ศูนย์ข่าวภูเก็ต-จังหวัดภูเก็ตเตรียมทุ่มงบ 60 ล้านบาท ผุดโรงฆ่าสัตว์มาตรฐานสากลแห่งแรกในภูเก็ต รองรับการเป็นเมือง“อาหารปลอดภัย” ชี้ฆ่าสุกรได้ชั่วโมงละ 50 ตัว เผยอนาคตภูเก็ตจะเป็นฐานส่งออกเนื้อสัตว์ชำแหละของฝั่งอันดามัน หลังผลิตเนื้อสัตว์ชำแหละได้พอเพียงต่อความต้องการของจังหวัด
นายสุนาถ วงศ์ชวลิต ปศุสัตว์จังหวัดภูเก็ต กล่าวถึงโครงการก่อสร้างโรงฆ่าสัตว์มาตรฐานในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต เพื่อรองรับการเป็นเมืองอาหารปลอดภัยว่า จังหวัดภูเก็ตเป็นจังหวัดหนึ่งที่ยังไม่มีโรงฆ่าสัตว์ที่ได้มาตรฐานรองรับการฆ่าสัตว์เพื่อนำมาเป็นอาหารเพื่อใช้บริโภคในพื้นที่ ทางจังหวัดมองว่าภูเก็ตในฐานะที่เป็นเมืองท่องเที่ยวและเป็นเมืองที่ให้ความสำคัญในเรื่องของอาหารปลอดภัย ควรที่จะมีการก่อสร้างโรงฆ่าสัตว์ที่ได้มาตรฐานขึ้น
โดยขณะนี้ภูเก็ตมีโรงฆ่าสัตว์กระจายอยู่ในพื้นที่ประมาณ 17 แห่ง แต่เป็นโรงฆ่าสัตว์ที่ไม่ได้ขออนุญาตจัดตั้งให้ถูกต้อง และเป็นโรงฆ่าสัตว์ที่ดำเนินการโดยเอกชนเพราะฉะนั้นเพื่อให้ภูเก็ตมีโรงฆ่าสัตว์ที่ได้มาตรฐานสากลทางสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดภูเก็ต จึงร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ภูเก็ต จัดทำโครงการดังกล่าวขึ้น
สำหรับการดำเนินการนั้นขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนของการจังตั้งงบประมาณเพื่อนำมาใช้ในการดำเนินการ ซึ่งทาง อบจ.กำหนดตั้งงบประมาณในการสร้างโรงฆ่าสัตว์จำนวน 40-60 ล้านบาท เป็นงบประมาณในปี 2548 และกำลังอยู่ระหว่างการนำแผนงานโครงการเสนอเข้าที่ประชุมสภา อบจ.เพื่อลงมติ คาดว่าโครงการนี้น่าจะได้รับการสนับสนุนจาก อบจ.ภูเก็ต เพราะถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมาก
นายสุนาถ กล่าวต่อว่า สำหรับการสร้างโรงงานฆ่าสัตว์ที่จังหวัดภูเก็ตนั้น ทาง อบจ.จะเป็นเจ้าภาพในการดำเนินการสร้างบนเนื้อที่ดินราชพัสดุจำนวน15 ไร่ บริเวณตำบลศรีสุนทร อำเภอถลาง โดยโรงฆ่าสัตว์ดังกล่าวจะเป็นโรงฆ่าสัตว์ที่ได้มาตรฐานสากลและเป็นที่ยอมรับในระดับโลก สามารถส่งเนื้อสัตว์ที่จำแหละไปจำหน่ายในต่างประเทศได้เลย
ส่วนการฆ่าสัตว์นั้นจะแยกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรงเป็นโรงฆ่าสุกร ซึ่งจัดให้เป็นโรงฆ่าที่ทันสมัย ประกอบด้วยลานจอดรถ คอกพัก โรงงาน ห้องเย็น บ่อบำบัดน้ำเสียและปฏิกูลที่ไม่ก่อให้เกิดกลิ่น และที่สำคัญจะไม่มีเสียงรบกวน เพราะการฆ่าสุกรที่โรงฆ่าสัตว์แห่งนี้จะใช้วิธีเดียวกับในต่างประเทศที่จะทำให้สัตว์ตายแบบทันทีและตายอย่างมีความสุข
