xs
xsm
sm
md
lg

มะม่วงสายพันธุ์ต่างประเทศที่หลายคนอาจจะยังไม่รู้จัก…โดยโครงการหลวง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



มะม่วงเป็นผลไม้ที่มีการปลูกกันแทบทุกบ้าน ไม่ว่าจะอยู่ภาคไหนก็สามารถหามะม่วงกินได้ เพราะด้วยมะม่วงเป็นพืชยืนต้นที่ปลูกง่ายให้ผลผลิตดี และไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องแมลงศรัตรูพืช การใช้สารเคมีในมะม่วงจึงมีน้อยมาก มะม่วงจึงจัดได้ว่าเป็นผลไม้ที่ปลอดภัย


ปัจจุบันประเทศไทยมะม่วงสายพันธุ์ต่างๆมากมาย ที่มีการพัฒนาสายพันธุ์กันไปทั้งในประเทศ และนำเข้าจากต่างประเทศ วันนี้พามารู้จัก กับมะม่วง ที่หลายคนอาจจะยังไม่รู้จัก ผ่านการแนะนำของโครงการหลวง

สำหรับมะม่วงของโครงการหลวง มีหลากหลายสายพันธุ์ เพราะด้วยโครงการหลวงเป็นแหล่งเรียนรู้ทางด้านการเกษตร ให้กับคนทั่วไปรวมถึงเกษตรกร ทำให้เราจะได้เห็นพืชสายพันธุ์ที่ไม่เคยเห็นไม่เคยลิ้มลองมาก่อน รวมถึงมะม่วงของโครงการหลวง ที่หลายคนอาจจะยังไม่เคยรู้จัก ซึ่งครั้งนี้ พามารู้จักกับมะม่วงของโครงการหลวงกัน

- มะม่วงอาร์ทูอีทู เป็นมะม่วงพันธุ์การค้าของประเทศออสเตรเลีย ผลกลม ขนาดค่อนข้างใหญ่ เมื่อสุกผิวจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมแดง นิยมรับประทานสุก เนื้อมาก มีเสี้ยนน้อย มีกลิ่นหอม


- มะม่วงนวลคำ หรือ จินหวง เป็นพันธุ์มะม่วงจากประเทศไต้หวัน ผลใหญ่ เนื้อมาก เมล็ดลีบ สามารถรับประทานได้ทั้งดิบและสุก โดยผลแก่จัดมีรสชาติมันหวาน เมื่อสุกผลจะมีสีเหลืองปนส้ม กลิ่นหอม รสชาติหวาน

- มะม่วงเออร์วิน หรือ อ้ายเหวิน ถูกนำเข้ามาปลูกในไต้หวันจากรัฐฟลอริดา ผลไม่ใหญ่มาก ผิวผลสุกจะมีสีแดงเลือดนก เนื้อผลสุกมีสีทอง ไม่มีเสี้ยน กลิ่นของเนื้อไม่แรง นิยมรับประทานผลสุก รสชาติหวาน เนื้อแน่น

- มะม่วงปาล์มเมอร์ มีถิ่นกำเนิดมาจากรัฐฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อสุกเปลือกจะมีสีเหลืองส้มปนแดง นิยมรับประทานสุก รสชาติหวาน เนื้อมากเป็นพิเศษ มีเสี้ยนน้อย มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว


- มะม่วงแดงจักรพรรดิ์ หรือ ยู่เหวิน เป็นพันธุ์มะม่วงจากประเทศไต้หวัน เป็นมะม่วงลูกผสมระหว่างพันธุ์จินหวงกับมะม่วงพันธุ์เออร์วิน ผลใหญ่ ผลดิบมีรสชาติหวาน มัน กรอบ นิยมทานผลสุก เพราะรสชาติหวาน กลิ่นหอม ไม่มีเสี้ยน เนื้อไม่เละ

- มะม่วงทอมมี่ แอทกินส์ เป็นพันธุ์การค้าของประเทศอังกฤษและอเมริกา ผลกลม ผลแก่มีสีม่วงอมแดง ผลสุกเนื้อมีสีเหลือง เปลือกหนาและแข็ง ผลดิบมีรสชาติเปรี้ยว นิยมทานสุกเพราะมีรสชาติหวาน

ทั้งนี้ ผู้สนใจมะม่วงโครงการหลวง มีจำหน่ายที่ร้านโครงการหลวงทุกสาขา หรือ เกษตรกรที่สนใจเข้าไปขอความรู้ได้ ที่โครงการหลวง หรือ FB:โครงการหลวง ดี อร่อ


คลิก Like เพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า "SMEsผู้จัดการ" รับข่าวสารในแวดวงธุรกิจเอสเอ็มอีที่สมบูรณ์แบบที่สุด


กำลังโหลดความคิดเห็น