xs
xsm
sm
md
lg

เอสบีเค เฮอร์เบอลิสท์ “ผู้ผลิตยาวีกิ๊ฟ” ชิงเปิดตัววิจัยกัญชาเพื่อการแพทย์ จับมือ มรภ.สวนสุนันทา แห่งแรกมีหลักสูตรกัญชา

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



กัญชา ใครทำก่อนรวยก่อน ทำให้ได้เห็นผู้ประกอบการในวงการอาหารเสริม ตำรับยาสมุนไพร ต่างให้ความสนใจ เพื่อจะได้เป็นผู้ผลิตรายแรกๆ ขั้นตอนการนำกัญชามาใช้ยังมีข้อกฎหมายอีกหลายข้อ ที่ผู้ประกอบการต้องหาช่องทาง รวมถึง การนำกัญชามาใช้ได้ ต้องร่วมวิจัย กับทางสถาบันการศึกษา และหนึ่งในนั้น คือ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ที่ได้ทุ่มเทกับการวิจัยกัญชา มาก่อนหน้านี้ประมาณ 3 ปี



มรภ.สวนสุนันทา แห่งแรกที่มีหลักสูตร กัญชาเวชศาสตร์

การวิจัยและพัฒนาสารสกัดจากกัญชาเพื่อการแพทย์ ของทางมหาวิทยาลัย ฯ เกิดขึ้นมา 3 ปีที่ผ่านมา โดยทางมหาวิทยาลัยฯ มี วิทยาลัยสหเวชศาสตร์ ที่เปิดสอนด้านการแพทย์แผนไทยอยู่แล้ว และพอมีกระแสของกัญชา ทางมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาจึงเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศที่มีหลักสูตรกัญชาเวชศาสตร์ เพื่อผลิตกำลังคนรองรับการวิจัย การแพทย์ และวิทยาศาสตร์ด้านกัญชา การสกัดน้ำมันกัญชา

รองศาสตราจารย์ ดร.สมเดช รุ่งศรีสวัสดิ์ คณบดีวิทยาลัยสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา กล่าวว่า การนำกัญชามาเป็นส่วนผสมของยารักษาโรคเป็นองค์ความรู้ใหม่ที่วิทยาลัยสหเวชศาสตร์ต้องศึกษา วิจัย ค้นคว้าอย่างจริงจังและต้องร่วมมือกับเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน สถาบันการวิจัยทางการแพทย์ที่น่าเชื่อถือทั้งในและต่างประเทศเพื่อนำกัญชามาป้องกัน บรรเทา หรือรักษาการเป็นโรคต่างๆให้แก่ประชาชน

สำหรับการทำข้อตกลง MOU ระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา กับภาคเอกชน ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ ที่ผ่านมาทางมหาวิทยาลัยฯ ได้มีการทำMOU ไปแล้วหลายราย แต่อยู่ระหว่าง การทำวิจัยร่วมกัน ล่าสุด ได้ทำวิจัยร่วมกับ เอสบีเค เฮอร์เบอลิสท์ ผนึกความร่วมมือลงนาม MOU กับ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เพื่อนำงานวิจัยและพัฒนาแปรรูปกัญชาเพื่อการแพทย์ เตรียมนำองค์ความรู้ และนำประโยชน์จากกัญชามาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ นำร่องในกลุ่มสมุนไพรเสริมอาหาร ชาชงสมุนไพร

นายชาญสิทธิ์ อนันต์วีร์วิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสบีเค เฮอร์เบอลิสท์ จำกัด
ภาคเอกชน ทำ MOU สถาบันการศึกษาวิจัยกัญชา ถึงจะขอ อย.ได้

นายชาญสิทธิ์ อนันต์วีร์วิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสบีเค เฮอร์เบอลิสท์ จำกัด เจ้าของผู้ผลิตยาสมุนไพรที่รู้จักกันในชื่อว่า วีกิ๊ฟ กล่าวถึงการทำวิจัยกัญชา ร่วมกับ ทางมรภ.สวนสุนันทา ในครั้งนี้ ว่า พืชกัญชากำลังเป็นกระแสที่ถูกพูดถึงมากในสังคมไทย สำหรับการนำสารสกัดจาก "กัญชา" มาใช้ในวงการแพทย์ ที่เมื่อนำมาแปรรูป ให้เป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ก็สามารถเกิดประโยชน์ให้กับคนไทยได้ จากงานวิจัยเชิงวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา โดยวิทยาลัยสหเวชศาสตร์ ได้ผ่านการรับรอง ได้รับใบอนุญาตปลูกกัญชาเพื่อการแพทย์และการวิจัยจากศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กระทรวงสาธารณสุข (ศอ.ปส.สธ.) พร้อมจัดตั้งศูนย์การผลิต สกัด แปรรูปกัญชาเพื่อการแพทย์ และร่วมกับเครือข่ายวิจัยและพัฒนากัญชาเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติต่อไป นั้น

