สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดโอกาสทางธุรกิจให้ผู้ประกอบการเอสเมอีได้เข้าผ่านโครงการพัฒนาและยกระดับคลัสเตอร์ต้นแบบสู่ความเป็นเลิศ หรือ SME CLUSTER IDOL โดยชู 3 คลัสเตอร์ต้นแบบได้แก่ การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ Wellness Tourism อาหารในอนาคต Future Food และกลุ่มธุรกิจน้องใหม่อย่าง E-Sport ตลอดจนธุรกิจดิจิทัล อีโคโนมี เพื่อเฟ้นหาผู้ประกอบการที่มีศักยภาพและพร้อมเติบโตได้อย่างยั่งยืน รวมถึงสามารถสร้างเคลือข่ายที่แข็งแกร่งในคลัสเตอร์อนาคตได้
นายวชิระ แก้วกอ รองผู้อำนวยการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) กล่าวว่า หลังจากวิกฤติการณ์โควิดได้คลี่คลายลง ผู้คนปรับตัวทำให้เกิดวิถีชีวิตรูปแบบใหม่ หรือ New Normal รูปแบบธุรกิจใหม่จึงได้กำเนิดขึ้นและพัฒนาอย่างรวดเร็ว และ สสว. ในฐานะ หน่วยงานหลักในการส่งเสริม สนับสนุน และผลักดันผู้ประกอบการในประเทศไทย จึงเล็งเห็นถึงศักยภาพและการเติบโตอย่างต่อเนื่องใน 3 กลุ่มธุรกิจสำคัญ ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Wellness Tourism) อาหารอนาคต (Future Food) และการเติบโตอย่างก้าวกระโดดในกลุ่มธุรกิจใหม่อย่าง E-Sport ตลอดจนธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับดิจิทัล อีโคโนมี ซึ่งถือเป็นกลุ่มธุรกิจแห่งอนาคตหลังวิกฤติการณ์โควิด-19 และเพื่อให้ผู้ประกอบการณ์ขนาดกลางและขนาดย่อมในกลุ่มธุรกิจดังกล่าวสามารถเติบโต จึงเกิดเป็นโครงการพัฒนาและยกระดับคลัสเตอร์ต้นแบบสู่ความเป็นเลิศ เพื่อเฟ้นหาผู้ประกอบการและสร้างเครือข่ายคลัสเตอร์เป็นต้นแบบในการดำเนินธุรกิจให้เกิดความร่วมมือทางธุรกิจอย่างแข็งแรง
ทั้งนี้ คลัสเตอร์ทั้ง 3 ได้แก่ การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ อาหารอนาคต และ อีสปอร์ตกับธุรกิจดิจิทัล เป็นกลุ่มเป็นอุตสาหกรรมที่สอดคล้องกับภาพยุทธศาสตร์ใหญ่ในการขับเคลื่อนประเทศ ทั้งการท่องเที่ยวที่เป็นรายได้สำคัญ ที่ถึงแม้ว่าปัจจุบันวิกฤติการณ์โควิด-19 จะบรรเทาความรุนแรงลงแล้ว แต่รูปแบบการท่องเที่ยวอาจไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป จึงกลายเป็นโอกาสของตลาดดาวรุ่งอย่าง การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่เติบโตเฉลี่ยสูงถึง 13% ต่อปี ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา
ในขณะที่ธุรกิจอาหารในอนาคต หรือ Future Food ที่เกิดขึ้นจากกระแสจำนวนประชากรโลกที่เพิ่มสูงขึ้น ภายใต้ทรัพยากรณ์มีอยู่อย่างจำกัดประกอบกับวิกฤติการณ์โควิดที่ผ่านมา ทำให้ผู้คนใส่ใจเรื่องอาหารการกินเป็นอย่างมาก ซึ่งสอดคล้องกับจุดยืนของประเทศไทย ในฐานะครัวของโลกนั้น ที่มีความโดดเด่นในการส่งออกอาหารเติบโตสวนกระแสมากถึง 44 % ในปีที่ผ่านมา ทำให้การใช้จุดแข็งในเวทีโลกนี้ผสานกับความต้องการของตลาด สามารถสร้างอนาคตให้กับเศรษฐกิจในคลัสเตอร์นี้ได้
นอกจากนี้คลัสเตอร์ E-Sport และ Digital Economy กลายเป็นอุตสาหกรรมแห่งอนาคตที่ได้รับความนิยมสูงขึ้นและเติบโตอย่างรวดเร็วขึ้นอย่างร้อนแรง ภายใต้สถานการณ์ Digital Disruption ซึ่งเกิดจากปัจจัยด้านเทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างรวดเร็ว โดยปัจจุบันประเทศไทยมีจำนวนผู้ชม E-Sport กว่า 5.5 ล้านคน และตัวเลขในประเทศไทยบ่งชี้ว่า คลัสเตอร์นี้เติบโตเฉลี่ยสูงถึง 20% ต่อปี ในช่วงตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา
