xs
xsm
sm
md
lg

จากความยากสู่ความ “เต็มใจ” ก้าวต่อไปสู่ปีที่ 3 กับภารกิจพิชิตการบริจาคโลหิตฉบับ “BIKE FOR BLOOD”

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



“การบริจาคโลหิตเป็นกุศลอันยิ่งใหญ่ ช่วยชีวิตคนได้ แม้มีเงินก็ช่วยอะไรไม่ได้ หากไม่มีผู้มีจิตกุศลช่วยกันบริจาค การบริจาคโลหิตไม่มีอันตราย มีแต่ประโยชน์แก่ผู้ให้และผู้รับ”


แรงบันดาลใจจากพระราชดำรัสในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ได้น้อมนำมาก่อเกิดเป็นโครงการ “เต็มใจ” โดยนางสาวจิรฐา โลหะพรหม นักธุรกิจจิตอาสาจากแบรนด์บอลลูนอาร์ท และประธานโครงการเต็มใจ กล่าวว่า จากปีแรกที่เริ่มทำด้วยความที่เราเห็นปัญหามันเกิดขึ้นทุกคนก็เห็นปัญหา แต่เราไม่รู้ว่าปัญหาเหล่านี้จะถูกแก้ไขอย่างไร สิ่งที่ “มูลนิธิดั่งพ่อสอน”ทำคือการพัฒนาคน เรามองถึงว่าเป็นความยั่งยืนที่เราจะปลูกฝังในเรื่องการเสียสละขึ้นมาในเยาวชน เพราะเราเชื่อว่าวันนี้น้อง ๆ นักศึกษาเห็นปัญหาแล้วเขาลุกขึ้นมาแก้ปัญหาด้วยตัวเขาเอง เพื่อให้คนได้มีส่วนร่วมเข้ามาบริจาคโลหิต และตัวเขาเองจะเป็นคนที่เห็นปัญหาแล้วแก้ปัญหาเขาจะเป็นคนแรกเลย ที่จะตัดสินใจบริจาคโลหิต และเราเชื่อว่าหลังจากการที่เขาทำแบบนี้ต่อเนื่องมันก็จะเกิดการบริจาคโลหิตอย่างสม่ำเสมอและยั่งยืนเกิดขึ้น อันนี้ถือว่ามันเป็นความสำเร็จคือเป้าหมายจริง ๆ ของโครงการเต็มใจ


“โครงการเต็มใจเป็นโครงการภายใต้มูลนิธิดั่งพ่อสอน เราร่วมมือกับศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย เป้าหมายของเราก็คือเราต้องการที่จะปลูกฝังจิตสาธารณะโดยเฉพาะในเรื่องของการเสียสละและการให้ ให้กับเยาวชน โดยมีเป้าหมายที่เราจะลดการขาดแคลนโลหิตลงเพราะว่า ที่ผ่านมาเรายังมีปัญหาในเรื่องการขาดแคลนโลหิตอยู่ อย่างในปีที่ผ่านมาทั้งประเทศมีผู้บริจาคโลหิต 1.6 ล้านคนแต่ในขณะที่ เราต้องการถึง 6.4 ล้านคน!” ปีที่ 2 ปีนี้สิ่งที่โครงการเต็มใจได้ทำงานมากมาย ได้ร่วมมือกับศูนย์บริการฯ เราได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยทั่วประเทศ ปีแรกเราได้โลหิตมา 1.7 ล้านซีซี ปีนี้เป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นมาก ๆ เลยก็คือว่า เราได้โลหิตมาถึง 5 ล้านซีซี!!! จากนักศึกษาทั้งสิ้นที่มาร่วมทำกิจกรรมเพื่อการรับบริจาคโลหิตกับทางโครงการเต็มใจ จำนวน 3,288 คนที่มาจาก 20 สถาบัน และที่น่าตื่นเต้นดีใจไปมากกว่านั้นก็คือเรามี “ทูตเต็มใจ” ถึง 60 คนแล้ว




