xs
xsm
sm
md
lg

(ชมคลิป) พูดถึงอีสานคุณนึกถึงอะไร? ฅญาบาติกเพิ่มมูลค่า “ผ้าไหม” ด้วยลวดลายที่เป็นอัตลักษณ์เชิงพื้นที่

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



“...กว่าจะถูกยอมรับในความเป็นวัฒนธรรมอันนานของเขาในกรอบที่แข็งแรงของ “บาติก” ดั้งเดิมแต่ตอนนี้ กรอบนั้นเริ่มหันมาหานิดเริ่มมาขอองค์ความรู้เริ่มมาแชร์กันเริ่มที่อยากจะมา ใช้ “ไหมไทย” ที่จะไปเขียนบาติกในแบรนด์ของเขาบ้าง”


“วัฒนธรรมบาติกคือทางใต้ที่เป็นการเล่าเรื่องลวดลายบนผืนผ้า ความสวยงามของทางบาติกที่เขามีอยู่เดิมสวยงามในเรื่องของสีสันลวดลาย เรา “อีสาน” เรามีข้อดีในเรื่องของการผลิตผ้าความเป็นอีสาน “ผ้าไหม” เป็นความงดงามและทรงคุณค่าอยู่เดิม
แต่เราจะเขียนลายเหล่านั้นให้สวยงามได้อย่างไร?อารมณ์ของเราไม่ได้สื่อสารเรื่องความสดใสนั้น แต่ความแห้งแล้งแตกระแหงที่นิดจับประเด็นความเป็นอีสานบนผืนผ้าไหม เราจะสื่อเรื่องนี้อย่างไร เราเขียนได้ไม่เก่งเท่า สวยไม่เก่งเท่า เราก็เลยคิดในเรื่องกระบวนการแก้ปัญหาตัวเองในการเขียนลาย” คุณนิด-ชนันญา ดรเขื่อนสมเจ้าของแบรนด์ “ฅญาบาติก” บาติกจิตวิญญาณความเป็นอีสานที่บอกเล่าเรื่องราวเชิงสัญลักษณ์ของพื้นที่ลงบนผืนผ้าไหมซึ่งเป็นหนึ่งในอัตลักษณ์ท้องถิ่นที่คนภายนอกทรงจำ ต่อยอดสู่ความเป็นนวัตกรรมใหม่ช่วยเพิ่มมูลค่าให้อีกได้เป็นอย่างดี


จากเทคนิคดั้งเดิมการเขียนลายของบาติกคือจะต้องใช้เทียนแต่ว่า “ในการเขียนลายของเราจะใช้เป็น “กาว” แทนเพื่อให้ง่าย
ให้คล่องมือให้พรีฟอร์มได้สวยงาม แต่เทียนเหล่านั้นก็จะเกิดลายบนผืนผ้าด้วยการแคร็กแตกแห้งแล้ง
-ระแหง ก็เลยเป็นเรื่องของวัฒนธรรมสองที่มารวมกันให้เป็นสิ่งใหม่”ความแม่นยำของน้ำเทียน ความเขียนได้เฉียบขาดของน้ำเทียน ถ้า 1 หยดคืองานที่เสีย ซึ่งจะต้องมีความชำนาญและก็เป็นความเฉพาะตัว หรือเป็นการปั๊มบล็อคปั๊มลายที่มีลวดลายสื่อถึงความเป็นลวดลายนั้นๆ เราเห็นเราก็โอ้โหสุดยอด ยาก! เราจะทำยังไงในเมื่อเรามี “ผ้าไหม” แล้วการที่ทำงานให้มันแม่นอย่างนั้น มันจะต้องใช้ทักษะที่สูงมาก “แล้วถ้าเสียหายเราก็จะต้องมาต้มลอกเทียนใหม่ ความสูญเสียความมันวาวของผ้าตรงนั้นก็ลดลง เราจะทำให้ผ้านั้นกลับมาสวยงามได้อย่างไร”ไม่มีเสียมีแต่สวย ก็เลยเป็นเรื่องของกาวล้วน ๆ เลย การเขียนพรีฟอร์มเมื่อเกิดปัญหา แก้ปัญหาหน้างานได้เลยแต่ถ้าเป็นเทียน ในเมื่อเราลงเทียนไปแล้วการล้างกาวทำให้เกิดการแตกกะเทาะ นั่นก็ทำให้เราได้แนวงานที่ไม่ซ้ำหรือความเป็นธรรมชาติของการแตกของเขา ว่าผ้าเนื้อหนาเขาก็จะแตกได้สวย ผ้าเนื้อบางเขาก็จะละมุนในการแตก ก็ทำให้น้อง ๆ ที่ชอบในการเขียนการวาดอันนี้เขาสนุกกับงานและก็ครีเอทงานได้อย่างไม่รู้จบ