“การพัฒนาคลัสเตอร์ที่เป็นยุทธศาสตร์สำคัญครั้งนี้ สสว. ได้ผนึกกำลังกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขยายศักยภาพให้กับผู้ประกอบการทั่วประเทศในคลัสเตอร์ ได้เข้าร่วมอบรม สร้างสายสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ประกอบการท่านอื่น พร้อมพัฒนาธุรกิจ และกิจกรรมดูงาน เพื่อยกระดับชุมชนของคลัสเตอร์และขยายศักยภาพ” นายวชิระกล่าว
นางสาวอรพรรณ คงมาลัย หัวหน้าโครงการมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า โครงการพัฒนาและยกระดับคลัสเตอร์ต้นแบบสู่ความเป็นเลิศ เป็นโอกาสดีที่จะใช้เป็นประตูสำหรับผู้ประกอบการทั้ง 3 คลัสเตอร์ที่จะได้รับประโยชน์จากการเชื่อมต่อเครือข่ายผู้ประกอบการ ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ธุรกิจ โรงแรม ร้านอาหาร สปา คลินิก สำหรับคลัสเตอร์ Wellness tourism ขณะที่คลัสเตอร์ Future Food ครอบคลุมผู้ประกอบการในกลุ่ม อาหารเสริมสุขภาพอาหารทางการแพทย์ อาหารอินทรีย์ อาหารที่ผลิตขึ้นมาใหม่ทางนวัตกรรม และ คลัสเตอร์ E-Sport & Digital Economy ครอบคลุมธุรกิจ สตูดิโอผู้ผลิตเกม ดิจิทัลคอนเทนต์ เอเจนซี่ ไปจนถึง บริษัทด้านเทคโนโลยี เกม แคสเตอร์และอินฟูลเอนเซอร์ ซึ่งผู้ประกอบการสามารถเข้าร่วมโครงการได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด และเป็นการเปิดโอกาสครั้งสำคัญของธุรกิจที่จะเชื่อมโยงตัวเองเข้าสู่เครือข่ายในสายพานการผลิต (Supply Chain) เดียวกันที่พลาดไม่ได้เป็นอย่างยิ่ง
นอกจากนี้แนวคิดในการพัฒนาโครงการฯ นั้นจะถูกแบบออกเป็น 3 ส่วนด้วยกัน ได้แก่ รู้เร็ว รู้รอบ และรู้ลึก โดยในส่วนแรก รู้เร็ว นั้นจะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถด้วยการนำผู้ประกอบการไปดูงานและถอดรหัสความสำเร็จในแต่ละธุรกิจว่าในธุรกิจนั้นๆ มีกลไกการทำงานอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ โดยคลัสเตอร์กลุ่มธุรกิจการท่องเที่ยวทางโครงการได้มีการนำพาผู้ประกอบการไปศึกษาคือ แอร์เอเชีย อะคาเดมี่ ซึ่งเป็นธุรกิจที่เป็นอันดับต้นๆ ในเรื่องของการรักษามาตรฐานการให้บริการภายใต้การจัดการต้นทุนที่มีประสิทธิภาพ กลุ่มอีสปอร์ตและดิจิทัล อีโคโนมี่ ทางโครงการจะพาผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไปเปิดโลกที่อีสปอร์ตการีน่า ซึ่งเป็นผู้นำด้านธุรกิจอีสปอร์ตของประเทศไทย พร้อมทั้งไขรหัสความสำเร็จสำหรับผู้ประกอบกที่ต้องการทำธุรกิจในกลุ่มนี้ให้สำเร็จและเติบโต กลุ่มสุดท้ายคือกลุ่มอาหารในอนาคต ทางโครงการจะพาผู้ประกอบการไปอัปเดตเทคโนโลยีใหม่ๆ ผ่านการศึกษาดูงานที่โรงงานการผลิตที่คุณภาพมาตรฐานโรงงานระดับประเทศ
ส่วนที่สอง รู้รอบ ทางโครงการจะทำการเชื่อมโยงผู้ประกอบการให้เชื่อมโยงกับทางคลัสเตอร์ตั้งแต่ ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ พร้อมทั้งแชร์ประสบการณ์ต่างๆ ทั้งในเรื่องของการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีต่าง เช่น นวัตกรรมกากรตลาดเข้ามาพัฒนาศักยภาพธุรกิจให้กับกลุ่มคลัสเตอร์เพื่อนำความรู้ไปพัฒนาและต่อยอดธุรกิจของตนเองได้
