xs
xsm
sm
md
lg

ดีพร้อม ปั้นธุรกิจเกษตรยุคใหม่สำเร็จ ปูทางหนุนตลาดเกษตรไทย รองรับตลาดโลก

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือดีพร้อม ร่วมกับ ม.ธรรมศาสตร์ - SCB SME-WOODY WORLD ประกาศความสำเร็จ DIPROM AgriBiz Scale Up ปั้น 50 นักธุรกิจเกษตรยุคใหม่ เพื่อพัฒนาและยกระดับธุรกิจ พร้อมเพิ่มขีดความสามารถรองรับการแข่งขันสู่ตลาดระดับโลกด้วยความแข็งแกร่งบนแนวทางเกษตรวิถีใหม่


นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือดีพร้อม เปิดเผยว่า จากการดำเนินโครงการ DIPROM AgriBiz Scale Up ตลอดระยะเวลากว่า 2 เดือน (สิงหาคม-กันยายน 2565) เป็นการบ่มเพาะและเสริมแกร่งศักยภาพสู่การปั้นนักธุรกิจเกษตรยุคใหม่ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยมีพันธมิตรจากภาคการศึกษา ภาคธุรกิจ ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กับโครงการ 88 SANDBOX: Startup Ecosystem พื้นที่แห่งโอกาสในการบ่มเพาะผู้ประกอบการธุรกิจสตาร์ทอัพ และ SCB SME พร้อมด้วย WOODY WORLD เพื่อร่วมกันสร้างและขยายธุรกิจ ให้เติบโต 10X และเพิ่มโอกาสในการขยายต่อยอดไปสู่การทำตลาดต่างประเทศต่อไป

นับเป็นอีกก้าวของความสำเร็จของโครงการฯ ซึ่งได้สร้างและขยายธุรกิจเอสเอ็มอี (Scale Up SME) ด้านการเกษตรให้เติบโตและยังเป็นการเพิ่มโอกาสในการขยายต่อยอดไปสู่การทำตลาดต่างประเทศ สำหรับนักธุรกิจเกษตรรุ่นใหม่ ที่ได้เข้าร่วมโครงการฯ โดยมีผู้ให้ความสนใจเข้าร่วมโครงการจำนวนมาก และมีผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการกว่า 50 ธุรกิจ ได้รับการบ่มเพาะและนำเสนอผลงานที่โดดเด่นถึง 12 ผลงาน จาก 16 บริษัท ซึ่งผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศ 3 ราย ดังนี้

1.นายกิตติศักดิ์ พิพัฒน์คณาพรบริษัท ไทย เบสท์ โปรดักส์ โฮลดิ้ง จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายผลไม้และผักสดไทย ไปทั่วโลก

2. นายกนกพงษ์ พงษ์ธรรมรักษ์ ธุรกิจแพลทฟอร์มนำตลาดสดสู่ออนไลน์ (Fresh Market Transformation Platform)

3. นายอัคคภพ จันทรศรีวงศ์บริษัท NGM-X ผู้ผลิตถุงพลาสติก

นายอัคคภพ จันทรศรีวงศ์บริษัท NGM-X ผู้ผลิตถุงพลาสติก
ทั้งนี้มีผู้สนใจสมัครเข้าร่วมทั้งหมด 164 กิจการ และมีผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าสู่กระบวนการพัฒนาศักยภาพในโครงการจำนวน 50 กิจการ ซึ่งได้รับการอบรมในหัวข้อต่าง ๆ อาทิ การปรับแนวคิดให้เป็น Global Mindset เสริมทักษะการพูดและพัฒนา Public Speaking Skills การวางแผนกลยุทธ์ทำ Brand Story telling ให้ทรงพลัง การศึกษารูปแบบธุรกิจยุคใหม่ การหาแหล่งเงินทุน การระดมทุน การเจรจาถ่ายทอดให้นักลงทุนสนใจได้อย่างมีประสิทธิภาพได้ครบทุกมิติ ทั้งนี้ผู้ประกอบการทั้ง 50 กิจการ ที่ได้รับพัฒนาและยกระดับธุรกิจให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันจะมีความพร้อมก้าวสู่ระดับโลกด้วยความแข็งแกร่งบนแนวทางเกษตรวิถีใหม่


