รีโว่เมด ผู้ผลิตเครื่องสำอาง และอาหารเสริม จับมือ คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาฯ ให้ทุนสนับสนุนงานวิจัยพัฒนามีแซนไคมอสสเต็มเซลล์ เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ขั้นสูง กว่า 17 ล้านบาท เพื่อร่วมพลิกโฉมวงการแพทย์ชั้นสูงของไทยด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม พร้อมเตรียมผลักดัน “รีโว่เมด” เข้าสู่ธุรกิจเมดดิคอลอย่างเต็มตัว ประเดิมด้วย การเปิดคลินิก และร้านยา ในเร็วๆนี้ ด้านแผนการตลาดปีนี้ 2566 บุกตลาดเพื่อนบ้านอย่างเต็มตัว หลังประสบความสำเร็จจากการเปิดตัวที่ กัมพูชา ผู้สนใจเกินคาด ตั้งเป้าไว้เพียง 40 ราย โดยมีผู้สนใจต้องการผลิตสินค้าด้านสุขภาพและความงามกว่า 1,000 ราย
คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ลงนามความร่วมมือทางวิชการ กับ บริษัท รีโว่เมด (ไทยแลนด์) จำกัด เพื่อวิจัยพัฒนาแพลตฟอร์มการผลิตมีเซนไคมอลสเต็มเซลล์ตามมาตรฐาน GMP เพื่อใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ขั้นสูง ณ ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ ด้านนวัตกรรมทางการแพทย์ขั้นสูง (ATMPs) โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนงบประมาณวิจัยพัฒนาจาก แผนงานกลุ่มสุขภาพและการแพทย์ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) จำนวน 69.9 ล้านบาท และบริษัท รีโว่เมด ไทยแลนด์ จำกัด สนับสนุนงบประมาณจำนวน 17.6 ล้านบาท มีระยะเวลาดำเนินการ 2 ปีโดยมีเป้าหมาย คือ การพัฒนา ระบบการผลิต ระบบควบคุมคุณภาพ ระบบเอกสาร ระบบความปลอดภัย ระบบควบคุมความเสี่ยง ตามมาตรฐาน GMP-PIC/S
รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ฉันชาย สิทธิพันธุ์ ได้กล่าวเกี่ยวกับการร่วมมือครั้งนี้ ว่า “ทางคณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ทำการพัฒนา แพลตฟอร์มผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ ชั้นสูง (เอทีเอ็มพี) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ทางแพทย์ชั้นสูง ที่ปัจจุบันยังคงรักษาไม่ได้ ต้องใช้เซลล์ (เทอราพี) ปัจจัยสำคัญในสร้างพื้นฐานการแพทย์ที่ต้องใช้เวลานาน เราได้ร่วมมือทางหน่วยงานภาคเอกชน นั้นคือ รีโว่เมด ซึ่งมีความรู้เชี่ยวชาญด้านการผลิต เพื่อผลักดันให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ด้านนวัตกรรม ให้เกิดการผลิตที่สามารถนำไปต่อยอดเกิดเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นประโยชน์ต่อคนไทย ทำให้เกิดเป็นความร่วมมือระหว่างทั้งสององค์กร ”
สำหรับกระบวนการพัฒนา (ทีทีเอ็มพี) สเต็มเซลล์ ของ คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาฯ ครั้งนี้ เป็นการพัฒนาที่จะทำให้สามารถนำ ( สเต็มเซลล์) ถูกนำมาใช้อย่างถูกต้องตามมาตรฐานสากล ซึ่งเป็นมาตรฐานของยุโรป (GMP-PIC/S) ซึ่งเป็นมาตรฐานได้มายากมาก เราเป็นหนึ่งใน 60 ประเทศที่ได้มาตรฐานดังกล่าว ซึ่งเราก็ได้มีการลงทุนการผลิตเพื่อให้มาตรฐานดังกล่าวนี้ไปเป็นหลัก100 ล้านบาท ซึ่งหลังจากนี้ เราก็ต้องดำเนินการภายใต้กระบวนการของ อย. ของประเทศไทยด้วย ซึ่งการทำงานครั้งนี้ ได้รับความร่วมมือจากต่างประเทศ (IFCT) ซึ่งเป็นสมาคม (เซลล์เทอราพี) ที่ใหญ่ที่สุดในโลกด้วย เพื่อจะได้นวัตกรรมทางการแพทย์ชั้นสูงมาช่วยดูแลคนไทยที่ป่วยให้หายป่วยได้
