xs
xsm
sm
md
lg

ทลายกำแพง “ความต่าง” ลดช่องว่างระหว่างวัย สร้างความรักสามัคคีด้วยวัฒนธรรม "ละเล่นไทย"

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



“ถ้าอยากจะแก้ปัญหาอะไรสักอย่างหนึ่งในสังคมผมอยากแก้ปัญหาเรื่อง Generation Gap คือความไม่เข้าใจกันของช่วงวัยต่างๆ ที่มีและเริ่มแรงขึ้นเรื่อยๆ ในยุคสมัยนี้เราก็มามองหาว่ากิจกรรมอะไร? เริ่มมาลองดูกับกิจกรรมที่ใช้ “วัฒนธรรม” เป็นตัวสื่อสารเป็นตัวเชื่อมโยงระหว่างวัย

จาก ทอยกอง หนึ่งในการละเล่นไทยของเด็กไทยในสมัยอดีต
ทีนี้พอเรามามองวัฒนธรรมการละเล่นพื้นบ้านในอดีต พอพูดว่าเดินกะลา พอพูดว่าตุ๊กตุ่นทอยเส้น พอพูดว่ากระโดดยาง คนที่นึกถึงคือมีแต่ “รุ่นแม่” ซึ่งมันไม่ได้ มันยังไม่แตกต่างกับโครงการอื่นที่ทำ เช่น โรงเรียนนี้ชวนนักเรียนมาเดินกะลากัน นักเรียนมาเดินกะลาพอเดินกะลาเสร็จปุ๊บกลับบ้านไปก็ไปเล่นเกมเหมือนเดิม ดังนั้น เราจะทำอย่างไร? ให้ผู้ใหญ่ส่งเสริมด้วย เด็กก็อยากเล่นด้วย อะไรล่ะเป็นตัวที่เชื่อมตรงนี้ เราเลยเลือกกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านมาสักอย่างหนึ่งที่พัฒนาแล้วมันดูเท่ มันดูที่เด็กไปอวดกันได้ แล้วเหมือนที่เขาเล่นเกมเล่นตัวฮีโร่ไปแท็งก์กัน ไปตีกันในเกม เราลองเอาออกมาเป็นคีย์เวิย์ดแบบนั้นเป็นกิมมิก แบบนั้นในการละเล่นไทยดีไหม? เพื่อที่จะดึงเด็กให้เข้ามา เพราะมองว่าแม้แต่เกมเองก็สู้กันดุเดือดมากต่อให้เป็นอินไซด์ของเด็ก ฉะนั้นสิ่งหนึ่งที่เอามาประยุกต์เข้าด้วยคือเรื่องของอินฟลูเอนเซอร์มาร์เกตติ้ง ที่นอกจากเรื่องของการ์ตูนมาร์เกตติ้งแล้วเพื่อที่จะดึงเด็กกลุ่มนี้ให้มาเล่นเกมการละเล่นยุคโบราณ ที่พ่อแม่พร้อมจะส่งเสริมด้วย” นายจักรี จ่ายกระโทก นักธุรกิจจิตอาสาจากบริษัท ฟาร์มคิธ ดิจิเมชั่น จำกัด และประธานโครงการละเล่นไทย ภายใต้มูลนิธิดั่งพ่อสอน กล่าวถึงที่มาแนวคิดการเกิดโครงการ “ละเล่นไทย” ผสมวันวาน ผสานสากล ที่จัดขึ้นพร้อมการเปิดตัวแคมเปญแรกสุดยิ่งใหญ่กับ “เกมตุ๊กตุ่นทอยเส้น” ระดับประถมชิงแชมป์ประเทศไทยเป็นครั้งแรก! บนเวทีแข่งขัน บีท แอ็คทีฟ ไบเทคบุรี ที่เพิ่งผ่านไปเมื่อเร็วๆ นี้

