xs
xsm
sm
md
lg

Esri Thailand จัดงานใหญ่ Thai GIS User Conference 2024 โชว์นวัตกรรมโลเคชัน รับมือวิกฤตโลกรวน พร้อมเชื่อมทุกฝ่ายโตร่วมกัน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



Esri Thailand โชว์นวัตกรรมรับมือความท้าทายด้านภัยพิบัติ ปัญหาสภาพภูมิอากาศ และยกระดับสาธารณูปโภคพื้นฐาน ในงาน Thai GIS User Conference 2024 (TUC 2024) ด้วย 2 โซลูชันเด็ด 1) GeoAI ผสาน AI ทำงานร่วมกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) 2) Flood Simulation จำลองสถานการณ์น้ำท่วมจากสถิติข้อมูลน้ำฝนกับข้อมูลเชิงพื้นที่เป็นครั้งแรกในประเทศไทยเตรียมทุกฝ่ายพร้อมรับมือเชิงรุกกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต มุ่งมั่นสร้างการเติบโตร่วมกันบนเทคโนโลยี GIS เพื่อคุณภาพชีวิตดี ลดผลกระทบจากสิ่งแวดล้อม ภายใต้แนวคิด “Uniting Our World โดยในปีนี้มีผู้เข้าร่วมงานมากกว่า 1,000 คน

ดร.ธนพร ฐิติสวัสดิ์ ประธาน บริษัท อีเอสอาร์ไอ (ประเทศไทย) จำกัด
ดร.ธนพร ฐิติสวัสดิ์ ประธาน บริษัท อีเอสอาร์ไอ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ในปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ เป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายต้องร่วมกันแก้เพื่อลดความเสี่ยงลงให้ได้มากที่สุด Esri Thailand ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี GIS และ Location Intelligence ในประเทศไทย จึงเล็งเห็นว่าการพัฒนาเทคโนโลยีที่ช่วยให้เกิดการทำงานแบบบูรณาการเป็นกุญแจสำคัญ ในการรับมือกับความท้าทายดังกล่าวที่ไม่มีใครหลีกเลี่ยงได้ โดยเราได้ผลักดันเทคโนโลยี GIS
ที่สามารถคาดการณ์ถึงเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้น ให้พร้อมรับมือได้ทันท่วงที ควบคู่ไปกับการเชื่อมโยงทุกฝ่ายผ่านการเปลี่ยนข้อมูลที่ซับซ้อนเป็นการนำเสนอในรูปแบบที่ทุกคนเข้าใจได้ และมองเห็นภาพเดียวกัน เพื่อประยุกต์ให้ตอบโจทย์การพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้งเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม รวมถึงยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในสังคม ซึ่ง ‘การเชื่อมโยงความร่วมมือเข้าด้วยกัน’ เป็นหัวใจสำคัญ

ล่าสุด Esri Thailand ได้พัฒนานวัตกรรมโซลูชันด้านโลเคชั่นที่ตอบโจทย์การวิเคราะห์สถานการณ์ และวางแผนรับมือกับความท้าทายด้านสภาพภูมิอากาศหรือภัยพิบัติธรรมชาติ ทั้งในเชิงรุกและเชิงรับ รวมไปถึงปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ เช่น ปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก ภัยแล้ง พายุมรสุม อากาศร้อน หรือฝุ่น PM2.5 เป็นต้น ผ่านเครื่องมือหลากหลายรูปแบบ ร่วมจัดแสดงภายในงาน TUC 2024 ที่มีเป้าประสงค์จะเพิ่มโอกาสสร้างความร่วมมือของทุกฝ่าย ทุกองค์กร ทั้งเครือข่ายภาครัฐ เอกชน ประชาสังคม ภายใต้ธีม ‘GIS - Uniting Our World' โดยไฮไลท์เด่นจะมุ่งเน้นไปที่การยกระดับสาธารณูปโภคพื้นฐาน เพื่อสนับสนุนการเติบโตของสังคมในทุกมิติ ได้แก่