พี่นิดบอกว่า ไม่รู้จักมาก่อนเลยคำว่า “บาติก” เราก็คือไปเรียนตามหน่วยงานที่ให้วิชาการอาชีพ ทำให้ได้รู้ว่าเทียนผสมด้วยอะไร
สีคือสีอะไรfixed ฟิกซ์ด้วยอะไร การเรียนตอนนั้นมันจะเป็นในเรื่องของผ้าที่เป็นใยพืช ไม่ใช่ใยสัตว์ เราเอาเทคนิคใยพืชมาใช้กับใยสัตว์เราเกิดปัญหามากมายเลย ในการที่มันด่างในการที่จะต้องทำให้ผ้าไม่หัก ในการที่จะต้องใช้เนื้อผ้าต่าง ๆ ให้เขียนได้สวยงาม สิ่งเหล่านั้นทำให้เราแก้ปัญหามาทีละเรื่อง ๆ จนมาเกิดความเป็น “เฉพาะ” ว่าเราจะใช้เส้นใยไหน เหมาะกับเทคนิคของเราแบบไหน ตั้งแต่เส้นเล็กสุด เส้นหัตถกรรม เส้นอุตสาหกรรม สามารถทำให้มันนิ่มละมุนได้หมดเลย“ทำให้โชคดีมากเลยที่วันนั้น เราไม่ท้อถอยเราสู้ต่อ ในเรื่องของการทำคาแรคเตอร์ผ้าความเป็นอีสานได้สำเร็จ”ใช้เวลาอยู่ 2-3 ปีถึงจะได้ความเป็น “ผ้าไหม” ที่ลูกค้าหน้าร้านผ้าไหมเอางานมาให้เราเขียน เพื่อที่จะไปส่งประกวด แล้วเขาก็ได้รางวัลโบว์แดงกันมาก็ทำให้เรารู้สึกว่างานของเราประกวดแข่งขันก็ยังได้รางวัล ลูกค้าก็เป็นที่ชื่นชอบเพราะเขาเอาผ้ามาให้เราเขียนแล้วเขาเอากลับไปขายได้ ตอนนั้นเราก็ยังอยู่ในเรื่องของเบื้องหลังรับจ้างทุกร้าน รับจ้างทุกคนที่มาจ้างเราเขียน ก็ทำให้เรามีกำลังใจว่าเขาไปได้ เขาขายได้ก็ใช้เวลาอยู่ประมาณ 4-5 ปีค่ะถึงเกิดความมั่นใจ ที่จะออกมาบอกว่านี่คือ “แบรนด์ฅญา” ความรู้แจ้งเห็นจริง ความที่เราคิดว่างานน่ะทำอะไรก็ช่างให้เรารู้ให้แจ้ง เห็นให้จริง รู้ให้ลึก เราทำอะไรเพื่อสิ่งอะไร เราใช้เรื่องนี้มาเป็นเรื่องยึดเหนี่ยวจิตใจเลย”ว่าทำแล้วลูกค้าชอบ ลูกค้าขายได้ เป็นที่พอใจแล้วเราก็มีกำลังใจในการพัฒนาไปต่อ


