xs
xsm
sm
md
lg

เปิดมุมมองกูรู ธุรกิจในยุคดิจิทัล กำลังเปลี่ยนการค้าผปก.ไทยยุคนี้ไปอย่างไร

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) ร่วมกับ สถาบันวิจัยและพัฒนาการเศรษฐกิจการพาณิชย์ (IBERD)จัดงานสัมมนาธุรกิจและเศรษฐกิจออนไลน์ ภายใต้หัวข้อ “Gateway of Digital Disruption on Economic and Business InnovationTransformation in CLMVT + China +India”

 ดิจิทัล คือ ยุทธศาสตร์สำคัญขับเคลื่อนอุตสาหกรรม 

ดร. สถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ สมาชิกวุฒิสภา และประธานมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาเศรษฐกิจการพาณิชย์ (IBERD) กล่าวปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ “Thailand’s Digital Disruption on Economic and Business Innovation Transformation in Next Decadeไว้ว่า เศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบันกำลังอยู่ในยุคการปฎิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ที่ Digitalจะเป็นสิ่งสำคัญในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรม หรือที่เรียกว่า เศรษฐกิจสังคม digital การส่งเสริมความสำคัญของ Digital ได้เป็นหนึ่งในแผนยุทธศาสตร์แห่งชาติ เช่น โครงการ One Country One Platform

ทั้งนี้ จุดมุ่งหมายที่จะเชื่อมต่อข้อมูล Big Data ซึ่งกันและกันในหนึ่ง Plat form เพื่อสร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจ รวมถึงความพยายามให้สถาบันการศึกษามีการเรียนการสอนที่เน้น Digital และสร้างบัณฑิตในอนาคตให้มีทักษะที่จำเป็น 3 ทักษะ คือ ทักษะด้านภาษา โดยเฉพาะภาษาอังกฤษและภาษาจีน ทักษะการเงิน การบัญชีและการลงทุนขั้นพื้นฐาน และทักษะ Digitalซึ่งถือเป็นทักษะที่สำคัญที่สุด

นอกจากนี้การศึกษายุคนี้ยังต้องตอบสนองโลกของDigital เช่น การเปิดหลักสูตรเรียนฟรี ผ่านระบบออนไลน์ที่จะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถเรียนที่ไหนและเวลาใดก็ได้ ดังนั้น หากใครยังไม่ปรับตัวไปตามDigital ที่กำลังจะเปลี่ยนโลก Digital ซึ่งกำลังเป็นศูนย์กลางทางความคิด ความรู้ เศรษฐกิจ สังคม และการศึกษา ก็จะไม่สามารถดำรงคงอยู่ในโลกอนาคตนี้ได้

ดร.พันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์
ผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลาง Digital Hub เพื่อเชื่อมโยงปท.ในเอเชีย 

ดร.พันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ รองประธานIBERD กล่าวต่อว่า แผนยุทธศาสตร์สำคัญของประเทศไทยที่ตอบรับความเป็น ดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (Digital Economy) คือ การจะต้องพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศโดยพยายามให้ Technology Digital มีความมั่นคง ประสิทธิภาพสูง ต้นทุนไม่แพง โดยเฉพาะเมื่อจะใช้เป็นเครื่องมือในการประกอบธุรกิจรวมถึงหากจะให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง Digital Hub ก็ควรมีสายเคเบิลใต้น้ำวิ่งไปยังทั่วโลก

ขณะนี้ประเทศไทยมีการพัฒนาเชื่อมโยงไปญี่ปุ่น จีน และอินเดีย การปรับปรุงกฎหมายเรื่องของการทำ E-Transaction ก็เป็นเรื่องที่สำคัญ อาทิ การมีกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล การดูแลปกป้องโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญทางด้านสารสนเทศ หรือCritical Information Infrastructureอีกประการที่ควรส่งเสริมคือ การให้Technology Digital เข้าถึงชุมชนที่อยู่ตามชายขอบ ที่ไม่ใช่อยู่เพียงชายขอบประเทศ แต่รวมถึงชายขอบในกรุงเทพ รวมถึงการส่งเสริมให้ประชาชนทุกคนมีความรู้พื้นฐานทาง Digital เพื่อใช้ประโยชน์จากTechnology Digital ได้อย่างมีคุณค่าและประสิทธิภาพสูง