1. GIS: Empowers the Modern Grid: อัพเกรดโครงข่ายระบบ ไฟฟ้าให้เหนือกว่าด้วย GIS การนำเทคโนโลยี GIS มาบูรณาการเพื่อยกระดับโครงข่ายระบบไฟฟ้า ด้วยแบบจำลองโครงข่ายระบบไฟฟ้าในรูปแบบใหม่ที่สามารถจำลองโครงข่ายระบบไฟฟ้าทั้งบนดินและใต้ดินในรูปแบบ 3 มิติ และสามารถเชื่อมโยงข้อมูลสถานะของหม้อแปลงไฟฟ้าอัจฉริยะ เช่น แรงดันไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า และอุณหภูมิได้แบบเรียลไทม์ นอกจากนี้ยังได้นำเสนอเทคโนโลยี GeoAI ที่สามารถจำแนกชนิดและลักษณะผิดปกติของอุปกรณ์ในโครงข่ายระบบไฟฟ้า ทำให้สามารถวางแผนและดำเนินการซ่อมบำรุงอุปกรณ์และโครงข่ายระบบไฟฟ้าได้อย่างทันท่วงที ป้องกันการเกิดเหตุไฟฟ้าขัดข้อง เป็นการเสริมประสิทธิภาพในการบริหารจัดการโครงข่ายระบบไฟฟ้า ทำให้องค์กรสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมรับมือกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันทั้งในเชิงรุกและเชิงรับได้อย่างรวดเร็ว นวัตกรรมนี้ไม่เพียงช่วยยกระดับโครงสร้างพื้นฐานของระบบไฟฟ้าเท่านั้น แต่ยังช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนด้วยโครงข่ายไฟฟ้าที่มีเสถียรภาพและมั่นคงมากยิ่งขึ้น

แพร พันธุมวนิช รองประธานบริหารอาวุโส บริษัท อีเอสอาร์ไอ (ประเทศไทย)
แพร พันธุมวนิช รองประธานบริหารอาวุโส บริษัท อีเอสอาร์ไอ (ประเทศไทย) ระบุว่า “ยิ่งไปกว่านั้น เรายังสามารถนำ GeoAI มาช่วยในการวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลเชิงพื้นที่ (Geospatial Data) เช่น ตำแหน่งของโครงข่ายระบบไฟฟ้า ร่วมกับมิติข้อมูลเชิงเวลา (Time Series Data) อาทิ ข้อมูลสภาพอากาศย้อนหลัง แนวโน้มความเร็วลม ปริมาณฝน ซึ่งจะช่วยให้สามารถวิเคราะห์สถานการณ์ได้แม่นยำ โดยข้อมูลดังกล่าวสามารถบูรณาการร่วมกันเพื่อประเมินผลกระทบต่อโครงข่ายระบบไฟฟ้าในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ในช่วงฤดูมรสุม เราสามารถคาดการณ์ได้ว่าพายุจะพัดเข้าทางใด ระดับน้ำที่อาจท่วมจะมีความสูงระดับใด พร้อมระบุจุดเสี่ยงที่อาจได้รับความเสียหาย และบ้านเรือนประชาชนที่อาจจะได้รับผลกระทบ ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปวางแผนเตรียมการล่วงหน้าได้ เช่น การจัดเตรียมทีมงานและพัสดุอุปกรณ์สำหรับซ่อมบำรุง รวมถึงการแจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่เสี่ยง ช่วยลดความเสียหายพร้อมทั้งฟื้นฟูระบบไฟฟ้าได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งเรามั่นใจว่าโซลูชันนี้จะยกระดับการทำงานให้กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพได้”

2. GIS Enhances Understanding Changing Climate: จัดการความท้าทายด้านภูมิอากาศด้วย GIS โดยเปิดตัวฟีเจอร์ที่ชื่อว่า Flood Simulation ในซอฟต์แวร์ ArcGIS เป็นครั้งแรกในประเทศไทย ซึ่งออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับจำลองน้ำท่วมที่เกิดจากฝนตก เพื่อมารับมือกับปัญหาน้ำท่วมที่เกิดเป็นประจำทุกปี และทวีความรุนแรงมากขึ้นจากปัญหาโลกร้อน ฟีเจอร์นี้ช่วยให้สามารถคำนวณปริมาณน้ำฝนเป็นมิลลิเมตรเพื่อจำลองสถานการณ์น้ำท่วมได้อย่างแม่นยำ ผ่านการวิเคราะห์แบบ What-if analysis ที่สามารถสร้างสถานการณ์สมมติหลากหลายรูปแบบ อาทิ ข้อมูลระยะเวลาฝนตก ปริมาณน้ำฝน ผนวกเข้ากับข้อมูลเชิงพื้นที่เพื่อให้เห็นถึงผลลัพธ์ของสถานการณ์ต่าง ๆ อันเนื่องมาจากภาวะโลกรวน ให้พร้อมสำหรับการวางแผนรับมือได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ โดยจำลองออกมาในรูปแบบ 3 มิติ ที่เข้าใจได้ง่ายและเห็นภาพรวมได้ชัดเจน