สร้างลวดลายที่เป็นอัตลักษณ์ สื่อตัวตนของอีสานผ่าน Design ที่ไม่ซ้ำ
อ.ปักธงชัย เก่งมากในเรื่องการถักทอผ้าที่มีคุณภาพ ผ้าทุกสีเรานำมาต่อยอดแล้วเขียนลวดลายแล้วย้อมเพิ่ม เพิ่มสีได้เลยได้ทุกสี ยกเว้นสีดำ เราไม่ได้เริ่มต้นจากผ้าขาวอย่างเดียวเราเริ่มต้นจากผ้าที่สวยอยู่เดิมแล้ว เราเพิ่มลวดลาย มาเพิ่มสีสัน มาเพิ่มมูลค่าของท้องถิ่นได้“ทำให้เราสนุกกับการเขียนงานบางครั้ง ผ้าที่มันดีอยู่สวย ๆ แล้วเรามาเขียนลูกค้าบอกว่าอยากได้อีก โอ้โหเราต้องเริ่มกลับไปทำ เริ่มต้นใหม่(หัวเราะ) ตั้งแต่แรก ทำให้เราค่อนข้างจะทำงานได้เป็นงานที่เป็นงานเฉพาะ” และหากพูดถึงอินสไปร์ซึ่งเป็นที่มาของลวดลายของงานที่ได้แต่ละชิ้น หนึ่งล่ะความเป็นอีสาน แล้วก็อีสานมีความเป็น ก้อนหิน ต้นไม้ สายน้ำ เรามีหมดเลยภูเขาเราสวยงาม สายน้ำเราก็มีสวยงาม ธรรมชาติเหล่านี้ที่อยู่รอบตัวไม่ว่าจะเป็น ใบหม่อน ตัวหนอน เราก็เล่าเรื่องความเป็น “ไหม” นั่นเขาคืออาหารไหม นี่เขาคือตัวแทนไหม-ไข่ไหม อะไรอย่างงี้คือวนอยู่กับตัวเองเนี่ยแหละ ถ่ายทอดอารมณ์ของตัวเองลงไป ลูกค้าก็น่ารักเห็นแล้วก็จดจำได้ แล้วเขาก็เข้าใจได้ว่านี่คือผ้าไหม แล้วเขาจะคอยเก็บชิ้นงานแต่ละรอบที่มาออกงานแฟร์ว่าเฮ้ยรอบนี้คุณคิดอะไรมา


“แล้วเราก็มุ่งหวังว่าความเป็นผ้าไทยของเราก็จะเป็น ของฝากประเทศไทยได้ก็จะเป็นที่ชื่นชอบของผู้ที่ได้รับ นิดก็พยายามทำงานให้มันเป็นเรื่องของ ของฝากของที่ระลึกออกมาด้วยอย่างเงี้ยค่ะ กลุ่มลูกค้าก็จะมีหลากหลายในช่วงเทศกาลปีใหม่ เกษียณ ฯลฯ เขาก็จะคิดถึงของฝาก”ซึ่งของเราจะใช้ผ้าไหมเป็นหลักเลยที่นำมาทำเพราะว่า กลุ่มผู้ทอก็มีกลุ่มผู้สูงวัยเขาทอผ้ามาตั้งแต่วัยสาวเขาทอด้วย “กี่กระตุก” ที่สวยงามเรียงเส้นได้สวยงาม เราก็ให้ความทักษะนั้นเขาทอมา แต่คนรุ่นต่อไปในรุ่นลูกเขาไม่ทอกี่กระตุก เขาจะต้องทอเครื่องแต่เขามีทักษะของคุณแม่ ที่ทอเครื่องเขาก็ถ่ายทอดองค์ความรู้ของแม่เขามา แล้วก็มาทอเครื่องให้กับนิดอันนี้เราก็จะมีเจนรุ่นต่อไปแล้วว่า การถักทอ เสียงกี่กระตุก เสียงกี่ทอของเราก็ยังจะต้องดังต่อไป


ฉีกกฎทุกเรื่องยากของ “ผ้าไหม” ดีไซน์ให้เข้าได้กับทุก Lifesyle
“เราอยากให้ผ้าไหมอยู่กับวิถีชีวิต ตั้งแต่ตื่นนอนจนเข้านอนการที่ใส่เสื้อผ้า สบาย ๆ ใยธรรมชาติ 100% สัมผัสผิวแล้วลื่นละมุนนั่นคือ ความสุข ถ้าคุณได้ใส่อยู่บ้านหรือใส่นอนใส่ไปช้อปปิ้งอะไรอย่างงี้ก็ได้ แล้วการถนอมผ้ามันก็ง่ายขึ้นเพราะเราก็ผ่านกระบวนการที่ทำให้ เตรียมให้คุณใช้งาน ได้สะดวกมากขึ้นไม่ต้องถึงกับส่งซักแห้ง ซักเองได้ง่าย ๆ ผึ่งลมให้แห้ง รีดก็ต้องไฟแรงสุด ก็เรียบลื่นโดยไม่ต้องไปจ้างเลย เราสามารถใช้ผ้าไทยได้อย่างง่าย ๆ”แล้วเราก็อยากให้คนรุ่นต่อไปใช้ “ผ้าไทย” โดยไม่เคอะเขินหรือว่าแก่ หรือว่าอะไรอย่างเงี้ย ใช้ผ้าไทยแล้วภูมิใจความเป็นไทยด้วยกัน เราก็ไม่อายใครในเรื่องของเราพยายามสร้างผ้าไทยให้กับ “ผู้หญิงไทย” เก่ง เท่“ใส่เล่น ๆ เที่ยวชิล ๆ เป็นรูปแบบง่าย ๆ เรียบ ๆ ก็มี ใส่เป็นเดรสลำลองก็มี หรือจะเป็นชุดสูทใส่เพื่อจะเป็นทางการก็มี มีการทำให้ผู้หญิงได้ทุกคนที่เห็นคุณค่าความเป็นไหมไทย” ถึงแม้เราจะเป็นแบรนด์ที่ไม่ดังแต่เป็นแบรนด์ที่พยายามทำสิ่งดี ๆ ส่งให้กับคุณลูกค้า