ส่วนรอบๆ โรงงานจะมีรั้วปิดมิดชิด มีสวนต้นไม้เป็นฉนวน และสร้างทัศนียภาพให้สวยงาม นอกจากนั้นสัตว์ที่จะนำเข้ามาฆ่าที่โรงฆ่าสัตว์แห่งนี้จะต้องผ่านการตรวจมาตรฐานโดยสัตวแพทย์ประจำโรงงานตามหลักสากล สิ่งที่ตามมา คือ ชาวภูเก็ตจะได้รับประทานเนื้อสัตว์ที่สะอาดและไม่มีเชื้อก่อโรคมะเร็ง โดยโรงฆ่าสัตว์ดังกล่าว สามารถรองรับการฆ่าสุกรได้ชั่วโมงละ 50 ตัว ซึ่งปกติตอนนี้จังหวัดภูเก็ตมีการฆ่าสุกรวันละ 400-500 ตัว
ส่วนโรงฆ่าวัวนั้นจะแยกจากโรงฆ่าสุกรอย่างจัดเจน กันทางเข้าออกไว้คนละทาง และการฆ่าจะเป็นไปตามหลักปฏิบัติอาหารฮาลาล ของศาสนาอิสลามทุกขั้นตอน เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนและนักท่องเที่ยวที่นับถือศาสนาอิสลาม
สำหรับผู้ค้าสุกรและวัวชำแหละเดิมนั้นจะได้รับประโยชน์จากการตั้งโรงงานฆ่าสัตว์ หลายประการด้วยกัน ทั้งในเรื่องของค่าใช้จ่ายในการฆ่าที่ถูกลง เพราะโรงฆ่าสัตว์แห่งนี้ อบจ.ภูเก็ตจะเป็นผู้ดูแล ผู้ค้าเนื้อไม่ต้องเสียเวลาในการหาที่พักสัตว์ มีระบบการสั่งสินค้าที่ชัดเจน เนื้อที่ได้ออกมาจะเป็นเนื้อที่สะอาดมีความปลอดภัย ผ่านการรับรองตามมาตรฐานสากล
นายสุนาถ กล่าวต่อว่า ในอนาคต ภูเก็ตอาจจะเป็นผู้นำเข้าสัตว์จากพื้นที่อื่นๆ เข้ามาเพื่อชำเหละส่งขายไปยังต่างประเทศได้ หลังจากที่เราสามารถผลิตเนื้อสัตว์ชำแหละได้พอเพียงต่อความต้องการของจังหวัด เพราะโรงฆ่าสัตว์ที่จะสร้างใหม่นั้นเป็นโรงฆ่าสัตว์ที่ได้มาตรฐานในระดับสากลและสามารถส่งเนื้อสัตว์ที่ผ่านการฆ่าจากโรงงานดังกล่าวไปยังต่างประเทศ
นายสุนาถ วงศ์ชวลิต ปศุสัตว์จังหวัดภูเก็ต กล่าวถึงโครงการก่อสร้างโรงฆ่าสัตว์มาตรฐานในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต เพื่อรองรับการเป็นเมืองอาหารปลอดภัยว่า จังหวัดภูเก็ตเป็นจังหวัดหนึ่งที่ยังไม่มีโรงฆ่าสัตว์ที่ได้มาตรฐานรองรับการฆ่าสัตว์เพื่อนำมาเป็นอาหารเพื่อใช้บริโภคในพื้นที่ ทางจังหวัดมองว่าภูเก็ตในฐานะที่เป็นเมืองท่องเที่ยวและเป็นเมืองที่ให้ความสำคัญในเรื่องของอาหารปลอดภัย ควรที่จะมีการก่อสร้างโรงฆ่าสัตว์ที่ได้มาตรฐานขึ้น
โดยขณะนี้ภูเก็ตมีโรงฆ่าสัตว์กระจายอยู่ในพื้นที่ประมาณ 17 แห่ง แต่เป็นโรงฆ่าสัตว์ที่ไม่ได้ขออนุญาตจัดตั้งให้ถูกต้อง และเป็นโรงฆ่าสัตว์ที่ดำเนินการโดยเอกชนเพราะฉะนั้นเพื่อให้ภูเก็ตมีโรงฆ่าสัตว์ที่ได้มาตรฐานสากลทางสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดภูเก็ต จึงร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ภูเก็ต จัดทำโครงการดังกล่าวขึ้น
