จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยคณะเภสัชศาสตร์ และ บริษัท ไอยรา แพลนเน็ต จำกัด ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ หวังพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์จากงานวิจัย ตลอดจนการร่วมพัฒนาและทดสอบทางคลินิก ตอกย้ำความเชื่อมั่นต่อผลงานวิจัยไทยเสริมความแข็งแกร่งให้ตลาด Wellness คาดปี 2568 มูลค่ารวมตลาดเติบโต 1.33 แสนล้านบาท
โดย ศ.ภญ.ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีพันธกิจสำคัญในการรับใช้สังคม เป็นเสาหลักของแผ่นดินในด้าน วิชาการ ซึ่งการนำผลงานวิจัยที่มีมาพัฒนาต่อยอดให้เกิดการนำไปใช้ประโยชน์จัดเป็นอีกภารกิจหนึ่งที่สำคัญ เพื่อให้งานวิจัยที่มี “จากหิ้งสู่ห้าง” อย่างแท้จริง ซึ่งคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีความร่วมมือกับ บริษัท ไอยราแพลนเน็ต จำกัด มาอย่างยาวนาน ตั้งแต่การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคที่มีไลฟ์สไตล์เปลี่ยนไปจากเดิมมากขึ้น มีความต้องการในผลิตภัณฑ์ที่ให้คุณประโยชน์ ครอบคลุม หลากหลายสำหรับการใช้ในชีวิตประจำวันยิ่งขึ้น ตลอดจนความร่วมมือในการพัฒนาและทดสอบอาหารเสริมทางคลินิกเพื่อผู้ป่วย หรือผู้ที่ต้องการเสริมสุขภาพ ซึ่งนอกจากจะเป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ผู้บริโภคทั่วไปและผู้ป่วยแล้ว ยังเป็นการเสริมสร้างเศรษฐกิจของประเทศ ภายใต้นโยบาย “นวัตกรรมเสริมสร้างเศรษฐกิจ” ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ความร่วมมือครั้งนี้จะเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างภาคการศึกษาและเอกชนเพื่อร่วมพัฒนาสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์นวัตกรรมที่ตรงใจกับผู้บริโภคมากที่สุด
ทางด้าน ดร.กัมปนาท บุญราศรี ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไอยราแพลนเน็ต จำกัด ได้กล่าวถึงความร่วมมือในครั้งนี้ว่า บริษัทฯ รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้รับโอกาสร่วมสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ ร่วมกับคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ความร่วมมือครั้งนี้จึงไม่เพียงแค่ช่วยสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคด้วยผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานสูงสุด แต่ยังเป็นการตอบสนองต่อ ความต้องการของตลาดที่ต้องการผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัย และมีประสิทธิภาพสูง บริษัทฯ เชื่อมั่นว่าความร่วมมือนี้จะนำไปสู่ความ สำเร็จ และสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคนับล้านคนได้ อย่างมีประสิทธิภาพ
ภาพรวมของพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 ผู้บริโภคหันมาให้ความสำคัญกับสุขภาพมากขึ้น เทรนด์สุขภาพ ของโลกเน้นการดูแลตนเองด้วยนวัตกรรมงานวิจัยที่มีคุณค่า การ พัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเสริมกลายเป็นทางเลือกสำคัญในการทำการ ตลาดที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตใหม่ของผู้บริโภคในปัจจุบัน ข้อมูลจาก Euromonitor International บริษัทสำรวจข้อมูลชั้นนำคาดการณ์ว่ามูลค่าตลาดผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับสุขภาพทั่วโลกในปี 2564-2568 จะมีอัตราการเติบโตเฉลี่ย 5.7% ต่อปี เพิ่มขึ้นจากปี 2563 ที่มีมูลค่า 2.72 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งการเติบโตส่วนใหญ่จะมาจากภูมิภาคเอเชีย (ไม่รวมจีน ญี่ปุ่น และอินเดีย) และยุโรปตะวันออก โดยเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นในทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์ สำหรับแนวโน้มในอนาคตนับจากปี 2564-2568 ประเมินว่าตลาดผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของไทยจะเติบโตในอัตราเฉลี่ย 5.2% ใกล้เคียงกับการเติบโตของตลาดผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของโลก และคาดการณ์ว่ามูลค่าตลาดผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของไทยในปี 2568 จะมีมูลค่าสูงถึง 1.33 แสนล้านบาท
ส่วนตลาดวิตามินและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เป็นตลาดที่คาดว่าจะเติบโตอย่างรวดเร็วและชัดเจนที่สุด ด้วยการเติบโตเฉลี่ยที่ 8.4% เพราะวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปตามการขยายตัวของสังคมเมือง การใช้ชีวิตที่เร่งรีบและเวลาในการทำอาหารทานเองน้อยลงทำให้ต้องสรรหาวิตามินและอาหารเสริมมาทานมากขึ้น เพื่อให้ร่างกายยังคงได้รับสารอาหารครบ 5 หมู่
สำหรับ ไอยรา แพลนเน็ต ยังคงยึดมั่นในอุดมการณ์ “องค์กรแห่ง นวัตกรรม” โดยมุ่งเน้นการคัดสรรนวัตกรรมงานวิจัยที่โดดเด่น และ แตกต่าง เพื่อนำมาพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อ สุขภาพของผู้บริโภคให้ดียิ่งขึ้น ความร่วมมือทางวิจัยและพัฒนา ผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และบริษัท ไอยรา แพลนเน็ต จำกัด นับเป็นก้าวสำคัญที่สร้างคุณค่างานวิจัยพร้อม ทั้งเพิ่มมูลค่าทางการตลาด เพื่อผู้บริโภคได้รู้จักและได้รับประโยชน์ อย่างกว้างขวางในอนาคต
ทั้งนี้ ไอยรา แพลนเน็ต เป็นองค์กรธุรกิจที่มุ่งเน้นการสนับสนุน นวัตกรรมงานวิจัยมานานกว่า 12 ปี ได้จัดสรรงบประมาณสำหรับการทำ R&D คิดเป็น 15% ของงบการลงทุนในแต่ละปี ผ่านการสนับสนุนการพัฒนาและวิจัยร่วมกับ สถาบันวิจัยพัฒนาศักยภาพมนุษย์และการสร้างเสริมสุขภาพ ภาควิชาสรีรวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ศูนย์วิจัยที่มีความเป็นเลิศด้านวิศวกรรมเนื้อเยื่อและเซลล์ต้นกำเนิด คณะแพทย์ศาสตร์ ม.เชียงใหม่ และ สำนักงานวิจัยพัฒนาการการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือสวก.ด้วยมุ่งมั่นในพันธกิจ “สร้างคุณค่าสู่สังคม” เรานำงานวิจัยที่มีคุณค่ามาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ตอบโจทย์ผู้ บริโภค สร้างงานและอาชีพ สร้างชุมชนที่ดี ควบคู่กับการดำเนินธุรกิจ บนหลักการ “ถูกต้อง คุณค่า ยั่งยืน"