ส่วนที่สาม รู้ลึก ทางโครงการจะให้ผู้ประกอบการรู้ลึกในกิจการของผู้ประกอบการเอง โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากทางมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และเคลือข่ายนักธุรกิจที่ทำงานร่วมกับทางโครงการมาอย่างช้านาน ซึ่งจะมีการให้คำปรึกษาในเชิงลึกกับผู้ประกอบการ โดยเบื้องต้นจะมีทั้งหมด 4 เรื่อง ได้แก่ 1.เรื่องการตลาด 2.การปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร 3.การพัฒนาและต่อยอดกลยุทธ์ และ 4.พาผู้ประกอบการเข้าสู่เครื่องมือดิจิทัล
นอกจากนี้ยังมีนวัตกรรมที่นำมาแก้ปัญหาให้ผู้ประกอบการด้วยการพัฒนาแพลตฟอร์ม Thailand Cluster Platform ซึ่งในอนาคตผู้ประกอบถ้าหากต้องการทำธุรกิจที่อยู่ในคลัสเตอร์ทั้ง 3 กลุ่มก็สามารถเข้าถึงแพลตฟอร์มดังกล่าวได้ โดยถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อรองรับและเป็นพื้นที่สำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มที่สนใจและต้องหารพัฒนาทั้งในเรื่องของงานวิจัย การจับคู่ธุรกิจ หาความรู้เพื่อต่อยอดธุรกิจ นวัตกรรมและแหล่งเงินทุน ปัจจุบันได้มีการกำหนดผู้ประกอบการที่จะเข้าร่วมเอาไว้ประมาณ 150 ราย คลัสเตอร์ละ 50 ราย นอกจากนี้คุณสมบัติสำหรับผู้ประกอบการที่จะเข้าร่วมนั้นจะต้องเป็นผู้ประกอบที่อยู่ในธุรกิจนั้นๆ มาแล้วอย่างน้อย 2 ปี และมีความมุ่งมั่นที่จะเข้าร่วมโครงการฯ ได้ครบตลอดโครงการ รวมถึงมีศักยภาพในการเติบโตและขยายธุรกิจได้
ทั้งนี้ผู้ประกอบการคลัสเตอร์ในกลุ่มอีสปอร์ตนั้นทางโครงการฯ มีการวางแผนพัฒนาและผลักดันผู้ประกอบการที่เข้าร่วมให้เติบโตทั้งในระดับประเทศและภูมิภาค ซึ่งทางโครงการฯ ได้มีการทำงานร่วมกันกับประเทศญี่ปุ่น รวมถึงจะผลักดันให้ผู้ประกอบการกลุ่มอีสปอร์ตได้มีพื้นที่มาโลดแล่นพัฒนาศักยภาพได้มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ในช่วงท้ายโครงการทางโครงการได้มีการวางแผนจำลองการแข่งขันอีสปอร์ตขึ้นมาโดยจะมีบูธของผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องในธุรกิจอีสปอร์ตและได้มีการโชว์เคสพร้อมกับเสวนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ได้เพื่อส่งต่อความรู้ให้กับผู้ประกอบการรายอื่นได้นำไปพัฒนาในธุรกิจของตนเอง
สำหรับผู้ประกอบการคลัสเตอร์กลุ่มธุรกิจการท่องเที่ยวและโรงแรมนั้นเมื่อผ่านช่วงสถานการณ์โควิด-19 มาทางโครงการมีความต้องการที่จะผลักดันและฟื้นฟูธุรกิจเหล่านี้โดยการเติมในส่วนของเทคโนโลยีให้กับผู้ประกอบการได้นำไปพัฒนาและต่อยอดธุรกิจ รวมถึงปรับตัวได้เร็วหลังจากกลับมาฟื้นตัว
อย่างไรก็ตามโครงการพัฒนาและยกระดับคลัสเตอร์ต้นแบบสู่ความเป็นเลิศ มีกำหนดการรับสมัครผู้ประกอบการ ตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2566 โดยผู้สนใจสามารถสมัครและติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหวของโครงการได้ที่
Facebook : SME Cluster Idol
สอบถามเพิ่มเติม
โทร. 084-146-3946 (คุณสุมิตรา สำหรับคลัสเตอร์ Wellness Tourism & E-Sports)
และ 091-817-6352 (คุณลดาวัลย์ สำหรับคลัสเตอร์ Future Food)
* * * คลิก Like เพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า "SMEsผู้จัดการ" รับข่าวสารในแวดวงธุรกิจเอสเอ็มอีที่สมบูรณ์แบบที่สุด* * *