xs
xsm
sm
md
lg

‘DRAG KOOLER’ นวัตกรรมแผ่นเช็ดตัวสมุนไพร ตัวช่วยลดไข้เด็ก ผลงานไอแทป สวทช.

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



อาการไข้ในเด็กเล็ก นับเป็นปัญหากลุ้มใจของพ่อแม่ โดยเฉพาะเด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ขวบ หากมีไข้สูงถึง 39-40 องศาเซลเซียลอาจทำให้เกิดการชักได้ สิ่งแรกที่ต้องทำคือ ลดไข้ของเด็กเพื่อป้องกันการเกิดภาวะชัก พ่อแม่ส่วนใหญ่ใช้วิธีการเช็ดตัวเด็ก ใช้เจลลดไข้ รวมถึงใช้ยาลดไข้ ซึ่งมีประสิทธิภาพสูง แต่ไม่เหมาะในเด็กเล็ก เพราะการได้รับสารเคมีบ่อยๆ ตั้งแต่เด็กอาจทำให้เกิดผลเสียต่ออวัยะต่างๆ ได้ การใช้เจลลดไข้แปะที่หน้าผากช่วยได้ แต่ครอบคลุมพื้นที่ผิวได้เฉพาะจุด ส่วนการเช็ดตัวเด็ก เป็นวิธีการที่ได้ผลช้า แต่ก็มีความปลอดภัยสูง และต้องเตรียมอุปกรณ์เยอะ เปียกเลอะเทอะทั้งห้อง อีกทั้งไม่สะดวกในระหว่างการเดินทาง

นายดำเกิง ทองซ้อนกลีบ
นายดำเกิง ทองซ้อนกลีบ กรรมการผู้จัดการ บริษัท กองหนุน จำกัด กล่าวว่า ตนเองได้เห็นช่องว่างทางการตลาด และความต้องการของผู้เป็นพ่อแม่ ซึ่งประสบกับตัวเองด้วย จึงเกิดแนวคิดที่จะพัฒนาแผ่นเช็ดตัวช่วยระบายความร้อนสำหรับลดไข้ในเด็กเล็ก หนึ่งแผ่นสามารถเช็ดตัวเด็กได้ทั่วร่างกาย สะดวกต่อการใช้ แม้ในขณะเดินทางก็สามารถใช้ได้ สะอาดและปลอดภัย สิ่งสำคัญคือ มีส่วนผสมของสมุนไพรที่ช่วยลดความร้อน ขยายรูขุมขนได้ และเนื่องจากสารที่ใช้เป็นสารที่ได้จากธรรมชาติทั้งหมดจึงมีความปลอดภัยสูง อีกทั้งยังไม่ก่อให้เกิดการแพ้หรือระคายเคืองโดยเฉพาะในเด็กเล็กที่มีโอกาสแพ้ได้ง่าย การได้ร่วมโครงการกับโปรแกรม ITAP สวทช. และทีมวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำให้ ‘DRAGKOOLER’ สินค้าของบริษัทได้รับการตอบรับจากลูกค้าอย่างดี ทำให้บริษัท กองหนุน จำกัด ซึ่งเป็นผู้ประกอบการรายเล็ก สามารถเข้าถึงงานวิจัยและพัฒนาสินค้านวัตกรรม โดยมีผลการวิจัยทดสอบที่ช่วยสร้างความน่าเชื่อถือในประสิทธิภาพให้ผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี และเพราะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในเด็กเพื่อให้มั่นใจในเรื่องของการระคายเคือง จึงได้ส่งทดสอบการระคายเคืองที่สถาบัน Dermscan Asia และได้ผลผ่านการทดสอบแล้วว่าไม่ระคายเคืองต่อผิวเด็กอย่างแน่นอน