ทั้งนี้ การทำการค้าการลงทุนกับประเทศใน CLMV อินเดีย จีนนั้น ทั้งอินเดียและจีน ต่างมองอาเซียนว่าเป็นGateway and Partner จึงมีการสร้างทางรถไฟความเร็วสูงที่วิ่งผ่านจากเมืองคุนหมิงมายังลาวไทยก็ควรจะต้องทำขนานไปกับกายภาพคือรถไฟเป็นทางด่วนDigital รวมถึงกลุ่มอาเซียน ควรเริ่มมีกิจกรรมในเชิง Connectivity ให้สูงขึ้น ตัวอย่างเช่น การให้หมายเลขมือถือแต่ละประเทศในอาเซียนสามารถใช้ได้เลย โดยไม่ต้องใช้ระบบ Roaming ที่มีค่าใช้จ่ายสูง ซึ่งทำให้การทำธุรกิจมีต้นทุนสูงขึ้นไปด้วย

ถึงแม้ประเทศไทยจะเป็น Gatewayที่มีPlatform สำหรับนักลงทุนต่างชาติเข้ามาก็ไม่ควรมุ่งการแข่งขันกันเองภายในประเทศอย่างเดียวแต่ควรออกไปทำธุรกิจการค้ากับอาเซียน จีน และ อินเดียให้ได้โดยเฉพาะ กลุ่มStart Up SME ต้องขายของให้กับชาติต่างๆ ทั้งนี้เนื่องจากเรามีเทคโนโลยีดิจิทัลที่สำคัญ คือCustomer Experience


ไทยได้ประโยชน์จากการค้า ลงทุนในกลุ่ม CLMV อย่างไร 

ด้าน นายอดุลย์ โชตินิสากรณ์ รองประธานIBERDได้แสดงความคิดเห็นในเรื่อง New Normal: New Digital Business Partnerships among CLMVT and India โดยกล่าวถึงความสำคัญและประโยชน์ที่ประเทศไทยทำการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศCLMV ด้วยกัน ว่าเนื่องจากประเทศเหล่านี้มีพรมแดนติดกับประเทศไทย ยกเว้นประเทศเวียดนาม ทำให้การติดต่อค้าขายสะดวก และหากพิจารณาจำนวนประชากรรวมมีจำนวนมากถึง170 ล้านคน GDP รวมมีมากถึง หนึ่งล้านล้านเหรียญสหรัฐ CLMVยังเป็นกลุ่มประเทศที่มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่สูงมาก คือ 7-8% ต่อเนื่องมาโดยตลอดรวมทั้งประเทศเพื่อนบ้านยังมีอุตสาหกรรมการผลิตด้านอุปโภคบริโภคและการแปรรูปไม่มากและมีความคุ้นชินกับการใช้ของที่ผลิตจากไทย แบรนด์ไทย ปัจจัยเหล่านี้จึงทำให้โอกาสการเติบโตทางการค้าการลงทุนของไทยมีมาก

ขณะนี้ถือว่าไทยยังเป็นศูนย์กลางทางการเงินและเศรษฐกิจของ CLMVT กล่าวคือประเทศไทยมีGDP รวมเกือบ 60 % ของ CLMVTแต่ปัจจุบันประเทศเวียดนามกำลังขยับขึ้นมาแทนที่ โดยหลังจากไทยขึ้นค่าแรงเป็นวันละ 300 บาท นักลงทุนได้ย้ายฐานการผลิตไปประเทศเวียดนามเพื่อลดต้นทุน นอกจากนี้ในขณะที่ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย แรงงานหายาก แรงงานเลือกงาน ตรงกันข้ามกับประเทศเวียดนามซึ่งส่วนใหญ่คนอยู่ในวัยทำงาน ทำให้ค่าแรงงานถูก และมีให้เลือก รวมถึงรัฐบาลเวียดนามสนใจเรื่องพัฒนาการศึกษา เพราะฉะนั้นด้วยปัจจัยดังกล่าวเศรษฐกิจระยะยาวของเวียดนามจะไปได้ดีมาก ยิ่งไปกว่านั้นประเทศเวียดนามยังมีข้อตกลงที่เอื้อ ต่อการผลิตและการค้า และการยกเว้นภาษีกับนานาประเทศมากมาย โดยเฉพาะ ข้อตกลงการค้าเสรีระหว่าง อียู-เวียดนาม และการทำข้อตกลงการค้าเสรีกับสหราชอาณาจักร หลังจากการเกิด Brexitที่ทำให้ประเทศเวียดนามมีแต้มต่อเหนือกว่าประเทศไทย

ส่วนอินเดียเป็นอีกประเทศที่ไทยไม่ควรมองข้ามในเรื่องโอกาสทางการค้า เนื่องจากประเทศอินเดียมีจำนวนประชากรมากถึง 1,400 ล้านคน และจำนวน 400 ล้านคนเป็นกลุ่มผู้มีกำลังซื้อ นอกจากนี้อินเดียยังสามารถสร้าง Start Up ได้วันละ 1 คน และขณะนี้มี Unicorns ถึง 30 คน อันแสดงให้เห็นการเติบโตทางเศรษฐกิจ และสังคมของอินเดีย ซึ่งน่าจะเป็นกลุ่มลูกค้าที่สำคัญของไทยได้