สู่ตู๊กตุ่นยางของเล่นยอดฮิตของเด็กไทยยุค 80-90
“ผมเชื่อว่าการจะแก้ไขปัญหาสังคม การศึกษา หรือว่าปากท้องหรืออะไรก็ตาม ถ้าคนที่จะช่วยเหลือกันช่วยเหลือแบบพอร่วมกันแล้วมันไม่จริงใจต่อกัน หรือมันไม่รู้สึกสบายใจต่อกันมันจะไม่สำเร็จ หรือมันจะสำเร็จแบบชั่วครั้งชั่วคราวแล้วมันไม่ยั่งยืนผมเลยมองว่า “วัฒนธรรม” เนี่ยแหละจะเป็นตัวเชื่อมให้เขารักกันก่อน พอรักกันรักสามัคคีกันเขาก็จะเดินหน้าทำกิจกรรมอื่นๆ เพื่อสังคมได้อย่างยั่งยืนกว่า ผมเลยถอยกลับมาที่ทำโครงการเกี่ยวกับวัฒนธรรมดีกว่า มาลองดูการละเล่นพื้นบ้านของเราดีไหม ว่ามันจะสามารถเชื่อมโยงช่วงวัยพวกนี้เข้าหากันได้ไหม” เกมตุ๊กตุ่นทอยเส้นซึ่งเป็นตุ๊กตุ่นทอยเส้นในคอนเซ็ปต์ที่ชื่อว่า HEROES BATTLE การโยน การยิง การเล่นดูเท่ดูทันสมัย เด็กกล้าอวดใครเป็นตัวกัปตันใครเป็นตัวอะไรบ้าง เสริมสร้างจินตนาการให้ตัวตุ๊กตุ่นเป็นอะไรที่เรารู้สึกว่า โอเค มันลงตัว แล้วปีนี้เป็นปีต้นแบบที่เรารู้สึกว่ามันได้รับเสียงตอบรับที่ดี และกฎกติกาแทบจะ 80-90% มันเป็นสิ่งที่ทุกคนเล่นได้ ดูได้ สมัยก่อนการละเล่นพื้นบ้านเล่นได้เฉพาะกลุ่มคนที่ดูรอบๆ ข้างดูไม่รู้เรื่องแต่อันนี้ มีการออกแบบให้มันเป็นสากลให้คนดูไกลๆ ก็สนุกได้“เราให้ซีนกับทุกคน ซีนพ่อแม่ ซีนปู่ย่าตายาย ซีนผู้จัด ซีนเด็กที่เล่นทุกคน เห็นในเกมนี้หมดเลยมีส่วนในเกมนี้หมด ดังนั้นนี่คือจุดเริ่มต้นและก็เรากำลังจะทำเรื่องนี้ให้มันก้าวไกลกว่านี้ ก้าวไปไกลทั่วประเทศกว่านี้”

ลุงเคี้ยง - วสันต์ วิชชุกรมานนท์ ผู้สร้างตู๊กตุ่นยางของเล่นยอดฮิตของเด็กๆ ยุค 80-90
การจัดแข่งขันครั้งนี้มีตัวแทนนักเรียนระดับประถมศึกษาจาก 6 โรงเรียน จาก 6 ชุมชน ใน 6 โครงการร่วมสร้างสรรค์สังคม (WeSR) ด้านการศึกษาของมูลนิธิดั่งพ่อสอน เข้าร่วมการแข่งขันเพื่อชิงเงินรางวัลและนำไปช่วยเหลือสังคมในด้านต่างๆ

โดยมีอินฟลูเอนเซอร์ชื่อดังร่วมเป็นพี่เลี้ยงและหัวหน้าทีม ได้แก่ โรงเรียนวัดบ้านกรวด ดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี โดยโครงการก่อร่างสร้างครัว เพื่อแก้ไขปัญหาอาหารกลางวันอย่างยั่งยืน มี Influencer ขันติ เมอร์แมน ที่มี 4.33 ล้านผู้ติดตาม เป็นหัวหน้าทีม โรงเรียนวัดเจริญสุขาราม วัฒนานุวรรตน์ จังหวัดสมุทรสงคราม โดยโครงการตัดเสื้อน้องแต่พอตัว เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนชุดนักเรียน มี Influencer ละเมอ ที่มี 3.17 ล้านผู้ติดตาม เป็นหัวหน้าทีม โรงเรียนวัดปากคลองบางคู้ จังหวัดลพบุรี โดยโครงการคบเด็กสร้างโรงพยาบาล เพื่อแก้ไขปัญหาสาธารณสุขและการขาดแคลนอุปกรณ์ทางการแพทย์ มี Influencer บี้ เดอะสกา ที่มี 14.7 ล้านผู้ติดตาม เป็นหัวหน้าทีม โรงเรียนวัดหนองแหน รัตนศิริราษฎร์ จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยโครงการศาสตร์ ศิลป์ ดิน สยามเพื่อรณรงค์เกี่ยวกับทรัพยากรดิน มี Influencer เจ๊มอส สายฮา ที่มี 1.6 ล้านผู้ติดตาม และหนึ่งวัชริกา ที่มี 1.8 ล้านผู้ติดตาม เป็นหัวหน้าทีม โรงเรียนบ้านทด จังหวัดปราจีนบุรี โดยโครงการเทศกาลอาหารถิ่น เพื่อรณรงค์ให้เห็นคุณค่าของวัตถุดิบท้องถิ่นและสร้างสาธารณประโยน์ในชุมชน มี Influencer ซี ธีมา ตงสิริ นางฟ้านักวิ่ง ที่มี 1.3 แสนผู้ติดตาม เป็นหัวหน้าทีม โรงเรียนวัฒนาววิทยาลัย (ประถมศึกษา) กรุงเทพฯ โดยโครงการเต็มใจวัยอาสา เพื่อรณรงค์ปัญหาการขาดแคลนเลือดและสร้างเยาวชนจิตอาสาเพื่อมาเป็นผู้บริจาคเลือดหน้าใหม่ มี Influencer ครูหนุงหนิง บานาน่าพริ้ว ที่มี 1.8 แสนผู้ติดตาม และคุณแจ่มใสจากช่องแจ่มใส ที่มี 6.9 แสนผู้ติดตาม เป็นหัวหน้าทีม

