“มันเหมือนเป็นสิ่งที่เราทำทุกวันอยู่แล้วมันก็เลยแบบว่า เราไม่ต้องจำกัดขอบเขตมันว่าคิดอย่างนี้คิดอย่างนี้แต่มันเหมือนการปลดปล่อยของเรามากกว่า เหมือนกับว่าเป็นแบรนด์ที่เราทำเพื่อปลดปล่อยในสิ่งที่เราอยากทำ ใช่ มันเลยไม่ฟิกซ์กันเรื่องความคิด”
เมย์-อรุณโรจน์ บุญฉลอง และ มิ้น-อารีนา ปิ่นมุข สองศิลปินเจ้าของแบรนด์ “MAMAD”(มาแม๊ด) ผู้ขับเคลื่อนธุรกิจแฟชั่นจากงานศิลปะ(ลายเส้น) แบบตัวเองที่ทุกคนจับต้องได้ โดยเมย์เล่าให้ฟังว่าทั้งสองคนเรียนจบมาทางด้านวิจิตรศิลป์จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จริง ๆ สาขาที่เรียนกันมาจะเป็นแนว abstract แต่ว่าพอมาทำงานของตัวเองที่ออกมาก็จะเป็นแนว semi abstract มากกว่าก็ประมาณแบบลายเส้นแบบดูเป็นจินตนาการหน่อย “จริง ๆ อยากให้เหมือนแบบว่าเข้ามาอยู่ใน “ยูโทเปีย” ของเรา ในโลกของมาแม๊ด(MaMad) ก็คือเป็นแฟชั่นที่แบบไม่มีขอบเขต ที่นำงานอาร์ตที่เป็นลายเส้นของทั้งเมย์และมิ้นมาถ่ายทอดให้แบบรู้สึก “สนุก” อะไรอย่างเงี้ยมากกว่า”เริ่มจากความชอบและก็ทดลองทำตั้งแต่ตอนเรียนจบเลย ก็คือทำงานประจำมาก่อน 2 ปีทั้งสองคนทำงานด้านกราฟิกดีไซน์ แล้วก็เริ่มรับ job อื่น(ทำของพรีเมียม) ออกแบบพร้อม ๆ กับการเริ่มทดลองทำ “งานของตัวเอง” ควบคู่ไปด้วย ออกมาตอนแรกทำเป็นผ้าพันคอ(เป็นลายของตัวเอง) ปรากฏว่าก็ได้รับผลตอบรับที่ดี หลังจากนั้นก็ค่อย ๆ ขยายมาเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และอื่น ๆ ที่ตามมาอีกมากมาย ก็ค่อย ๆ ทำมาช่วยกันทั้งสองคน จนเกิดเป็นแบรนด์ “MAMAD”
สร้างสรรค์งานตามจินตนาการ ทั้งลายเส้นและ Product ต่าง ๆ ที่อยากให้เป็น
อยากมีธุรกิจเป็นของตัวเองอยู่แล้ว คือชอบขายของตั้งแต่เรียนอยู่มหาวิทยาลัยแล้ว มีบ้างและก็รู้สึกว่ามันอิสระด้วยในการทำ
แล้วพอทำแล้วมันเวิร์คเราก็ทำต่อ แล้วก็ได้เป็นตัวของตัวเองด้วย“จริง ๆ ก็มีเห็นแบรนด์อื่นบ้าง แต่ส่วนใหญ่จะเกิดจากความที่เราอยากทำเองมากกว่า เพราะว่าลายเส้นอะไรเงี้ยเราก็จะฟรีเลยว่าเป็นลายเส้นของเราไม่มีการแบบ นักออกแบบจะมี 2 คนใช่ไหมคะแต่เราอาจจะฟรีในการออกแบบทั้งสองท่านเลย อยากให้มันเกิดเป็นสิ่งใหม่ที่แตกต่าง” ส่วนหนึ่งของที่มาอินสไปร์คือเกิดจากการไปเที่ยวก็มี หรือว่าเราเห็นสิ่งไหนที่เราชอบแล้วเราอยากทำ แต่จริง ๆ เราต้องรวบรวมข้อมูลก่อน ก่อนที่จะทำแต่บางเรื่องมันอาจจะเป็นเรื่องไกลตัว เหมือน “มนุษย์ต่างดาว” เป็นเนื้อเรื่องที่แบบดูคูล ๆ หน่อย เราอยากจับมาทำเป็นแบบแนว “MaMad” หรือบางทีก็จะไม่มีในชีวิตประจำวันเลยแต่เราอยากวาดอันนี้“เป็น monster อะไรอย่างเงี้ยค่ะ ใช่ มันก็เลยอยู่ในจินตนาการในหัวเป็นหลัก แต่ว่าพอมันเป็นงานธุรกิจ ก็เริ่มต้องคิดแล้วว่าเหมือนให้แบรนด์มันอยู่ต่อได้ใช่ไหมคะ อาจจะมีบางโจทย์ที่เราแบบต้องตั้ง ตั้งแบบเขาเรียกว่าอะไร ตั้งขึ้นมาว่าเหมาะกับใครอะไรอย่างเงี้ยค่ะ อย่างเช่นฟังก์ชั่นที่เราควรจะมีคิดก่อนวาดลงไป หรือทำอะไรให้แบบลูกค้ายังรับได้บ้างอะไรเงี้ยค่ะ ใช่ ก็มันเกี่ยวกับเรื่องยอดขายด้วยอะไรเงี้ยค่ะ มีบ้าง ๆ”
รูปแบบหรือแนวของ Product ที่ทำออกมา จริง ๆ จะทำตามอารมณ์ทั้งสองคน เอ๊ยอยากทำอะไร จริง ๆ แบรนด์นี้ก็เหมือนตอบโจทย์ของความต้องการที่อยากทำของเราเอง เหมือนบางทีอย่างตอนโควิดฯ อาจจะมี กระถางต้นไม้ เหมือนเพนท์อยู่บ้านอะไรแบบนี้ บางทีแบบคิดโปรเจกท์อะไรได้ที่อยากทำ ก็จะทำเพิ่ม อย่างเช่นmouse แผ่นรองเม้าส์ คือจะไม่ได้จำเพาะเจาะจงว่าต้องทำเป็นอะไรเท่านั้น จริง ๆ แบบอยากทำพวกเฟอร์นิเจอร์อะไรอย่างนี้ด้วย ในอนาคตอาจจะมีบ้าง แต่ถ้าในอนาคตอันใกล้นี้ก็จะมีเป็นพวกเสื้อผ้าที่เพิ่มมากขึ้น
แจ้งเกิดแบรนด์ได้จาก “ตลาดนัด” ปัจจุบันออนไลน์ก็สำคัญเพราะทำให้คนรู้จัก
“จริง ๆ ก็คือต้นทุนน้อยด้วยค่ะตั้งแต่แรก แล้วก็พยายามจะไม่เอาเงินจากคนอื่นหรือแบบ “กู้”อะไรอย่างเงี้ยมา เราก็คือจะโตมาจากทุนน้อย ๆ เลยแล้วก็ค่อย ๆ ขยายไป”ขายครั้งแรกเลยคือเป็นตลาดนัด เป็นเหมือนแบบตั้งแต่เมื่อ 9 ปีที่แล้ว(แบรนด์ก็ทำมาประมาณ 10ปี) ตอนนั้นยังทุนน้อยก็จะเป็นแบบตลาดนัดทั่วไปเลย ช่วงนั้นลูกค้าก็จะเดินตลาดนัดกันเยอะแล้วเราทุนน้อยก็จะลองดูก่อน ลองตามตลาดนัดหรือตามห้างฯ บ้างอะไรอย่างเงี้ย ก็มียอดขายมาเรื่อย ๆ ซึ่งในสมัยนั้นถ้าเรียกว่าเป็น “ทำเลทอง” ของแบรนด์มาแม๊ดเลยก็จะเป็นเมกะบางนาอันนั้นคือจะขายหลายปีเลย(ตอนนั้นยังทุนน้อย) แต่ว่าลูกค้าตอบรับดีแล้วลูกค้าจำเราได้ แล้วหลัง ๆ ก็เริ่มมาเป็นฝากขาย ออกอีเว้นต์ตามห้าง และทำการตลาดออนไลน์ควบคู่มาด้วย “ช่องทางออนไลน์จะมีทำมาตลอดตั้งแต่แรก เมย์ทำเพจ เหมือนเป็นคนชอบศึกษาการตลาดเราก็จะทำแบบรู้บ้างไม่รู้บ้างอย่างเงี้ยค่ะ แต่ว่าก็จะทยอยทำเพราะรู้สึกว่ามันสำคัญกับการตลาดที่เราควรทำ เฟซบุ้ก ไอจี อะไรอย่างเงี้ยค่ะมีหมดเลย แต่ก็ทีมงานอาจจะน้อยอาจจะค่อย ๆ ทำ” มันดีไหมออนไลน์ ถ้าออนไลน์เมย์รู้สึกว่าลูกค้าได้รู้จักเรามากขึ้น เพราะเรามีการเล่า story บางทีแบบบางลายลูกค้าจะรู้ว่า ลายนี้เกิดจากอะไร ไม่ใช่แค่เพียงแบบลายปริ้นอย่างเดียวแต่แบบมีสตอรี่ของงาน แล้วก็ได้รู้ว่าเราออกอีเว้นต์ที่ไหน กลุ่มลูกค้าก็จะเจอเราง่ายบางทีถ้าไม่มีออนไลน์ก็จะแบบเจอครั้งเดียว แล้วหายไปเลย“ตั้งแต่ 9 ปีที่แล้วเหมือนเดี๋ยวนี้เขาจะเป็น เหมือนประมาณ Live สด ด้วยค่ะ จำเป็นด้วยค่ะมันเหมือนลูกค้าได้เห็นงานจริงด้วย เพราะบางทีเห็นแค่ภาพพอโปรดักมันเป็นอะไรที่แตกต่าง ลูกค้าจะนึกไม่ออกว่ามันสวยจริงไหม พอเป็นวิดีโอหรือ Live สด อย่างเงี้ยจะเห็นเลยว่าแบบ เฮ้ยงานน่ารักอยากเข้ามาดู อยากเข้ามาลอง”
จริง ๆ ถ้าLive สด ก็คือได้ยอดเยอะ สามารถได้ยอดเยอะเท่าหน้าร้านแต่ว่าเหมือนของเมย์จะมีฝากขาย แล้วก็มีหน้าร้านที่เป็นหลัก เหมือนเราอาจจะเลือกสต็อกที่นี่มากกว่า “การ Live สด อาจจะเป็นเดือนละครั้งเหมือนช่วง 2.2 หรือ 3.3 อะไรงี้ เพื่อแบบให้ลูกค้ากระตุ้นยอดขาย เหมือนมีโปรโมชั่นอะไรเงี้ยค่ะ” ถ้าช่องทางหลักก็จะเป็นการออกอีเว้นต์ อย่างการมาออกอีเว้นต์งานแบบวันนี้ The Makers Market ณ ลานโปรโมชั่น ชั้น 1 เซ็นทรัลพลาซ่า ลาดพร้าว อีเว้นต์อย่างนี้ก็สลับแล้วแต่ที่ไปเพื่อให้แบรนด์ได้เข้าถึงลูกค้า ในแต่ละที่อาจจะมีในเมืองบ้าง ก็คือมีลูกค้าต่างชาติ ถ้าเป็นโซนนอกก็จะเป็นลูกค้าไทย อะไรแบบนี้ก็จะสลับไปแล้วก็มีออนไลน์ ช่องทางออนไลน์จะพยายามทำให้ครบหมดทุกแพลตฟอร์มในปัจจุบันที่มีอยู่ แล้วก็จะมีเป็นเว็บไซต์ www.mamadshop88.com ด้วย ลูกค้าสามารถทักเข้ามาถามได้ และก็สต็อกสินค้าก็จะมีการอัปเดตอยู่เรื่อย ๆ ในเพจที่ลูกค้าสามารถเข้ามาติดตามได้ตลอด
กลุ่มลูกค้าของ “MAMAD”
