“หลายคอมเม้นต์มากที่เข้ามาในเพจว่า สอนมั้ย สอนมั้ย มีสอนมั้ย? เราไม่สอนเราให้อาชีพไปเลยดีกว่า หลัก ๆ คือเราต้องการมาตรฐาน “ฟูฟ่อง” มันเป็นเหมือนหน้าตาเฉย ๆ แต่เรามี backoffice คือ โรงงาน เพื่อส่งหมูกรอบกึ่งสำเร็จรูปมาที่ร้าน”
แนวคิดเรื่องการทำร้าน “ฟูฟ่องหมูกรอบ” และกำลังจะเปิดตัวแฟรนไชส์ร้านฟูฟ่องหมูกรอบให้กับคนที่สนใจอาชีพด้วย
“คุณเต้-ปรัชญา แสงอุทัย”เจ้าของร้านบอกกับเราว่า เริ่มต้นมาจาก3 คน ทุกคนทำธุรกิจร้านอาหารมาก่อนและยังคงทำอยู่ในบางคน แล้วก็มามองว่าที่เราทำกันอยู่เราอยากจะทำให้มันเหมือนธุรกิจอื่น ที่ยิ่งเล็กยิ่งกระจาย เพราะตอนที่ทำร้านอาหารเราทำร้านใหญ่กัน ทำร้านอาหารใหญ่คือปัญหามันเยอะมาก ทั้งเรื่องสำคัญที่สุดคือ เรื่องคน การบริหารคนมันยากมากและยิ่งร้านอาหารใหญ่ ๆ เราทำยังไงให้คนมันเหลือน้อยลง เราบริหารร้านเล็ก ๆ แต่หลาย ๆ ที่ อันนี้ก็คือ point “เราก็เริ่มมาจับจากสิ่งที่เราชอบกันก่อน แล้วก็มาคุยกัน เราชอบ “หมูกรอบ” แล้วก็มองว่าหมูกรอบเนี่ยที่เราไปกินน่ะ ไม่ว่าเราจะไปร้านอาหารตามสั่ง เมนูที่เราสั่งก็ กะเพราหมูกรอบ แขนงหมูกรอบ คะน้าหมูกรอบ กินข้าวต้มก็ หมูกรอบคั่วพริกเกลือ โน่นนี่นั่น ทุกอย่างเราสั่งทำไมเบสมันต้องเป็นหมูกรอบอันนี้เราคุยกัน ด้วยความชอบของแต่ละคนก่อน” ตัวเองรู้สึกว่าหมูกรอบมันเป็นศาสตร์อีกขั้นหนึ่งของ “หมู” เพราะความอร่อยมันต่างกันมาก แล้วเราก็มองช่องว่างการตลาด เรามองว่าเป็นสัตว์อื่นไม่ว่าจะเป็น กุ้ง หอย ปู ปลา ซัพพลายเออร์ที่ส่งของหรือแพต่าง ๆ เขาก็จะสามารถส่งได้เลย เพราะของพวกนี้เน้นสดยิ่งดี(ต้องมีชีวิต) แต่หมูกรอบไม่ใช่ อยู่ ๆ คุณจะสั่งหมูสามชั้นสดมาแล้วทอดแล้วเป็นหมูกรอบได้เลย คุณต้องมีกระบวนการและวิธีการทำ “แล้วกระบวนการและวิธีการทำเนี่ย เรากินมาหลายที่ แข็งบ้าง เหนียวบ้าง มันเกิดจากอะไร? มันเกิดจากกระบวนการก่อนที่จะมาทอด มันผิด! มันเลยเป็นแบบนั้น เราก็เลยมานั่งคิดกันว่า เราทำให้มันถูกกันดีกว่า”
ใคร ๆ ก็ทำได้ ด้วย “หมูกรอบ” กึ่งสำเร็จ
ร้านที่เราเคยเปิด หมูกรอบเป็นเมนูที่คนสั่งเยอะด้วย ขายดีของร้าน แล้วลูกค้าก็เรียกร้องว่าทำไมไม่สับ “หมูกรอบ” เปล่า ๆ ขายบ้าง อะไรต่อมิอะไร ซึ่งเราก็ไม่อยากทำแบบนั้นเราก็เลยตี “แบรนด์” ออกมาแบรนด์หนึ่ง ที่เป็นหมูกรอบอย่างเดียว แล้วเล่นกับมันดู“หลายคอมเม้นต์มากที่คอมเม้นต์เข้ามาในเพจว่า สอนมั้ย สอนมั้ย มีสอนมั้ย? เราไม่สอนเราให้อาชีพไปเลยดีกว่า หลัก ๆ คือเราต้องการมาตรฐานอย่างที่บอก เพราะฉะนั้นฟูฟ่องเราเนี่ยมันเป็นเหมือนหน้าตาเฉย ๆ แต่เรามี backoffice คือ โรงงาน เราทำโรงงานเพื่อส่งหมูกรอบกึ่งสำเร็จรูปมาที่ร้าน เพื่อให้ที่ร้านสามารถทอด ผัด หน้าร้านได้เลย”
