กระทรวงวัฒนธรรมเดินหน้าผลักดันโครงการ “ขับเคลื่อนผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมสู่ตลาดดิจิทัล” ภายใต้แนวคิด “จำหน่ายได้ทุกที่ ทุกเวลา” และ “อยู่ได้เมื่อภัยมา” เปิดโอกาสให้ชุมชนและผู้ประกอบการท้องถิ่นเข้าถึงตลาดออนไลน์ สร้างรายได้ที่มั่นคงแม้ในช่วงวิกฤต พร้อมยกระดับสินค้าวัฒนธรรมไทยด้วยความคิดสร้างสรรค์และเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อสร้างชุมชนที่แข็งแกร่งและยั่งยืน
โครงการขับเคลื่อนผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมสู่ตลาดดิจิทัล
ในปีที่ผ่านมา กระทรวงวัฒนธรรมได้มุ่งเน้นการพัฒนาและสนับสนุนผู้ประกอบการชุมชนท้องถิ่นผ่าน โครงการขับเคลื่อนผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมสู่ตลาดดิจิทัล เพื่อส่งเสริมการนำเสนอและจำหน่ายสินค้าวัฒนธรรมในรูปแบบออนไลน์ ตอบโจทย์เศรษฐกิจยุคใหม่ที่ต้องการการเข้าถึงตลาดได้ตลอดเวลา และเสริมความมั่นคงในช่วงวิกฤตต่าง ๆ
ทั้งนี้ได้รับความสนใจและการตอบรับจากชุมชนในทุกภูมิภาค โดยเฉพาะการพัฒนาทักษะด้านการตลาดดิจิทัลให้กับผู้ประกอบการ เช่น การใช้โซเชียลมีเดียและแพลตฟอร์ม e-Commerce เพื่อเพิ่มยอดขาย พร้อมทั้งการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการสร้างแบรนด์ที่สะท้อนอัตลักษณ์วัฒนธรรมของแต่ละชุมชน
โครงการนี้มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการชุมชนท้องถิ่นให้สามารถนำเสนอและจำหน่ายสินค้า โดยนำต้นทุนทางวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์มาต่อยอดให้ตอบโจทย์ตลาดยุคใหม่ ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมผลักดันเศรษฐกิจชุมชนให้เติบโตอย่างยั่งยืน โดยเน้นให้ชุมชนเข้าถึงลูกค้าได้ “ทุกที่ ทุกเวลา” พร้อมเสริมความมั่นคงในช่วงวิกฤต เช่น ภาวะเศรษฐกิจถดถอยหรือภัยธรรมชาติ ตามแนวคิด “อยู่ได้เมื่อภัยมา”
ความสำเร็จในปี 2567 ที่ผ่านมา
สำหรับการจำหน่ายสินค้าผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ ตามแนวคิดได้ทุกที่ ทุกเวลาทางเว็บไซต์ www.cpotshop.com ทำให้ผู้ประกอบการชุมชนทั่วประเทศสามารถเข้าถึงลูกค้าทั้งในและต่างประเทศได้ง่ายขึ้น พร้อมสร้างรายได้กว่า 500 ล้านบาท ให้กับผู้ประกอบการชุมชนที่เข้าร่วมโครงการในปีที่ผ่านมา 2567 สินค้ากว่า 1,000 รายการ จากชุมชน 500 แห่งถูกนำเสนอผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ เช่น Shopee, Lazada และเว็บไซต์เฉพาะ ยอดขายเพิ่มขึ้น 40% โดยเฉพาะสินค้าวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์ เช่น ผ้าทอพื้นเมือง งานหัตถกรรม และอาหารพื้นถิ่น
และจากแนวคิด อยู่ได้เมื่อภัยมา โครงการนี้ยังช่วยผู้ประกอบการลดต้นทุนการดำเนินธุรกิจของชุมชนลงเฉลี่ย 20% ผ่านการใช้ช่องทางออนไลน์แทนการค้าขายแบบเดิม และกระตุ้นการจ้างงานในท้องถิ่น เช่น งานผลิตสินค้า งานบรรจุภัณฑ์ และการจัดการคำสั่งซื้อออนไลน์ ส่งผลให้เศรษฐกิจหมุนเวียนในพื้นที่สูงขึ้น แม้ในช่วงการระบาดของโควิด-19 ภัยธรรมชาติ และวิกฤตเศรษฐกิจ
ยกระดับสินค้าวัฒนธรรมโกอินเตอร์
ในส่วนของการขยายตลาดสู่สากล: สินค้าชุมชน เช่น ผ้าทอมือและงานหัตถกรรม ได้รับความนิยมในตลาดต่างประเทศ สามารถเจาะตลาดใหม่ในต่างประเทศเพิ่มขึ้น 30% โดยเฉพาะในตลาดจีน ยุโรป และอเมริกา สร้างโอกาสใหม่ให้เศรษฐกิจชุมชน