คุณวาสนา อินทะแสง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท รีโว่เมด (ไทยแลนด์) จำกัด กล่าวถึงความร่วมมือครั้งนี้ ว่า “ ความร่วมมือในการนำนวัตกรรม (เอทีเอ็มพี)ในครั้งนี้ ทางคณะแพทย์ศาสตร์จุฬาฯ ได้ดำเนินการเรื่องนี้มายาวนานกว่า 30 ปี เป็นนวัตกรรมทางการแพทย์ชั้นสูง ถ้าประสบความสำเร็จจะช่วยยกระดับการแพทย์ไทยให้ไปสู่การแพทย์ชั้นสูง และการเข้าร่วมลงทุนครั้งนี้ของทั้งสององค์กร เป้าหมาย เพื่อเพื่อยกระดับการผลิตที่ได้มาตรฐาน GMP ภายใต้การผลิตในระบบนวัตกรรม เพื่อให้ประชาชนทุกคนได้รับนวัตกรรมในการดูแลรักษาสุขภาพ ที่เป็นเทคนิคทางการแพทย์ชั้นสูง
ทั้งนี้ ที่ผ่านมาบริษัทมีเป้าหมายหลักต้องการปฏิวัติอุตสาหกรรมอาหารเสริมความงามด้วยนวัตกรรม โดยให้ความสำคัญกับการลงทุนด้านนวัตกรรมมาตลอด แต่พัฒนาด้านนวัตกรรมไม่สามารถใช้ระยะเวลาสั้นและทำได้ จะต้องใช้ระยะเวลา เช่นเดียวกับการวิจัยด้านสเต็มเซลล์ ของคณะแพทย์ศาสตร์จุฬาฯ ทำมานานมาก และการที่จุฬาฯ เลือกภาคเอกชนที่จะมาร่วมทำงาน ต้องเลือกบริษัทที่มีความเข้าใจและเห็นมิติมุมมองเหล่านี้ และ รีโว่เมดทำธุรกิจและอยู่ในวงการนี้มานานกว่า 15 ปี ความร่วมมือในครั้งนี้ ถือว่าเป็นโปรเจคใหญ่มากสำหรับรีโว่เมด ในการแยกออกมาเป็นเมดิคอล ซึ่งเราก็ต้องมีความพร้อมทั้งความเชี่ยวชาญการผลิตมากพอที่จะนำโปรเจคนี้มาต่อยอดได้ โดยล่าสุดมีแผนที่จะรองรับการเข้ามาทำธุรกิจเมดิคอลอย่างเต็มตัว โดยการเปิดคลินิก และร้านยา คาดว่าจะเปิดได้ประมาณปี 2567 นี้
สำหรับรีโว่เมดที่ผ่านมา บทบาทหน้าที่ของเรา คือ รับผลิตอาหารเสริม และผลิตภัณฑ์ด้านความงามให้กับผู้ประกอบการที่สนใจ ต้องการจะทำแบรนด์ โดยไม่ได้มีสินค้าที่เป็นแบรนด์ของตัวเอง สินค้าที่ถนัดกลุ่มของอาหารเสริม และตลาดอาหารเสริมจากประเทศไทย ถือว่ามีศักยภาพเป็นที่ยอมรับในต่างประเทศมายาวนาน ถ้าจัดอันดับอาหารเสริมทั่วโลกประเทศไทยมีศักยภาพ ติด 1ใน 3 ของโลก ก็ว่าได้ในปัจจุบัน ด้วยเหตุนี้แผนการตลาดของบริษัท ที่วางไว้ในปี 2566 การเตรียมบุกตลาดต่างประเทศอย่างเต็มตัว
วาสนา กล่าว่า การทำตลาดต่างประเทศของบริษัท ในปี 2566 นี้ เริ่มที่ประเทศเพื่อนบ้านก่อน และค่อยขยายไปยังประเทศในกลุ่มยูเออี จีน และประเทศสหรัฐอเมริกาลำดับถัดไป ซึ่งประเทศที่เริ่มเข้าไปทำตลาดก่อนหน้านี้ คือที่ ประเทศกัมพูชา และที่เตรียมจะเข้าไปในวันที่ 9 เดือน 9 นี้ คือ ประเทศเมียนมาร์ โดยเราประสบความสำเร็จอย่างมาก จากการเปิดตัวที่ประเทศกัมพูชา เมื่อปีที่ผ่านมา ผู้ประกอบการกัมพูชาให้การต้อนรับเราดีมากในวันที่เปิดสำนักงานในวันนั้น ตั้งใจว่าจะเปิดรับผู้ที่สนใจร่วมทำธุรกิจกับเราเพียงแค่ 40 ราย แต่มีผู้สนใจติดต่อเข้ามาถึง 1,000 ราย