ฟูฟ่อง ก็หมายถึงหนังเรา เวลาเราทอดถ้าจะเห็นดี ๆ ตอนที่เป็นหมูกรอบกึ่งสำเร็จรูปมันจะเรียบ หนังเรียบ แต่พอเราใช้น้ำมันร้อน ๆ ราดเข้าไปหนังเขาจะค่อย ๆ ฟูขึ้นมา ค่อย ๆ ฟูขึ้นมา นี่แหละ แล้วก็ “กรอบ” นาน! หมูกรอบทอดเสร็จใหม่ ๆ กรอบทุกคน ขึ้นอยู่กับใครกรอบนานกว่ากัน สำหรับฟูฟ่องจะเน้นตรงนี้ แล้วคำว่ากรอบนานทำยังไง ให้มันกรอบนาน เรากินมาแล้วก็จะมี บางอันเหมือนกรอบมากเลย ซึ่งกรอบจริงแต่มันจะติด “เหนียว” พอกัดไปแล้วมันจะมีชั้นที่มันเหนียวอยู่ ระหว่างชั้นหนังกับชั้นไขมันเพราะ “น้ำมัน” เข้าไปไม่ถึง ทำยังไง? เราก็เลยแก้ pain ตรงนี้ เราถึงการันตีว่าของเรากรอบนาน แล้วสามารถเข้า “อุ่นได้เรื่อยๆ” อีกอย่างหนึ่งคือเรื่อง แผ่นใหญ่ ทอดยาก อันตราย น้ำมันเยอะ แต่ข้อดีของมันคือความ juicy ข้างในมันจะคงยังอยู่ เหมือนมันระอุได้ดีกว่า ถ้าแผ่นเล็ก ๆ ความร้อนจะเข้าไปถึงข้างในได้มากขึ้น เหมือนมันจะโอเวอร์ฮุกไป เพราะจริง ๆ แล้วมันสุกตั้งแต่ความเป็นกึ่งสำเร็จรูปแล้ว แล้วเรามาย้ำให้มันสุก สุก อีกมันก็จะกระด้าง แข็ง เหนียว เราก็เลยอยากได้ “แผ่นใหญ่” แล้วมันว้าว!ด้วย พอลูกค้ามาเห็นลูกค้ารู้สึกว้าว! ด้วย
“ความสดใหม่มันอยู่ที่ ตอนทอด ผัด มากกว่า ถามว่าร้านอาหารสมมุติคุณมีหมูกรอบอยู่แล้ว หรือคุณยังไม่มีคุณก็เพิ่มเมนูได้เลยแล้วหมูกรอบ1 อย่าง มันทำอะไรได้เยอะไม่ว่าจะเป็น เปล่า ๆ จิ้มกับน้ำจิ้ม จะประกอบกับข้าว แล้วยิ่งบางร้านถ้ายิ่งเป็นร้านใหญ่หรือเป็นร้านที่มีการสังสรรค์อย่างเงี้ยครับ สามารถอัพราคาของหมูกรอบได้อีกสมมุติ เราขายกันอยู่ทั่วไปที่เราเห็นขีดละ70, 80 ,90 ถึง100 ก็มี ถ้าไปขายร้านพวกนั้นอาจจะตีเป็น 200 กว่า300 ซึ่งเขาขายบรรยากาศด้วยรวม ๆ ด้วยโน่นนี่นั่น”ก็วนกลับไปเรื่องเดิมที่บอกว่า เรื่องคน ที่มีปัญหาเรื่องคน ตัดยังไงล่ะ?“เราก็ทำส่วนยากให้เขาไง แค่เขาไปทำในส่วนที่ง่ายที่สุด คือคนที่เอาไปเนี่ยดูคลิปเข้าใจแน่ เพราะในคลิปเหมือนจับมือทำ อุณหภูมิเท่าไหร่ กี่นาที วัดอุณหภูมิยังไง ดึงด้านไหนออก ต้องกรีดยังไง อะไรยังไงผมมีบอกหมด เพราะว่าตรงนี้มันไม่ใช่สูตรลับ เพราะว่าสูตรลับของผมจริง ๆ ก็คือตัวโปรดัคส์ คุณซื้อโปรดัคส์ผมไปคุณก็ไปทำตามที่ผมว่า ก็ออกมาเหมือนกัน”
ชัวร์กว่าทั้งเรื่อง “น้ำหนัก” ไม่หาย! การันตีคุณภาพให้จากต้นทาง
เพราะว่าหมูกรอบไม่สามารถเอาหมูสดซื้อวันนี้แล้วขายได้เย็นนี้ มันต้องซื้อวันนี้แล้วขายได้อีกวันหนึ่ง ต้องผ่านกระบวนการข้ามวัน ถามว่าถ้าไม่ข้ามวันหน้าตาข้างนอกมันก็เหมือนแหละแต่พอกินไปแล้วไม่เหมือน สูตรใครก็สูตรมัน“อีกหนึ่งอย่างที่ลูกค้าซื้อไปทำขายต่อจะได้คือ เขาจะไม่ต้องคิดว่าเฮ้ยเขาซื้อหมูมา 5 กิโล มันจะเหลือเท่าไหร่ อะไรยังไง เพราะเราชั่งกิโลจากตรงนี้ขายที่มันหายไปแล้วเนี่ยขาย มันจะไปหายอีกนิดหนึ่งคือตอนทอดเท่านั้นเอง แต่ช่วงหายเยอะ ๆ เนี่ยผมทำมาให้แล้ว” การเลือกใช้หมูที่มาทำก็มีหลายประเภทมาก ๆ แต่ถามว่าทำไมฟูฟ่องฯ ถึงไม่ใช้หมูแก่ เพราะหมูแก่จะมีชั้นไขมันเยอะและหนังของเขาก็จะหนา ซึ่งมันจะทำให้การลีนค่อนข้างยาก กว่าไขมันจะลีนหมด หนังก็ไปหมดแล้ว หรือหนังหนามากเกินไปจนชั้นความเหนียว “ลีน” ไม่ออก ยังมีความเหนียวอยู่ เพราะฉะนั้นเราก็พยายามจะเลือกสรรหมูที่เราต้องการ อันนี้เป็นอีกหนึ่งจุดที่พอเลือกเยอะต้นทุนก็สูงด้วย เพราะฉะนั้นแล้วต้นทุนของฟูฟ่องฯ จึงค่อนข้างสูงนิดหนึ่ง แล้วหมูกรอบจะมีค่า waste สูงด้วยสมมุติว่า 5 กิโล ทำออกมาจนสามารถทานได้เป็นชิ้นหมูกรอบอาจจะเหลือแค่ 2.5 หรือ 2.8 กก. ประมาณ 40-50%ที่มันจะหายไป
“เคยทำแล้วเสียก็ทิ้งไป ก็ทิ้งไป เป็น 100 กิโล ยันมาตอนเปิดร้านแล้วก็ยังมีปัญหาเนื่องจากว่า ตอนแรกเราไม่ได้ทำเป็นโรงงานใหญ่ขนาดนั้นพอเราทำเป็นโรงงานใหญ่ ขยายสเกลขึ้น ซื้อเครื่องจักรเข้ามามากขึ้นโน่นนี่นั่น มันก็จะขนาดhuman ยังเออเร่อได้เลย! เครื่องจักรมันก็มีการเออเร่อบ้างโน่นนี่นั่น จนแบบเราก็มาใช้เครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพและก็เที่ยงตรงมากขึ้นพออะไรแบบนี้ราคาเครื่องจักรก็สูงโดดไปเลยจากราคาเท่านี้ ก็สูงโดดข้ามไปเลย แต่ถึงตอนนี้ก็เรียบร้อยแล้วทุกอย่างบาลานซ์” เป็นแบบอุตสาหกรรมโดยมีกำลังการผลิต ณ ตอนนี้ต่อวัน 200-300 กิโลกรัม ทำได้อย่างสบาย ๆ ออกมาเป็น “หมูกรอบกึ่งสำเร็จ” แบบพร้อมทอดจากโรงงานผลิต อันนี้คือเป็นกำลังการผลิตที่โรงงานสามารถทำได้เลย
“ราคา” ตรงจากโรงงาน พร้อมเมนูแนะนำจากร้านให้