ดร.ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร
แผนพัฒนา 5 ปี สภาประชาชนแห่งชาติจีน หนุนการส่งออกสินค้าไทยไปจีน 

ดร.ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร กรรมการบริหารIBERDได้แสดงความคิดเห็นในเรื่อง New China EconomicPlan, Digital Business in the Next 20 Yearsโดยได้กล่าวถึง แผนพัฒนา 5 ปี ฉบับที่ 14(2564-2568)ที่สภาประชาชนแห่งชาติจีน(NPC) ได้เผยแพร่เมื่อต้นเดือนมีนาคม 2564 ที่ผ่านมา ว่า เป็นแผนพัฒนาที่มุ่งเน้นการเปิดกว้างและปฏิรูปเชิงลึก โดยเฉพาะการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ แก้ปัญหาหนี้และการผลิตเกินตัว พร้อมสร้างภาคเศรษฐกิจใหม่ โดยการเปิดกว้างของจีน ได้แก่การเพิ่มจำนวนเขตการค้าเสรี (Free Trade Zone) จีนได้ทดลองใช้เขตการค้าเสรีมา 6-7 ปี แล้ว แล้วได้ขยายวงไป จนวันนี้มี 14มณฑลมหานครในเมืองจีน ซึ่งได้เปิดกว้างรองรับการลงทุนของต่างชาติภายใต้ระบบ(Negative list) หรือการประกาศสิ่งที่ห้าม ที่เหลือสามารถลงทุนได้เพื่อรองรับการลงทุนในอุตสาหกรรมใหม่ๆ แห่งโลกอนาคตยังมีการสร้างความเติบโตแบบยั่งยืน หรือการพัฒนาอย่างสมดุลในเชิงคุณภาพ ในรูปแบบใหม่ที่เรียกกว่า "Dual Circulation"วงจรคู่หรือสองหมุนเวียน โดยเน้นการสร้างความสมดุลของเศรษฐกิจหมุนเวียนภายในประเทศและระหว่างประเทศ

หลักการ Dual Circulation คือการที่จีนจะพัฒนาอุตสาหกรรมภายในประเทศแบบพึ่งพาตนเองและมีการบริโภคภายในประเทศมากขึ้น จากการเพิ่มรายได้และความต้องการบริโภคของครัวเรือน รวมถึงจากการให้ความสำคัญกับกลุ่มชนชั้นกลางในจีนมากขึ้นแผนพัฒนาฉบับที่ 14 นี้จีนจะไม่ทิ้งเศรษฐกิจภายนอก หากจะใช้เศรษฐกิจภายในเป็นตัวเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจภายนอก

สำหรับแผนพัฒนา 5 ปีฉบับที่ 14 นี้ จะเน้นไปที่การวิจัยพื้นฐาน (Basic Research) และการปฏิวัตินวัตกรรม (Breakthrough) แตกต่างจากเดิมที่จีนเคยเน้นการวิจัยประยุกต์ (Applied Research) และการสร้างนวัตกรรม ต่อยอด จีนย้ำเน้นว่าการวิจัยในอุตสาหกรรมต้องไม่ใช่เพียงการวิจัยประยุกต์หรือการวิจัยต่อยอดบนพื้นฐานของเทคโนโลยีฝรั่ง แต่ต้องเป็นการวิจัยพื้นฐานเพื่อจุดหมายปฏิวัตินวัตกรรม

ดังนั้น การส่งออกสินค้าไทยไปจีนยังคงเป็นโอกาสทางการค้าที่ดี เพราะเศรษฐกิจของจีนยังเติบโตได้อีกมาก อุตสาหกรรมจีนยังคงต้องการวัตถุดิบนำเข้าจากไทย คนจีนมีกำลังซื้อที่สูงขึ้น จากการที่จีนกำลังเดินหน้าพัฒนาประเทศให้มีรายได้ต่อหัวสูง การที่เราเห็นจีนจะเติบโตทางเศรษฐกิจอีกมากในอนาคตจึงเป็นสิ่งที่เราควรที่จะเริ่มขยับการค้าการลงทุนไปใกล้จีนให้เพิ่มมากขึ้น ด้วยการมียุทธศาสตร์ที่ชัดเจนกับประเทศจีนการเดินหน้าพัฒนาความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจกับจีน ให้เกิดเป็นรูปธรรมอันนี้สำคัญมา อันจะเป็นประโยชน์ต่อการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจของไทยในระยะยาวอาทิไทยควรมุ่งเน้นสร้างความร่วมมือการลงทุนของจีนใน ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ EEC ให้มีความเป็นรูปธรรมมากขึ้น

