Foodpanda ผู้ให้บริการส่งอาหารออนไลน์ เป็นสตาร์ทอัพจากประเทศเยอรมนี เข้ามาดำเนินกิจการในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ.2555 ในช่วงเริ่มต้นมีร้านอาหารเข้าร่วมไม่ถึง 50 ร้าน และต่อมาสมาร์ทโฟน เข้ามามีบทบาทต่อการใช้ชีวิตของคนไทย ทำให้กิจการให้บริการสั่งอาหารออนไลน์ ได้รับความนิยม และมีผู้ใช้บริการมากขึ้น และฟู้ดแพนด้า เป็นเจ้าแรกที่ให้บริการรายแรกในประเทศไทย การเติบโตเป็นไปอย่างรวดเร็ว โดยจนถึงล่าสุด ทาง foodpanda มีร้านพันธมิตรมากถึง 70,000 ร้าน และมีไรเดอร์ที่เข้าร่วมจำนวนมาก สร้างรายได้ให้กับบรรดาไรเดอร์ จนกระทั่งเมื่อ 2563 ประกาศความสำเร็จ ด้วยการเป็นผู้ให้บริการรายแรก และรายเดียวที่มีเครือข่ายครอบคลุม 77 จังหวัดทั่วประเทศไทย
และจากการเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่เส้นทางของ Foodpanda ในประเทศไทย ก็ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาย หลังจาการแข่งขันในตลาดเดลิเวอรี่ในประเทศไทย ทวีความรุนแรงขึ้น เมื่อมีผู้เล่น รายอื่นๆ เพิ่มขึ้นมา อย่าง Grab และ LINE MAN Wongnai เข้ามาชิงส่วนแบ่งอย่างเต็มตัว ทั้งสงครามราคา และโปรโมชั่น ส่งผลให้ทุดค่ายต้องทุ่มงบประมาณมหาศาล
และจากปัญหาเศรษฐกิจ ในประเทศไทย กระทบต่อการดำเนินธุรกิจต่างๆ ในประเทศ รวมถึง บริการเดลิเวอรี่ และ แพลตฟอร์มสีชมพู ยังเผชิญกับวิกฤตครั้งสำคัญ ทำให้ตั้งแต่ปี 2562-2564 Foodpanda เกิดการขาดทุนสะสมต่อเนื่อง และในกลางปี 2564 ยังวิกฤตภาพลักษณ์ครั้งใหญ่ จากประเด็นดรามม่า การเมืองปมไล่ออกพนักงาน เรียกผู้ชุมนุมเป็นผู้ก่อการร้าย จนไปสู่กระแสต่อต้าน ส่งผลต่อการให้บริการในระยะหนึ่ง
สำหรับสัดส่วนรายได้ ของ Foodpanda ในช่วงปี 2015 – 2019 ปี 2015 รายได้ 121,453,406 บาท ขาดทุน 98,672,495 บาท ปี 2016 รายได้ 135,083,182 บาท ขาดทุน 93,255,167 บาท ปี 2017 รายได้ 210,210,534 บาท ขาดทุน 39,567,155 บาท และ ปี 2018 รายได้ 258,950,064 บาท ขาดทุน 138,795,391 บาท ปี 2019 รายได้ 818,156,828 บาท ขาดทุน 1,264,503,584 บาท
สำหรับ foodpanda ได้ขยายกิจการในเอเชีย เริ่มจากก่อตั้งบริษัทในสิงคโปร์ โดย Lukas Nagel และ Rico Wyder เมื่อปี 2555 และต่อมาขยายมายังประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย ไทย ซึ่งได้ลงทุนในเอเชีย จำนวน 14 ประเทศ และ มีการลงทุนในยุโรป 3 ประเทศ ได้ เยอรมัน โรมาเนีย และบัลกาเรีย ส่วนในเอเชีย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ไทย สิงคโปร์ กัมพูชา เวียดนาม เมียนมา ลาว ฟิลิปปินส์ ฮ่องกง ญี่ปุ่น ไต้หวัน บังคลาเทศ และปากีสถาน
ส่วนโลโก้แบรนด์ สีชมพู นั้น จริงๆ แล้ว foodpanda เคยใช้เป็นสีส้มมาก่อน แต่มาเปลี่ยนเป็นสีชมพู เพราะทำให้แบรนด์จดจำในตลาดได้มากขึ้น และสีส้มก็เป็นสีที่มีแบรนด์ต่างๆ มีการใช้กันอยู่ค่อนข้างมากอยู่แล้ว
แพลตฟอร์มสีชมพู foodpanda ได้ประกาศยุติบทบาทการให้บริการในประเทศไทย ในวันที่ 23 พฤษภาคม 2568 ตามประกาศของบริษัทฯ ด้านล่างนี้
"โดยบริษัท เดลิเวอรี่ ฮีโร่ (ประเทศไทย) จำกัด ("บริษัท") ในฐานะผู้ให้บริการแพลตฟอร์มฟู้ดแพนด้า ซึ่งให้บริการผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือและเว็บไซต์ ("ฟู้ดแพนด้า" หรือ"แพลตฟอร์ม") ขอแจ้งให้ผู้ใช้งานไม่ว่าจะเป็น ลูกค้า ไรเดอร์
และร้านอาหาร/ร้านค้า (ต่อไปนี้เรียกรวมกันว่า"ผู้ใช้งาน") ทราบว่า บริษัทจะหยุดให้บริการในวันที่23พฤษภาคม2568และจะเลิกประกอบธุรกิจแพลตฟอร์มในวันที่21สิงหาคม2568 ทั้งนี้ ตามกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง โดยบริษัทจะดำเนินการหยุดการให้บริการและให้ความช่วยเหลือผู้ใช้งานตามแผนและมาตรการ"