xs
xsm
sm
md
lg

(ชมคลิป) ความพิเศษที่ต้องพิเศษจริง ๆ เปิดเทคนิค “แบรนดิ้ง” ที่ดีที่ลูกค้าทรงจำ แคนดี้’ส แดนดี้ เจ้าตลาด “ของขวัญ”

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



“การที่คุณทำของขวัญชิ้นหนึ่งให้มันมีความประทับใจ คุณค่าของ “ของ” มันคืออะไร มันคือ Story เนี่ยแหละ มันคือการที่คุณเพิ่ม Value ของของให้มันอยู่บนของคุณให้มันพิเศษได้อย่างไร เพราะฉะนั้นความถนัดของตองก็คือเรื่อง Design





เราเคยทำกราฟิกออนโปรดักส์มาแล้วตั้งแต่ตอนทำงานสมัยก่อน ตรงนี้เป็นโจทย์ที่สำคัญมากเลยว่าเรามีวิชาตรงนี้ เราก็เอาตรงนี้มาต่อยอดสิ ซึ่งมันใช้ได้ตลอดเพราะฉะนั้นกราฟิกออนโปรดักส์หรืออะไรก็แล้วแต่ที่ทำให้มันเป็นเรื่องราวที่ผูกขึ้นมาหรือแม้กระทั่ง ดีไซน์ของซึ่งมันแปลกกว่าคนอื่นตรงนี้ก็เป็นจุดขายเรา ในการทำของต่าง ๆ ได้ตลอดเลย” ซีอีโอตอง หรือ คุณปรัยวันท์ สถิรกุล แห่งบริษัท Candy’s Dandy จำกัด ผู้นำตลาดทางด้านธุรกิจ “ของขวัญ” โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโหมด Corporate Gifts ชื่อเสียงของแคนดี้’ส แดนดี้ นั้นถือว่าไม่ธรรมดาเลย“ย้อนไปยี่สิบกว่าปีที่แล้วนานมาก (หัวเราะ) ตัวเองจริง ๆ เป็นคนที่ชอบ ลึก ๆ เป็นคนที่เล่นดนตรีมาตั้งแต่เด็ก แล้วก็มีความเป็นศิลปินดีกว่าเพราะว่าเป็นอะไรที่เราชอบครีเอท ชอบแต่งเพลง หรืออะไรอย่างเงี้ยมาตั้งแต่เด็ก ทีนี้ก็ไม่ได้รู้หรอกว่าลึก ๆ ตัวเองแอบชอบพวกงานดีไซน์อื่น ๆ ด้วยหรือเปล่าแต่ตองคิดว่ามันมี สำหรับคนที่มีความเป็นศิลปินในแขนงไหนก็แล้วแต่มันจะ connect กันได้โดยที่มันมีอะไรเข้ามาทำให้เรารู้สึกว่าเออมันคิดได้คอนเน็กกันปุ๊บมันคิดได้เลย ตอนนั้นฟองสบู่แตกก็เราไม่มีสิทธิ์เลือกงาน ก็ได้ทำในบริษัทที่ไม่ได้เกี่ยวกับดีไซน์หรอกแต่สักพักหนึ่งปุ๊บมีเพื่อนมาบอกว่าเออ มีบริษัทดีไซน์บริษัทหนึ่งเป็น ทำ Product Design ซึ่งตอนนั้นดังมากเลยชื่อ Propaganda เมื่อ 20 กว่าปีที่แล้วเขาเรียกเป็นแบรนด์ที่ แบรนด์แรก ๆ ของเมืองไทยเลยก็ว่าได้โอ้โหเปลี่ยน! ประเทศเลยมั้งทำให้คนในยุคเราก็มีโอกาสได้ไปทำงานบริษัทนั้นในฐานะ ไม่ได้เกี่ยวกับดีไซเนอร์อีกเป็นในฐานะของการขาย เป็น Export Manager”ก็เป็นก้าวแรกได้เข้าไปมีโอกาสและก็ได้พิสูจน์ตัวเองในการทำงาน เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ทำให้เรารู้สึกว่า เราชอบ แล้วเราก็ลึก ๆ เรามีหัวเรื่องนี้เหมือนกันนะ แล้วก็เจ้านายเองสอนเราซัพพอร์ตเราเต็มที่มาก ๆ เลย เราก็แสดงฝีมือเต็มที่ วิชาต่าง ๆ มันก็เราขวนขวายด้วยเจ้านายก็ให้โอกาสด้วยเราก็ได้มาเต็ม มีความรู้ความสามารถเก็บเต็มที่ ภายในช่วงประมาณ5-6 ปีทำงาน ก็ไปโร้ดโชว์เมืองนอกเรียกว่าเดินทางทั่วโลกเลย


เรียนรู้เรื่อง Product Design จากกูรู “ผู้มาก่อนกาล” ในยุคนั้น
ได้ทำงานกับคนที่เก่งก่อนกาล หลายคนแล้วเราก็ได้ไอเดียอะไรต่าง ๆ บางทีมัน advance กว่าคนอื่น คนตอนนี้ยังไม่เข้าใจ แต่เราเข้าใจไปแล้วล่วงหน้า แล้วไอ้ของที่เราเข้าใจ ณ ตอนนี้ล่วงหน้าไปแล้ว อีกสองสามปีล่วงหน้าไปแล้วมันฮิตน่ะ! เราเป็นอย่างนั้นจริง ๆ นะ นี่ก็คือเล่าให้ฟังในอดีต“ก็พอมีโอกาสได้ทำงานตรงนั้นปึ๊บเนี่ยตองก็เขาเรียกว่าอะไร มันก็มีช่วงธุรกิจที่มันต้องเขาเรียกปรับเปลี่ยนเนาะเจ้านายก็ ปรับไปเป็นอยากไปทำอย่างอื่นแล้ว เราก็อ้าวเจ้านายไปแล้วเจ้านายอยากไปเป็นศิลปินตอนนั้นอยากไปวาดรูป เขาไม่อยากทำธุรกิจแล้วเขาก็บอก เราก็อือเจ้านายไม่อยู่แล้วเราก็รู้สึกว่าอยากเปลี่ยนดีกว่า”ก่อนที่จะหยุดจริง ๆ ตองก็เจอปัญหา ณ ตอนนั้นในการเรียนรู้ ในบริษัทที่ทำอยู่ว่า กว่าเราจะทำสินค้าคิดมาได้ดีไซเนอร์ต้องคิดเยอะมากแล้วกว่าจะขายได้แต่ละไอเทม เพราะมันเป็นของฟุ่มเฟือย Decorative Item มันเป็นอะไรที่ ณ ตอนนั้นคนต้องเสพดีไซน์จริง ๆ คนต้องชอบจริง ๆ ถึงซื้อ และก็ราคาไม่ได้ถูกเลย“ณ ตอนนั้นเอาเป็นว่าการทำอะไรก็แล้วแต่เมืองจีนยังไม่ได้ดัง ในเรื่องของการลอกเลียนแบบพูดกันง่าย ๆ แล้วเราก็ยังต้องใช้ cost ในการทำ เช่น ขึ้นโมลด์พลาสติกหรืออะไรเงี้ยโรงงานในเมืองไทยยังค่อนข้างแพง เพราะฉะนั้นต้นทุนในการผลิตสูงมากเลย เวลาจะไปขาย/ส่งออกทีโอ้โหคนที่ซื้อต้องเป็นแฟนคลับจริง ๆ เนาะ ทีนี้การจะสร้างฐานแฟนคลับตรงนั้นตองก็เรียนรู้หลากหลายอย่างมาก ว่าโอเคจุดเด่นของสินค้าเราคืออะไรเราพอทราบแล้ว แฟนคลับเขาจะมาซื้อของเราคือใครก็พอทราบ ซึ่งต้องสร้างมากเลย”


เราอยู่ ณ จุดนั้นเราทราบเลยว่า มันเปลี่ยนในยุคนั้น คนไทยทำของที่เป็นของเก๋ไก๋ได้ไม่ธรรมดาเลย“สิ่งหนึ่งที่เจ้านายหรือคนที่เคยสอนงานเราสมัยโน้นเนี่ยบอกเราก็คือว่า ให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการดีไซน์ของไอเทมหนึ่งออกมาให้ได้ ทุกคนต้องมาช่วยกันครีเอทนะว่าโปรดักส์ตัวนี้จะเป็นยังไง ๆ ทุกคนมีส่วนร่วมหมดเลย อันนี้คือสิ่งที่ตองคิดว่ามันเป็นเรื่องที่ดีมาก ๆ เลยเพราะว่า เวลาที่เราขายของไม่ใช่จะขายแต่คนที่เสพดีไซน์เราขายทุกคนที่อ่ะชอบดีไซน์แต่ว่าทุกคนเหล่านั้น ก็ต้องใช้ของเหล่านั้นให้เกิดประโยชน์ด้วยอย่างเช่น สมมุติจะทำถ้วยกาแฟอะไรอย่างเงี้ยให้มันเก๋อย่างเงี้ย ต้องทำยังไงต้องดีไซน์ให้เฉพาะคนที่ชอบดีไซน์แบบจ๋า ๆ เหรอ เราต้องการให้ทุกคนที่อาชีพอะไรก็แล้วแต่ ทุกอาชีพชอบของเรา เพราะฉะนั้นต่าง ๆ เหล่านี้เราทำสินค้าให้รู้สึกว่าแต่ละคนเสพดีไซน์ด้วย กราฟิกเก๋ไก๋ด้วย ของมีฟอร์มและฟังก์ชันที่สวยด้วยแล้วก็ใช้ประโยชน์ได้สูงสุด”ทำให้ตองมีความรู้ความเข้าใจที่จะทำสินค้าหรืออะไรมันก็ติดอยู่ในหัวเรา แล้วเราก็ได้ไปเห็นที่เมืองนอกอีก งานแฟร์ใหญ่ ๆ ทั่วโลกเห็นฝรั่งเขาทำอย่างนี้ อเมริกาทำแบบนี้ ยุโรปทำแบบนี้ ญี่ปุ่นทำแบบนี้ เอเชียทำแบบนี้ มันอัดเข้าไปในตัวเราหมดแล้ว


