xs
xsm
sm
md
lg

“วิชัย เข็มทองคำ” เอสเอ็มอีไทยรายแรกผู้บุกเบิกตลาดปลากระป๋องเบอร์หนึ่ง..ปท.เมียนมาร์

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


นายวิชัย เข็มทองคำ
ตลาดปลากระป๋องในประเทศเมียนมาร์ เป็นตลาดที่ไม่ได้ใหญ่มากนัก เมื่อเทียบกับประเทศไทย แต่สำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทย การได้ขึ้นเป็นอันดับหนึ่งในฐานะผู้ผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าแบรนด์ของตัวเองในต่างประเทศ ถือว่าเป็นก้าวสำคัญของความสำเร็จ ที่เค้าอาจจะหาไม่ได้ถ้ายังคงเลือกจะขายอยู่ในประเทศไทย หรือประเทศที่มีผู้ผลิตรายใหญ่ครองตลาดอยู่ การได้ก้าวไปเริ่มต้นในประเทศเพื่อนบ้านและได้ขึ้นเป็นเบอร์หนึ่ง จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี หลายรายฝันต้องการจะไปถึงจุดนั้น


เกือบ 30 ปี กว่าจะได้เป็นแบรนด์ปลากระป๋องเบอร์หนึ่งในพม่า

การทำธุรกิจปลากระป๋องในประเทศเมียนมาร์ ของ นายวิชัย เข็มทองคำ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โอเรียนท์ อินโนเวชั่น จำกัด เริ่มขึ้นเมื่อปี 2537 หรือประมาณเกือบ 30 ปีที่ผ่านมา โดยเป็นผู้ประกอบการเอสเอ็มอีคนไทยรายแรกๆที่เข้าไปเปิดโรงงานผลิตปลากระป๋อง ภายใต้แบรนด์ READY ปลาซาร์ดีนในซอสมะเขือเทศบรรจุกระป๋อง ที่มียอดขายอยู่ในอันดับต้นๆ ของประเทศเมียนมาร์

นายวิชัย กล่าวว่า สำหรับธุรกิจปลาซาร์ดีนในซอสมะเขือเทศ ของเมียนมาร์ นั้นเป็นตลาดที่ถือว่ายังเล็กมาก เมื่อเทียบกับ ตลาดในประเทศไทยที่มีมูลค่าตลาดรวมมากถึง 1ล้าน 2 แสนล้านบาท ในขณะที่มูลค่าตลาดรวมปลากระป๋องซาร์ดีนในซอสมะเขือเทศของเมียนมาร์ อยู่ที่ประมาณ แสนกว่าล้านบาท เท่านั้น สาเหตุมาจาก ประเทศเมียนมาร์ ยังมีปลาสด ที่สามารถหากินได้ง่ายๆ เหมือนประเทศไทยในอดีต ทำให้ปลากระป๋อง หรืออาหารสำเร็จรูปไม่ได้รับความนิยมมากเท่ากับ ในประเทศไทย

ด้วยเหตุนี้ ทุกวันนี้ แม้ผมจะเป็นโรงงานผู้ผลิตปลากระป๋องที่มียอดขายอันดับต้นๆของเมียนมาร์ ผมยังคงเป็นผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เหมือนตอนที่ผมมาแรกๆ ไม่ได้มียอดขายเหมือนผู้ผลิตปลากระป๋องรายใหญ่ๆ ในประเทศไทย แม้ว่ายอดขายไม่ได้เยอะมาก แต่การเติบโตของเราก็ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง มาตั้งแต่ปีแรกๆ จนถึงทุกปัจจุบัน เรา ไม่เคยได้รับผลกระทบที่ทำให้เราต้องหยุดชะงัก หรือ ติดลบเลย ส่วนหนึ่ง ก็อาจจะเป็นเพราะตลาดปลากระป๋องในเมียนมาร์ไม่ค่อยได้รับความคนสนใจจากนักลงทุน เข้ามาเปิดโรงงานผลิตปลากระป๋อง ในเมียนมาร์ ทำให้เราไม่ต้องแข่งขันสูง ซึ่ง การแข่งขันไปอยู่ที่ ปลากระป๋องนำเข้าจากต่างประเทศมากกว่า โดยเฉพาะแบรนด์ปลากระป๋องจากประเทศไทย


