คอนโทรล ดาต้า ประกาศความสำเร็จครบรอบ 1 ปี หลังส่งมอบกล้อง Body Camera ให้หน่วยงานฝ่ายปกครอง ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานฯ ปฏิบัติหน้าที่อย่างโปร่งใสกว่า 103,132 คดีตามรายงานของศูนย์รับแจ้งการควบคุมตัว พร้อมเร่งผนวกเข้ากับเทคโนโลยีอัตลักษณ์ดิจิทัล หนุนยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยและบริการประชาชน เดินหน้าสู่รัฐบาลดิจิทัล สร้างสังคมที่ปลอดภัย เป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย
บริษัท คอนโทรล ดาต้า (ประเทศไทย) จำกัด ผู้นำด้านเทคโนโลยีอัตลักษณ์ดิจิทัล ภายใต้ ซีดีจี กรุ๊ป ประกาศความสำเร็จหลังการส่งมอบกล้อง Body Camera DEFCAM รุ่น DFC-101 ให้กรมการปกครอง จำนวน 5,000 ตัว เมื่อปีที่แล้ว เพื่อช่วยการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รัฐให้มีความโปร่งใส ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ.2565 เป็นจำนวน 879 ศูนย์ทั่วประเทศ โดยมีรายงานผลผ่านระบบรับแจ้งการควบคุมตัว จำนวน 103,132 คดี และผ่านช่องทางอื่น จำนวน 41,851 คดี (ข้อมูล ณ วันที่ 1 กรกฎาคม 2567) สามารถยกระดับการปฏิบัติงานของภาครัฐด้วยเทคโนโลยี รักษาความสงบเรียบร้อย สร้างความเชื่อมั่นในการบริการประชาชน ส่งต่อสังคมปลอดภัย เผยพร้อมเดินหน้าพัฒนาโซลูชันให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อยกระดับสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัลต่อไป
นายทวีศักดิ์ นิลวัชรมณี ประธานบริษัท คอนโทรล ดาต้า (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า “หลังจากมีการใช้งานมาแล้วเป็นเวลากว่า 1 ปี โซลูชันของเราได้แสดงให้เห็นว่าสามารถสร้างความน่าเชื่อถือให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งเบื้องหลังของความสำเร็จคือเทคโนโลยีที่เราพัฒนาให้มีความแม่นยำในการประมวล และวิเคราะห์ผลจากการบันทึกวิดีโอ เปิดเผยชัดเจนในทุกกระบวนการทำงาน สร้างความมั่นใจให้ประชาชน รวมถึงการปฏิบัติหน้าที่ เหล่านี้คือสิ่งที่เรายึดมั่น และผลักดันร่วมกับหน่วยงานรัฐมาโดยตลอด นอกจากนี้ เรายังเล็งเห็นถึงโอกาสในการยกระดับโซลูชันนี้ให้ไปไกลยิ่งกว่าฮาร์ดแวร์ โดยวางแผนเพิ่มขีดความสามารถในการระบุตัวตนเข้าไปซึ่งสอดคล้องกับความเชี่ยวชาญของเรา เพื่อช่วยสนับสนุนการทำงานด้านการสืบสวนสอบสวน หรืองานที่นำมาซึ่งความปลอดภัย ให้แม่นยำน่าเชื่อถือยิ่งขึ้นต่อไป นายทวีศักดิ์ กล่าว
นอกจากการโซลูชันที่เปิดเผยข้อมูลทั้งหมด เพื่อความปลอดภัยแล้ว การพัฒนาเทคโนโลยีของคอนโทรล ดาต้า ยังมุ่งเน้นไปที่การเสริมสร้างประสิทธิภาพการทำงานของหน่วยงานภาครัฐให้มีความรวดเร็วและแม่นยำมากยิ่งขึ้น การประยุกต์ใช้โซลูชันด้านความปลอดภัยและเทคโนโลยีอัตลักษณ์ดิจิทัล จะช่วยให้การตรวจสอบและการทำงานของเจ้าหน้าที่สามารถดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดขั้นตอนที่ซับซ้อน เพิ่มความคล่องตัว ซึ่งเป็นการตอบโจทย์ความต้องการของประชาชนที่ต้องการการบริการที่รวดเร็วและเชื่อถือได้
“งานบริการประชาชน นอกจากต้องการความรวดเร็วแล้ว เรื่องของความแม่นยำ ถูกต้อง และตรวจสอบได้จะเป็นอีกปัจจัยสำคัญในการวัดผลประสิทธิภาพการทำงานของหน่วยงานภาครัฐบาล ฝ่ายปกครอง ดังนั้นการนำเอาโซลูชัน เทคโนโลยีความปลอดภัยต่างๆ เข้ามาใช้งานร่วมด้วยจึงสามารถเป็นการบริการประชาชนที่มีประสิทธิภาพและนำไปสู่มาตรฐานการทำงานที่จะช่วยยกระดับชีวิตคนไทยได้ในอนาคต ทั้งนี้เราตั้งเป้ายกระดับการบริการประชาชนให้มีศักยภาพสูงขึ้น ครอบคลุมขึ้นในทุกมิติ และตอบโจทย์ในเรื่องความเร็ว สะดวก คุ้มครองทุกฝ่าย
อีกด้วย” นายทวีศักดิ์ กล่าวทิ้งท้าย