“โดยภาพรวมผลลัพธ์ของผู้ประกอบการทั้ง 50 ธุรกิจ ที่เข้าร่วมโครงการ DIPROM AgriBiz Scale Up ทำให้เกิดความร่วมมือระหว่างบริษัทในการสร้างโมเดลธุรกิจใหม่ ๆ เปลี่ยนมายด์เซ็ทให้ผู้เรียนออกจากคอมฟอร์ทโซน พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรม นำประสบการณ์ไปคิดต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ เพิ่มมูลค่าภาคเกษตรไทย นอกจากนี้ ยังได้รับความรู้จากภาคธุรกิจในภาคปฏิบัติและยังเชื่อมโยงกับกลุ่ม Start up Mentor และ Venture Capital ชั้นนำของประเทศไทย เพื่อสร้าง Disruptive Business Model พร้อมหลักสูตรการเรียนรู้ที่ออกแบบมาให้ตอบโจทย์ธุรกิจเพื่อให้เกิดการเติบโตและเพิ่มโอกาสในการขยายต่อยอดไปสู่การทำตลาดต่างประเทศ โดยปัจจุบันข้อมูล จากกลุ่มบริการส่งออกสินค้าเกษตร กรมวิชาการเกษตร รายงานว่าใน 5 เดือนแรกของปี 2565 (ม.ค.-พ.ค.) มียอดการส่งออกแล้วกว่า 15.27 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 469,178.78 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 28.57% เทียบกับช่วงเดียวกันของ ปี 2564 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นของประเทศคู่ค้าในการตรวจสอบคุณภาพการผลิตสินค้าพืชของประเทศไทย ตอกย้ำให้เห็นถึงโอกาสและตลาดที่เติบโตของภาคเกษตรกรไทย” นางสาวณัฏฐิญา กล่าว

นายกนกพงษ์ พงษ์ธรรมรักษ์ ธุรกิจแพลทฟอร์มนำตลาดสดสู่ออนไลน์ (Fresh Market Transformation Platform)
ด้าน นายศุภฤทธิ์ เมฆอรุณกมล SME Business Director ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า ผู้เข้าร่วมโครงการฯ จะได้เรียนรู้ในหลักสูตร Financial & Scaling โดยผู้เข้าร่วมหลักสูตรจะได้เรียนรู้และเข้าใจรูปแบบของ Revenue Model ต่าง ๆ ในธุรกิจยุคใหม่ เข้าใจรูปแบบของการหาเงินทุน การระดมทุน เพื่อขยายธุรกิจ ถ่ายทอดให้ นักลงทุนสนใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ

รศ.ดร.พิภพ อุดร รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โครงการ 88 SANDBOX ซึ่งเป็น Ecosystem ในการบ่มเพาะนวัตกรรมและสตาร์ทอัพให้กับประเทศไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า เกษตรธุรกิจ หรือ Agri Business เป็นหัวใจสำคัญของประเทศ มีศักยภาพจะเป็นธุรกิจที่สร้างความมั่งคั่ง และหากจะปักธงไทยในเวทีโลก ประเทศไทยต้องเลิกทำเกษตรราคาถูกและต้องเดินหน้ายกระดับสู่การทำเกษตรเชิงนวัตกรรม สร้างและขยายธุรกิจเข้าถึงยังตลาดทั่วโลก ตั้งเป้าว่าการร่วมมือนี้จะปูทางพานักเกษตรรุ่นใหม่ของประเทศไทยให้บรรลุเป้าหมายการเป็น “ครัวของโลก” หรือ Kitchen of the World ได้

นายกิตติศักดิ์ พิพัฒน์คณาพรบริษัท ไทย เบสท์ โปรดักส์ โฮลดิ้ง จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายผลไม้และผักสดไทย ไปทั่วโลก
อย่างไรก็ตาม ภายในงาน นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือดีพร้อม ได้ให้เกียรติมอบวุฒิบัตรและกล่าวแสดงดีแก่ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการดังกล่าว จำนวน 50 กิจการ พร้อมทั้งมอบรางวัล Best of The Best จำนวน 3 กิจการ ได้แก่ 1. บริษัท ไทย เบสท์ โปรดักส์ โฮลดิ้ง จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายผลไม้และผักสดไทย ไปทั่วโลก 2. ส่งสด ธุรกิจแพลทฟอร์มนำตลาดสดสู่ออนไลน์ (Fresh Market Transformation Platform) และ 3. บริษัท NGM-X ผู้ผลิตถุงพลาสติก

* * * คลิก Like เพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า "SMEsผู้จัดการ" รับข่าวสารในแวดวงธุรกิจเอสเอ็มอีที่สมบูรณ์แบบที่สุด* * *


กำลังโหลดความคิดเห็น