โครงการเต็มใจมีรางวัลอยู่ 3 รางวัล แบ่งเป็น ประเภทมหาวิทยาลัยที่มียอดการบริจาคโลหิตสูงสุด ปีนี้เราได้เป็นมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ส่วนอีก 2 รางวัลจะเป็นประเภททีมมีทั้งสิ้น2 ประเภท ก็คือประเภทที่1 ยอดโลหิตสูงสุด และอีกประเภทหนึ่งคือ
แคมเปญยอดเยี่ยม "โดยรางวัลการประกวดกิจกรรมรณรงค์บริจาคโลหิตในโครงการเต็มใจ ปี 2 แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้ รางวัลมหาวิทยาลัยชนะเลิศยอดโลหิตสูงสุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ยอดโลหิต 2,440,800 ซีซี รางวัลทีมชนะเลิศยอดโลหิตสูงสุด Blood Help มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ยอดโลหิต 1,044,650 ซีซี รางวัลทีมรองชนะเลิศอันดับ 1 ยอดโลหิตสูงสุดเลือดข้นคนไม่จาง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ยอดโลหิต 1,000,300 ซีซี รางวัลทีมรองชนะเลิศอันดับ 2 ยอดโลหิตสูงสุด LongliveLife มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ ยอดโลหิต 603,300 ซีซี รางวัลทีมรองชนะเลิศอันดับ 3 ยอดโลหิตสูงสุด PokPlay มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ยอดโลหิต 459,400 ซีซี รางวัลทีมชนะเลิศแคมเปญยอดเยี่ยม LongliveLife มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ รางวัลทีมรองชนะเลิศอันดับ 1 แคมเปญยอดเยี่ยม Blood in need, buddy indeed สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง รางวัลทีมรองชนะเลิศอันดับ2แคมเปญยอดเยี่ยม Na blood now มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน และ รางวัลเกียรติยศ ให้แก่ ผู้สนับสนุนโครงการเต็มใจดีเด่น และอาจารย์ประจำทีมดีเด่นด้านการสื่อสาร เพื่อโครงการเต็มใจโอกาสนี้เลขาธิการสภากาชาดไทยร่วมแถลงข่าวเปิดตัว "โครงการเต็มใจ ปี 3" เตรียมปลูกฝังจิตสาธารณะให้แก่เยาวชนคนรุ่นใหม่ ตั้งแต่ระดับอนุบาล - อุดมศึกษา ได้เข้ามามีส่วนหนึ่งในการกระตุ้นสังคมไทยให้เกิดการบริจาคโลหิตเพิ่มขึ้น โดยใช้ความรู้ความสามารถและความคิดสร้างสรรค์นำเสนอผ่านรูปแบบของกิจกรรมต่าง ๆ


ต่อยอด & ขยายผลโครงการสู่ปีที่ 3
ทำยังไงถึงได้ “โลหิต” ที่รับบริจาคมาสูงสุดถึง 5 ล้านซีซีในปีนี้ มันมาจากการทำแคมเปญซึ่งแคมเปญที่เด็ก ๆ ทำมีความคิดสร้างสรรค์มาก และหลากหลาย โดยนักศึกษาที่มาร่วมกับโครงการเต็มใจทั้งปีเขาก็จะต้องไปทำกิจกรรม แล้วก่อนที่เขาจะทำกิจกรรมเขาก็ต้องวางแผน ออกแบบแผน แล้วก็จัดกิจกรรมต่าง ๆ จนกระทั่งถึงวันรับบริจาคโลหิต “ฉะนั้นสิ่งที่น่าตื่นเต้นก็คือเขามีความคิดสร้างสรรค์ สิ่งที่เขามีอยู่ สิ่งที่เขามีอยู่แล้วเขาเอาสิ่งที่เขามีอยู่นำมาใช้ยังไงบ้าง บางทีมทำอาร์ทเอ็กซิบิชัน บางทีมทำการวิ่งรณรงค์ บางทีมซึ่งเป็นสัตวแพทย์ทำ CPR หมาเพื่อให้ Pet Parents ต่าง ๆ ไปบริจาคโลหิต แคมเปญต่าง ๆ เหล่านี้น่าสนใจมาก ๆ เลย” เราก็เลยคิดว่าถ้าอย่างนั้นเราจะนำแคมเปญนี้ไปขยายผล ในปีหน้าเราก็เลยวางแผนว่าเราจะทำโครงการ BIKE FOR BLOODจะเกิดขึ้นทั่วประเทศเราจะเข้าไปถึง “จิตอาสา”ที่อยู่ใน 878 อำเภอ โดยใช้แคมเปญจากที่น้อง ๆ ออกแบบมาไปทำให้เกิดการรณรงค์ในภาพกว้างขึ้น นอกจากนี้เรายังจะมีในเรื่องของชมรมผู้ประกอบการรุ่นเยาว์ และยังจะมีชมรมอาสาล่าเลือด (Vampire Warrior) เกิดขึ้นด้วย อันนี้ก็คือ Next ของเรา