ยุคหนึ่งเราก็มีผ้าไทยที่เป็นการสร้างชื่อเสียงให้ประเทศไทยอยู่แล้ว แล้วประเทศไทยก็มีเสน่ห์ในเรื่องของ “สายพันธุ์ไทย”(พันธุ์ไหม) ที่เรามีสายพันธุ์สีเหลืองทองไม่เหมือนชาติใดในโลก อันนี้ก็เป็นเครื่องการันตีได้ว่าของไทยไม่แพ้ใครในโลก เรามีการพัฒนาเพื่อไม่ให้ตกเทรนด์ แต่ความเป็นแบรนด์ฅญาความเป็นไหมไทยของฅญา เรายังคง “แก่น” และเป็นหลักเพราะ เรามีต้นทุนของชุมชนเรามีผู้ทอเรามีผู้ทำที่เกิดทักษะแรงงานที่นั่นได้อย่างเก่งอยู่เดิมแล้ว สิ่งเหล่านี้เราก็เอามาเป็นทุนเดิมแล้วเราก็มาพัฒนาเพื่อไปให้ทัน โลกที่เปลี่ยนที่เป็นแฟชั่นที่เป็นความต้องการของเจนใหม่รุ่นใหม่


จุดหมายของแบรนด์คือ “นักท่องเที่ยว” การเข้าไปอยู่ใน KING POWER จึงเป็นคำตอบ
การทำผ้าไหมที่มันมีมูลค่าสูงแล้วก็เพิ่มงานขึ้นมาได้ นิดก็มองว่ากลุ่มลูกค้าหลักของนิดคือ นักท่องเที่ยว เพราะยังไงเขามาประเทศไทยเขาอยากได้ผ้าไทยกลับไปเป็นของฝาก“มุ่งเข้าคิงเพาเวอร์ตั้งแต่ เกือบสิบปีแล้วนะคะที่ทางคิงเพาเวอร์ให้พื้นที่แบรนด์ฅญา ในการเข้าไปวางจำหน่ายสินค้าผ้าไทยภายใต้แบรนด์ของตัวเองอยู่ในนั้นมา” นิดก็มาออกงานแฟร์ (งานOTOP CITY) อยู่ที่เมืองทองธานีแบบนี้เลย แล้วเขาก็มีการประกาศเสียงตามสายมาว่าผู้ประกอบการท่านใดที่อยากจะมา Matching กับบริษัทต่างๆ ที่มาให้องค์ความรู้ก็เข้ามาอบรมแล้วคุณก็จะได้เจรจาธุรกิจ โอ้โหตอนนั้นทิ้งบูธเลยค่ะอยู่คนเดียวด้วย หอบหมอนหอบผ้าหอบอะไรไป เข้าไปอบรมก่อน แต่ส่วนใหญ่เขาไม่อบรมเขาไปต่อคิวกันแล้ว แต่นิดอบรมก่อนเพื่อที่เราจะได้รู้ว่ามีใครมาบ้างมีบริษัทห้างร้านไหนมาบ้าง หนึ่งในนั้นก็มีคิงเพาเวอร์” เราก็พรีเซ็นต์ชิ้นงานกับคิงเพาเวอร์ว่าเรามีหมอน มีผ้าพันคอ มีโปรดักส์แบบนี้ ๆ แล้วเขาบอก แล้วเงื่อนไขต่าง ๆ ที่เราวางไว้คุณรับได้ไหม? การจ่ายแบบนี้นะอะไรอย่างเงี้ยเขาก็เล่าถึงเงื่อนไขต่าง ๆ ให้เราฟังก่อน เราบอกรับได้หมดเลย! ค่ะรับได้ค่ะ เอาไว้แล้วเราจะติดต่อกลับไปนะ 2 เดือนถึงได้มีโทรศัพท์ติดต่อกลับมา เราจะสั่งคุณครั้งละ 200 ชิ้นคุณทำได้ไหม ภายใน 1 เดือน ทำได้ค่ะ! แล้วในเรื่องของระยะเวลาการจ่าย 30 วันนะ ได้ค่ะ! ได้หมดเลยค่ะ(หัวเราะ) ยอมรับทุกเงื่อนไข ใช่ เพราะยังไงใช่เราอยากอยู่ตรงนั้น แล้วเราอยากรู้ว่าสินค้าเราตอบโจทย์ลูกค้ากลุ่มนั้นไหมค่ะ ก็เป็นอะไรที่เราคิดถูกแล้วเพราะว่า กลุ่มลูกค้าเราอยู่ตรงนั้นจริง ๆ”