เราจะมีแบ่งพาร์ทเป็นแบบ “คอลเล็กชัน”ต่าง ๆ ก็คือจะมีทั้งแบบออกมาแล้วก็ทำ repeat หลายชิ้นหน่อย กับชุดคอลเล็กชันที่ทำแล้วไม่ทำซ้ำ(คือหมดแล้วก็หมดเลย) เพื่อที่ให้ลูกค้าไม่เบื่อด้วยบางที แต่บางชิ้นก็ repeat เพราะว่ามันเหมือนแบบลูกค้ายังไม่เห็นในนี้ หรือบางทีบางท่านยังไม่เห็นก็จะเห็นชิ้นเก่าเป็นชิ้นใหม่ก็ยังซื้ออยู่อะไรแบบนี้ “ส่วนมากก็จะทำกระเป๋าเป็นหลักแล้วก็ “ลาย” เนี่ยสำคัญเลยค่ะ เหมือนเราขายลายด้วย ลูกค้าบางท่านไม่รู้จักแบรนด์แต่เห็นเราอีกที่หนึ่งเขาก็จำเราได้ว่า อ้อ! แบรนด์ที่อยู่ที่นั่นใช่ไหม? อะไรอย่างเงี้ยค่ะ ส่วนใหญ่จะเป็นลายที่เห็นเลย”ส่วนถ้าพูดถึงหมวดหรือชนิดของสินค้าที่เรามีการทำมาแล้ว ตอนนี้ก็น่าจะมีอยู่ที่ประมาณ 30 หมวดขึ้นไป แต่ละหมวดก็จะมี “ลาย” ที่เยอะมาก เราจะทำ “ลาย” เหมือนหมวกแก๊ปก็จะทำหลายลายมาก ๆ คือถ้าเป็นบางแบรนด์เขาจะทำแค่ 2 ลาย แต่ของเราเหมือนว่าเราสนุกในการทำมากกว่า ก็ทั้งเมย์ทั้งมิ้นก็จะแบ่งกัน ถามว่าทุกครั้งที่ผลิตออกมาขายได้ทั้งหมดไหม? ก็มีบ้างที่แบบแป๊ก! ก็มี(หัวเราะ) มันจะอยู่ที่ว่าความไม่แน่ไม่นอนเหมือนบางลายเราคิดว่าขายไม่ดี ปรากฏขายดีกว่า บางลายเราคิดว่าขายดี ปรากฏช้ามากในการออก แต่ส่วนใหญ่จะตัดสินด้วยนักออกแบบเองว่า เอออยากทำไหมอะไรอย่างเงี้ยมากกว่า
วิธีการป้องกันความเสี่ยง(ในแต่ละครั้งที่จะผลิตออกมา) ถ้าตามหลักการตลาดเลยก็คือ ผลิตน้อยก่อน ลองตลาด “แต่เรื่องจริงก็อาจจะแบบตามอารมณ์นิดนึง อะไรอย่างเงี้ยค่ะ แต่ว่าส่วนใหญ่จะขายหมดนะคะ มันจะเหมือนมีลูกค้าของเขาเอง แต่ว่าบางอันก็อาจจะเหลือสต็อกเยอะหน่อยเหมือนที่เราบอกกันค่ะ อาจจะทำน้อยกว่าลายอื่นในอนาคต” งานของเราจะทำประมาณ คอลเล็กชันเล่าเรื่องอะไร เสนออะไรกับลูกค้า ลูกค้ากลุ่มของเราชอบงานแนวไหน อะไรแบบนี้เหมือนเราต้องทำรีเสิร์ชด้วยในตัวเอง เป็นสิ่งที่เราอยากทำด้วย แล้วก็ค่อย ๆ สเก็ตงานไป และก็พรีเซ้นต์ “พรีเซ้นต์ก็คือเหมือนเราต้องมีความรู้ด้านพรีเซ้นต์หน่อยนิดนึง อาจจะมีเล่าเรื่องสตอรี่ที่เราทำ ถ่ายวิดีโอตอนขั้นตอนเราทำอย่างนี้ค่ะ”เหมือนเพิ่มมูลค่าให้แบรนด์นิดนึง เพราะว่าราคาของเราไม่ได้เป็นราคาพื้นฐานเหมือนงานทั่วไป มันจะทำให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อง่ายขึ้น
จริง ๆ ลูกค้าจริง ๆ จะมีหลายท่านที่แบบ เราไม่คาดคิดว่าเขาจะเป็นลูกค้าของแบรนด์เรา บางท่านแต่งตัวเพลนเลยแต่ชอบของลายอย่างเงี้ยก็มี เพราะเขามองว่ามันเป็นอาร์ตโปรดักส์มันเหมือนแบบว่าเป็นงานที่แตกต่าง มันเหมือนกับเอ้ย! น่ารัก บางคนมองน่ารัก บางคนมองแปลกตา เหมือนอาศัยความชอบล้วน ๆ เลย ใช่ ลูกค้าของแบรนด์จะมีตั้งแต่อายุ 7 ขวบถึง 80 ปี ช่วงอายุของลูกค้า ใช่ ส่วนใหญ่จะชอบงานอาร์ต งานคราฟท์ อะไรแบบนี้มากกว่า