ทั้งนี้ ในปีนี้ 2568 กระทรวงวัฒนธรรมตั้งเป้าหมายเพิ่มจำนวนผู้ประกอบการในโครงการ ด้วยการเปิดรับสมัครสมาชิกใหม่ผ่าน www.cpotshop.com พร้อมจัดอบรมพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการในด้านการตลาดและการสร้างแบรนด์ รวมถึงการถ่ายภาพสินค้า การเขียนคอนเทนต์ดิจิทัล พร้อมสร้างการเชื่อมโยงกับนักออกแบบรุ่นใหม่ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าวัฒนธรรมด้วยความคิดสร้างสรรค์ เพื่อผลักดัน Soft Power ไทย และ ยกระดับสินค้าชุมชนให้เป็นตัวแทนความงามของวัฒนธรรมไทยในเวทีสากล
โดยมุ่งหวังให้เศรษฐกิจชุมชนเข้มแข็งผ่านการผสมผสานวัฒนธรรมไทยกับเทคโนโลยีดิจิทัล นี่คือการสร้างความยั่งยืนให้ชุมชนไทย และแสดงให้โลกเห็นคุณค่าของวัฒนธรรมไทย โครงการนี้ไม่เพียงช่วยให้ชุมชน จำหน่ายได้ทุกที่ ทุกเวลา แต่ยังสร้างความมั่นคงให้ชุมชนสามารถ อยู่ได้เมื่อภัยมา ไม่ว่าจะเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงใดก็ตาม ทั้งนี้กระทรวงวัฒนธรรมจึงอยากเชิญชวนทุกภาคส่วนร่วมสนับสนุนสินค้าวัฒนธรรมไทย เพื่อรักษาอัตลักษณ์และสร้างความยั่งยืนให้เศรษฐกิจชุมชนไทยไปด้วยกัน
ผ้าย้อมโคลนทะเล จ.ระยอง ต้นแบบสินค้าวัฒนธรรมโกอินเตอร์
ด้านนางสาวอาลีลักษณ์ พงศ์ไพรจิตร ประธานชุมชนคุณธรรมวัดพลา วิสาหกิจชุมชนลีลาฝ้าย เจ้าของผลิตภัณฑ์ ผ้าทอมือย้อมโคลนทะเล จังหวัดระยอง เล่าถึง การเข้าร่วมโครงการ กับกระทรวงวัฒนธรรม ว่า ช่วยผลักดันให้ผลิตภัณฑ์ของตัวเอง สามารถเข้าถึงช่องทางการขายที่ไปได้ไกลมากขึ้น มีคนรู้จักมากขึ้น ส่งผลให้ยอดขายเพิ่มขึ้นด้วย
จากภาพลักษณ์ ที่หลายคนมองว่า สินค้าอัตถลักษณ์วัฒนธรรมไทย ที่เกิดขึ้นมาจากชาวบ้าน เกิดขึ้นมาจากชุมชน จะต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่ล้าสมัย เข้าถึงคนรุ่นใหม่ ๆ ได้ยาก แต่พอได้เข้าร่วมโครงการดังกล่าว ได้มีการอบรม กลับไปพัฒนาสินค้าของตัวเอง ลบภาพลักษณ์ ที่เหลายคนมาองสินค้าไม่ร่วมสมัย ให้โดนใจคนรุ่นใหม่ และยังได้ก้าวไประดับนานาชาติ ผ่านเวทีแคทวอล์ก แฟชั่นระดับโลก มาแล้ว และการได้ช่องทางการตลาดผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ ทำให้จากเดิมรอขายที่งานแสดงสินค้าวิสาหกิจชุมชน แต่วันนี้ สามารถขายได้ทุกที่ ทุกเวลา ลูกค้ามาจากทั่วประเทศ ทั่วโลก ได้เห็นสินค้าของเรา
ทั้งนี้ จากการที่เราเป็นผ้าย้อมโคลนทะเล หลายคนให้ความสนใจ เพราะเป็นผลิตภัณฑ์มาจากธรรมชาติ ตอบโจทย์ เรื่องสิ่งแวดล้อมที่ทั่วโลกตื่นตัว อยู่ในขณะนี้ เป็นจุดขายที่ต่างชาติอยากให้การสนับสนุน และเมื่อปรับรูปแบบให้ตอบโจทย์ ไม่ได้เป็นเรื่องยากในการทำตลาดออนไลน์ จุดเด่นของผ้าย้อมโคลนทะเล ทีมีความเค็มของเกลือทำให้สีเกาะติดได้ดีขึ้น กว่าการย้อมสีธรรมชาติที่วไป ใส่ไปได้นาน6-8 เดือนกว่าสีจะซีดจาง ซึ่งสีสันที่เห็นบนเสื้อผ้าที่นำเสนอ มาจากนำโคลนทะเลมาผสมกับสีธรรมชาติ ทำให้ได้เสื้อผ้าที่มีสีสัน ตามต้องการ
สำหรับชุมชนและผู้ประกอบการที่สนใจเข้าร่วมสร้างโอกาสใหม่ในตลาดออนไลน์ สามารถสมัครเป็นสมาชิก CPOTSHOP ได้ง่าย ๆ ผ่าน www.cpotshop.com พร้อมกันนี้นักช็อปสายวัฒนธรรมสามารถค้นหาสินค้าที่สะท้อนวิถีชีวิตและเอกลักษณ์ของชุมชนไทยพร้อมติดตามสินค้าใหม่และโปรโมชั่นพิเศษได้ที่ www.cpotshop.com , Facebook Page CPOT และ TikTok: CPOTSHOP
คลิก Like เพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า "SMEsผู้จัดการ" รับข่าวสารในแวดวงธุรกิจเอสเอ็มอีที่สมบูรณ์แบบที่สุด