กลุ่มสมุนไพร ส.อ.ท. เปิดข้อมูลโรงงงานสมุนไพรในประเทศ 500 แห่ง เสี่ยงถูกปิด เหตุไม่ผ่านมาตรฐาน GMP PIC/S ตามรอยโรงงานในประเทศไทยปิดตัวลงเกือบ 2,000 แห่ง ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมไทย แนะแนวทางแก้ไข 4 ด้าน 1. จัดอบรม และหาแหล่งเงินทุน ให้โรงงานปรับปรุงให้ได้มาตรฐาน GMP PIC/S 2. เป็นตัวกลางจับคู่โรงงานใหญ่เปิดให้โรงงานเล็กเข้าถึงการใช้ทรัพยากรร่วมกัน 3. ใช้ภาคท่องเที่ยวหนุนการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมด้านการใช้สมุนไพร 4.อย. เพิ่ม Positive list เพื่อให้ผู้ประกอบการขึ้นทะเบียนสมุนไพรง่ายขึ้น หากผลักดันได้จะช่วยขยายโอกาสการส่งออกสินค้าสมุนไพรไทยที่ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ
ดร.สิทธิชัย แดงประเสริฐ ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมสมุนไพรในสภาอุตสาหกรรม (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า สถานการณ์โรงงานในประเทศไทยปิดตัวลงเกือบ 2,000 แห่ง ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมานับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2566 ถึงเดือนมิถุนายน 2567 ส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตเกือบ 1 ใน 4 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ทำให้แรงงานกว่า 51,500 คน สูญเสียงาน และวิกฤตดังกล่าวมีโอกาสลุกลามไปยังภาคการผลิตในอุตสาหกรรมสมุนไพรไทย จากการสำรวจพบว่า อุตสาหกรรมสมุนไพรไทยปัจจุบันยังประคับประครองตัวเองได้อย่างดี เนื่องจากผู้ประกอบการได้ปรับตัวแบบ 360 องศา ทั้งการลงไปจับตลาดใหม่ๆที่เจาะกลุ่มนักท่องเที่ยว ผลพัฒนาแพ็กเก็จจิ้งให้มีความโดดเด่นเหมาะแก่การสะสมและเป็นของฝาก
อย่างไรก็ดีพบว่ามีโรงงานอุตสาหกรรมภาคสมุนไพรที่มีความเสี่ยงถูกปิดอยู่เช่นกัน โดยพบข้อมูลน่าตกใจว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีโรงงานผลิตสมุนไพรมากกว่า 1,000 แห่ง แต่มีโรงงานผลิตสมุนไพร 500 แห่งยัง ยังไม่สามารถผ่านมาตรฐาน GMP PIC/S หากโรงงานสมุนไพรเหล่านี้ถูกปิดตัวลง ประเทศไทยจะสูญเสียโอกาสในการผลักดัน สร้างผลิตภัณฑ์สมุนไพรมูลค่าสูง สนับสนุนศักยภาพเศรษฐกิจมหาภาค ของประเทศ วิกฤตการปิดตัวของโรงงานในประเทศไทย กำลังส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตและแรงงานอย่างหนัก อุตสาหกรรมสมุนไพรไทยก็ยากจะรอดพ้นจากวิกฤตนี้ แต่ก็ยังมีโอกาสรอดวิกฤตนี้ไปได้หากหน่วยงานภาครัฐจำเป็นต้องเร่งเข้ามาช่วยเหลือเร่งด่วน มิฉะนั้นประเทศไทยจะสูญเสียโอกาสการสร้างฐานเศรษฐกิจมหาภาคไปได้
โดยกลุ่มอุตสาหกรรมสมุนไพรในสภาอุตสาหกรรม ได้เสนอ แนวทางแก้ไขเพื่อปิดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นนี้ใน 3 มิติ ได้แก่
1. หน่วยงานภาครัฐ ดำเนินการอบรม จัดหลักสูตร รวมถึงจัดหาแหล่งเงินทุนเพื่อช่วยให้โรงงานขนาดเล็กมีโอกาสปรับปรุงให้ได้มาตรฐาน GMP PIC/S
2. หน่วยงานภาครัฐ เป็นตัวกลางในการจับมือระหว่างโรงงานขนาดใหญ่ที่ได้มาตรฐาน GMP PIC/S ในการให้โรงงานขนาดเล็กเข้าใช้ทรัพยากรร่วมกันให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเป็นการช่วยเหลือไม่ให้รายย่อยต้องลงทุน ห้องแล็บ ที่ต้องใช้เงินทุนค่อนข้างสูง
3. สนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โรงงานสมุนไพรเหล่านี้มีแหล่งความรู้ที่สามารถเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมได้และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่น่าสนใจ
4. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพิ่ม Positive list เพื่อให้ผู้ประกอบการขึ้นทะเบียนสมุนไพรง่ายขึ้น
อย่างไรก็ตาม มูลค่าตลาดสมุนไพรในปัจจุบัน 52,104.3 ล้านบาท มีแนวโน้มการเติบโต 8 % ต่อปี (ข้อมูลล่าสุดจากสภาอุตสาหกรรม)ปัจจัยที่สนับสนุนให้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรเติบโตมาจาก การเติบโตของการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ซึ่งมีกำลังซื้อสูงและใส่ใจสุขภาพมากขึ้น จึงนิยมเลือกใช้ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติและสมุนไพรความกังวลด้านสุขภาพ คนเริ่มกังวลเกี่ยวกับผลข้างเคียงของยาเคมี จึงหันมาใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรมากขึ้น สังคมสูงวัยและประชากรโลกมีอายุยืนยาวขึ้น ส่งผลให้เกิดโรคเรื้อรังต่างๆ มากขึ้น ผู้คนจึงมองหาผลิตภัณฑ์สมุนไพรมาช่วยดูแลสุขภาพและป้องกันโรค กระแสการกลับสู่ธรรมชาติผู้คนเริ่มให้ความสนใจกับสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติมากขึ้น จึงนิยมใช้ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติและสมุนไพร หากทุกฝ่ายร่วมมือกันผลักดันให้การผลิตเป็นมาตรการเดียวกัน จะช่วยให้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยสามารถส่งออกได้มากกว่าปัจจุบันหลายเท่า
* * * คลิก Like เพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า "SMEsผู้จัดการ" รับข่าวสารในแวดวงธุรกิจเอสเอ็มอีที่สมบูรณ์แบบที่สุด* * *