ราคาและการสร้างคุณค่าเพื่อให้เกิดการจดจำ “แบรนด์”
ราคาจะมีเริ่มต้นตั้งแต่ 120 บาท เป็นกระเป๋าใบจิ๋วสำหรับใส่ของกระจุกกระจิกดูน่ารัก ๆ จนไปถึงราคาแพงสุดของร้านตอนนี้ก็คือ 9,990 บาท เป็นกระเป๋าใบใหญ่(มาก) ซึ่งจะเป็นคอลเล็กชันพิเศษที่มีเพียงแค่ 2 ใบเท่านั้น ไม่ทำซ้ำ(Limited) จุดเด่นของคอลเล็กชันนี้ก็คือว่า จะเป็นการทำมือ ทำทีละชิ้น ก็เลยจะมีต้นทุนสูงกว่า แล้วก็ขายงานให้กับคนที่ชอบจริง ๆ“คอลเล็กชันพิเศษก็จะเกิดจาก เป็นสิ่งที่เราอยากทำมากกว่าค่ะ เหมือนเราจะทำ “ตัวแปลก” ให้ลูกค้าได้เห็นแบบ อะไรใหม่ ๆ มากกว่าค่ะอาจจะไม่ได้เน้นขาย แต่ถ้าลูกค้าชอบ ก็ซื้อได้ค่ะ ใช่”ได้ความจดจำนะเมย์ว่า ความจดจำ ก็คือทำเสร็จเราอาจจะมีการถ่ายแบบพอถ่ายแบบเสร็จก็ลงโพสต์ให้ลูกค้าได้เห็น ลูกค้าก็จะมองว่าเฮ้ย! มีทรงนี้ด้วยเหรอแปลกจัง อะไรอย่างเงี้ย ลูกค้าจะเริ่มจำแล้วว่า ของเราไม่เหมือนใคร ใช่ ให้ความ unique กับแบรนด์มากขึ้น ชัดเจนมากขึ้น เป็นสิ่งสำคัญนะเมย์ว่า เพราะว่าแต่ละแบรนด์ควรที่จะทำอะไรที่ลูกค้าจำเราได้ มันดูไม่ธรรมดา
ทำให้ธุรกิจไปต่อได้.... โดยที่เราไม่ต้องพยายาม
เมย์-อรุณโรจน์ บุญฉลอง และ มิ้น-อารีนา ปิ่นมุข เจ้าของแบรนด์ “MAMAD” ยังบอกด้วย ปัญหาก็มีบ้างคือเราทำของไม่พอ สต็อกไม่พอ แล้วก็ปัญหาขั้นตอนที่ว่าหา “ช่าง” เพิ่มเติมให้ตอบโจทย์ที่ยากขึ้นอะไรอย่างเงี้ยก็มีด้วย แล้วก็ปัญหาเรื่องการตลาดก็ยังมีบ้างเพราะว่าเหมือนแบบแพลตฟอร์มใหม่ ๆ ก็มา เหมือนอยากขยายแพลตฟอร์มอย่างเงี้ยเราก็ต้องให้เวลาเรื่องคน ก็อาจจะเป็นคนที่เราจ้าง ซึ่งเหล่านี้มันก็เป็นเรื่องพื้นฐานของทุกที่เลยที่ต้องเจอเหมือนกัน แล้วก็เรื่องของระยะเวลาผลิตที่นาน ปัญหาของงานพิมพ์ปัญหาเรื่อง “สี” ก็คือเหมือนแบบว่า สีเข้มไป พิมพ์ผิด เชื่อมกันผิด อะไรอย่างเงี้ยมีทำให้ต้นทุนเราแบบหายไป ของคงสต็อกอาจจะมีบ้าง(หัวเราะ) ถ้าบางลายที่แบบไม่โดนใจเลย ใช่ เหมือนเราต้องมีโปรโมชันมาแก้ปัญหา เพื่อช่วยระบายของตรงนั้นออกไป