ลดความเสี่ยงทำยังไงแล้วขายได้เร็ว ๆ เยอะ ๆ อันนี้คือสิ่งที่ตองมองอยู่“ก็เลยมามองตรง Corporate Gifts ณ ตอนนั้นพอดีเลยเพราะว่าได้โจทย์จากในหัวตัวเองมา แล้วอีกอย่างหนึ่งคือมันตอบโจทย์ตรงที่ว่า corporate gifts คือการที่เราขายของ corporate นะBusiness-to-Business (B2B) ใช่ไหมคะแล้วเราก็เห็นจุดที่ คนทำ ณ ตอนนั้นเขาเรียกของพรีเมียมเนาะ ตองจะไม่ใช้คำว่าของพรีเมียม”แจกกันแบบ เราได้จากที่นั่นที่นี่มาหรือคุณพ่อคุณแม่ได้จากที่นั่นที่นี่มา มันจะเป็นแบบเดิม มันจะเป็นแพทเทิร์นเดิม ๆ แล้วก็ใช้สามวันพัง! 5 วันพัง! แล้วมันก็ไม่ได้พิเศษอย่างที่ตามชื่อของมัน เรามองว่ามันไม่ใช่แบบนี้สิ! มันไม่มีการพัฒนาใด ๆ มันอยู่ที่เดิม


ต่อยอดไอเดียสู่ธุรกิจ “ของขวัญ” เปิดประสบการณ์สุดประทับใจด้วย Storytelling
สิ่งหนึ่งที่ตองได้เรียนรู้จากการทำงานก็คือ การผลิตหรือดีไซน์ของต่าง ๆ ที่ดีไซเนอร์เขาจะต้องคิดค้นขึ้นมา เขาจะมีการขายงาน การขายงานคือทุกคนต้องมานั่งฟังนะว่าดีไซเนอร์คนนี้จะขายของอะไรให้กับทางเจ้าของก็จะมีกรรมการมานั่ง “พวกเราก็จะรู้สึกสนุกอยากฟัง ปรากฏว่าในการขายงานทุกครั้งเนี่ยเราสิ่งที่ดีก็คือว่า เจ้านายให้ทุกคนได้วิพากษ์วิจารณ์ได้ด้วย ดีไซเนอร์ก็จะเครียดนิดนึงแต่ว่าเขาก็เข้าใจ เพราะว่าทุกอย่างมันต้องมาตรงกลางเนาะไม่ใช่จะดีไซ้ดีไซน์จนกระทั่งใช้ไม่ได้อะไรอย่างเงี้ย ดีไซเนอร์ก็จะไม่สุดโต่งเกินไปก็จะลดลงมาว่าอ๋อโอเคคนนี้คิดอย่างนี้เนาะ มันได้ความสื่อสารแล้วความตรงกลางที่ดีมาก ๆ” แล้วอันหนึ่งที่ตองบอกได้เลยว่ามันมาก่อนกาลอันหนึ่งคือ Storytelling ซึ่งยังไม่มีเจ้าอื่นทำเลยแล้วเราได้เรียนรู้ตรงนี้จากอะไร ก็จากตอนขายงานนั่นแหละ เพราะว่าดีไซเนอร์จะมาบอกเลยว่าไอเทมอันนี้มันมาจากอะไร Story เขาเกิดจากอะไร พอเราฟังปุ๊บเราก็จะรู้ว่าอ๋อเราเข้าใจแล้ว ฟังปุ๊บมันมีเรื่องราวจริง ๆ“ณ ตอนนั้นต้องบอกเลยว่าความที่เราไปโกอินเตอร์เป็นเจ้าแรก ๆ ของประเทศก็ว่าได้ ณ ตอนนั้นทางตะวันตกเขามีพวกโปรดักส์ดีไซน์เยอะมากพอสมควรแล้ว เพราะเทคโนโลยีเขาดีกว่าเราเยอะตองก็ไปออกงานด้วยและตองก็ไปเรียนรู้ด้วย ก็จำได้ว่า ณ ตอนนั้นฝรั่งเขามี Story บ้างแล้ว เขาเอา Story เนี่ยมารีเฟล็กซ์โดยการทำของต่าง ๆ โดยการตั้งชื่อมัน ในรายละเอียดสตอรีอาจจะไม่ได้มีมาก แต่สตอรีเป็นสื่อของการตั้งชื่อ”เจ้านายก็รู้สึกว่ามันน่าจะมาปรับกับของเราได้ ก็เลยเอาไอเดียของการตั้งชื่อมาผนวกกับคอนเซ็ปต์ที่ดีไซเนอร์ดีไซน์มาเป็นเรื่องราวของเขาเป็นตัวตนเขาที่เขามีประสบการณ์ในการดีไซน์ตัวนี้ออกมา ก็เอามาประสานกันออกมาเป็นในรูปของ “ชื่อ” แล้วชื่อต่าง ๆ ทุกคนก็มีสิทธิ์ในการตั้งหมดเลยแต่ขอเป็นภาษาอังกฤษนะ เพราะเราขายของเมืองนอก




