xs
xsm
sm
md
lg

ทำไมต้อง “ไม้แรร์”? จับกระแสอาชีพทำเงินคนรุ่นใหม่ ซื้อเพราะชอบ เลี้ยงเพราะรัก ขายก็ได้กำไรงาม!!!

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



“มีต้นเดียว ต้นเดียว ตันเดียว ก็เลี้ยงไว้อย่างต้นนั้น กวักมรกตดำ ด่างชมพูเลี้ยงตั้งแต่ 2 ใบ/แสน จนตอนนี้ก็งอกมาหลายใบแล้วแต่ถามว่าตอนนี้ราคาเท่าไร ถ้ากระถางนี้ขายก็เกือบแสน ต้นนี้ก้านส้มด่างขาว ไม่ค่อยมีใครมีความที่ว่าด่างขาวจะโตช้ามาก ไซส์นี้ราคาก็เป็นแสนแล้ว”




มิ้นท์-ณัชชาพัชร์ อาชวัน และบอย-พีระพล สุทธิจันทร์ เจ้าของ Jellyfish Garden-สวนแมงกะพรุน ในย่านของจังหวัดนนทบุรี คนรุ่นใหม่ตาถึง! ที่ไม่ว่าจะหยิบจับไม้ตัวไหนมาเป็นว่าถูกตาต้องใจเหล่าสาวกไม้แรร์ (Rare) อย่างเต็ม ๆ ทุกครั้งไป ไหน ๆ ก็มาเยือนถึงถิ่นที่แล้วเราเลยไม่พลาดที่จะถามแทนคนอยากรู้บ้าง ว่าคำว่า “ไม้แรร์” สำหรับคนที่เล่นต้นไม้พวกนี้ราคามันจะต้องขนาดไหน เป็นยังไงบ้าง โดยมิ้นท์ก็ได้บอกอีกว่า ก็จะมีตั้งแต่หลักหมื่นถึงหลักแสนซึ่งเป็นทั้งราคาที่ซื้อเข้ามาและก็ขายกันด้วย คือเราก็ซื้อ(ลงทุน) ค่อนข้างสูงเหมือนกันเพราะว่าอย่างหนึ่งล่ะ เราหลงเสน่ห์มันด้วย เรารักที่ความสวยของมันที่เรามองว่ามัน UNIQUE คือมันอาจจะเป็นต้นเดียวที่คนอื่นไม่มีแต่เรามีเวลาเราถ่ายรูปลงเฟซบุค ลงรูป 1 รูปเนี่ยคนก็จะมากดไลก์ 200-300หรือ 400 คนอะไรเงี้ยก็แล้วแต่ ซึ่งเขาก็เห็นความสวยของมันก็จะมีคำชมว่า อู้ยดี อู้ยแปลกอะไรเงี้ยค่ะ เพราะว่าเราก็จะเลี้ยงไม้ที่มันไม่ต้องเน้นว่าต้องทำจำนวน แต่จะเน้นว่ามันมีจำนวนน้อย เราไม่ได้ทำไม้จำนวนไม่ใช่ว่าไม้จำนวนไม่ดี ดีแต่มันต้องใช้พื้นที่เยอะซึ่งเราพื้นที่ค่อนข้างจำกัด แต่จริง ๆ เลี้ยงเพราะรักมากกว่า รายได้มันคือเหมือนกับเป็น “กำไร” ที่เราเลี้ยงดูมัน”