เราขายตั้งแต่หมูกรอบพร้อมทอด ก็คือกึ่งสำเร็จรูป แบบสามารถคุณเอาไปแช่ตู้เย็นได้แล้วเมื่อไหร่จะออกมาทอด ก็มาทอดได้เลย จะเอากี่กิโลก็ได้เริ่มต้นที่กิโลละ 580 บาท มีการแพ็คสุญญากาศให้ แล้วก็จะมีส่งคลิปวิดีโอไปให้ว่าคุณต้องทำยังไงระบบการจัดการ แล้วก็มี “หมูกรอบพร้อมทาน” ที่สามารถทานได้เลย จิ้มกับน้ำจิ้ม3 อย่าง(แจ่ว, ซีฟู้ด, ซีอิ๊วหวาน) และมี Shake ฟูฟ่อง “หมูกรอบเขย่า” 3 รสชาติ(ชีส, ลาบ, วิงซ์แซ่บ) พวกนี้จะเหมือนกินเป็น Snack กินคู่กับเครื่องดื่มจะเข้ากันดีมาก ๆ และอีกหนึ่งอย่างก็คือ เป็นผัด เป็นคั่ว มีเป็นกับข้าว“ตอนแรกด้วยพื้นที่เราจำกัด แค่อุปกรณ์เราพื้นที่เราได้แค่นี้ มันเต็มที่แล้วในพื้นที่ที่เราจะเล่นกัน เรามีโอกาส/โชคดีที่ได้พื้นที่เพิ่มเพราะฉะนั้นเราก็เลย เอาเสียงลูกค้าที่เรียกร้องมาตอบโจทย์เขาให้ลูกค้าได้นั่งทานที่ร้านด้วย”ตอนแรกจะเป็นแบบ “กับข้าว” กับข้าวเปล่าแล้วลูกค้ายังบอกอีกว่า มันกินไม่หมด อยากได้เป็นอาหารจานเดียวก็เลยจัดเป็นอาหารจานเดียวให้ในราคาที่เข้าถึงได้ง่าย “60บาท” โดยมั่นใจว่าราคานี้ลองไปทานที่ร้านอื่นดูได้ แตกต่างแน่นอน วัตถุดิบซึ่งเป็นหมูกรอบชิ้นขนาดนี้ ได้ปริมาณแบบนี้ รสชาติแบบนี้ ข้าวเป็นข้าวแบบนี้ ความสะอาดแบบนี้ และอีกหนึ่งอย่างที่พูดไปแล้วเรื่องคนก็คือว่า ผัดทุกจานรสชาติเดียวกันหมด เพราะว่าเรามีน้ำผัด(ซอสกลาง) ไม่ต้องเป็นเชฟ ใครก็ผัดได้ ใครทำก็อร่อยเหมือน ๆ กันทุกจาน
“แล้วราคาต้องทำยังไงก็ Research เจ้าอื่น เจ้าใกล้เคียง ราคาเป็นยังไงแล้วก็กลับมาดูที่ราคาเราว่า เราเล่นได้แค่ไหนอะไรยังไง บางอย่างเราอาจจะได้กำไรน้อยหน่อย แต่วนกลับมาที่บอกว่าอันนี้มันคือไม่ใช่ ร้านนี้ไม่ใช่ธุรกิจที่เราต้องการจะได้ผลตอบแทนดีมาก! แต่เราต้องการให้ผลตอบแทนดีจนลูกค้ารู้สึกว่า (ลูกค้าที่เป็นแฟรนไชส์ซีนะครับ) มันได้! มันมีลูปแวลู่ของมัน เพราะฉะนั้นแล้วทำยังไง? ก็ทำราคาให้มัน กำไรน้อยหน่อยแต่เน้นปริมาณพอมีปริมาณ มี Value ขึ้นมา ทุกอย่างมันจะถูกสดใหม่หมด ทอดใหม่เรื่อย ๆ เพราะว่าเราใช้เยอะ พอใช้เยอะทอดใหม่เรื่อย ๆ มันก็ดี ผัดต่อจาน ๆ มันก็ดี” ถ้าพูดถึง “ราคา” ของฟูฟ่องฯ ถือว่า ไม่ได้ถูก จนถูกที่สุดของตลาด จะพูดว่าจริง ๆ แล้วเป็นราคากลางก็ได้ แต่ในราคากลางที่ราคาแบบนี้คือเจ้าของทอดขายเอง เล็ก ๆ น้อย ๆ แต่ถ้ามาที่ร้านฟูฟ่องหมูกรอบแค่พนักงานของร้านก็ 5-6 คนแล้ว ทุกคนจะมีหน้าที่ของตัวเองกันหมด