“จริง ๆ มันเป็นอะไรที่ตองแบบ เออพอเรารู้สึกว่าเราชอบจริง ๆ ปึ๊บมันเลยจับจุดในเรื่อง Storytelling ได้เพราะฉะนั้น เวลาที่เราทำธุรกิจตองที่จะมาปรับเปลี่ยนในเรื่อง corporate gifts ณ ตอนนั้นเลยก็คือ เอาตรงนี้แหละมาจับคู่กับของที่เราหาซึ่งเรามี เราเก็บความรู้ความสามารถความชำนาญในเรื่องการหาของเก๋ไก๋ได้อยู่แล้ว เพราะเราไป Fair เยอะมากเราก็ได้ไอเดียเยอะไปหมดเลย แล้วเราก็มาบวกกับ Storytelling ที่เราได้จากการเรียนรู้” มีการเรียนรู้ในเรื่องวัสดุภัณฑ์ด้วย ตองก็ได้เรียนรู้ในเรื่องของการดีไซน์ Packaging ด้วยโดยปริยายเพราะเราเป็นคนขาย คนขายต้องรู้ทุกอย่าง รู้นิด ๆ หน่อย ๆ แต่ว่าต้องอธิบายผู้ซื้อได้ว่าอันนี้เพราะอะไร อันนี้เพราะอะไร มันเลยกลายเป็นว่าเราจำเป็นต้อง พอมาทำธุรกิจเองอัตโนมัติเราต้องรู้ตั้งแต่ root cause ไปถึงจนจบเลย ว่าถ้าคนจะซื้อของจริง ๆ มันไม่ใช่อยู่ดี ๆ เห็นสวยอย่างเดียวภายใน จริง ๆ ต้องเห็นตั้งแต่ภายนอกทะลุเข้าไปภายในเลย


ความพิเศษที่ต้องพิเศษจริง ๆ Packaging ดีมีชัยไปกว่าครึ่ง
เวลาที่ตองขายของต้องเข้าใจโมเมนต์ลูกค้าด้วยเหมือนกัน เพราะว่าเราไปก่อนกาลเขาเราเข้าใจแล้ว เวลาเราไปอธิบายเขาไม่ get เราก็ต้องถอยกลับมา เราไม่ใช่จะไปตึงเอาของเราอย่างเดียวไม่ได้ อันนี้เป็นอีกข้อหนึ่งเลยที่เอามาปรับใช้กับยุคนี้ได้เพราะว่า เราจะทำของในสิ่งที่เราชอบโดยที่ไปต้อนให้คนอื่นมาชอบแบบเราเหนื่อย! เราต้องจริง ๆ มีทั้งคู่ ควรมีเป็นตัวตนตัวเองด้วยและในขณะเดียวกันต้องมองภาพของตลาดด้วยว่าเขาชอบอะไร แล้วค่อย ๆ ปรับ ค่อย ๆ ให้เขา“ตองโชคดีที่ว่า ณ ตอนนั้นมีเจ้าหนึ่งที่อาจจะเป็น Niche มากในเรื่องของการอยากจะปรับในเรื่องการให้ของ อยากปรับภาพลักษณ์ของบริษัทตัวเองในการทำอะไรที่มันดูทันสมัยขึ้น ณ ตอนนั้นชื่อบริษัทก็คือ Orange ตอนนั้นก็คือ True สมัยนี้” ด้วยความที่องค์กรเขาไม่เหมือนที่อื่นเลยเขามีความเก๋คล้ายกับสิ่งที่เราเคยทำงานมา เวลาเราคุยกับคนที่ทำงานที่ออร์เร้นจ์เรา get กันแล้ว พอ get ปุ๊บมันเริ่มแบบ เขาเริ่มเห็นเราทำได้ เราคือคนที่เขาหาด้วย

ณ ตอนที่ตองทำงานตอนนั้นยังไม่ได้มีอะไรที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์เลย ซึ่งจริง ๆ เราจำเป็นต้องรู้ตรงนี้ด้วยก็เลยต้องไป Explore ในงานแฟร์ไปเดินตอนนั้นงาน Gifts Fair ที่เมืองจีนด้วยที่โน่นที่นี่ สมัยก่อนซึ่งคนยังไม่ค่อยเดินกันไม่เหมือนในสมัยนี้ ก็ไป ณ ตอนนั้นต้องบอกก่อนว่า “คนไทย” เป็นที่มอง คนจีนยังไม่ค่อยโอเคกับคนไทยนะตอนนั้นเหมือนกับว่าคนไทยจะมาก๊อปเขา! (หัวเราะ) เราก็จะได้รับการไม่ค่อยต้อนรับดีนักเท่าไร “ตอนนั้นเราเหมือนกับถ้ามาจากfrom Thailand ปึ๊บเนี่ยคนแบบ ยี้! เป็นเหมือนแบบไม่ต้องไปต้อนรับหรอกประมาณเขาไม่มีตังค์ซื้อหรอก ณ ตอนนั้นตองต้องฝ่าการดูถูกดูแคลนจากประเทศต่าง ๆ ค่อนข้างเยอะนะเคยไปเดินงานแฟร์อยู่งานหนึ่งเดี๋ยวขอเล่าอันนี้ให้ฟังแล้วกันว่า ทุกอย่างเนี่ยมันอยู่ที่สิ่งที่คุณจะต้องมองให้ออกด้วยว่าถ้าเราจะไป explore ต้องเข้าใจว่า คุณออกไปนอกประเทศแล้วนะคนเขามองคุณไม่ได้เหมือนคนในประเทศมองคุณต้องเข้มแข็งแล้วคุณต้องเผชิญมันให้ได้นะเขาจะมองคุณยังไงแล้วก็ อย่าไปหวั่นไหวเอาอย่างงี้ดีกว่า“ณ ตอนนั้นตองเจอปัญหาตรงนี้ซึ่งเรารู้พอสมควรเพราะเราเคยไปขายของ แต่ทีนี้เรามาในรูปสลับกันเราไปเป็น Buyer แล้วพอไปงานแฟร์เนี่ยตอนนั้นไปฮ่องกงแล้วตองไปเจอของที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์แล้วตองเริ่มรู้สึกว่าเฮ้ยตองต้องหาอะไรที่มันแตกต่างที่ตองไม่เคยแจกแล้ว เจอเจ้าหนึ่งซึ่งเป็นคนฮ่องคนที่เขาเป็นแบรนด์ดังมากเลยเขาขายคนยุโรปหมดเลย ฝรั่งเข้าบูธเขานี่โอ้โหต่อคิวกัน เขาทำโกลฟค๊อกหรือนาฬิกาที่มันเป็นทรงลูกโลกแล้วเขาทำสวย เขาส่งออกไปทุกประเทศอย่างยุโรปเขาจะมาสั่งแล้วไปติดแบรนด์เนาะเขาเป็น OEM”เอาอย่างงี้ ถ้ายูขายอันนี้ได้ฉันให้ยูอันอื่น แต่ถ้ายูขายไม่ได้ยูไม่ต้องมาซื้อของฉัน มันมองอย่างนี้เหยียดอย่างนี้เลยนะ เราก็เลยแบบจะพิสูจน์ฝีมือใช่ไหม? ตองก็เลยรับคำท้า แล้วก็ซื้อตัวอย่างของจากเขาเอากลับมา


