นวัตกรรมในระบบบำบัดน้ำเสียในภาคอุตสาหกรรม เป็นเรื่องจำเป็นอย่างมากในยุคที่โลกให้ความสำคัญกับเรื่องของสิ่งแวดล้อมมาเป็นอันดับต้นๆ นวัตกรรมการบำบัดน้ำเสีย BioCircuit สำหรับน้ำเสียชนิดรุนแรง ที่พัฒนาโดยคนไทย ของ บริษัทอินโนกรีนเทค จำกัด โดย ดร.ชลทิศา สุขเกษม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะอุตสาหกรรมเกษตรและชีวภาพ มหาวิทยาลัยทักษิณ ได้ค้นพบเทคโนโลยีเซลล์เชื้อเพลิงจุลินทรีย์เชิงลึกที่สามารถบำบัดน้ำเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ผศ.ดร.ชลทิศา สุขเกษม จัดตั้งบริษัท อินโน กรีน เทค จำกัด กล่าวถึงที่มาของ การเทคโนโลยีการบำบัดน้ำเสียเรียกว่า BioCircuit ว่า เริ่มต้นเมื่ออาจารย์ต้องเรียนต่อปริญญาเอก เมื่อ 15 ปีที่ผ่านมา โดยอาจารย์เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการแปรรูปอาหาร และพบว่าในโรงงานผลิตอาหารแปรรูปมีของเสียออกมาเยอะมาก และคิดว่า ของเสียเหล่านั้นนำไปใช้ประโยชน์อะไรบ้าง พบว่า นำไปต่อยอดเป็นพลังงานแก๊ส สำหรับหุงต้มได้ แต่มีคนทำเยอะมากแล้ว ต้องหาอะไรที่แปลกไปกว่านั้น จนไปเรียนที่อเมริกา ซึ่งอาจารย์ที่สอนอาจารย์อีกทีหนึ่ง สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าน้ำเสียโดยตรงได้ แต่การจัดการน้ำเสียระบบไฟฟ้า มีต้นทุนที่สูงมาก เพราะต้องใช้ทองคำขาวผลิตไฟฟ้า ทำให้เราไปต่อลำบาก สุดท้าย อาจารย์มาค้นพบสามารถตัดทองคำขาว ซึ่งมีราคาแพงมากออก แต่ประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสีย ยังได้เหมือนเดิม ลดคอร์สต้นทุนลงไปได้มาก ทำให้ต้นทุนไม่ถึง 100,000 บาท ต่อ ลูกบาศก์เมตร
โดยอาจารย์ได้ทำการพัฒนาระบบบำบัดน้ำเสีย ที่มีประสิทธิภาพ สามารถบำบัดน้ำเสียและกลิ่นได้มีประสิทธิภาพสูงสุด และเป็นระบบบำบัดน้ำเสียที่ปิดข้อจำกัดเทคโนโลยีเดิม ที่ต้องดูแลเยอะ ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง และต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในการทำงาน ต้องใช้สารเคมี และการตกตะกอน การทำงานหลายขั้นตอน และต้องใช้พื้นที่เยอะ ซึ่งระบบบำบัดน้ำเสียของ อาจารย์ ชลทิศา สามารถตอบโจทย์เหล่านี้ได้ทั้งหมด ประกอบด้วย การใช้พื้นที่ ซึ่งลดลงไป 35-65% ไม่ต้องมีความรู้ ก็สามารถดูแลได้ ไม่ต้องใช้สารเคมีในการปรับภาพน้ำ ทำให้ช่วยเซฟด้านสิ่งแวดล้อมไปได้ เวลาปล่อยน้ำออกไปสู่ธรรมชาติ ก็ไม่ต้องกังวลเรื่องผลกระทบจากสารเคมีตกค้าง ไม่ก่อให้เกิดตะกอนทำให้น้ำสามารถหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ได้
สำหรับระบบบำบัดน้ำเสีย BioCircuit เป็นระบบบำบัดน้ำเสียประสิทธิภาพสูง สามารถใช้กับอุตสาหกรรมที่มีปัญหากลิ่นรุนแรง เช่น โรงงานผลิตแป้ง ซึ่งใช้ซัลเฟอร์ในการฟอกสี ทำให้เกิดกลิ่นที่รุนแรงมาก และกลิ่นรบกวนที่อยู่อาศัยรอบด้านไกลถึง 5 กิโลเมตร ทำให้โรงแป้งที่กาฬสินธุ์ ไม่สามารถดำเนินกิจการได้ เพราะโดนร้องเรียน ตอนนั้นเจ้าของโรงงานเครียดมากต้องปิดกิจการ และเราก็เข้าไปให้การช่วยเหลือ ปัจจุบัน โรงงานสามารถกลับมาดำเนินการได้ตามปกติ โดยไม่มีกลิ่นไปรบกวนที่อยู่อาศัยรอบด้าน
นอกจากนี้ ยังได้นำไปใช้กับอุตสาหกรรมโรงงานแปรรูปยางพารา สารตั้งต้นในการจัดการน้ำยางมีการเกิดกรดซัลฟุริก และซัลเฟอร์เยอะมาก ถ้าไปภาคใต้จะได้กลิ่นเหมือนแก๊สไข่เน่า ที่มาจากกระบวนการแปรรูปยางพารา ทางผู้ประกอบการได้รวมตัวกันและไปขอให้ทางการยางแห่งประเทศไทย ช่วยซัพพร็อต ทำให้อาจารย์ สามารถนำระบบบำบัดน้ำเสียเข้าไปใช้ในโรงงานแปรรูปยางขนาดเล็กในพื้นที่ภาคใต้ได้ 8 แห่ง ในพื้นที่
ในส่วนของราคา อาจารย์ชลทิศา บอกว่า ปัจจุบันสามารถทำราคาได้ต่ำลงมา อยู่ที่การบำบัดน้ำเสีย 5 คิว ในราคา 785,000 บาท ซึ่งเป็นการลงทุนระยะยาว อาจจะดูราคาสูง แต่ความคุ้มค่า กับสิ่งที่โรงงาน และสิ่งแวดล้อมได้รับ คุ้มค่ามาก ต่อไป ผู้ประกอบการจะต้องให้ความสำคัญกับเรื่องเหล่านี้ด้วย เพราะผู้ซื้อจะหันมาเลือกซื้อสินค้าจากโรงงานที่ได้มาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม หรือ ได้คาร์บอนฟรุตพริ้น โดยเฉพาะในต่างประเทศ การส่งออกจะต้องได้มาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม ถึงจะส่งออกได้
หลังจากนี้ ทางบริษัทยังได้ร่วมกับ บริษัท CeTeau Thailand จำกัด ทำให้สามารถพัฒนาระบบให้สามารถรองรับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ขึ้น โดยสามารถบำบัดน้ำเสียในขนาด 10,000-50,000 ลิตรได้
ติดต่อ Facebook : Inno Green Tech – BioCircuit- บำบัดน้ำเสียชนิดรุนแรง
โทร.08-4212-1788