กวักมรกตดำ ด่างชมพู กระถางนี้ราคาขายก็เป็นแสน

ก้านส้ม ด่างขาว ด้วยความที่ว่าด่างขาวจะโตช้ามาก ไม่ค่อยมีใครมี ราคาของต้นนี้ก็เป็นแสนเหมือนกัน
ซื้อเพราะชอบ เลี้ยงเพราะรัก
แม้จะเพิ่งเข้ามาในวงการของ “ซื้อขายต้นไม้” ได้ไม่นานมากนัก แต่ทว่าก็มีความชอบและเริ่มศึกษาเรียนรู้เรื่องไม้มาก่อนหน้าบ้างแล้วมิ้นท์เล่าว่า ตนเองเป็นคนที่รักในอาชีพอิสระทำให้ขณะเดียวกันก็จะมีธุรกิจหลาย ๆ อย่างที่ทำควบคู่ด้วยก่อนหน้านี้มิ้นท์ทำธุรกิจอย่างอื่นและก็มีเลี้ยงไม้อยู่เล็ก ๆ น้อย ๆ แบบเหมือนกับสวยงามอะไรแบบนี้ค่ะ พอเหมือนกับว่าเรามาดูตรงนี้ว่าเอ้ยมันทำรายได้ ได้จริง ๆ นะ แล้วมันก็ทำรายได้ได้สูง มิ้นท์ก็ทั้งเลี้ยงและรักแล้วก็ทำจำนวนเพื่อที่จะแบ่งปัน เพื่อที่จะมีรายได้ในส่วนของการที่ ค่าน้ำค่าไฟ ค่าเลี้ยงดู อะไรแบบนี้ต่าง ๆ นานา” แล้วราคาบางทีมันก็ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงด้วย ถ้าสมมุติว่าไม้บางต้นเราซื้อมาในราคาสูงมากแล้วมันตาย เราก็จะรู้สึกดาวน์ เราก็คิดใจเขา-ใจเราอย่างลูกค้าซื้อต้นไม้ไป 1 ต้น ราคา1 แสนบาทแล้วเลี้ยงไปแล้วตาย ถ้าสมมุติว่าเรามีจำนวนอยู่เราสามารถให้เขาได้เลย เพราะเรามีจำนวนด้วยตัวเองถ้าต้นไม้ต้นนั้นมันหลุดทุนไปแล้ว การทำต้นไม้มันมีหลายอย่างมากมีทั้ง connection มีทั้งสังคมและมิตรภาพดี ๆ มันมีข้อดีเยอะมาก“คือถ้าคนที่ทำต้นไม้แล้วอินกับมันเนี่ย จะเป็นคนใจเย็นจะใจเย็นลง เพราะว่าต้นไม้มันไม่ใช่ว่าซื้อมาวันนี้แล้วทำได้เลย นึกออกมั้ยคะ นอกจากว่าเป็นอีกแบบหนึ่งเป็น seller ที่แบบซื้อมาขายไปอะไรแบบเนี้ยค่ะ อันนี้เราพูดถึงคนเลี้ยงรักไม้ แล้วรัก แล้วขาย อะไรประมาณนี้ ก็จะมีความคิดที่คล้าย ๆ กันว่าเลี้ยงไปเรื่อย ๆ รดน้ำต้นไม้ ดูความเบ่งบาน ดูการแตกใบใหม่ว่าสวยมั้ย ดูว่ามันมีปัญหาอะไรมั้ย ทุกคนถ้าเลี้ยงไม้เพราะรักนะคะเขาจะดูทุก ๆ ใบที่แตกออกมา”




ไม้ราคาแพงสุดที่เคยซื้อเข้า และไม้ที่ขายได้ราคาสูงสุด
ไม้มันจะมีช่วงที่ราคาสูง สูงแบบโดดไปเลย แต่ว่าบางทีมันพลิกผันภายในไม่กี่เดือนหรือไม่กี่สัปดาห์ แบบราคามันลงฮวบเลยก็มี ซึ่งคนที่ซื้อไม้ก็จะรู้สึก fail ทำไมมันไม่เป็นไปอย่างที่คิดไว้! แต่ถ้าสำหรับตัวเองแล้วก็เคยซื้อไม้มาในราคาเป็นแสน อีกไม่กี่เดือนราคาลงมา หลักร้อยหรือหลักพัน! ก็จะมีวิธีคิดเพื่อรับมือกับมันอย่างเช่นว่า ไม่เป็นไร เราเลี้ยงไป เราดูความสวยงามของไม้ เราไม่ไปใส่ใจเรื่องว่ามันขาดทุนแล้ว ถ้าเราเลี้ยงแล้วมันเจริญเติบขึ้นมาอย่างน้อยวันหนึ่ง เราได้ทำได้ขายไปเรื่อย ๆ มันก็จะได้เงินในส่วนนั้นมาบ้าง สำหรับตนเองจะคิดแบบนี้และก็ให้กำลังใจกับคนที่ซื้อไปประมาณนี้ ว่าถ้าไม้มันไม่ตาย เราตัดแล้วทำขายไปเรื่อย ๆ อย่างเงี้ยแล้วพอวันหนึ่ง มันก็จะมีกำไรขึ้นมา




