xs
xsm
sm
md
lg

finbiz by ttb แนะ SME วางแผนกู้ เพิ่มสภาพคล่อง สร้างการต่อรองให้ธุรกิจ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



เมื่อกล่าวถึงการวางแผนการกู้ หรือการบริหารสินเชื่อ เป็นอีกกลยุทธ์หนึ่งที่หากบริหารหนี้ได้ดี ย่อมทำให้มีประโยชน์ สร้างโอกาสและความได้เปรียบให้ธุรกิจได้มากกว่าแค่เรื่องตัวเงิน finbiz by ttb ขอเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับสินเชื่อ 3 เรื่อง ที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการ SME มีแนวทางในการบริหารหนี้สิน


1. ประโยชน์ของ “การกู้” มีมากกว่าเรื่อง “เงิน”

1) การกู้ คือ โอกาส “สร้างกำไร” เปรียบเทียบให้เห็นภาพ ถ้าบริษัทใช้กำไรในการลงทุนด้านธุรกิจต่าง ๆ บริษัทจะเสียเวลาในการสร้างกำไรเพื่อไปลงทุน ในขณะที่กำไรที่สะสมก็จะลดลงเรื่อย ๆ แต่หากใช้การกู้เข้ามาช่วย จะลดเวลาในการสะสมกำไรได้มากขึ้น และยังคงเก็บกำไรไว้เพื่อเสริมสภาพคล่องได้อีกด้วย ในขณะที่การกู้เพื่อมาลงทุนจะช่วยให้บริษัทมีเงินมากพอก็จะมีอำนาจต่อรอง เพื่อให้ได้กำไรที่มากขึ้น

2) การกู้ ช่วย “ลดภาษี” การกู้นั้น ต้องกู้อย่างมีการวางแผน การกู้ที่ดีนั้น ต้องไม่ใช่ “การกู้เมื่อต้องใช้” แต่ต้องเป็น “การวางแผน กู้เพื่อใช้” ต้องวางแผนเพื่อดำเนินการและคิดเผื่อในส่วนของงบการเงิน โดยประโยชน์ที่จะได้รับจากการกู้เงินคือ การใช้อัตราส่วนที่ต้องจ่ายดอกเบี้ยไปลงเป็นรายจ่ายบริษัททางบัญชี เพื่อให้โดยรวมแล้วช่วยลดภาษีทางธุรกิจลงได้

3) กู้เพื่อ “สร้างความพร้อม” สำหรับโอกาสในอนาคต “เงินทุน” เป็นสิ่งจำเป็นที่จะทำให้บริษัทพร้อมตอบรับโอกาสใหม่ ๆ ที่อาจไม่รู้มาก่อนล่วงหน้า ดังนั้นในทุก ๆ ปีแต่ละบริษัทต้องวางแผนเผื่อส่วนเติบโต การเผื่อให้บริษัทสามารถรองรับโอกาสใหญ่ได้จึงต้องวางแผนในส่วนของการใช้เงินกู้เข้ามาช่วย และข้อดีในส่วนนี้คือ สามารถคิดถึงโอกาสขนาดเล็กหรือใหญ่ก็ได้ แบบไร้ข้อจำกัดทางความคิด ซึ่งเป็นผลดีในการต่อยอดให้เกิดการเติบโตของธุรกิจได้

4) กู้เพื่อ “การกระจายความเสี่ยง” ในการลงทุน ต้นทุนทางการเงินของบริษัทนั้นต้องบริหารความเสี่ยง โดยเพิ่มการลงทุนผ่านช่องทางต่าง ๆ ที่มีผลประโยชน์สูงสุดในแต่ละจังหวะเวลา ดังนั้นจึงมีบริษัทไม่น้อยที่จะกู้เงินมาเพิ่มเพื่อหมุนเวียนใช้ในบริษัท และนำเงินบางส่วนไปลงทุนต่อยอดแหล่งอื่น เพื่อลดความเสี่ยงที่หากบริษัทหลักสะดุด ก็ยังคงมีแหล่งรายได้อื่น ๆ ได้


อย่างไรก็ตาม SME ควรคำนึงถึง การกู้เงินอย่างเหมาะสม โดยไม่มีสัดส่วนหนี้มากกว่าสินทรัพย์ ไม่เกินตัว มีวัตถุประสงค์ในการใช้ชัดเจน ไม่ใช่กู้มาเพื่อต้องการสร้างเครดิตและความน่าเชื่อถือเพียงอย่างเดียว แต่เป็นแหล่งเงินทุนที่เหมาะสมและเพียงพอ เพื่อให้ขยายธุรกิจได้เต็มศักยภาพ