ข้อดีของการทำโรงงานปลากระป๋องในเมียนมาร์

สำหรับข้อดีของการทำโรงงานปลากระป๋องในเมียนมาร์ นั้น มีข้อได้เปรียบหลายอย่าง เริ่มจากวัตถุดิบปลาสดที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก เพราะน่านน้ำเมียนมาร์มีปลาซาร์ดีนอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ทำประมงในเมียนมาร์ ปลาที่เค้าจับได้จะถูกส่งออกไปขายต่างประเทศเกือบทั้งหมด เพราะตลาดต่างประเทศมีความต้องการสูง เค้าจึงไม่จำเป็นที่จะทำการแปรรรูปเอง ด้วยเหตุนี้เอง จึงไม่ค่อยมีคนเมียนมาร์สนใจทำโรงงานปลากระป๋อง ทำให้มีโรงงานปลากระป๋องน้อยมากในเมียนมาร์

และข้อดีอีกอย่างหนึ่งที่ผมเลือกทำโรงงานที่นี่ เพราะค่าแรงที่นี่ถูก กว่าในประเทศไทยมาก ค่าแรงต่อวันอยู่แค่ 100 บาทในขณะที่ประเทศไทยค่าแรงเริ่มต้น 300 บาทต่อวัน ทั้งหมดจึงเป็นเหตุผลที่ ทำให้ปลากระป๋องที่ผลิตในเมียนมาร์ราคาถูกมาก เมื่อเทียบกับปลากระป๋องที่ผลิตในประเทศไทย โดยปลากระป๋องแบรนด์ที่ผมขายในเมียนมาร์อยู่ที่กระป๋องละ 10บาท ถึง15 บาท เท่านั้น ช่องทางการขายของเรา จะมีทั้งในศูนย์การค้าทั่วเมืองย่างกุ้ง และร้านค้าทั่วประเทศ


นายวิชัย เล่าว่า จุดเริ่มต้นที่ผมมาทำธุรกิจปลากระป๋องในประเทศเมียนมาร์ มาจากผมอยู่ในอุตสาหกรรมอาหารมานาน และในช่วงที่ผมทำงานอยู่ที่บริษัทผลิตอาหารกระป๋อง ทางบริษัทได้ส่งผมมาดูแลตลาดที่ประเทศเมียนมาร์ ซึ่งในช่วงนั้นทำให้ผมได้รู้ว่า โรงงานผลิตปลากระป๋องในเมียนมาร์มีอยู่น้อยมาก ทั้งที่เค้ามีวัตถุดิบอยู่เป็นจำนวนมาก ผมมองเห็นโอกาส และตัดสินใจที่จะปักหลักผลิตปลากระป๋องในเมียนมาร์ เพราะมีหลายปัจจัยแวดล้อมที่เอื้อในการที่จะมาเปิดโรงงานที่นี่ ช่วงแรกผมเริ่มจากมาเช่าโรงงานผลิตก่อน หลังจากนั้น ค่อยขยับขยายกิจการ และได้เปิดโรงงานของตนเองเมื่อปี 2540 จนถึงปัจจุบันเปิดโรงงานมาได้ 25 ปี โดยมีผู้ถือหุ้นที่เป็นชาวเมียนมาร์ตามกฎหมาย ถือหุ้นอยู่ที่ 25% และเราในฐานะนักลงทุนต่างชาติถือหุ้น 75%

โดยในปีนี้ เป็นปีแรกที่ ทาง “คุณวิชัย” เตรียมนำปลากระป๋องแบรนด์ของตนเองออกไปขายในต่างประเทศ รวมถึงประเทศไทย ซึ่งเน้นการเจาะตลาดต่างจังหวัดในร้านขายของชำเป็นหลัก เพราะการแข่งขันตลาดปลากระป๋อง ในห้างสรรพสินค้าในประเทศไทยมีสูงมาก และการที่เราเป็นเอสเอ็มอี การจะไปทุ่มตลาดสู้กับผู้ผลิตแบรนด์ ยักษ์ใหญ่คงจะแข่งได้ยาก และการวางในห้างสรรพสินค้ามีกฎระเบียบเยอะ การเก็บเงินก็ล่าช้า เราสายป่านไม่ยาว ด้วยเหตุนี้ ผมจึงเลือกตลาดต่างจังหวัด ซึ่งเรายังมีข้อได้เปรียบในเรื่องของราคาของเราที่ถูกกว่า หลังจากเราได้เริ่มนำปลากระป๋องมาขายในประเทศไทย ช่วงที่ผ่านมา ได้ลูกค้ากลุ่มที่ต้องการจะซื้อไปแจก สั่งซื้อปลากระป๋องของเราเพื่อนำไปใส่ในถุงยังชีพแจกจ่ายผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19


