xs
xsm
sm
md
lg

เปิดแผนธุรกิจ “ร้านสีฟ้า” เผยวิธีการรับมือกับผลกระทบจากโควิด-19 ชี้ยุค New Normal ธุรกิจอาหาร “เดลิเวอรี่” มาแรง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์





“อย่าลืมสีฟ้าเวลาหิว” ย่างเข้าสู่ปีที่ 85 กับธุรกิจร้านอาหารสีฟ้าที่มีมาอย่างยาวนาน เผยกลยุทธ์และประสบการณ์การทำงานร้านอาหารให้เติบโตในยุคปัจจุบันที่ขยายสาขาไปกว่า 19 สาขา พร้อมวิธีการรับมือกับวิกฤตโควิด-19 ทั้งก่อนและหลัง ชี้เทรนด์ร้านอาหารในยุค New Normal เดลิเวอรี่มาแรง

ดร.นิษฐา (รัชไชยบุญ) นันทขว้าง Chief Eating Officer (CEO) ร้านสีฟ้า
ขอบข่ายธุรกิจที่อยู่ในปัจจุบัน

ดร.นิษฐา (รัชไชยบุญ) นันทขว้าง Chief Eating Officer (CEO) ร้านสีฟ้า เผยว่า ร้านอาหารสีฟ้า ปัจจุบันมีทั้งหมด 19 สาขา สาขา มีทั้งในส่วนของ Stand Alone ห้างสรรพสินค้า- คอมมูนิตี้มอลล์ และในส่วนของ รพ.รามา , รพ.เมดพาร์ค คนส่วนใหญ่จะรู้จักร้านสีฟ้ามาจากในนามแบรนด์ สีฟ้า ที่เป็นร้านอาหาร แต่ในความเป็นจริงแล้วนั้นไม่ได้ทำแค่ร้านอาหาร เป็นเพียงส่วนหนึ่งของ สีฟ้า กรุ๊ป ซึ่งอาศัยจากประสบการณ์ที่ทำธุรกิจในด้านอาหารมาอย่างยาวนาน โดยปีนี้เข้าสู่ปีที่ 85 และได้ต่อยอดความเชี่ยวชาญนี้ด้วยการเข้าไปบริหารจัดการในส่วนของ F&B management ให้แก่ RBSC Polo Club และธุรกิจโรงแรมเครือ Grande Centre Point และ Centre Point ที่กรุงเทพและพัทยา ปัจจุบันประมาณ 12 จุด

นอกจากนี้ยังมีในส่วนของ SEE FAH Food ทำในส่วนของ OEM โรงงานผลิตอาหารและเครื่องดื่ม ส่วนหนึ่งส่งให้กับบริษัทในเครือกลุ่มสีฟ้า และ Key Account ของทางร้าน คือ ได้ผลิตอาหาร ส่งให้กับสายการบิน Air Asia รวมถึงแบรนด์ในเครือ สีฟ้า กรุ๊ป ยังมีแบรนด์อื่นๆ คือ Osaka Ohsho ปัจจุบันมี 3 สาขา , Bake Brothers ปัจจุบัน 3 สาขา และล่าสุด ตั่วเปา ร้านซาลาเปาที่ รพ.รามา


ผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 ต่อธุรกิจ (ช่องทางการขาย สินค้าในสต็อก การดูแลลูกค้า) ก่อนและหลัง

“ถ้าพูดถึงผลกระทบแน่นอน สีฟ้า กรุ๊ป เราทำในส่วนของร้านอาหาร และ บริหารจัดการให้กับธุรกิจโรงแรม รวมถึงสายการบิน Air Asia ที่กล่าวมาข้างต้น พอสถานการณ์โควิด-19 เริ่มรุนแรงขึ้นนั้น ในส่วนของโรงแรมได้รับผลกระทบทั้งในส่วนของต่างชาติและด้านการท่องเที่ยว ประกอบกับสายการบินหยุดบินก็ส่งผลกระทบกับเราทันที สำหรับร้านอาหาร สีฟ้า ส่วนใหญ่ประมาณ 70% เราอยู่ในห้างสรรพสินค้า ซึ่งไม่สามารถรับประทานในร้านได้ เหลือบริการในส่วนเดลิเวอรี่เพียงอย่างเดียว ศูนย์การค้า Traffic น้อยลง เราก็พลอยได้รับผลกระทบไปด้วย ซึ่งตอนนี้ถือว่ายอดขายเราลดลงกว่าปกติประมาณ 60% เราต้องปิดบางสาขาในช่วงนี้ เพื่อบริหารสต็อกและจัดส่งพนักงานไปสาขาที่ยังพอไปได้ เช่นเดียวกัน เมื่อมีเพียงเดลิเวอรี่ช่องทางเดียว เมนูในร้านที่เราเคยมี ก็ต้องถูกจำกัดลดลง เพราะบางเมนูไม่เหมาะกับเดลิเวอรี่”



