งโฉนดที่ดินว่า ไม่ได้อยู่ในพื้นที่เขตป่าสงวนแห่งชาติตามที่ได้รับการร้องเรียน แต่ว่าการออกเอกสารสิทธิ ส.ป.ก.4-01 ระหว่างพื้นที่ที่ได้กันออกจากเขตปฏิรูปที่ดินแปลงที่ 9 เนื้อที่ 426 ไร่ กับพื้นที่แนวเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าบ้านนา ป่าท่าเรือ และป่าเคียนซา ก่อนที่จะมีพระราชกฤษฏีกา ประกาศให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดินเมื่อปี 2542 ซึ่งพื้นที่บริเวณนั้นบริษัทเหมืองแร่สุราษฎร์ จำกัด ได้ทำเหมืองแร่เกินเนื้อที่สัมปทานจริงประมาณกว่า 1,500 ไร่
ทั้งนี้ มีการครอบครองอย่างต่อเนื่องและมีการบุกรุกป่าสงวนฯครอบครองต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2523 จนกระทั่งกลุ่มญาติและพรรคพวกของบริษัทฯดังกล่าวได้รับเอกสารสิทธิ ส.ป.ก.4-01 ในปัจจุบันนั้น อยากให้มีการตรวจสอบรายชื่อบุคคลที่ได้รับเอกสารสิทธิดังกล่าวว่ามีคุณสมบัติตามที่ ส.ป.ก.กำหนดหรือไม่ เช่น เป็นเกษตรกรจริงหรือไม่ และพื้นที่บริเวณนั้นบริษัทเหมืองแร่สุราษฎร์ จำกัด ได้บุกรุกป่าสงวนแห่งชาติ จึงไม่น่าออก ส.ป.ก4.-01 ให้แก่พรรคพวกญาติพี่น้องกลุ่มบริษัทดังกล่าว