ทุ่ม 200 ล้านปั้นสมุนไพรลดเบาหวาน
ตั้งเป้ายอดขายกว่า 450 ล้านบาท

นอกจากการบุกตลาดปลากระป๋องนอกประเทศเมียนมาร์แล้ว ในปีนี้ “คุณวิชัย” เจ้าพ่ออาหารอันดับ 1 ประเทศเมียนมาร์ ยังได้โดดลงมาเล่น ในตลาดสินค้าสมุนไพรเพื่อสุขภาพ รองรับการขยายตัวของธุรกิจสมุนไพรเสริมอาหารเพื่อสุขภาพที่มีการเติบโตแบบก้าวกระโดดในช่วงของการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยได้ทุ่มงบกว่า 200 ล้าน ทำวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล ทำการผลิต ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารคามินเนีย(Caminia) เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยเบาหวาน

“ ผมได้ทุ่มงานวิจัยจับมือ ม.มหิดล หมอและโรงพยาบาลต่างๆ ร่วมกันทำวิจัย เพื่อให้ได้สินค้าเกรดพรีเมี่ยม ใช้นวตกรรมนาโนเทคโนโลยี ทำให้ร่างกายดูดซึมได้มากถึง 50 เท่า โดยมีแผนที่จะตั้งโรงงานผลิตเองในอนาคต ซึ่งต้องใช้งบมากถึง 200 ล้านบาท พร้อมกับตั้งเป้าผลประกอบการในปี 2565 ไว้สูงถึง 450 ล้านบาท ส่วนหนึ่งเป็นเพราะปัจจุบัน ตัวเลขผู้ป่วยเบาหวาน ทั้งคนไทย และทั่วโลก มีอาการเจ็บป่วยจากโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นตลอด”

“ ในส่วนของประเทศไทยเอง ปัจจุบันมีผู้ป่วยเบาหวานมากถึง 8% ของประชากรทั้งประเทศ หรือ ประมาณ 5 ล้านคน แต่ในละปีรัฐบาลจะต้องจัดสรรงบเพื่อนำมาจ่ายในการเพื่อดูแลผู้ป่วยเบาหวานจำนวนมาก และวันนี้ เสริมอาหารคามินเนียจะเป็นทางเลือกที่ทำให้คนไทยไม่ต้องป่วยเบาหวาน และช่วยประเทศในการลดค่าใช้จ่ายในส่วนของการดูแลผู้ป่วยเบาหวานด้วย ทั้งนี้ ประกอบกับในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งผู้ป่วยหวานมีโอกาสเสี่ยงสูงที่เมื่อติดเชื้อโควิด แล้วเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ถ้าผลิตภัณฑ์ของเราช่วยผู้ป่วยเบาหวานได้ ก็ช่วยลดการตายของผู้ป่วยโควิดได้อีกทางหนึ่งด้วย”


สำหรับคามินเนีย Caminia ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร รูปแบบแคปซูลเจลาตินนิ่ม ประกอบไปด้วยสารสกัดขมิ้นชัน น้ำมันปลา และ วิตามิน ดี3 เกรดพรีเมี่ยม ฯ หลังจากที่ได้ทำการทดสอบในอาสาสมัครเป็นเวลานานกว่า 6 เดือน ได้เริ่มผลิตเพื่อออกจำหน่ายตั้งแต่ต้นปี 2563 มาจนถึงปัจจุบัน ผลตอบรับจากกลุ่มเป้าหมายค่อยๆ ดีขึ้นจากการแนะนำต่อโดยผู้ที่เคยรับประทานผลิตภัณฑ์ของเราไปสักระยะหนึ่ง ประมาณ 1-3 เดือน

ส่วนช่องทางการจัดจำหน่าย เน้นขายผ่านช่องทางออนไลน์เป็นหลัก ทั้งเฟสบุ๊ค ยูทูบ ไลน์ รวมถึงมีการเริ่มทดลองในกลุ่มตัวแทนชุดแรกเพื่อทดสอบระบบที่เราเตรียมจะรับตัวแทนอีกในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2564 โดยเราจะเน้นที่กรุงเทพและหัวเมืองใหญ่ก่อน แล้วจึงจะกระจายเข้าสู่ตัวแทนระดับถัดไปในปีหน้า

ติดต่อ โทร.02-331-7499
FACEBOOK: Caminiathailand

คลิก Like เพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า"SMEsผู้จัดการ" รับข่าวสารในแวดวงธุรกิจเอสเอ็มอีที่สมบูรณ์แบบที่สุด

SMEs manager



กำลังโหลดความคิดเห็น