แล้วก็มาทำ Packaging เอง ของมันมาแบบธรรมดาแต่เราทำแพคเก็จจิ้ง“คือวิชาหนึ่งที่ได้จากพร็อพพากันด้าเลยคือ Packaging เป็นวิชาที่พร็อพพากันด้าสอนเลยว่าของจะสวยต้องมองจากข้างนอกสวยด้วย ยังไม่ทันเห็นก็ต้องสวยจากกล่อง ถุงสวย กล่องสวย แล้วข้างในโอ้โหข้างในนี่ยิ่งสวยหนัก เขายิ่งประทับใจหนัก”เราก็ไปหาโรงงานทำที่สวยเลย แพคเก็จจิ้งเราสวยมาก ๆ ทำปุ๊บเสร็จขายเชื่อไหม ตองขายของเขาได้ออร์เดอแรก 500 ชิ้น เขาก็ตกใจ! เอาเป็นว่าหลังจากนั้นมาเราซื้อของเขาเยอะจนกระทั่งวันหนึ่ง เขาเชิญเราไปที่ฮ่องกงเขาก็เหมือนกับเชิญไปดินเนอร์ เราก็นึกว่าดินเนอร์กันไม่กี่คน โอ้โห! มี Distributor เจ้าใหญ่ ๆ มากันเยอะมากเลย แล้วเขาก็บอกทุกคนเขาบอกว่าเนี่ยเขาอยากแนะนำให้รู้จักนะคนนี้ ทำธุรกิจกับเขามาหลายปีแล้วเริ่มจากสิ่งที่เขาก็ไม่อยากเชื่อว่า ตองมีความกล้ามากและก็ทนเขาได้ แล้วเขาก็บอกว่าสุดท้ายเนี่ยตองเป็นอันดับ 2 ของทุกคนที่ซื้อของเขาเยอะที่สุดในทั่วโลก“ของเขาดีจริงงั้นตองได้ของดีของสวย แล้วตองทำให้มันสวยเพิ่มขึ้นอีกเนี่ย มีของดีของสวยเราทำให้สวยขึ้นอีก ทำให้สวยขึ้นอีกให้ดีขึ้นอีกด้วยตัวเราเนี่ย แหมมันเหมือนกับแต่งตัวเพิ่ม แล้วผู้รับเนี่ยโห! เขาแฮปปี้ที่สุดถูกไหม ภาพลักษณ์บริษัทเขาก็ดีอีก เพราะฉะนั้นถามว่าใครมีความสุขก็ตั้งแต่ ต้นทาง ถึง ปลายทาง แฮปปี้ทุกคนไหมอ่ะ”


การตลาดแบบ “ลูกค้าบอกต่อ”
ลูกค้าบอกต่อ ณ ตอนนั้นตองไม่ทำมาร์เก็ตติ้งไม่รู้จักการตลาดเลย ไม่เลยเพราะว่าเขาเห็นของอันนี้เขาถามเลยใครทำ ใครทำ?“แล้วตอนนั้นมันเป็นงาน Anniversary บริษัทใหญ่มากที่เป็นระดับประเทศเนี่ยแหละ เขาครบรอบ 20 ปี มันก็เลยกลายเป็นคนที่ได้เป็นระดับโอ้โหเบอร์หนึ่งของหลายที่ อันนั้นแหละเป็นจุดอันแรกเลยที่ทำให้ตองเปิดฉากในการที่ตองแสดงฝีมือของอื่น ๆ ด้วยที่ไม่ใช่ของต้องระดับโอ้โหแพงลิบเนาะ เราก็ค่อย ๆ มาทำคือเขาก็บอก ทำอย่างอื่นได้ด้วยไหม เราก็บอกทำได้หมดล่ะถามว่า “ของขวัญ” ทำได้หมดเพียงแต่ว่าโจทย์จะต้องทราบว่า เริ่มตั้งแต่มี budget เท่าไร แจกกี่ชิ้น แจกเมื่อไร อย่างเงี้ยก็เรียกว่าเป็นคำถามพื้นฐานที่เราต้องทราบจากลูกค้าก่อน” ชื่อเสียงต่าง ๆ มันถูกสั่งสมมาด้วย “คุณภาพของ” การบริการ แล้วก็ระยะเวลาในการส่งของเราทำให้ลูกค้าประทับใจตั้งแต่ต้นจนได้รับของแล้ว พอของถึงมือแล้วเขาเอาไปใช้“มีคนหนึ่งเอาของตองไปใช้เป็น “ร่ม” นะฮะมาบอกตอง 10 ปีให้หลัง แล้วเขาก็บอกว่าเขาได้รับคือลูกค้าคนนี้จริง ๆ ก็คือลูกค้าปัจจุบันที่เป็น exclusive กันเนี่ยแหละ เขาเจอตองโดยที่เขาได้ของจากบริษัทอื่นที่ตองทำแล้วเขาก็ตามหาตอง สุดท้ายเขาก็ตามตองไปทำให้เขาแล้วเขาก็มาบอกตอง ณ ตอนที่ตามตองเจอเนี่ย เขาบอกว่าสิ่งที่เขาได้มาจากบริษัทแรก “ร่ม” อันนั้นน่ะ 10 ปีแล้วนะยังใช้ของคุณตองอยู่เลย”