เราคิดว่าลายมือการพรีฟอร์มงานหรืออะไรต่าง ๆ ทำให้สินค้าขายตัวเอง ลูกค้ารู้ได้เลยจาก Shop ที่วางด้วยกันแล้วไม่ซ้ำกัน ลูกค้าเข้าใจได้เลยว่านี่คืองานมือ(งานแฮนด์เมด) ในการสร้างลวดลายบนผ้า ก็ทำให้เรายิ่งเกิดทักษะในการทำงานและก็มั่นใจในจุดขายว่าการสร้างลวดลายด้วยการเขียนนี่แหละ คือจุดขายของแบรนด์“หลังโควิดฯ มานี่เราก็ต้องเริ่ม เพื่อที่จะกลับเข้าไปเพราะว่าการฝ่าฟันปัญหาตรงนั้นทำให้เรา ค่อนข้างหนัก ณ ตอนนี้ก็มีแผนที่จะเข้า บลูพอร์ต หัวหิน จะเป็นร้านของฝากของที่นะลึกมากขึ้น แล้วในห้างฯ ที่จะมีพื้นที่ให้เราก็มีไอคอนสยาม แล้วก็มีหอศิลป์ฯ หอศิลป์เราก็เคยเอาเข้า ตอนนี้เราต้องกลั เข้าไป" ส่วนช่องทางในเรื่องของออนไลน์สำหรับการค้าการขายของในยุคนี้ เมื่อก่อนนี้ไม่คิดหรอกเรื่องพวกนี้มันเหมือนเราแก่เกินไปแล้ว แต่ว่าในเรื่องของธุรกิจมันไม่ใช่! มันเป็นเรื่องใหม่ที่เราต้องทำด้วยควบคู่ไปอย่างปฏิเสธไม่ได้เลย“ทำให้เราไม่เป็นก็ต้องเป็นแหละ ไม่ได้ก็ต้องทำให้ได้ แต่กลับกลายเป็นว่าดีค่ะ(หัวเราะ) ดีค่ะเพราะว่า ลูกค้าเจอเมื่อไหร่ก็จะแค๊ปหน้าจอมา ชิ้นนี้ยังอยู่ไหมคะ ตัดสินใจได้ง่ายเลย ถ้าอยู่ก็คือส่งเลยค่ะ แต่ถ้าไม่อยู่ก็คือไม่มีอีกแล้วนะคะต้องดูชิ้นใหม่แล้วค่ะ อย่างเงี้ยค่ะ ใช่ค่ะจริงด้วยค่ะ เป็นอะไรที่เราตัดสินใจได้ง่ายกับลูกค้า”