ที่ร้านใช้ระบบ POS เข้ามาเพื่อจะดูว่าทั้งราคาทั้งไทม์ไลน์ ลูกค้าจะเยอะตอนไหน วันไหนบ้าง เพื่อนำมาใช้เป็น DATA analysis เอาข้อมูลมาวิเคราะห์อีกทีหนึ่ง ว่าร้านจะทำยังไงต่อไป ซึ่งในอนาคตที่ร้านกำลังจะมีคือก็จะมีโปรดัคส์อื่นเพิ่มขึ้นมาด้วย นอกจากหมูกรอบแบบนี้แต่ก็จะไม่พ้น “หมูกรอบ” เพราะว่าชื่อร้านคือ ฟูฟ่องหมูกรอบ ซึ่งหมูกรอบมันจะเล่นได้เยอะ
ตอบโจทย์คนอยากมีธุรกิจ เป็นอาชีพที่สอง
มีเจ้าของร้านอาหารใหญ่บางร้านเขามาทาน เขามาดูครัว(ครัวจะเปิดทั้งหมดอยู่แล้ว) เขาบอกว่า จัดการง่ายดี คำนี้เลยที่เขารู้สึกว่าจากที่เขาต้องเช่า(ค่าเช่าที่) แพง แต่เขาไม่ได้เปิดได้ตลอด เขาบอกว่าเขาอยากได้ฟูฟ่องฯ ไปเปิดแก็ปเวลาตอนนั้น เพราะเขาเปิดร้านเปิดตอนเย็น เขาอยากได้ฟูฟ่องฯ ไปเปิดตอนเช้าในที่ที่เขาเสียเงินค่าเช่าไปแล้ว “ก็เลยมองว่าเท่าที่ลูกค้าแฟรนไชส์ซี ที่เข้ามาพูดคุยเนี่ยส่วนมาก ร้อยละ 90 ส่วนมากแทบจะร้อยละ 100 เลย เป็นลูกค้าที่มีอาชีพอยู่แล้ว แล้วอยากได้เป็นอีกหนึ่งอาชีพ เพราะเป็นสเกลร้านที่เขาสามารถบริหารจัดการได้ง่าย แล้วเขาเอาเวลาไปทำงานหลักเขา แล้วเขาก็ดูแค่ DATA มาบริหารจัดการได้ง่าย อันนี้คือส่วนที่ผมมอง” แต่ส่วนลูกค้าที่จะมาซื้อโปรดัคส์ของร้าน ที่เขาไม่ได้ใช้แบรนด์ “ฟูฟ่องฯ” อยู่แล้วก็มาซื้อได้เลย เอาไปขายได้เลย“พูดง่าย ๆ คือร้านฟูฟ่องฯ เนี่ยครับเป็นร้านต้นแบบ เพื่อทำให้คนสนใจแฟรนไชส์มาเห็นว่าเขาจะได้อะไรบ้าง สำหรับแฟรนไชส์ฟูฟ่องหมูกรอบ ตู้แช่แบบนี้ สามารถแขวนหมูได้ 50 ชิ้น ชิ้นนึงตกประมาณ 3 กิโล คุณสามารถได้ 150 กิโลในการขายของ เพราะฉะนั้นแล้วเราสามารถส่งให้คุณได้ประมาณอาทิตย์ละ 2-3 ครั้ง ซึ่งให้คุณได้สดใหม่ตลอดไม่ต้องกลัวว่ามันจะเสีย เพราะหมูแบบนี้อยู่ในตู้แบบนี้อุณหภูมิเท่านี้ ได้เป็น6 เดือนขึ้นไปครับ แล้วเมื่อไหร่ถ้าคุณจะเอาออกมาทอด คุณก็แค่เข้าเตาอบแล้วเอาออกมา ทอดได้เลย ก็จะฟูฟ่องเหมือนกันทุกชิ้น”
นึกถึงหมูกรอบ... คิดถึง “ฟูฟ่องหมูกรอบ”
คุณเต้-ปรัชญา แสงอุทัย เจ้าของร้าน “ฟูฟ่องหมูกรอบ” ยังบอกด้วย เรียกว่าเป็นเป้าหมายดีกว่า เรารู้สึกว่าเราอยาก เราอยากให้เขามองพูดชื่อแล้ว สมมุติว่าอยากกินหมูกรอบเว้ย!