นอกจากนี้ “DRAGKOOLER” ได้รับรางวัล Gold Medal ในสาขา Health/Medicine/Fitness จากงาน The 15th International Invention and Innovation Show INTARG® 2022 เมือง Katowice ประเทศโปแลนด์ เป็นงานนวัตกรรมระดับโลก มีผลงานนวัตกรรมเข้าร่วมประกวดกว่า 200 ผลงานจากทั่วโลก

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้พัฒนา ‘DRAGKOOLER’ ผ้าเปียกสมุนไพร เช็ดตัวลดไข้ กล่าวว่า หัวใจของโจทย์วิจัยเรื่องนี้ คือ การคัดเลือกสมุนไพรที่มีฤทธิ์ในการขยายหลอดเลือด ขยายรูขุมขน เพื่อช่วยระบายความร้อน จึงเลือกใช้สารสกัดจากมะนาว (มีงานวิจัยที่แสดงว่ามะนาวสามารถลดอุณหภูมิได้ดีกว่าน้ำสะอาดถึง 2 เท่า) ไพล (ช่วยลดการอักเสบ) ใบย่านาง (มีฤทธิ์ขยายรูขุมขน) และ peppermint oil (ช่วยให้หายใจสะดวก และบรรเทาอาการคัดจมูก) ซึ่งผลการประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัยในอาสาสมัครที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 37.6 C พบว่าแผ่นเช็ดตัวผสมสมุนไพรสามารถลดอุณหภูมิของร่างกายได้ดีกว่าผ้าชุบน้ำทั่วไป ลดอุณหภูมิได้ถึง 1.2 C (ผ้าชุบน้ำลดอุณหภูมิได้เพียง 0.7 C) หลังจากอาสาสมัครใช้แผ่นเช็ดตัวผสมสมุนไพรได้ 30 นาที อุณหภูมิร่างกายจะใกล้เคียงอุณหภูมิปกติ

“ความท้าทายในการพัฒนาสินค้าใหม่ ไม่ใช่เพียงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ของผู้ประกอบการเท่านั้น
แต่ต้องสร้างความแตกต่างและโอกาสทางธุรกิจด้วย ‘การวิจัย’ จึงเป็นหัวใจสำคัญในการสร้างนวัตกรรม และการมีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ยืนยัน จึงจะทำให้ผู้บริโภคได้รับสินค้าที่ใช่ และมั่นใจถึงความปลอดภัยของสินค้านั้นได้” ดร.พรอนงค์กล่าวทิ้งท้าย

ดร.นันทิยา วิริยบัณฑร
ดร.นันทิยา วิริยบัณฑร ผู้อำนวยการโปรแกรมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม หรือ ITAP ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวเสริมว่า ITAP เป็นกลไกอันหนึ่งของภาครัฐที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้ภาคอุตสาหกรรมไทย โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SME ที่ยังมีข้อจำกัดเรื่องการเข้าถึงเทคโนโลยีและการเลือกผู้เชี่ยวชาญที่ตรงกับโจทย์ความต้องการของตนเอง ITAP จะช่วยเชื่อมโยงผู้ประกอบการกับผู้เชี่ยวชาญให้เกิดการนำเทคโนโลยี หรือนวัตกรรมมาใช้เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ธุรกิจ ผลงานการสนับสนุนบริษัทให้สามารถพัฒนานวัตกรรมใหม่ ‘แผ่นเช็ดตัวสมุนไพร’ เป็นหนึ่งตัวอย่างของการทำงานวิจัยร่วมกันระหว่างผู้เชี่ยวชาญจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับ บริษัท กองหนุน จำกัด ผลงานนี้นอกจากจะการันตีด้วยรางวัล Gold Medal ยังตอบโจทย์ความต้องการของครอบครัวที่มีบุตรเล็ก ทำให้ผลิตภัณฑ์ได้รับความสนใจจากลูกค้าสูงอย่างมาก หากผู้ประกอบการรายใดต้องการวิจัยและพัฒนา สามารถติดต่อ ITAP เบอร์โทร. 0-2564-7000 ต่อ ITAP





กำลังโหลดความคิดเห็น