สืบสานตำนาน “อาชีพผ้าไหม” ร่วมพัฒนาเพื่อต่อยอดไปด้วยกัน
ณ วันนี้แบรนด์ฅญาก็เลยไปทุกช่องทางของการค้าการขายในยุคนี้ พี่นิดบอกด้วยว่า เพราะว่าหนึ่งล่ะในเรื่อง “ต้นทุน” ของเราเองที่จะออกไปงานแฟร์ซึ่งมันก็คาดการณ์ได้ยาก เราก็เลยจะต้องดูโอกาสที่จะเป็นการขายให้เราได้ตลอดเวลา ก็คือ Shop ต่าง ๆ เราก็แบ่งกันไป แต่ในเรื่องของ “ออนไลน์” ก็คือต้นทุนที่ต่ำในการทำงาน กลับกลายเป็นข้อดีที่เพิ่มเข้ามาด้วยในไลน์ผลิตของนิดมีประมาณ 11 คนค่ะ แต่ในกลุ่มสมาชิก 23 คน นิดทำงานร่วมกับชุมชนในเรื่องของกลุ่มวิสาหกิจฯ เพราะเราไปเห็นอะไรมากมายเราไปเห็นแหล่งต้นน้ำ ในเรื่องของเส้นไหม-เส้นใย ซึ่งชุมชนเป็นผู้ใช้เส้น แต่ผู้สาวเส้นไม่เจอผู้ใช้เส้น เราเป็นตัวกลางที่ไปขอดิวงาน ขอซื้อเส้นใยเหล่านั้นที่มีคุณภาพ มาไว้เป็นกองทุนเพื่อให้ผู้ผลิตผ้าในชุมชน ได้มาใช้เส้นใยที่มีคุณภาพและสวยงามเขาก็ไปทอแล้วไปเพิ่มมูลค่าได้ง่าย ในการที่ขายออกไปอย่างเงี้ยค่ะ แล้วอีกส่วนหนึ่งเขาก็เอามาทอ “ผ้า” เพื่อกลับมาให้นิดแปรรูปซึ่งกองทุนนี้ทำให้เราได้ฐานการผลิตที่ไม่ขาดช่วงการผลิต ืเพราะว่าเส้นใยมันมีตามฤดูกาลอย่างถ้าเป็น ฤดูแล้ง นี่คือเขาเลี้ยงไหมไม่ได้เราก็จะขาดไปเลย แล้วก็ในเรื่องของกลุ่มผู้ที่อยู่ในเครือข่าย “ฅญา” คนทอสวยก็ทอไป คนเย็บเก่งก็เย็บไป คนเขียนลายสวยก็เขียนไป ใครรีดผ้าสวยรีดผ้าดีก็มารีดเลย คือเราพยายามที่จะจ่ายงานเพื่อให้เกิดรายได้ เพื่อหล่อเลี้ยงกันเวลางานเยอะ เราก็จะได้ลุยช่วยกัน เวลางานน้อยเราก็แบ่งปันงานกันไปทำก่อนอะไรแบบนี้




พูดถึงอีสานคุณนึกถึงอะไร? ฅญาบาติกเพิ่มมูลค่า “ผ้าไหม” ด้วยลวดลายที่เป็นอัตลักษณ์เชิงพื้นที่ ขอบคุณศิลปินเจ้าของแบรนด์ผู้สร้างสรรค์ชิ้นงานผ้าไทยออกมาจาก “ผ้าไหม” ที่ผสานรวมกับเทคนิค “บาติก” ได้อย่างยอดเยี่ยมเพิ่มมูลค่าและเต็มไปด้วยสตอรีเทลลิ่งที่บ่งบอกความเป็นตัวตนซึ่งเป็นอัตลักษณ์อีสานได้อย่างลึกซึ้งแต่เข้าใจง่าย ทำให้แบรนด์ฅญาสามารถเข้าไปอยู่ในใจของคนที่รักผ้าไทยอยู่เป็นทุนเดิมกลายเป็นcollector ที่ตามเก็บทุก ๆ คอลเล็กชันงานใหม่ที่ออกมาอย่างน่าชื่นใจแทน “พี่นิด-ชนันญา ดรเขื่อนสม” ผู้ริเริ่มและเจ้าของแบรนด์ที่ทำให้เรารู้สึกได้ถึงความเป็นศิลปินที่เต็มเปี่ยมไปด้วยจิตวิญญาณซึ่งอยู่ข้างในแล้วฉายชัดออกมาทางประกายตาที่บ่งบอกขณะที่พูดถึงผลงานภายใต้แบรนด์ฅญา สามารถติดตามผลงานหรืออุดหนุนสินค้าในชื่อแบรนด์ “ฅญาบาติก” โทร.086-250-1920 หรือ เพจ: ฅญาบาติก

คลิก Like เพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า "SMEsผู้จัดการ" รับข่าวสารในแวดวงธุรกิจเอสเอ็มอีที่สมบูรณ์แบบที่สุด


กำลังโหลดความคิดเห็น