2. เปลี่ยน “ผ่อนหนัก” เป็น “ผ่อนเบา” …ได้วงเงินเพิ่มเติมบนสินทรัพย์เดิม ด้วยการ “รีไฟแนนซ์”

เทคนิคของการรีไฟแนนซ์ จะมาช่วยลดภาระต่อเดือนให้ลดลง ทำให้ในแต่ละเดือนมีสภาพคล่องมากขึ้น และยังสามารถได้วงเงินเพิ่มจากสินทรัพย์เดิมอีกด้วย

1) ลดภาระในแต่ละเดือน ทำให้มีสภาพคล่องมากขึ้น การกู้ยืมเงินจะช่วยเพิ่มโอกาสให้กิจการเติบโตได้อย่างรวดเร็ว แต่ถ้าการกู้นั้นเริ่มเป็นภาระในแต่ละเดือนมากกว่าโอกาสที่ได้รับ ปัญหาเหล่านี้ สามารถแบ่งเบาลงได้ ด้วยการรีไฟแนนซ์ เพราะการรีไฟแนนซ์จะช่วยให้เงินที่ต้องผ่อนต่อเดือนลดลง ด้วยการยืดระยะเวลาในการผ่อนให้นานขึ้น จึงเป็นการลดภาระต่อเดือน ธุรกิจสามารถได้ประโยชน์จากส่วนต่างของเงินที่ต้องผ่อนแบบเดิม และแบบใหม่ โดยนำเงินก้อนนั้นไปใช้ในส่วนอื่น ๆ ของธุรกิจได้ ไม่ว่าจะเป็น เงินทุนหมุนเวียน หรือเก็บสะสมเพื่อเป็นเงินทุน สำหรับการลงทุนในอนาคต

2) โอกาสได้วงเงินเพิ่มจากสินทรัพย์เดิม รีไฟแนนซ์ก็เป็นอีกหนึ่งช่องทาง ที่สามารถทำให้ผู้ประกอบการได้วงเงินที่สูงขึ้น โดยมูลค่าของสินทรัพย์เดิมอาจเพิ่มขึ้นได้ตามกาลเวลา เช่น ที่ดิน หรือผู้ประกอบการอาจเปลี่ยนสินทรัพย์ที่มีมูลค่าสูงกว่า มาเป็นหลักประกันแทนก็ได้

แม้ว่าการรีไฟแนนซ์สินเชื่อจะมีคุณประโยชน์ตามที่ยกมาข้างต้น แต่ก็พอมีข้อเสียอยู่บ้าง เช่น เสียเวลา เสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ และมีความยุ่งยากในการเตรียมเอกสาร

3. เลือกสถาบันทางการเงินที่เข้าใจจะ “ได้” มากกว่าสินเชื่อ

เมื่อผู้ประกอบเห็นประโยชน์จากรีไฟแนนซ์แล้ว การรีไฟแนนซ์กับสถาบันทางการเงินที่เข้าใจธุรกิจก็เป็นสิ่งที่สำคัญ ควรเลือกธนาคารที่เข้าใจลักษณะธุรกิจ เป็นพันธมิตรที่ตระหนักว่าความต้องการของแต่ละธุรกิจมีความแตกต่างกัน ทั้งในเรื่องลักษณะของวงเงิน จำนวนวงเงิน ระยะเวลาการกู้ จำนวนเงินที่ต้องผ่อนชำระ และจะต้องสามารถให้คำปรึกษาแบบองค์รวม พร้อมสนับสนุนเอสเอ็มอีให้ได้รับวงเงินที่เหมาะสมและเพียงพอ เพื่อให้ธุรกิจมีสภาพคล่องและสามารขยายกิจการได้เมื่อโอกาสมาถึง

finbiz by ttb โครงการเสริมความรู้ธุรกิจ

“ครบ จบในที่เดียว ปรับใช้ได้ง่าย ต่อยอดได้จริง”

ผ่านหลากหลายแพลตฟอร์ม พร้อมองค์ความรู้ครบครัน จากพันธมิตรชั้นนำทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน เพื่อให้ธุรกิจรับมือกับความเปลี่ยนแปลง พร้อมปรับตัวในยุคดิจิทัลและเติบโตอย่างยั่งยืน

คลิก https://www.ttbbank.com/th/finbiz


กำลังโหลดความคิดเห็น