การปรับกลยุทธ์เพื่อรับมือวิกฤตระลอกล่าสุด แนวคิด หรือหลักความคิดที่พาให้ฝ่าวิกฤตครั้งนี้ไปได้

ตลอด 85 ปี ร้านสีฟ้า แน่นอนว่าต้องปรับตัวเพื่อให้เข้ากับทุกยุคสมัย ทั้งในส่วนของการบริหารจัดการภายในร้าน การสื่อสารกับลูกค้าที่ผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น โฟกัสช่องทางเดลิเวอรี่เพิ่มมากขึ้น ทางแบรนด์โฟกัสในส่วนของเดลิเวอรี่ที่เป็นช่องทางของร้านเองผ่าน Call Center 02-800-8080 และลูกค้าสามารถสั่งอาหารผ่าน Line OA @SEEFAH ได้ รวมถึงผ่านแอฟพลิเคชั่น พาร์ทเนอร์ต่างๆที่ได้เปิดไว้ ทั้ง Line Man , Grab Food , Food Panda , True Food , Robinhood ซึ่ง สีฟ้า ได้เข้าไปร่วมจับคู่ธุรกิจในทุกแพลตฟอร์ม


เรียกได้ว่าเข้ากับสโลแกน “อย่าลืม สีฟ้า เวลาหิว” หิวเมื่อไร.. ก็กดสั่ง สีฟ้า พร้อมเสิร์ฟความอร่อยให้คุณถึงบ้าน นอกจากนี้สิ่งที่ทางร้านได้ปรับ คือ ปกติแล้ว สีฟ้า ทำอาหารที่ปรุงร้อนสดใหม่ จานต่อจาน แต่พอเกิดช่วงโควิดที่คนส่วนใหญ่ อยู่ที่บ้าน ทำอาหารกินเองกับครอบครัว ทางร้านจึงออกเมนูใหม่เพื่อเข้าถึงไลฟ์สไตล์การกินของลูกค้าที่เปลี่ยนไป คือ ออกเมนูกลุ่มอาหาร Frozen ซึ่งนำเมนูที่เป็นเมนูซิกเนเจอร์ของทางร้านมาเป็นวัตถุดิบหลัก ทั้งในส่วนของบะหมี่แช่แข็ง , หมูแดงแช่แข็ง , ซาลาเปาแช่แข็งลูกค้าสามารถสั่งกลับบ้าน หรือสั่งเดลิเวอรี่ได้ทุกช่องทาง


คอนเซ็ปต์ คือ ฟรีซความอร่อยส่งให้คุณถึงบ้าน ด้วยเมนูซิกเนเจอร์ความอร่อยแบบต้นตำรับ วัตถุดิบคุณภาพ ปรุงเมนูง่ายๆในแบบฉบับโฮมเมด ที่ใครๆก็ทำได้ คงความอร่อยเหมือนกินที่ร้าน และล่าสุด โควิด-19 อาจจะระบาดไปอีกยาว ดังนั้นทางแบรนด์จึงได้ออกเซ็ตปิ่นโต สีฟ้า เพื่อตอบโจทย์ ลูกค้าผูกความอร่อยกับแบรนด์ สั่งครั้งเดียว อร่อยได้ถึง 3 มื้อ เซ็ตปิ่นโตที่มีทั้งสำหรับรับประทานคนเดียว หรือเซ็ตกับข้าวที่เหมาะสำหรับรับประทานได้ทั้งครอบครัว