“เฮ้ยไปฟูฟ่องฯ” อันนั้นคือสิ่งที่เราอยาก ไม่รู้ว่ามันจะเป็นไปได้มั้ยแต่มันคือเป้า เราก็เลยอยาก เรามีความอยาก แล้วเราก็อยากทำ สำเร็จมั้ยอีกเรื่องหนึ่ง“ผมเชื่อว่ามันไม่มีอยู่จริงที่ คุณจะขายอะไรแล้วมีแค่คุณคนเดียว อันนี้เป็นความเชื่อนะ แต่การที่มีคนอื่นเข้ามาร่วมในตลาดด้วยต่างหาก คุณจะยืนอยู่กับเขายังไง และคุณจะยืนอยู่ตรงไหน ผมเชื่อว่าคนที่ได้รับผลประโยชน์มากที่สุดคือ ลูกค้า นาย A ทำมา นาย B ทำมาแซงหน้านาย A นาย A เห็นนาย B มันแซงแล้ว นาย A ก็แซงอีก ก็แซงกันไป แซงกันมา แซงกันไปแซงกันมา ความสนุกของตลาดมันอยู่ตรงนี้! เราไม่ได้ทะเลาะกัน และเราอย่าทะเลาะกัน เราไม่ได้ต้องการให้ อย่างสมมุติว่าทำให้จนนาย B มันพังไป เหลือนายA อยู่เจ้าเดียวในตลาด คราวนี้มันไม่ต้องพัฒนาแล้วในเมื่อมันอยู่เจ้าเดียวแล้ว มันจะต้องพัฒนาทำไมลูกค้าจะต้องมาเอาของมัน เพราะฉะนั้นเราอยู่ร่วมกัน แบบทำให้ตลาดมันสนุกดีกว่า” ทำธุรกิจร้านอาหารสิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การบริการ อยากให้ลูกค้าทุกคนเห็นถึงความตั้งใจของเรา ว่าเราอยากทำมาเพื่อให้เขาได้รับในสิ่งที่เราอยากให้เขาได้รับ เพราะตัวเราเองก็ไม่ได้เป็นผู้ขายตลอดไปตลอดชีวิต เราก็เป็นผู้ซื้อเหมือนกัน เราอยากได้แบบไหน เราก็ให้เขาแบบนั้นแหละ อยากให้เขาได้รับรู้และรู้สึก“ผมเน้นเหมือนที่ผมบอกตลอดว่า ผมเน้นเรื่องความรู้สึก เน้นเรื่อง Emotional มาก ๆ ลูกค้าน่าจะมีความสุขกับไป เมื่อได้มาที่ฟูฟ่องฯ ครับ”
ท่ามกลางการแข่งขัน มันจะมีการพัฒนาเพื่อให้ดียิ่งขึ้นไปกว่า อยู่เสมอการค้าการขายในตลาดย่อมมีการแข่งขันเป็นเรื่องธรรมดา แล้วคนที่ได้รับผลประโยชน์มากที่สุดจากเรื่องนี้ซึ่งแน่นอนว่าก็คือ ลูกค้า ขอบคุณเรื่องราวแห่งแรงบันดาลใจดี ๆ จากร้าน “ฟูฟ่องหมูกรอบ” ที่มาพร้อมกับการแบ่งปัน “โอกาส” สำหรับคนที่กำลังมองหาอาชีพหรือธุรกิจอีกสัก1 ธุรกิจ แบบที่ไม่ต้องเริ่มต้นจากการนับหนึ่งใหม่แต่สามารถที่จะต่อยอดไปได้เลยในแบบที่เราอยากจะให้เป็น ใช้ระยะเวลาสั้น ไม่ต้องลองผิดลองถูก ช่วยลดความเสี่ยงไปแล้วกว่าครึ่งทางได้ ขอบคุณเถ้าแก่ SME ที่ใจดีมาก ๆ มาร่วมแชร์ประสบการณ์แห่งความสำเร็จในครั้งนี้
ร้านฟูฟ่องหมูกรอบตั้งอยู่ที่ 34/9 ถนนพุทธมณฑลสาย 2 เขตบางแค กรุงเทพฯ สามารถติดตามได้ทาง เพจ/เฟซบุ้ก:
ฟูฟ่องหมูกรอบ หรือสอบถามเพิ่มเติมโทร.094-879-5959 และทุกช่องทางโซเชียลมีเดีย
* * * คลิก Like เพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า "SMEsผู้จัดการ" รับข่าวสารในแวดวงธุรกิจเอสเอ็มอีที่สมบูรณ์แบบที่สุด* * *