จากความยากสู่ความ “เต็มใจ”
นางสาวจิรฐา โลหะพรหม ประธานโครงการเต็มใจ ยังบอกด้วย ตอนที่เราเข้ามาครั้งแรกในปีแรก จนถึงวันนี้ก็ยังบอกได้อยู่ว่ามันเป็น “ความยาก” เพราะว่ามันมีความเชื่อ มันมีความเชื่อหลากหลายซึ่งมันอาจจะขาดในเรื่องของความรู้ความเข้าใจ“แต่สิ่งที่โครงการเต็มใจทำคือเราน้อมนำ พระราชดำรัสของรัชกาลที่9 มาเราสืบสานตรงนี้มาในส่วนที่พระองค์ดำรัสเอาไว้ ว่า “การบริจาคโลหิตเป็นกุศลอันยิ่งใหญ่ ช่วยชีวิตคนได้ แม้มีเงินก็ไม่ช่วยอะไรไม่ได้ หากไม่มีผู้มีจิตกุศลช่วยกันบริจาคการบริจาคโลหิตไม่มีอันตราย มีแต่ประโยชน์แก่ผู้ให้และผู้รับ” สิ่งนี้เราน้อมนำมาตั้งเป็นปณิธานในการทำงาน เพราะเราเชื่อว่าถ้าเขามีความรู้ความเข้าใจว่า การบริจาคโลหิต มันมีประโยชน์นะทั้งคนที่ให้เอง “เลือด” ถูกการปรับเปลี่ยนหมุนเวียนจะทำให้ “ร่างกาย” สดชื่นแข็งแรงขึ้น” แล้วพอเยาวชนเรารู้ว่าการบริจาคโลหิตเป็นเรื่องสำคัญ สิ่งที่เขาต้องทำเลยคือเขาจะต้องดูแลตัวเอง เขาจะต้องรักษาสุขภาพของตัวเองให้แข็งแรง เขาจะต้องนอนให้พอดี ทานอาหารที่ดี และดื่มน้ำให้พอดี เขาก็จะสามารถช่วยชีวิตผู้อื่นได้ “เพราะว่าเลือด 1 ถุง สามารถช่วยชีวิตคนได้ถึง 3 ชีวิต อันนี้คือสิ่งที่เราคิดว่าเออมันตอบโจทย์ความรู้สึกของเรา ว่าใช่การทำงานเรื่องนี้มันเป็นเรื่องยากแต่วันหนึ่ง ซึ่งไม่เกิน 3-5 ปีเราจะเปลี่ยนค่ะ จะกลายเป็นความยั่งยืนที่เกิดขึ้นคนไทยจะลุกขึ้นมาบริจาคโลหิตโดยอัตโนมัติ เพราะเห็นว่าสิ่งเหล่านี้เป็นประโยชน์” เพราะมีแค่ “คน” กับ “คน” เท่านั้นที่จะสามารถช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้ ความยากสู่ความ “เต็มใจ” แล้วสุดท้ายเขาก็จะเต็มใจที่จะมาทำด้วยตนเอง


“คือทั้งหมดที่เราทำทั้งหมดเลยต้องมาจากความที่ “เต็มใจ” เท่านั้นเลย” ประธานโครงการเต็มใจ กล่าวในที่สุด


กำลังโหลดความคิดเห็น