ป๋าเอ็กซ์ - อรรถกฤตย์ จีนมหันต์ นักสะสมและหนึ่งในผู้เขียนหนังสือทอยเส้นเล่นตุ๊กตุ่น

ที่รวบรวมเรื่องราวของตุ๊กตุ่นทอยเส้นเอาไว้ให้คนรุ่นหลังได้รู้
ซึ่งผลการแข่งขันปรากฏว่า นักทอยตุ๊กตุ่นจากทีมโรงเรียนวัดหนองแหน รัตนศิริราษฎร์ จังหวัดฉะเชิงเทรา อาศัยความแม่นยำ ทีมเวิร์ก และการวางแผนเล่นเกมอย่างมีชั้นเชิง คว้าแชมป์ประเทศไทยในปีแรกไปครอง ทำคะแนนทิ้งห่างทีมโรงเรียนวัดบ้านกรวด ดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี ที่ได้ตำแหน่งรองชนะเลิศไปอย่างขาดลอย ในขณะที่ตำแหน่งที่ 3 นั้นเป็นการคว้ารางวัลร่วมกันของอีก 4 ทีม ได้แก่ โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย กรุงเทพฯ โรงเรียนวัดเจริญสุขาราม วัฒนานุวรรตน์ จังหวัดสมุทรสงคราม โรงเรียนบ้านทด จังหวัดปราจีนบุรี และโรงเรียนวัดปากคลองบางคู้ จังหวัดลพบุรี


ก้าวต่อไปสู่ปีที่ 2
6 จังหวัด 6 โรงเรียนสำหรับปี 2024 และในปี 2025 จะกระจายไปครบทั้ง 6 ภูมิภาคของไทย ปีต่อไปอาจจะเป็น 6 ประเทศก็ได้ ความตั้งใจคืออยากจะให้เป็นแบบนั้นเลยแล้วก็จะมีการสอดแทรกกิจกรรมพื้นบ้านชนิดอื่นๆ เพื่อพิสูจน์ว่า “โครงการละเล่นไทย” ทำกิจกรรมพื้นบ้านที่ไม่น่าจะอินเตอร์ได้ให้ดูอินเตอร์ได้ไม่ว่าจะชนิดไหน “อยากให้ทุกคนเข้ามาร่วม ด้วยบทบาทต่างๆ ได้เลยไม่ว่าจะเป็นเรื่องการสนับสนุนหรือว่าจะเปิดโอกาสให้เราไปประชาสัมพันธ์ได้หมดเลย อันนี้คือสิ่งที่เราอยากได้และความคาดหวังจากปีก่อนที่อยากจะได้คือ อยากให้สิ่งที่เกิดขึ้นในปีแรกมันแพร่ออกไปในทุกหัวระแหงของประเทศไทยอันนี้คือเป้าหมายเลยต้องไปทุกภูมิภาคในปีที่ 2”