ที่ผ่านมาเคยซื้อไม้ราคาแพงสุดและเคยขายไม้ตัวไหนที่ได้ราคาสูงสุดจากสวนบ้าง 4 แสนที่เคยซื้อเข้าค่ะเมื่อก่อนนี้ เป็นบุษราคัมตระกูลเสน่ห์จันทร์ ต้นละ4 แสนแต่ถามว่าอย่างอันนี้ยกตัวอย่างนะคะ ไม่ได้อะไรเลยนะคะ แต่ได้ชื่นชมความสวยงาม(หัวเราะ) ไม่ได้ขาย แต่สำหรับมิ้นท์ก็คิดว่ามิ้นท์เอารายได้จากการแบ่งปันต้นไม้เนี่ยต้นอื่น ๆ ไปซื้อ ไม่ได้เอาเงินส่วนตัวที่เราเป็นเงินเก็บ จะต่อยอดเอาจากเงินขายต้นไม้ไปเรื่อย ๆ แต่ถ้าเรารู้สึกว่าเออเมื่อไหร่ที่มันจะต้องแบบลำบากเราแล้ว ตัดใจไม่เอาดีกว่า อะไรแบบนี้ค่ะแต่ถ้ามันยังอยู่ในแดนบวกอยู่เราก็คิดว่า เราซื้อดีกว่าชอบ ชอบก็ซื้อ”เป็นคนที่ซื้อของง่ายมากไม่ใช่เพราะว่า มีเงินหรืออะไรแต่ว่าเป็นเพราะว่า เรารู้สึกว่าเรารักแล้วเราซื้อเราก็ดูคนขาย เราได้ contact ได้ connection ได้ความรู้สึกดี ๆ อันนี้ก้เป็นส่วนหนึ่งของการตัดสินใจซื้อต้นไม้แต่ละครั้งด้วย ส่วนไม้ที่เคยขายแล้วราคาได้ค่อนข้างสูงมิ้นท์บอกว่า ฟิโลเดนดรอน แม็คคาดินัล นัมเบอร์วัน ราคาประมาณ 3 แสน ใช้เวลาเลี้ยงนานอยู่พอควรเหมือนกันหลายเดือน ตัดมา 1 ครั้ง ซึ่งจริง ๆ ต้นนั้นก็ทุนสูงเหมือนกัน