New Normal ของธุรกิจนี้ในอนาคต

ในยุค New Normal ของธุรกิจอาหาร ทางร้านมองว่าเทรนด์เดลิเวอรี่ Cloud Kitchen ต้องมา และพฤติกรรมรับประทานอาหารของลูกค้าอาจมีการปรับเปลี่ยนไป เนื่องจากคงยังไม่สามารถเปิดให้รับประทานในร้านได้อีกสักระยะ ร้านอาหารส่วนใหญ่เริ่มออกจากห้าง มองหาพื้นที่นอกห้าง เปิด Cloud Kitchen เพิ่มขึ้น และการสั่งเดลิเวอรี่จากเดิมที่เป็น Basket ไซส์ใหญ่ๆ น่าจะลดลง


แพลนขยายช่องทาง Delivery

สำหรับร้านสีฟ้า ได้มีการวางแผนและขยายเดลิเวอรี่ในลักษณะของ Cloud Kitchen ซึ่งแพลนขยายโมเดล Cloud Kitchen ของทางแบรนด์มาในนาม SEE FAH Group Home Kitchen นำแบรนด์ในเครือมารวมกัน ลูกค้าติดต่อมาที่เดียวสามารถสั่งได้หลายแบรนด์ เช่น ลูกค้าสีฟ้าสั่งเดลิเวอรี่จากทางร้าน จะสามารถสั่งเกี๊ยวซ่า ข้าวหน้าด้ง จาก Osaka Ohsho ได้ หรือสั่งกาแฟจาก Bake Brothers ได้ในคราวเดียว โมเดลนี้เริ่มที่แรกที่สาขาเอสพลานาด แคราย และในเดือนกันยายน จะเริ่มที่สาขาบางโพ ย่านประชาชื่น พระราม 7 และจะทยอยเปิดรวม 5 สาขาภายในสิ้นปีนี้


ความร่วมมือจากพันธมิตรคู่ค้า ช่องทางสั่งซื้อ สีฟ้า > ผ่าน Line OA จ่ายด้วยบัตร KTC สามารถลุ้นรับ IPhone 12

เพื่อเป็นการฉลองครบรอบ 85 ปี สีฟ้า ได้ร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ที่ดีต่อกันมายาวนานอย่าง บัตร
เครดิต KTC จัดโปรโมชั่น คืนกำไรให้ลูกค้า สั่งอาหารผ่าน Line OA @SEEFAH ชำระเงินผ่านบัตรเครดิต KTC ครบ 800 บาท ได้รับสิทธิ์ลุ้น iPhone 12 จำนวนรวม 4 เครื่อง มูลค่ารวมกว่า 127,600 บาท และยังมีโปรโมชั่นดีๆพร้อมเสิร์ฟให้แก่ลูกค้าตลอดแคมเปญ ตั้งแต่วันนี้ – 31 สิงหาคม 2564


อย่างไรก็ตาม ร้านอาหารสีฟ้า ยังสนับสนุนเรื่องการส่งอาหารสำหรับ Home Isolation และ ทำแคมเปญในส่วนของลูกค้าสั่ง สีฟ้า เพื่อบริจาคอาหารแก่บุคลากรทางการแพทย์ หรือช่วยเหลือสำหรับผู้ที่เดือดร้อน ทั้งนี้ สีฟ้า ยังทำในส่วนของ CSR ส่งอาหาร สีฟ้า เป็นกำลังใจให้บุคลากรทางการแพทย์ ตลอดช่วงโควิดที่ผ่านมา จนถึงปัจจุบัน โดย โรงพยาบาลที่ทาง สีฟ้า ส่งอาหารมอบกำลังใจแก่บุคลากรทางการแพทย์ ได้แก่ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ ศูนย์แพทย์รังสิต , โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ , มหาวิทยาลัยมหิดล คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดีและศูนย์ฉีดวัคซีนกลาง บางซื่อ เป็นต้น

* * * คลิก Like เพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า "SMEsผู้จัดการ" รับข่าวสารในแวดวงธุรกิจเอสเอ็มอีที่สมบูรณ์แบบที่สุด* * *


กำลังโหลดความคิดเห็น