พืธีเปิดการแข่งขันตู๊กตุ่นทอยเส้นชิงแชมป์ประเทศไทย
ช่วยกันคิด ช่วยกันทำ เพื่อสังคมด้วย “ความคิดสร้างสรรค์”
มิติการทำเพื่อสังคมคือมีหลายมิติมาก แม้แต่ธุรกิจเองก็ทำเพื่อสังคมสำหรับตนเองเริ่มต้นคือช่วยเรื่องการศึกษาก่อนเพราะว่า พอเราจะเล่นกับ “เด็ก” เล่นเกมกับเด็ก เล่นกิจกรรมกับเด็ก อะไรที่มันทำให้เขาพัฒนาได้มากขึ้นมันก็คือ การศึกษา “คือผมทำงานเกี่ยวกับ เป็นบริษัทเกี่ยวกับครีเอทีฟมีความคิดสร้างสรรค์ผมอยากใช้ความคิดสร้างสรรค์ แก้ไขปัญหาของโลกนี้ผมก็เลยมองว่าถ้า เด็กเรียนวิชาการได้เด็กก็อาจจะต้องเพิ่มเรื่องของความคิดสร้างสรรค์ขึ้นมา ซึ่งแน่นอนมีหลักสูตรมากมายเราเป็นแค่ส่วนหนึ่งแต่ก็อยากจะเป็นส่วนสำคัญในกิจกรรมของเขาในอะไรของเขาเพื่อให้เขาได้คิดสร้างสรรค์เพิ่มขึ้นมา ดังนั้นสิ่งหนึ่งเลยที่เราจะทำเพื่อสังคมได้คือเราต้องปลูกฝังเยาวชนให้มีความคิดสร้างสรรค์อันนี้คือข้อแรก ข้อที่สองคือเราจะสอดแทรกเรื่องวัฒนธรรมอะไรเนี่ยมันเป็นเปลือกแล้ว จริงๆ คือเขาเล่นวัฒนธรรมแล้วเขามีความคิดสร้างสรรค์ได้อันนี้คือ เป้าหมายของสังคมของผม ส่วนสังคมที่มันจับต้องได้คือเรารณรงค์ช่วยเหลือเรื่องการขาดแคลนโน้นขาดแคลนนี้ซึ่งมันจับต้องได้เป็นมูลค่า แต่คุณค่าลึกๆ ของเพื่อสังคมของผมจริงๆ คือเราต้องการสร้างสังคมที่มีความคิดสร้างสรรค์เพื่อในอนาคตเขาจะได้มาสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ให้โลก”




หลอมรวม “คนต่างวัย” แต่มีใจรักในสิ่งเดียวกันได้
ในเมื่อเราตั้งเป้าหมายในการแก้ไขปัญหา Generation Gap เราจะเห็นในวันงานเห็นถึงการเชียร์อัปซึ่งกันและกันของแต่ละวัย
มีคุณป้าอายุ 80 มาเต้นเชียร์ทีมที่ลงแข่งขัน มันคือการหลอมรวมช่วงวัยเข้าด้วยกันมาแต่ละจังหวัด มาแต่ละจังหวัด เกิดความสามัคคี ความสามัคคีในชุมชนมีโรงเรียนหนึ่งมาบอกว่าแต่ก่อนไม่เคยได้รับความร่วมมือจากชุมชนเลย แต่พอหลังจากจบโครงการนี้ ทำผ้าป่าก็มีชุมชนเข้ามากันเยอะ ปลูกผักก็มีคนมาช่วยกันขุด ทุกคนมาช่วยกันขุดแปลงไม่เคยเป็นแบบนี้มาก่อนก็เป็น เหล่านี้คือโดยส่วนตัวมองว่ามันคือ ความสำเร็จคนอื่นอาจจะมองว่ามันเล็กน้อยแต่สำหรับตนเองแล้วนี่คือมันยิ่งใหญ่มากๆ คือการเชื่อมช่วงวัยได้ เป็นส่วนหนึ่งของการเชื่อมช่วงวัย