หลักในการเลือกซื้อต้นไม้
“มิ้นท์ก็มีกฎของมิ้นท์ในการซื้อต้นไม้ เวลาซื้อต้นไม้เนี่ยมิ้นท์จะดูสมมุติว่า ไม้ต้นนั้น ในตลาดมันยังมีน้อยอยู่ แต่คนขายคนนั้นเขามีสมมุติว่า เขามี 2 ต้น มิ้นท์จะซื้อ 2 ต้นเลย มิ้นท์เอา 1 ต้นขายบวกกำไรนิดหน่อย เพื่อให้อีก 1 ต้นที่เราเลี้ยง ทุนมันลดลงมันก็จะทำให้ ทุนของต้นที่เราเลี้ยงมันลดลงเราก็ค่อยทำขายไปเรื่อย ๆ อะไรเงี้ยค่ะ มันก็ประกอบกันนะคะเลี้ยงเพราะรักด้วย และก็มีเรื่องของผลกำไร มีอะไรแบบนี้”อย่างกรณีของไม้ที่ไม่ได้มีแค่ต้นเดียว หรือว่าไม้ที่หายากจริง ๆ ก็จะใช้วิธีเช็คราคาหลาย ๆ ที่ ถ้าสมมุติจะซื้อมาสะสมหรือมาทำคือต้องเช็คราคาหลาย ๆ ที่ว่า เราควรซื้อที่ไหน ที่มันจะสามารถคุ้มค่ากับเราด้วย เพราะว่าก็คงไม่มีใครที่อยากซื้อมาแล้วขาดทุน ถ้าเราชอบต้นนั้นจริง ๆ ก็จะแบบค่อนข้างเลือกนิดหนึ่งว่าโอเคซื้อกับใครดี ซื้อต้นไหนดีนะ อะไรแบบนี้“อย่างเมื่อก่อนเขานับเป็นใบ นับเป็นข้อมันเพราะว่า 1 ใบมันคือ 1 ตา(1 ตา: งอกได้ 1 ต้น) อย่างมิ้นท์ก็จะมีวิธีคิดสมมุติว่าร้านนี้ขายของ คือขายต้นไม้เหมือนกันเลยราคาเท่ากันเลย 2 ร้าน แต่ร้านหนึ่งมี 7 ใบอีกร้านหนึ่งมี 5 ใบ มิ้นท์ก็ต้องเลือกร้านที่มีใบเยอะกว่า เพราะว่ามันมีข้อมากกว่า ในราคาเท่ากัน”

แต่ถ้าถามว่ามีหลักในการเลือกซื้อต้นไม้อย่างไรบ้าง ดูยังไงว่าไม้ตัวไหนที่กำลังจะมาในตลาด มิ้นท์บอกว่าเอาจริง ๆ เลยคือชอบก็ซื้อเลย! เอาความชอบเป็นหลักแต่ว่าก็เคยมีพี่คนหนึ่งเขาพูดว่า มิ้นท์เป็นคนที่เลือกไม้เก่ง เป็นคนที่เหมือนกับว่า(เพราะมิ้นท์เป็นคนช่างเลือกด้วย) คืออย่างถ้าต้นนี้มิ้นท์มองว่า สวย! คนอื่นก็ต้องมองว่าสวย “เรารู้สึกดีนะคะที่ว่าเราชอบอันเนี้ย แล้วเรามองว่าอันเนี้ยสวย คนอื่นก็มองว่าสวยและก็บางครั้งอย่างเงี้ยค่ะ มิ้นท์ไม่ได้พูดว่าตัวเองเป็นแบบเป็นผู้นำแต่จะซื้อตามความรู้สึก(ชอบ) ของตนเองมากกว่า มิ้นท์แทบจะไม่ซื้อตามใครเลยนะ ใครบอกว่าอันโน้นอันนี้แบบกำลังมาอย่างเงี้ย ให้เขาซื้อกันเลยเรารู้สึกว่าเราอยู่เฉย ๆ ไม่ซื้อไม่อะไร อย่างมอนสเตอร่าที่มิ้นท์แทบจะไม่มีเลยนะคะ ถามว่าสวยมั้ยมันก็สวยค่ะแต่ว่าสำหรับมิ้นท์ก็ซื้อมาแค่ตกแต่งสวนแค่นั้น ยังไม่ได้ถึงขั้นว่าซื้อมาทำอะไรเงี้ยเพราะว่า ส่วนใหญ่มิ้นท์จะชอบอะโลคาเซีย ฟิโลเดนดรอน อะไรอย่างเงี้ยมากกว่า ที่เรารู้สึกว่าเราชอบนะคะ แล้วก็จะมีเฟินบ้างเล็กน้อย คือจริง ๆ เลี้ยงไม้ค่อนข้างหลากหลายเลย แต่ว่าถ้าตัวที่เราคิดว่าซื้อมาเพื่อที่จะทำกำไรอะไรเงี้ย มันก็จะเป็นตัวที่ตลาดมีความต้องการบ้าง”