จำได้เลยว่าตอนนั้นตองไปงานแฟร์แล้วตองเป็นเจ้าแรกที่เอาร่ม เปิด-ปิดออโต้(เปิด-ปิดมือเดียวใช้ปุ่มเปิดปิด) ตองไปเห็นที่งานแฟร์ที่เมืองนอก ต้องเอาอันนี้มาให้ได้! มาแจกให้ได้เลยแล้วคนที่จะซื้อก็มองไว้หมดแล้วว่าต้องเป็นใคร“มานำเสนอปรากฏว่า ปตท. ซื้อเป็นเจ้าแรกจริง ๆ ก็คือมันเป็น Innovation ดีกว่าของร่มตอนนั้นเลย ไปก่อนกาลอีกแล้วตอง! ซึ่งตอนนั้นเมืองนอกเขาใช้กันมานานแล้วนะเมืองไทยไม่กล้าใช้เพราะอะไร เพราะเมืองไทยมีมุมมองที่ตองว่าแปลกมากเลยนะตอนนั้นซึ่งตองอาจจะโชคดีว่า ตองไปเคาะมันแตกได้ เพราะว่าร่มที่เป็นของแจกในสมัยยุคนั้นคือของถูก แล้วมีแบบเดียวแล้วก็ตองก็ไม่เข้าใจว่าทำไมถึงเป็นแบบนี้ แล้วใช้ 7 วันพัง! คือมันเป็นอะไรที่แย่แต่คนก็ยังแจกอยู่” Innovation สำหรับร่มไม่มีเลยมันก็จะอยู่กับที่ ทั้ง ๆ ที่ร่มเป็นอะไรที่คนต้องการตลอดเวลา ก็จะเป็นร่มเดิม ๆ หนัก ๆ อะไรอย่างเงี้ย ซึ่งตองไปเมืองนอกเห็นปุ๊บกวาดมาเลยร่มทุกอย่างทุกสิ่งเอามาศึกษาจริงจัง เป็นคนเอามาเจ้าแรก ๆ แล้วกล้าที่จะขายถึงแม้ว่า “ราคา” สูงแต่คนยอมที่จะเอาของดี ใช้แล้วดี ใช้แล้วยาว ๆ ไม่ต้องซื้อใหม่


สร้างชื่อเสียงในเรื่องของความเป็นมืออาชีพ คือ Branding ที่ดีที่ลูกค้าทรงจำ
เราสร้างชื่อเสียงในเรื่องของความเป็นมืออาชีพในเรื่อง “ของขวัญ” โดยตรงเพราะฉะนั้นตรงนี้จุดขายหรือที่เป็น Strength ของเรามันชัดเจนมาก ๆ เลย เพราะฉะนั้นลูกค้าไม่ว่าจะยุคไหนสมัยไหนเนี่ยการค้าขาย “ความเชื่อมั่น” สำคัญที่สุดเลย ความเชื่อมั่นในการที่คุณมีคุณธรรม จริยธรรม หรืออะไรก็แล้วแต่ในการทำธุรกิจมันออกมาจาก “สินค้า” ที่คุณขายนั่นแหละ“เพราะฉะนั้นความเชื่อมั่นเป็นหลักเลย ลูกค้าเคยจะไม่ซื้อตองเคยหายไปแป๊บนึง สุดท้ายกลับมานะ! แล้วก็ยาวเลยคราวนี้ตียาว” ก็เอาเป็นว่าที่ “เปลี่ยน” จริง ๆ ลงจนกระทั่งเรารู้สึกว่าเราต้องเปลี่ยนทิศทางแล้วก็คือ “โควิด-19” แต่ตองโชคดีว่าตองได้ทำธุรกิจกับบริษัทที่เป็นระดับประเทศด้วยแล้วก็เรียกว่า “ระดับโลก” ด้วยมาให้เราดูแล มันก็เลยไม่ได้กระทบหนักมากเหมือนกับคนอื่น ๆ แต่ว่างานก็อาจจะน้อยลงไปบ้างในช่วงนั้น