สำหรับการดำเนินการนั้นขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนของการจังตั้งงบประมาณเพื่อนำมาใช้ในการดำเนินการ ซึ่งทาง อบจ.กำหนดตั้งงบประมาณในการสร้างโรงฆ่าสัตว์จำนวน 40-60 ล้านบาท เป็นงบประมาณในปี 2548 และกำลังอยู่ระหว่างการนำแผนงานโครงการเสนอเข้าที่ประชุมสภา อบจ.เพื่อลงมติ คาดว่าโครงการนี้น่าจะได้รับการสนับสนุนจาก อบจ.ภูเก็ต เพราะถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมาก
นายสุนาถ กล่าวต่อว่า สำหรับการสร้างโรงงานฆ่าสัตว์ที่จังหวัดภูเก็ตนั้น ทาง อบจ.จะเป็นเจ้าภาพในการดำเนินการสร้างบนเนื้อที่ดินราชพัสดุจำนวน15 ไร่ บริเวณตำบลศรีสุนทร อำเภอถลาง โดยโรงฆ่าสัตว์ดังกล่าวจะเป็นโรงฆ่าสัตว์ที่ได้มาตรฐานสากลและเป็นที่ยอมรับในระดับโลก สามารถส่งเนื้อสัตว์ที่จำแหละไปจำหน่ายในต่างประเทศได้เลย
ส่วนการฆ่าสัตว์นั้นจะแยกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรงเป็นโรงฆ่าสุกร ซึ่งจัดให้เป็นโรงฆ่าที่ทันสมัย ประกอบด้วยลานจอดรถ คอกพัก โรงงาน ห้องเย็น บ่อบำบัดน้ำเสียและปฏิกูลที่ไม่ก่อให้เกิดกลิ่น และที่สำคัญจะไม่มีเสียงรบกวน เพราะการฆ่าสุกรที่โรงฆ่าสัตว์แห่งนี้จะใช้วิธีเดียวกับในต่างประเทศที่จะทำให้สัตว์ตายแบบทันทีและตายอย่างมีความสุข
ส่วนรอบๆ โรงงานจะมีรั้วปิดมิดชิด มีสวนต้นไม้เป็นฉนวน และสร้างทัศนียภาพให้สวยงาม นอกจากนั้นสัตว์ที่จะนำเข้ามาฆ่าที่โรงฆ่าสัตว์แห่งนี้จะต้องผ่านการตรวจมาตรฐานโดยสัตวแพทย์ประจำโรงงานตามหลักสากล สิ่งที่ตามมา คือ ชาวภูเก็ตจะได้รับประทานเนื้อสัตว์ที่สะอาดและไม่มีเชื้อก่อโรคมะเร็ง โดยโรงฆ่าสัตว์ดังกล่าว สามารถรองรับการฆ่าสุกรได้ชั่วโมงละ 50 ตัว ซึ่งปกติตอนนี้จังหวัดภูเก็ตมีการฆ่าสุกรวันละ 400-500 ตัว
ส่วนโรงฆ่าวัวนั้นจะแยกจากโรงฆ่าสุกรอย่างจัดเจน กันทางเข้าออกไว้คนละทาง และการฆ่าจะเป็นไปตามหลักปฏิบัติอาหารฮาลาล ของศาสนาอิสลามทุกขั้นตอน เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนและนักท่องเที่ยวที่นับถือศาสนาอิสลาม
สำหรับผู้ค้าสุกรและวัวชำแหละเดิมนั้นจะได้รับประโยชน์จากการตั้งโรงงานฆ่าสัตว์ หลายประการด้วยกัน ทั้งในเรื่องของค่าใช้จ่ายในการฆ่าที่ถูกลง เพราะโรงฆ่าสัตว์แห่งนี้ อบจ.ภูเก็ตจะเป็นผู้ดูแล ผู้ค้าเนื้อไม่ต้องเสียเวลาในการหาที่พักสัตว์ มีระบบการสั่งสินค้าที่ชัดเจน เนื้อที่ได้ออกมาจะเป็นเนื้อที่สะอาดมีความปลอดภัย ผ่านการรับรองตามมาตรฐานสากล
นายสุนาถ กล่าวต่อว่า ในอนาคต ภูเก็ตอาจจะเป็นผู้นำเข้าสัตว์จากพื้นที่อื่นๆ เข้ามาเพื่อชำเหละส่งขายไปยังต่างประเทศได้ หลังจากที่เราสามารถผลิตเนื้อสัตว์ชำแหละได้พอเพียงต่อความต้องการของจังหวัด เพราะโรงฆ่าสัตว์ที่จะสร้างใหม่นั้นเป็นโรงฆ่าสัตว์ที่ได้มาตรฐานในระดับสากลและสามารถส่งเนื้อสัตว์ที่ผ่านการฆ่าจากโรงงานดังกล่าวไปยังต่างประเทศ