ทั้งนี้ บริษัทฯ เล็งเห็นประโยชน์ดังกล่าว และมีความเชื่อมั่นจากประโยชน์คุณาปการที่คนไทยจะได้รับ จึงได้ร่วมบันทึกข้อตกลง ลงนาม MOU ร่วมกันในการวิจัยและพัฒนาแปรรูปกัญชา กับ ทางมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เพื่อนำมาใช้ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ชาชงสมุนไพร และอื่นๆ ที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ โดยเราจะรับซื้อวัตถุดิบส่วนของกัญชา ที่สวนสุนันทาได้รับการอนุญาตอย่างถูกต้องในการปลูกกัญชา นำมาเข้าโรงงาน และนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์คุณภาพ ออกจำหน่ายในร้านขายยา และคลินิกแพทย์แผนไทยทั่วประเทศ


“ผลิตภัณฑ์ใหม่ยังต้องอาศัยให้คำแนะนำและสร้างความเข้าใจด้านประโยชน์ที่ได้จากการแปรรูปกัญชา จึงมองว่าบุคลากรทางการแพทย์ เภสัช และผู้เชี่ยวชาญจะสามารถให้ข้อมูลรายละเอียดกับผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ยังจำหน่ายผ่านออนไลน์ ของบริษัทฯ เองทั้ง IG Facebook และWebsite โดยมีผู้เชี่ยวชาญของบริษัทฯ เป็นผู้ให้ข้อมูลได้ชัดเจน” นายชาญสิทธิ์ กล่าว

ปัจจุบัน จะเห็นว่า ผลิตภัณฑ์แปรรูปกัญชา เริ่มมีให้เห็นในประเทศไทยมากว่า 2 ปีแล้ว นำมาแปรรูปเป็นอาหาร เครื่องดื่ม อาหารเสริม เครื่องสำอาง อาหารสัตว์ ตลอดจนผลิตภัณฑ์ยา และในวงการแพทย์ เมื่อการศึกษางานวิจัยหลายสถาบันการศึกษา ต่างก็เริ่มตื่นตัวและมีงานวิจัยเรื่องประโยชน์จากกัญชามาแปรรูปเพิ่มมากขึ้น มองว่าจะเป็นประโยชน์กับทั้งผู้บริโภค และภาคธุรกิจ ผู้ประกอบการที่จะได้มีการปรับตัวและเกิดการแข่งขันที่เสรีมากขึ้นนั่นเอง และคาดการณ์ว่าอนาคตอันใกล้นี้โอกาสของผลิตภัณฑ์กัญชาแปรรูปของไทยจะสร้างรายได้ส่งออกให้กับประเทศไทยอย่างแน่นอน


บริษัทมีตำรับยากว่า 100 ชนิด พร้อมขึ้นทะเบียนรวมถึงกัญชา

ในส่วนของบริษัท ในฐานะเป็นผู้ผลิต และจัดจำหน่ายตำรับยาแพทย์แผนไทย เรามีตำรับยาสมุนไพรที่ต้องใช้กัญชาเป็นส่วนผสมอยู่แล้ว และครั้งนี้ พอเปิดเสรีให้นำกัญชามาใช้ได้ช่วยทำให้เราได้ทำวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ อีกหลายตัว ที่จะนำส่วนผสมของกัญชา ทั้งที่ สาร THC และ สารสกัด CBD ที่ใช้ในวงการคอสเมติก ในส่วนของการนำสารสกัดมาใช้ในตำรับยาแพทย์แผนไทย เรามีความพร้อมอยู่แล้ว เรามีตำรับยาขึ้นทะเบียนไว้เป็น 100 ชนิด แต่อยู่ในขั้นตอนของการของอนุญาต จาก องค์การอาหารและยา ซึ่งต้องบอกว่าไม่ใช่เรื่องง่ายในขณะนี้ เพราะเป็นเรื่องใหม่ กับ อย. ต้องใช้เวลาในการพิจารณานานกว่าสมุนไพรอื่นๆ ที่เราได้เคยขออนุญาต อย. ไป