“โอกาส” จากตลาดซื้อขายไม้ยังมีให้สำหรับ “มือใหม่”
มิ้นท์บอกด้วยว่า สำหรับตนเองแล้วช่องทางการตลาดที่ใช้สื่อสารกับลูกค้าส่วนใหญ่เป็นเฟซบุคเท่านั้นเลย แล้วก็มีลงในไอจีบ้างแต่ว่ามิ้นท์ไม่ค่อยได้ขายในช่องทางนี้สักเท่าไร อาจจะเป็นเพราะว่ายุ่ง ๆ ด้วยแต่ว่าก็จะมีอย่างหลาย ๆ คนเขาโพสต์ขายในไอจี เขาขายดีมาก ขายต่างชาติซึ่งลูกค้าต่างชาติจะมาทางไอจีเยอะ“เราก็ยินดีนะบางทีมีคนมาขอรูปเราไปลงอย่างเงี้ยค่ะ เขาขายได้เขาก็มาซื้อเรา เราก็ยินดี ใช่ค่ะ” แต่ส่วนใหญ่จะเน้นเป็น FB เลยมีทั้งส่วนตัวคือ Natchapat Archawan และของสวนก็จะเป็น Jellyfish Garden-สวนแมงกะพรุน


สภาพการณ์ซื้อขายต้นไม้ในตลาดตอนนี้เป็นอย่างไรบ้าง?“มิ้นท์ว่าตลาดต้นไม้ตอนนี้ “ราคา” ค่อนข้างที่จะคงที่ มิ้นท์รู้สึกว่าสำหรับคนที่เข้ามาใหม่ก็ยังน่าลงทุนอยู่นะคะ เพราะว่าต่างชาติเขามองเห็นความสวยงามของต้นไม้ของประเทศเรา แล้วเขาก็มองถึง “โอกาส” ธุรกิจต่าง ๆ นานาที่ว่า นำเข้า-ส่งออกจากประเทศไทยไปเนี่ย มันก็ไปขายที่ประเทศเขาได้เพราะว่าของเขาอาจจะไม่มี ประเทศไทยเลี้ยงไม้กลุ่มนี้ได้ดี ธุรกิจต้นไม้ของประเทศไทยเนี่ยดีมากเลยนะคะ เพราะว่ามันเหมือนกับว่าเราทำไม้กันหลากหลายและก็เรื่อง “สายพันธุ์” ของไม้ ประเทศไทยเนี่ยค่อนข้างที่จะหลากหลายเพราะทั้งเพาะพันธุ์เอง ทั้งผสมต่าง ๆ นานา อย่างเงี้ยค่ะ มันทำให้หลาย ๆ ประเทศที่เคยมีหน้าร้านที่จตุจักร ลูกค้าต่างชาติเนี่ยเดินกันทุกอาทิตย์เลยนะคะตลาดต้นไม้เขาจะมี วันอังคาร พุธ พฤหัสฯ เนี่ยต่างชาติจะมาเดินเยอะมากเลย เพราะว่าของไทยเราเนี่ยค่อนข้างที่จะมีไม้หลากหลายมาก ๆ”


สนใจเยี่ยมชมสวนหรือซื้อต้นไม้ติดต่อได้ที่ 092-663-6498 หรือติดตามผลงานได้ทาง FB : Jellyfish Garden-สวนแมงกะพรุน และเร็ว ๆ นี้จะมีงาน Bangkok International Exotic Plants Show & Sale “SUMMER” จัดขึ้นที่เซ็นทรัลพลาซ่า แจ้งวัฒนะ ระหว่างวันที่ 23-25 มิ.ย.นี้ พบกับสวนแมงกะพรุนและสวนไม้แรร์ ไม้เอ็กโซติก-ไม้หายาก อื่น ๆ อีกมากมาย

* * * คลิก Like เพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า "SMEsผู้จัดการ" รับข่าวสารในแวดวงธุรกิจเอสเอ็มอีที่สมบูรณ์แบบที่สุด* * *


กำลังโหลดความคิดเห็น