ก็เลยเป็น “โอกาส” ด้วยว่ามีเจ้าของนวัตกรรมท่านหนึ่ง ที่เป็นโรงงานที่เขาทำของส่งออกนอกอย่างเดียวเขาไม่ทำขายในประเทศเลย แต่เป็นคนไทยที่เขาคิดนวัตกรรมอันหนึ่งขึ้นมา ซึ่งเราลึก ๆ เราชอบนวัตกรรมอยู่แล้ว แล้วบังเอิญว่ามันเป็นนวัตกรรมที่ช่วยคน ณ ตอนนั้นพอดี“เป็นนวัตกรรมเส้นใยสิ่งทอที่ยับยั้ง “เชื้อโรค” คือพอเราได้ฟังแล้วก็ตื่นเต้นเนาะ! เพราะตอนนั้นเนี่ยโควิดฯ หนักมากโควิด-19 เพิ่งจะเริ่มเลย แล้วเราได้รับทราบตรงนั้นเขาก็เอามาให้เราดู เราก็แบบโอ้โห! นี่มันมาแบบถูกเวลาเลยมากเลยนะ คือมันดีมากเพราะอะไร ตัวผ้าเนี่ยมันทำมาจากซิงค์ออกไซด์นาโน (zinc คือ สังกะสี) ที่ปั่นทอเข้าไปในเส้นด้ายเลยแล้ว ซิงค์ มีคุณสมบัติในการยับยั้งเชื้อโรคแล้วมันเป็นแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการ และกินได้ด้วยเนาะเพียงแต่ว่า ยังไม่มีใครทำหรือรู้มาว่ามันสามารถใส่เข้าไปในเส้นใยสิ่งทอได้” แล้วเขาก็มาทอเป็นผ้า ผ้าของเขามีเยอะมากเลยผ้าหลากหลายแบบมาก ผลการทดสอบคือมีการส่งไปทั่วโลกแล้วเขาใช้เงินในการทำวิจัยแปดหลักเลย มีหลาย ๆ โรงพยาบาลที่เป็นโรงเรียนแพทย์ก็มาให้การรับรองว่า มันสามารถที่จะยับยั้งเชื้อโรคฯ และโดยเฉพาะโควิด-19 ด้วยนะใครจะไม่เอา “ก็เลยเริ่มทำโดยที่ทำแบบ รับเขามาขายปุ๊บอีก 7 วันต้องออกทีวีแล้วอ่ะ( หัวเราะ) แล้วต้องออกทีวีปึ๊บตายแล้ว! ต้องขายออนไลน์ official /ไลน์ออฟฟิศเชียล แล้วเราเป็นอะไรที่ไม่เคยรู้เรื่องเลย!”ก็เอาเป็นว่าเราโชคดีตรงที่ว่า ได้แบรนด์แอมบาสเดอร์เป็นดารามาช่วยเราก็คือ คุณกิ๊ก-มยุริญ มาช่วยพอคุณกิ๊กเห็นนวัตกรรมนี้ปุ๊บเขาชอบมากเลย เขาเห็นแล้วเขาทึ่งเขาเลยเชิญคุณพ่อคุณแม่มาซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์มาดูเปเปอร์เลยว่าจริงไหม? ปรากฏจริง โอ้โหเราดีใจว่าได้นำเสนอของที่มีประโยชน์กับคน ณ ตอนนั้น ทำเยอะมากเลยนะทั้งหน้ากากผ้าเอนกประสงค์ ผ้าห่ม ผ้าเช็ดตัว พรม ฯลฯ

Tools ในการทำมันเปลี่ยน! แล้วเราต้องเรียนรู้กับมันใหม่แบบทุกอย่างใหม่หมด! ถามว่ากลัวไหม? ตองไม่ได้กลัวนะจริง ๆ พร้อมที่จะทำ แล้วก็ไม่มีทางเลือกด้วย ณ ตอนนั้นต้องทำก็ต้องทำ“องค์ประกอบอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้ตองทำงานได้ดีเลยก็คือ อ่ะใจเราไปแล้วเนาะ ทีมงาน ตองโชคดีว่าตองมีทีมงานที่ดีน้อง ๆ ที่ทำ corporate gifts เนี่ยแหละทุกคนแบบเปิดใจ แล้วลุยด้วยกันเขาพร้อมที่จะเรียนรู้กับตองตรงนี้สำคัญมาก เรามีเจนตั้งแต่แบบหลายเจนเนาะจนกระทั่งเด็กรุ่นใหม่ก็มี ตรงนี้สำคัญมากถ้าตองไม่ได้เปิดกว้างในการที่จะให้โอกาสเขาแสดงความคิดเห็นหรือตองต้องฟังเขาด้วย เขาก็ต้องฟังคือแชร์กัน” เราเลยได้จุดตรงนี้ในการมาปรับในเรื่องของการทำงาน B2C (Business-to-Customer) เร็วเพราะว่าได้รับฟังน้อง ๆ หลาย ๆ คนที่นำเสนอว่าทำแบบนี้ แบบนี้ แบบนี้ หรือก็ต้องเรียนกับคนที่ให้ความรู้เราแบบเป็นอาจารย์ด้วยเพราะว่า การทำ B2C คือการมี Branding ของตัวเอง