“ที่ผ่านมาเราได้นำสถิติการเกิดฝนตกเป็นข้อมูลตั้งต้น ซึ่งพบว่าเราสามารถจำลองสถานการณ์ได้หลายรูปแบบ ไปจนถึงการกำหนดปริมาณน้ำฝนที่แตกต่างกันในแต่ละชั่วโมงหรือนาที เพื่อเอามาวิเคราะห์ควบคู่กับข้อมูลเชิงแผนที่ เช่น ระดับความสูงต่ำของพื้นที่ แต่สิ่งที่เหนือชั้นไปอีกขั้นคือฟีเจอร์นี้สามารถจำลองเครื่องมือที่ช่วยระบายน้ำ หรือจำลองสร้างแนวกันน้ำที่จะช่วยเปลี่ยนทิศทางน้ำ เพื่อให้เห็นผลลัพธ์ในรูปแบบต่าง ๆ ของวิธีการจัดการน้ำท่วมได้อย่างรวดเร็ว ที่จะช่วยวางแผนพร้อมรับมือสถานการณ์ฝนตกหนักในอนาคต ด้วยภาพแผนที่ที่ทุกคนเข้าใจร่วมกันได้” คุณแพร กล่าวเสริม


อย่างไรก็ดีงาน TUC 2024 นับเป็นงานเทคโนโลยี GIS ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ ปีนี้จัดขึ้นภายใต้แนวความคิด “GIS – Uniting Our World” เป็นงานที่อัปเดตเทรนด์นวัตกรรม GIS ใหม่ล่าสุด และเทคโนโลยีที่เป็นเทรนด์ต่าง ๆ อาทิ AI, Machine Learning และ Deep Learning, Digital Twins, Big Data ที่ผนวกอยู่ใน ArcGIS เพื่อช่วยยกระดับการทำงานเชิงพื้นที่ให้ง่ายและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น พร้อมด้วย Session เจาะลึกถึงการใช้เครื่องมือเพื่อเพิ่มศักยภาพการทำงาน และบูธสาธิตการใช้งานผลิตภัณฑ์ด้านภูมิสารสนเทศและเทคโนโลยีต่าง ๆ ทั้งจาก Esri Thailand และพันธมิตรผู้ร่วมสนับสนุนการจัดงานจากทั่วประเทศ โดยในปีนี้มีผู้เข้าร่วมงานมากกว่า 1,000 คน

“ทุกนวัตกรรมในงาน TUC 2024 ได้พิสูจน์ให้เห็นถึงถึงความสำเร็จในการใช้เทคโนโลยี GIS เพื่อบูรณาการการทำงาน
และเชื่อมโยงข้อมูลของทุกฝ่ายเข้าด้วยกัน สร้างความเป็นหนึ่งเดียวในการรับมือกับความท้าทายด้านโลกรวน และภัยพิบัติ ผ่านโซลูชันใหม่ GeoAI และ Flood Simulation ที่มาผลิกโฉมวงการเทคโนโลยี GIS ให้ก้าวไปอีกขึ้น เพื่อขับเคลื่อนสังคมให้เติบโตอย่างยั่งยืน จากนี้เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหลายฝ่ายจะร่วมกันสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาร่วมกัน และดึงเอาประสิทธิภาพสูงสุดของเทคโนโลยีมาใช้งานอย่างแพร่หลายมากขึ้นตามแนวคิด Uniting Our World“ ดร.ธนพร สรุปปิดท้าย

สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ https://www.esrith.com


กำลังโหลดความคิดเห็น