xs
xsm
sm
md
lg

(ชมคลิป) ใช้ขี้ไก่ผลิตไฟฟ้า ในฟาร์มเลี้ยงไก่ไข่ งานวิจัย ITAP สู่ฟาร์มไก่ “รวมพรมิตรฟาร์ม” ลดต้นทุน คืนทุนไวไม่ต้องรอนาน

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



“การลดต้นทุน” และ “การทำกำไร” ถือเป็นอีกหนึ่งโจทย์ในการดำเนินงานของผู้ประกอบการในทุกๆ กิจการ ที่ต่างมีเป้าหมายในการสร้างรายได้ให้กับกิจการ เพื่อให้คุ้มค่ากับสิ่งที่ได้ลงทุนไป ในช่วงที่ได้เริ่มต้นกิจการ การนำเทคโนโลยี และข้อมูลความรู้จากงานวิจัยต่างๆ มาสนับสนุนการดำเนินกิจการ ก็นับเป็นอีกหนึ่งวิธี ที่สามารถช่วยให้ผู้ประกอบ เช่นที่ ฟาร์มไก่ไข่ ของทาง บริษัท รวมพรมิตรฟาร์ม จำกัด อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง ที่ได้มีการนำงานวิจัย จากโปรแกรม ITAP เครือข่ายมหาวิทยาลัยพะเยา มาช่วยปรับเปลี่ยน จนสามารถลดต้นทุนในเรื่องการใช้ไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นายชาญวิทย์ เวชชากุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท รวมพรมิตรฟาร์ม จำกัด
นายชาญวิทย์ เวชชากุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท รวมพรมิตรฟาร์ม จำกัด ได้เล่าถึงความเป็นมาให้ฟังว่า ทางบริษัท ได้ดำเนินงานทำฟาร์มไก่มาตั้งแต่ พ.ศ.2526 โดยแรกเริ่มมีเพียง 50 ตัวเท่านั้น จนกระทั่งในปัจจุบันได้มีการขยายการผลิตจนได้พัฒนาฟาร์มเลี้ยงไก่ได้ 5 แสนตัว ซึ่งสามารถผลิตไข่ได้ประมาณ 4 แสน 5 หมื่นฟองต่อวันป้อนให้กับตลาดไข่ไก่ในประเทศ


ด้วยการทำฟาร์มไก่นั้น โจทย์ที่สำคัญนอกกจากการขายไข่และเลี้ยงไก่ ก็คือการกำจัดขี้ไก่และน้ำเสียภายในฟาร์มให้ถูกวิธี เพื่อที่จะไม่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนโดยรอบ ทางฟาร์มจึงได้ประสานงานกับ ทาง สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ได้จัดทำโปรแกรม ITAP โปรแกรมดังกล่าวเป็นโครงการเพื่อให้บริการภาคอุตสาหกรรมในการวิจัยและพัฒนา ด้วยการสร้างกลไกเชื่อมโยงระหว่างผู้ให้บริการเทคโนโลยี กับผู้ใช้เทคโนโลยี ในรูปแบบของการจัดหาผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค นักวิจัย เพื่อให้ความช่วยเหลือด้านการวิจัยและพัฒนา และให้คำปรึกษาและแก้ไขปัญหา ผู้ประกอบการ SMEs

ดร.ศตวรรษ ทนารัตน์ อาจารย์ประจำคณะพลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยพะเยา
ทางฟาร์มจึงได้ทางผู้เชี่ยวชาญโปรแกรม ITAP เครือข่ายมหาวิทยาลัยพะเยา โดยมี ดร.ศตวรรษ ทนารัตน์ อาจารย์ประจำคณะพลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยพะเยา มาช่วยพัฒนาระบบในการกำจัดขี้ไก่และน้ำเสียภายในฟาร์ม ด้วยการติดตั้ง “ระบบบำบัดน้ำเสียแบบไม่ใช้อากาศ” ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่สามารถเปลี่ยนน้ำเสียและของเสียให้กลายเป็นก๊าซชีวภาพได้ ซึ่งก๊าซชีวภาพที่ได้นั้นสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในรูปแบบพลังงานทดแทนได้ ด้วยการผลิตเป็นไฟฟ้าด้วยเครื่องปั่นไฟฟ้า และสามารถนำไฟฟ้านั้นมาใช้ในภายในฟาร์มได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ทำให้ทางฟาร์มสามารถประหยัดค่าไฟฟ้าได้ถึง 5 แสนบาทต่อเดือน และสามารถประหยัดได้ถึงปีละ 6 ล้านบาท การลดต้นทุนในเรื่องนี้ จึงทำให้ทางฟาร์มสามารถคืนทุนที่ลงทุนไว้ในระยะเวลาสั้นอีกด้วย

“ระบบบำบัดเสียน้ำเสียแบบไม่ใช้อากาศ”
“ระบบบำบัดเสียน้ำเสียแบบไม่ใช้อากาศ” นอกจากจะช่วยลดต้นทุนในเรื่องไฟฟ้า ก็ยังช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องกลิ่นเหม็น เนื่องจากเป็นการหมักย่อยน้ำเสียในระบบปิด และน้ำที่ผ่านการบำบัดจะสะอาดได้มาตรฐานตามที่กรมควบคุมมลพิษกำหนดไว้ ทำให้ชุมชนและสิ่งแวดล้อมโดยรอบฟาร์มไม่ได้รับผลกระทบในเรื่องนี้ อีกทั้งในอนาคตทางฟาร์มยังได้มีการวางแผนสร้างท่อก๊าซชีวภาพที่เหลือใช้ ส่งไปยังชุมชนโดยรอบ เพื่อให้ชาวบ้านได้ใช้ประโยชน์ร่วมกันเรื่องนี้


การนำเทคโนโลยีมาช่วย และข้อมูลความรู้จากงานวิจัยต่างๆ มาสนับสนุนการดำเนินกิจการ ก็นับเป็นอีกหนึ่งวิธี ที่สามารถช่วยให้ผู้ประกอบได้ลดต้นทุน และช่วยปรับเปลี่ยนการกำจัดของเสียภายในฟาร์ม จนสามารถลดต้นทุนในเรื่องการใช้ไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ผู้ประกอบการที่สนใจติดต่
โปรแกรม ITAP โทร. 02 - 564-7000 ต่อ ITAP
บริษัทรวมพรมิตรฟาร์ม โทร. 053 - 835 898




*
* *
คลิกLikeเพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า"SMEsผู้จัดการ"
รับข่าวสารในแวดวงธุรกิจเอสเอ็มอีที่สมบูรณ์แบบที่สุด
และร่วมสนุกกับกิจกรรมลุ้นรับของรางวัลมากมายคลิกที่นี่เลย!! * * *





SMEs manager


กำลังโหลดความคิดเห็น