ดร.พัทธนันท์ เพชรเชิดชู
การสร้าง Innovation ที่ใช้ประโยชน์จาก Digital Technology

ด้าน ดร.พัทธนันท์ เพชรเชิดชู รองอธิการสายงานวิชาการ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ได้แสดงความเห็นในเรื่องProspects for Education in Digital Transformation and Economy ไว้ว่าทุกประเทศ มีการระบุนโยบายการพัฒนาการศึกษาในแผนการพัฒนาประเทศ ในประเทศไทย นโยบายด้านการพัฒนาการศึกษาล่าสุดมาพร้อมกับนโยบายด้าน Industry 4.0 และ Digital Transformation

 ด้วยเหตุนี้เราจึงต้องมีการพัฒนาในด้านการสร้าง Innovation ที่ใช้ประโยชน์จาก Digital Technology สถาบันการศึกษาต้องพัฒนานักศึกษาให้เป็นแรงงานที่มีคุณภาพและสามารถสร้าง Productivity นอกจากนี้นักศึกษาควรมี Digital Literacy Skills ที่สามารถใช้ประโยชน์จาก Digital Technology ได้ตรงจุด รวมทั้งมีความสามารถคิดวิเคราะห์ ปรับตัวและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ ขณะนี้การเรียนการสอน ระดับมัธยมและระดับอุดมศึกษา ในประเทศไทย ได้บรรจุหลักสูตรที่เรียกว่า STEM Education โดยหลายแห่งมีการเพิ่มในส่วนของ Entrepreneurship หรือทักษะการเป็นผู้ประกอบการเข้าไปด้วย เพื่อสร้างคนให้มีทักษะในการคิด วิเคราะห์ แก้ไขปัญหา และปรับตัวได้ไว

นโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของทุกประเทศจะเชื่อมโยงกับแผนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพราะถือเป็นเครื่องมือทางกลยุทธ์ที่สำคัญ ดังนั้น อยากให้มองว่าเรามีจุดแข็ง หรือ เก่งด้านใดที่สามารถช่วยให้เราคว้าโอกาสที่มีอยู่ในสังคมและเศรษฐกิจโลก เราจะต้องนำจุดแข็งนั้น มาสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน และนำนโยบายดังกล่าว มากำหนดแผนหลักในการพัฒนาคนเพื่อสร้างความเติบโตอย่างยั่งยืนให้กับประเทศ

ทั้งนี้ ประเทศไทยจะพัฒนาการศึกษาได้ ต้องเชื่อมโยงกระบวนการพัฒนาความรู้ และ Innovation กับ ประเทศที่โดดเด่นด้านนี้ โดยสามารถสร้างความร่วมมือในการถ่ายทอดเทคโนโลยี และนวัตกรรมระหว่างมหาวิทยาลัยไทยกับมหาวิทยาลัยนานาชาติ เช่น ประเทศจีนและอินเดีย ที่มีความโดดเด่นในด้าน Technology และ Engineering เช่น เรื่องของ Blockchain และ AI โดยผ่านโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาและบุคลากร การทำวิจัยและการพัฒนาหลักสูตรร่วมกัน

ดร.พัทธนันท์ กล่าวในตอนท้ายว่า การพัฒนา IT Infrastructure ก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะหากทุกพื้นที่เข้าถึงอินเทอร์เนตสาธารณะได้ จะช่วยเปิดโอกาสให้คนไทยมีโอกาสค้นคว้าหาความรู้ด้วยตัวเองได้มากขึ้น โดยเฉพาะความรู้นอกห้องเรียน และการเรียนรู้ตลอดชีวิต ในปัจจุบันมี Content ออนไลน์มากมายที่เข้าถึงได้ฟรี แต่ Content ส่วนใหญ่ มีเนื้อหาเขียนเป็นภาษาอังกฤษ ดังนั้นเพื่อให้สามารถเข้าใจ Content เหล่านั้นได้ การพัฒนาความสามารถการใช้ภาษาอังกฤษของคนไทยจึงเป็นเรื่องหนึ่งที่ควรเร่งผลักดันเช่นกัน

* * *คลิกLikeเพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า"SMEsผู้จัดการ" รับข่าวสารในแวดวงธุรกิจเอสเอ็มอีที่สมบูรณ์แบบที่สุด * * *

SMEs manager


กำลังโหลดความคิดเห็น