ย้อนวันวานการละเล่นไทยๆ ที่อยู่ในความทรงจำ
โครงการละเล่นไทย 2025
ประธานโครงการละเล่นไทย กล่าวด้วยว่า ในปีนี้เราจะสร้างเวที 3 เวที เวทีแรกจะเป็นพื้นที่สำหรับ “จิตอาสา” ส่วนหนึ่งจะเป็นพื้นที่สำหรับจิตอาสา อีกส่วนหนึ่งคือการ R&D เกมใหม่ๆ นี่คือเวทีแรก เวทีที่สองคือ การศึกษา รณรงค์เกี่ยวกับการศึกษาเข้าไปตามพื้นที่ต่างๆ ไปตามโรงเรียนต่างๆ เพื่อจะเข้าไปดูว่าแต่ละพื้นที่มีปัญหาอะไรบ้าง พอมีปัญหาอะไรอย่างเช่น ปัญหาความแตกแยกกันในชุมชน เขาอาจจะรวมกันเพื่อมาแข่ง แล้วลูกหลานเขาชนะขึ้นมาเขาอาจจะกลับมาเป็นใจเดียวกันก็ได้ คือแบบนี้เราไม่รู้หรอกว่าพอเราเดินหน้าไปทุกภูมิภาคปัญหาอะไรที่เราจะไปช่วยแก้ได้บ้างกับการแข่งขัน เพราะว่าความหมายของการกีฬา คือ สปิริต มันสร้างสปิริตในทุกพื้นที่ได้ “เราเชื่อว่าการที่เราเชียร์อัปอะไรร่วมกัน มันจะกลายเป็นพรรคพวก จะกลายเป็นพวกพ้องอะไรอย่างเงี้ยครับ มันจะมีความรักความสามัคคีกัน”

นักทอยตุ๊กตุ่นจากทีมโรงเรียนวัดหนองแหน รัตนศิริราษฎร์ จังหวัดฉะเชิงเทรา อาศัยความแม่นยำ ทีมเวิร์ก และการวางแผนเล่นเกมอย่างมีชั้นเชิง คว้าแชมป์ประเทศไทยในปีแรกไปครอง

พิธีมอบรางวัลสำหรับการแข่งขันตุ๊กตุ่นทอยเส้นชิงแชมป์ประเทศไทยปีแรกและขอบคุณผู้ให้การสนับสนุนโครงการละเล่นไทย
เวทีที่สามของเป้าหมายโครงการในปี 2025 จริงๆ อันนี้มันถูกเรียกร้องมาเยอะคือ พ่อแม่พี่น้องอยากเล่นเอง แต่ตัวนี้เป็นตัวที่จะขับเคลื่อนโครงการ “ผมไม่สามารถจะขอสปอนเซอร์ได้ตลอดเวลา ผมไม่สามารถหาผู้สนับสนุนได้ตลอดเวลาเพราะว่าผมไม่รู้ ว่าเขาจะให้เท่าไรอะไรยังไง? เราคอนโทรลอะไรพวกนี้ไม่ได้ เราไม่ได้คาดหวังขนาดนั้น เราเลยต้องการโมเดลธุรกิจของตัวเองเพื่อซัปพอร์ตกิจกรรมเพื่อสังคมของเรา” ดังนั้นโมเดลที่สาม คือ เราจะเปิดรับสโมสรต่างๆ เข้ามาทำ “ลีก” เหมือนฟุตบอลไทยแลนด์ลีก แต่เป็นตุ๊กตุ่นไทยแลนด์ลีก โดยแต่ละสโมสรอาจจะมาจากแบรนด์ต่างๆ ได้ส่งเข้ามา เอามาสคอตของตัวเองมาทำเป็นตุ๊กตุ่นประจำทีมของตัวเองเพื่อโยนแข่งขันกัน “พอโยนแข่งขันกันมีการแพ้ มีชนะ มีการทำโปรโมชันมีการทำสปอร์ตมาร์เกตติ้ง เกิดสปอร์ตมาร์เกตติ้งขึ้นมาบวกการ์ตูนมาร์เกตติ้ง บวกคาแร็กเตอร์มาร์เกตติ้งบวกมาสคอตมาร์เกตติ้ง สร้างธุรกิจสร้างเศรษฐกิจในชุมชน สมมติว่าเราจัดสนามเหย้าขึ้นมา เหมือนสมัยก่อนที่เคยมีเป็นสนามชนไก่แล้วคนในชุมชนไปล้อมดูกัน เราเปลี่ยนมาเป็นสนามละเล่นไทยแล้วชุมชนมาขายของมาเกิดเป็น ECO SYSTEM ในพื้นที่ในชุมชน เกิดเศรษฐกิจในชุมชนได้ผมตั้งใจให้มันเป็นแบบนั้น” ในปีที่ 2 เราเลยอยากจะเปิดโมเดลธุรกิจหนึ่งที่ชื่อว่า “ตุ๊กตุ่นไทยแลนด์ลีก” ขึ้นมาโดยใช้กลยุทธ์การ์ตูนมาร์เกตติ้งบวกสปอร์ตมาร์เกตติ้ง สร้างเศรษฐกิจในชุมชน


กำลังโหลดความคิดเห็น