พ่อเลี้ยงเจ แห่งวนาสุวรรณฟาร์ม เจ้าของควายยักษ์ โก้เมืองเพชร ได้พามารู้จักกับ โครงการฟาร์มกระบือทันสมัย หนึ่งในโครงการ CSR บริษัท ซีพี
นายศุภชัย ปัญญาเอก เจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินโครงการฟาร์มกระบือทันสมัย หนึ่งในโครงการ CSR บริษัท ซีพี เล่าว่า ฟาร์มกระบือทันสมัยเกิดจาก “นายวัลลภ เจียรวรานนท์” ได้นำโคกระบือที่ได้จากไถ่ชีวิต มาร่วมกับกรมปศุสัตว์ ตั้งกองทุน ในโครงการธนาคารโค-กระบือ เมื่อปี 2545 แต่ไม่ตอบโจทย์ เพราะโคกระบือที่ได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกร ก็เลยเปลี่ยนมาเป็นการทำฟาร์มกระบือทันสมัย
โดยให้ยืม 8 แม่มาเพาะขยายพันธุ์ ซึ่งพ่อที่ได้มาจากการประมูลมาจากการประกวดที่เป็นแชมป์ นำมาเป็นพ่อพันธุ์ 10 พ่อ มาผสมพันธุ์กับแม่พันธุ์ 500 แม่ โดยได้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มาช่วยดำเนินการตามหลักวิชาการ พอรุ่นลูกที่เกิดมาก็มาทำประวัติ เพื่อดูว่า สัตว์แต่ละตัวถ่ายทอดพันธุกรรมได้ดีขนาดนั้น ซึ่งทำการประเมินตั้งแต่ 240 วัน 600 วัน และ 700 วัน พบว่ารุ่นลูกที่ได้มีการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้นจากรุ่นพ่อ รุ่นแม่ และโครงการได้ควายเยอะขึ้น ตอนนี้ดำเนินการมา 7 ปี จากการประเมินโครงการตอนนี้ มอบกระบือไปแล้ว 56 ครัวเรือน 500 แม่ และมีกระบือที่ดำเนินการผ่านฟาร์มกระบือทันสมัย กว่า 2,000 ตัว โดยมีทีมสัตวบาล 5 คน ที่ตระเวนคอยให้ความรู้ จัดการฟาร์มให้เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ
นายศุภฤกษ์ ชัยฉัตรญาวงศ์ ผู้เข้าร่วมโครงการ ฟาร์มกระบือทันสมัย เล่าวา ตนเองได้เข้าร่วมโครงการฟาร์มกระบือทันสมัยมาได้ประมาณ 2 ปี ส่วนตัวเรียนจบปริญญาตรี ด้านสายสัตวศาสตร์ ที่ตัดสินใจมาทำฟาร์มกระบือ เพราะส่วนตัวเรียนจบด้านนี้ และตนคลุกคลีกับเรื่องเหล่านี้อยู่แล้ว เลยคิดว่าจะมาทำตรงนี้ดีกว่า และได้นำความรู้จากที่เรียนนำมาใช้กับการทำฟาร์มกระบือ เช่น เวลานายห้อยมาซื้อควาย จะเลือตัวดีไป และชาวบ้านขายตัวดี เหลือตัวขี้เหร่ไว้ ถ้าเราเก็บตัวดีเราจะไม่เหลือควายดีๆ เอาไว้ในการขยายพันธุ์ในครั้งต่อไป ซึ่งส่วนตัวจะไม่ขายควายตัวที่เป็นพันธุ์ดีทั้งหมด จะเหลือเอาไว้สำหรับผสมพันธุ์ และเก็บบันทึกสถิติ ยิ่งมีแม่เยอะ เก็บตัวดีไว้พัฒนาต่อได้ ตลอด 2 ปี เก็บรวบรวมความรู้ เป็นแนวทางในการพัฒนาของเราซึ่งตลาดควายที่ต้องการจะต้องเป็นควายอ้วน แต่ถ้าผอมไปไม่ดี พอมีควายสายพันธุ์ดี ตัวอ้วนนายห้อยจะมากดราคาไม่ได้ หรือถ้าจะให้ดีขายผ่านระบบสหกรณ์
ด้านพ่อเลี้ยงเจ เจ้าของวนาสุวรรณฟาร์ม เจ้าของ โก้เมืองเพชร ควายยักษ์ บอกว่า การทำควายยักษ์ไม่ได้ประโยชน์แค่เป็นสายประกวด แต่การที่ประเทศไทยมีควายยักษ์ ช่วยเรื่องการพัฒนาสายพันธุ์ควายเนื้อด้วย เพราะถ้าต่างชาติได้ควายยักษ์ไปจะเอาไปทับกับแม่พันธุ์ จนได้ควายยักษ์ที่ให้เนื้อที่ดีขึ้น ต่างประเทศอยากได้ควายยักษ์จากประเทศไทย และจากผมที่เดินสายประกวดหลายครั้ง จะเห็นพัฒนาการของควายที่ตัวใหญ่ขึ้น การพัฒนาอีก 2-3 เจน ควายเจนใหม่ ไม่เรียกว่าควาย เรียกว่า ช้างแล้ว ควายยักษ์ ไม่ได้ประโยชน์แค่การประกวด แต่เปลี่ยนควายเนื้อจากประเทศไทยให้ได้ประโยชน์ด้วย