“การปรับเปลี่ยนมันมีทุกที่แหละ แต่เราก็ต้องปรับอย่างไร ให้มันไปในทางที่โลก & สังคมตอนนี้ ทำให้มันไม่ใช่รู้สึกว่าเราไปสู่ปัญหาที่มันมากกว่าเดิม เราต้องไปในทางที่มันทางที่ให้กำลังใจทั้งหมดทั้งมวล ตัวเราเองด้วย สังคมด้วย ลูกค้าด้วย ทั้งหมด” เพราะฉะนั้นลูกค้าพอเห็นจุดตรงนี้ ลูกค้าเห็นเราปุ๊บลูกค้าก็คุณตองมีสินค้าแปลกใหม่มานำเสนอตลอด ไม่เคย ไม่มีอะไรที่อยู่นิ่งเลย“ตองถึงบอกว่าเรามีจุดขายตรงนี้อยู่เสมอ ลูกค้าจะบอกว่า Candy’s Dandy เป็นอะไรที่ คือพูดถึงแคนดี้’ส แดนดี้ เขารู้อ่ะ(หัวเราะ) รู้เลยว่าเก๋ เขาจะบอกเลยเก๋ ของแปลก คุณภาพดี ตรงเวลา คืออะไรต่าง ๆ เหล่านี้ถ้าเรามี Branding ตรงนี้คือแบรนดิ้งตองเลยนะ ถ้าเรามีตรงนี้อยู่นำเสนอตรงนี้อยู่ ลูกค้าซึ่งเราใช้กันมานานอยู่แล้ว ก็ยังใช้กันต่อเนื่อง”แล้วก็ไม่กล้าไปใช้เจ้าอื่นซึ่งถามว่ามีผลยังไงก็ตาม ณ ปัจจุบันก็ยังกลับมาซื้อเหมือนเดิมเพราะว่า ไม่กล้าไปใช้เจ้าอื่น กลัว ความกลัวเราอาจจะได้ลูกค้าจากความกลัวตรงนี้ได้ค่อนข้างเยอะเพราะว่าลูกค้าเคยเจอแล้ว ลูกค้าไม่กล้ากลับไปกับในสิ่งซึ่งไม่มั่นใจความเชื่อมั่น ตองบอกเลยการซื้อขายตอนนี้ไม่ได้ซื้อแค่ของ ซื้อเรื่อง Trust ซื้อเรื่อง Believability ซื้อเรื่อง Quality ซื้อเรื่อง ความจริงใจ ความซื่อสัตย์ ทุกอย่างเนี่ยมันมาเป็นแพคเก็จเลย สุดท้ายเนี่ยก็คือการที่เราทำธุรกิจกับคู่ค้าไม่ว่าจะเป็น Vender จะเป็น Customer ก็ดีเนี่ย ด้วยใจที่เหมือนเขาเป็นญาติพี่น้องของเราอ่ะ คุณให้ญาติพี่น้องคุณแบบไหนคุณให้เขาแบบนั้นเลย คุณให้ลูกค้าคุณแบบนั้น คุณ treat ลูกค้าคุณแบบไหน คุณ treat เวนเดอร์คุณแบบไหน คุณให้ใจเขา”ยามที่คุณมีปัญหา เขาจะไม่ยื่นมือมาช่วยคุณหรือ? อันนี้พิสูจน์ได้เลยเพราะว่าความจริงใจที่เรามีต่อลูกค้า กับเวนเดอร์“เวลาที่ตองมีปัญหาปึ๊บเราขอความช่วยเหลือเขาแม้แต่เรื่องเล็กน้อยนี่เขาบอก ยินดีเลยคุณตอง คือกลายเป็นเหมือนเป็น Family”

ความพิเศษที่ต้องพิเศษจริง ๆ เปิดเทคนิค “แบรนดิ้ง” ที่ดีที่ลูกค้าทรงจำ แคนดี้’ ส แดนดี้ เจ้าตลาด “ของขวัญ”ผู้มาก่อนกาลในเรื่องของขวัญโดยเฉพาะสำหรับ corporate gifts กล้าที่จะเปลี่ยนเพื่อไปสู่การให้ที่ผู้รับสามารถรู้สึกได้ถึงความพิเศษจริง ๆ ด้วยกลยุทธ์การพัฒนาที่ซีอีโอตองได้เรียนรู้มาจากองค์ความรู้เรื่องของการทำ Product Design ความรู้ในเรื่องต่าง ๆ นานาที่นำมาใช้ในการทำธุรกิจทั้งแบบ B2B จนมาสู่ B2C อย่างได้ผลลัพธ์ที่ยอดเยี่ยมมาก ๆ ทำให้เกิดภาพจำในเรื่องของ Branding ที่ลูกค้าทรงจำ แคนดี้’ ส แดนดี้ รวมมาถึงธุรกิจใหม่ในชื่อแบรนด์ “แคนดี้ แคนดู” หลังมีการปรับเปลี่ยนได้อย่างดีเยี่ยมไม่แพ้กันด้วย

ขอบคุณ “ซีอีโอตอง” คุณปรัยวันท์ สถิรกุล ที่กรุณมาร่วมแชร์ไอเดียและประสบการณ์ในการทำธุรกิจที่สามารถครองใจคู่ค้า-ลูกค้าได้แบบยาว ๆ ของแคนดี้’ส แดนดี้ เจ้าตลาดแห่งธุรกิจของขวัญ Corporate Gifts รายใหญ่ของประเทศไทย และต้องถือว่าเราได้รับเกียรติแบบเอ็กซ์คลูซีพสุด ๆ ในครั้งนี้

คลิก Like เพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า "SMEsผู้จัดการ" รับข่าวสารในแวดวงธุรกิจเอสเอ็มอีที่สมบูรณ์แบบที่สุด


กำลังโหลดความคิดเห็น