“คือเหมือนแบบว่าเป็นคนพูดไม่เก่งกัน แต่ก่อนเป็น Introvert กันอะไรอย่างเงี้ยค่ะ แต่พอมาคุยกับลูกค้าเราเข้าใจลูกค้ามากขึ้น คือลูกค้าอยากได้ความแบบเป็นมิตรที่ดีน่ะค่ะ และสตอรี่เทลลิ่งก็คือของเราจะธรรมชาติของเมย์คิดไว้ว่า ต้องธรรมชาติ ให้ลูกค้าแบบเข้าถึงง่าย จับต้องง่ายอย่างเงี้ยค่ะ ก็คือเหมือนยกตัวอย่างว่า เราเล่าว่าขั้นตอนเราทำยังไง เราวาดตัวนี้เพราะอะไรอย่างเงี้ยค่ะ ให้แบบลูกค้าเข้าใจง่าย แล้วบริการต้องดี แบบเหมือนคุยกับลูกค้าเป็นญาติมิตรอะไรเงี้ยค่ะ ทำให้รู้สึกว่าแบรนด์มันไปต่อโดยแบบเราไม่ต้องพยายามเยอะ” จริง ๆ แผนการตลาดก็ของเมย์มันจะไม่ได้เป็นหลักเหมือนแบบเป๊ะ ๆ อะไรแบบนั้น เหมือนเราเข้าหาลูกค้าโดยให้มันแบบลูกค้าเข้าใจง่ายมากกว่า ใช่ ถ้าแนะนำคนที่เพิ่งทำอยากให้ลองแบบ เขียนกระดาษง่าย ๆ ว่าแบบเรามีข้อดี-ข้อเสียยังไง แล้วก็เราอยากให้ลูกค้า touch กับเราด้านไหนอะไรอย่างเงี้ย บางท่านทำแบรนด์ก็อยากให้แบรนด์ดูน่ารักอย่างเงี้ย เราทำภาพยังไง ศึกษาแบรนด์ตัวเองดี ๆ เหมือน “MAMAD” เราอยากทำให้มันแปลกตา unique อย่างเงี้ย เสนองานอาร์ตอย่างเงี้ยเราก็อาจจะเพนท์ภาพ ถ่ายรูปตอนเราทำงานอะไรอย่างเงี้ย ให้มันดูว่าเราทำงานจริง ๆ มีแบบตัวตนจริง ๆ เขาจะได้กล้าซื้อของเราด้วย ประมาณนั้น
เปลี่ยนลายเส้นให้เป็นแฟชั่นที่ใช่! งานศิลปะแบบตัวเอง ที่ทุกคนจับต้องได้ กว่า10 ปีของแบรนด์ “MAMAD” ขอบคุณแรงบันดาลใจดี ๆ จากศิลปินเจ้าของแบรนด์ทั้งสองท่าน “เมย์กับมิ้น” ที่กรุณามาร่วมแชร์ประสบการณ์ในการสร้างธุรกิจจากงานศิลปะที่ตัวเองมีความรักและสนุกไปกับการทำงานในแบบของ “โลกแห่งจินตนาการ” สู่งานศิลปะแบบไร้ขอบเขต และที่สำคัญที่สุดก็คือมีลูกค้าที่ให้การตอบรับผลงานที่ออกมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ธุรกิจแฟชั่นของทั้งสองคนในวันนี้เติบโตมาเรื่อย ๆ ข้ามกาลเวลานานกว่า10 ปีแล้ว แฟน ๆ จำได้โดยเฉพาะ “ลาย” เห็นแบบนี้ต้องเป็นของแบรนด์ “MAMAD”
สามารถติดตามผลงานหรือสนใจซื้อสินค้าพบกับแบรนด์ “MAMAD” ได้ตามอีเว้นต์ที่เกี่ยวกับงานแฮนด์เมด & คราฟท์หรือในห้างชั้นนำต่าง ๆ ซึ่งจะมีจุดฝากขายด้วย ช่องทางออนไลน์ค้นหาคำว่า “mamadshop” ได้ทุกแพลตฟอร์ม หรือโทร.080-952-9914
* * * คลิก Like เพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า "SMEsผู้จัดการ" รับข่าวสารในแวดวงธุรกิจเอสเอ็มอีที่สมบูรณ์แบบที่สุด* * *