สำหรับผลิตภัณฑ์ตัวแรก ที่น่าจะเปิดตลาดได้ในก่อน คือ ชากัญชา และผลิตภัณฑ์ในกลุ่มคอสเมติก เช่น สบู่ ครีมแก้ริดสีดวง และ ศุขไศยาสน์ ช่วยให้นอนหลับ ฯลฯ ในส่วนของ ยาน้ำสมุนไพร วีกิ๊ฟ ในอนาคตมีแผนที่จะนำส่วนผสมของกัญชาไปใช้เป็นส่วนผสมด้วยเช่นกัน แต่จะออกมาในรูปแบบไหน ก็คงจะต้องพิจารณากันอีกที่ หนึ่ง

ในส่วนของการปลูกกัญชา ทาง บริษัทฯ ร่วมกับทางมหาวิทยาลัยทำการพัฒนาสายพันธุ์กัญชา เพื่อนำมาปลูกในพื้นที่ของเราด้วยเช่นกัน โดยโปรเจคของการพัฒนาวิจัย กัญชา ในช่วงเริ่มต้นที่ร่วมกับทาง มหาวิทยาลัยฯ ในครั้งนี้ ใช้งบไปกว่า 5 ล้านบาท และคาดว่า ถ้าจบโปรเจค จนทางบริษัทมีผลิตภัณฑ์ออกจำหน่าย และสามารถปลูกกัญชาใช้เองได้ ตั้งเป้าไว้ถึง 10 ถึง 20 ล้านบาท ส่วนงบโฆษณาประชาสัมพันธ์ตั้งไว้ถึง 5-10 ล้านบาท หลังจากเปิดตัวผลิตภัณฑ์ กัญชาออกสู่ตลาด

 รองศาสตราจารย์ ดร.สมเดช รุ่งศรีสวัสดิ์
มรภ.สวนสุนันทา พร้อมร่วมเอกชน ขับเคลื่อนกัญชาครบวงจร

างด้าน รองศาสตราจารย์ ดร.สมเดช รุ่งศรีสวัสดิ์ คณบดีวิทยาลัยสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา กล่าวว่า เราพร้อมที่จะร่วมมือกับภาคเอกชน หรือส่วนราชการที่จะดำเนินการพัฒนากัญชาเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ ตั้งแต่ขั้นต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ เริ่มตั้งแต่ การปลูก การสกัด และการวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ แต่ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามกฎหมาย ซึ่งการจะลงทุนเท่าไรขึ้นอยู่กับผลผลิตที่เราต้องการจะทำ ในเบื้องต้นวิทยาลัยสหเวชศาสตร์ตั้งงบประมาณในการดำเนินการไว้ที่ 100 ล้านบาท ในการสร้างโรงสกัด ห้องปฏิบัติการทดลอง และการวิจัย ส่วนการปลูกจะให้เกษตรกรวิสาหกิจชุมชนเป็นผู้ดำเนินการโดยมหาวิทยาลัยจะเป็นพี่เลี้ยงให้

ภายหลังการรับใบอนุญาตปลูกกัญชา วิทยาลัยสหเวชศาสตร์เรามีความพร้อมด้านสถานที่ปลูกแบบปิด ที่ทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่ง มีโรงผลิตยาและผลิตภัณท์จากสมุนไพร มาตราฐาน WHO GMP พร้อมผลิตน้ำมันกัญชา และตำรับกัญชาแพนไทย16 ตำรับ มีคลินิกกัญชาเวชศาสตร์ ที่ได้รับใบอนุญาตให้ครอบครองกัญชาและจำหน่ายแล้วเช่นกัน ผู้ที่สนใจ ติดต่อได้ที่ วิทยาลัยสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา

* * *คลิก Likeเพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า "SMEsผู้จัดการ"รับข่าวสารในแวดวงธุรกิจเอสเอ็มอีที่สมบูรณ์แบบที่สุด * * *


กำลังโหลดความคิดเห็น