ในส่วนภาพรวมของตลาดอาหารเสริม ปัจจุบันตลาดอาหารเสริมเติบโตอย่างต่อเนื่องทุกปี หลังจากสถานการณ์โควิด คนไทยและคนทั่วโลกหันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้น จะเห็นจากตัวอย่าง ร้านกาแฟอะเมซอน ที่คนหันมาดื่มกาแฟดำ มากขึ้น จากเดิมแค่กลุ่มคนรักสุขภาพ แต่ตอนนี้กลายเป็นค่านิยมวัยรุ่นหันมาดื่มกาแฟดำ วัยรุ่นอาจจะไม่ได้มองเรื่องสุขภาพ แต่มองว่า เป็นเทรนด์ที่คนนิยมกัน เป็นต้น เชื่อว่า เทรนด์สุขภาพยังไงก็โต ไม่ต่ำกว่าปีละ 35% แต่ก็คงจะยังไม่แซงในกลุ่มบิวตี้ ความงาม
อย่างไรก็ดี ในส่วนของทำตลาดในอเมริกา ส่วนตัวมองว่าตลาดอเมริกาเรื่องอาหารเสริมได้รับความนิยม แต่ที่อเมริกาอาหารเสริมส่วนใหญ่เป็นแบบเดี่ยวชนิดใดชนิดหนึ่ง และถ้าเราต้องอาหารเสริมหลายแบบก็ต้องกินเยอะมาก แต่ประเทศไทย มีอาหารเสริมที่อยู่ในเม็ดเดียว แต่มีคุณสมบัติ เหมือนกับที่คนอเมริกากินเป็น 10 เม็ด เชื่อว่า ถ้าเราเข้าไปทำตลาดตอนนี้ จะได้รับการตอบรับจากคนอเมริกาที่ต้องการอาหารเสริมอย่างแน่นอน
ในส่วนของยอดขายรีโว่เมดในปีนี้ ตั้งเป้ายอดขายไว้ที่ 1,500 ล้านบาท ส่วนในต่างประเทศ ทั้ง 2 ประเทศกัมพูชา และ เมียนมาร์ ตั้งเป้ายอดขายไว้ที่ประเทศละ 500 ล้านบาท ที่กล้าตั้งเป้ายอดขายที่กัมพูชาไว้สูง ทั้งที่ประชากรน้อยกว่า เมียนมาร์ เพราะปัจจุบันกัมพูชามีคนจีนเข้ามาอยู่เยอะมาก และกัมพูชาเปลี่ยนไปเร็วมาก คนมีกำลังซื้อเยอะขึ้นด้วย ช่องทางการขายหลักๆ ทั้งสองประเทศ ยังคงใช้เฟสบุ๊ก เป็นหลัก
คุณวาสนา กล่าวถึงการทำตลาดในประเทศเพื่อนบ้านว่า ส่วนตัวมองว่าง่ายกว่าการทำตลาดในประเทศไทย เพราะปัจจุบันการแข่งขันยังไม่สูงมากเหมือนประเทศไทย แต่ก็ต้องใช้เงินเยอะ การเปิดสำนักงานในกัมพูชาที่ผ่านมาใช้เงินเกือบ ร้อยล้าน เช่นเดียวกับพม่า คาดว่าน่าจะใช้เงินเกือบ ร้อยล้านเช่นกัน โดยมีการจ้าง นักแสดงจากทั้งประเทศไทย และ ประเทศกัมพูชา มาเป็นพรีเซนเตอร์ โดยเลือกเบอร์หนึ่งในประเทศนั้น และเบอร์หนึ่งในประเทศไทยที่คนกัมพูชาชื่นชอบ ตอนนี้ เลือก “น้องใหม่” และ ส่วนกัมพูชาจะเป็น “ซิน ยูบิน” (Shin Yubin) ส่วนพม่า เลือกใช้ “คุณนานซู” (Nansu Yati Soe) นัมเบอร์วันของพม่า
สำหรับ การลงนามบันทึกความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่างคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับ บริษัท รีโว่เมด (ไทยแลนด์) จำกัด นำโดย รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ฉันชาย สิทธิพันธุ์ คณบดี คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, รองศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์ รองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คุณวาสนา อินทะแสง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท รีโว่เมด (ไทยแลนด์) จำกัด, และ ดร.ศิริพงษ์ สีใสไพร กรรมการผู้จัดการบริษัท รีโว่เมด (ไทยแลนด์) จำกัด ได้ร่วมลงนามในบันทึกความร่วมมือทางวิชาการ โดยมีคณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ร่วมเป็นสักขีพยาน