xs
xsm
sm
md
lg

คัดมา กับ 5 ผลงานวิจัย นวัตกรรมไม่ต้องลงทุนสูง พร้อมถ่ายทอด ผปก.หน้าใหม่

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


จากการที่รัฐบาล ต้องการผลักดันให้ ผู้ประกอบการหันมาให้ความสำคัญ กับการผลิตสินค้าที่มีงานวิจัย รองรับ หรือ เป็นสินค้านวัตกรรม เพื่อจะได้สามารถแข่งขันได้ในเวทีระดับโลก ครั้งนี้ ได้รวบรวมผลงานวิจัยที่รอการถ่ายทอด มาเผยแพร่เพื่อให้ ผู้ที่สนใจ ต้องการรับการถ่ายทอด ได้เป็นเถ้าแก่แบบมีนวัตกรรม

ครั้งนี้ ได้นำผลงานวิจัย และเทคโนโลยีนวัตกรรม รอการถ่ายทอดมาแนะนำ ให้กับนักลงทุน ดังนี้

ผงผักปรุงรส เป็นผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ 100%


ผลิตโดย โรงงานต้นแบบ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร โดยการสนับสนุนของ สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) BEDO

ที่มา จังหวัดสกลนคร มีพืชหลายชนิด โดยเฉพาะพืชสมุนไพรท้องถิ่นที่หลากหลาย มีการวิถีการใช้ประโยชน์ตามแนวทางภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่น ผลิตภัณฑ์ผงนัวเกิดจากการนำสมุนไพรท้องถิ่นหลายชนิดมาผสมผสานจนเกิดรสชาติอร่อยกลมกล่อม ใช้ปรุงอาหารให้มีรสชาติอร่อย เทียบได้กับ ผงชูรส

ทั้งนี้ ถึงแม้จะมีการนำผงนัวมาใช้ปรุงรสอาหารแทนผงชูรสบ้างแล้ว แต่ยังมีปัญหาเรื่องกลิ่นไม่พึงประสงค์ของ สมุนไพรบางชนิดที่ยังไม่สามารถควบคุมได้ ด้วยเหตุนี้ การพัฒนาการแปรรูปสมุนไพรเป็นผงนัว ให้มีรสชาติอร่อย ได้ประโยชน์จาก สมุนไพรนานาชนิด และสามารถช่วยลดอัตราการใช้ผงชูรสที่มีอันตรายต่อสุขภาพ จะช่วยให้ชุมชนสามารถนำ เอาภูมิปัญญาท้องถิ่น มาขยายผลด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่า (Value creation) ให้กับผลิตภัณฑ์ชุมชน และสามารถแข่งขันได้ในระดับ สากลต่อไป

สำหรับผงผักปรุงรส เป็น ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ 100% ประกอบไปด้วยพืชสมุนไพรในท้องถิ่น มีสรรพคุณในการบำรุงสุขภาพและบรรเทาโรค บางชนิด มีปริมาณโซเดียมต่ำเหมาะสำหรับกลุ่มผู้ป่วยที่ต้องการควบคุมปริมาณโซเดียม และกลุ่มคุณแม่ที่ทำอาหารให้ลูกน้อย รับประทาน อีกทั้งเป็นผลผลิตจากงานวิจัยที่ค้นคว้าสูตรที่มีรสชาติอร่อยกลมกล่อม การรักษาคุณภาพและรูปแบบที่สะดวกง่ายต่อ การนำไปปรุงอาหาร มีคุณภาพได้มาตรฐาน

สนใจสอบถามข้อมูล คุณวิจิตราภรณ์ ถนัดทาง หน่วยงาน : ส านักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) โทรศัพท์ : 02-1411690 อีเมล์ : wichitraporn@bedo.or.th





เซรั่มจากสารสกัดโปรตีนไหม



โดยการสนับสนุนของ สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) BEDO

ที่มา ประเทศไทย สามารถผลิตเส้นไหมได้กว่า 400 ตันในแต่ละปี เส้นไหมมีโปรตีนหลัก 2 ชนิด ได้แก่ โปรตีนเส้นไหม (ไฟโบรอิน, Fibroin) และ โปรตีนกาวไหม (เซริ ซิน, Sericin) โปรตีนไฟโบรอิน เป็นองค์ประกอบหลักประมาณร้อยละ 70-80 โดยนำหนัก นำไปใช้เป็นเส้นใยทอเป็นผ้าไหม ส่วนโปรตีน กาวไหม คิดเป็นร้อยละ 20-30 โดยนำหนัก จะถูกกำจัดออกมาจากเส้นไหม เป็นของเหลือทิ้ง จากกระบวนการผลิตเส้นไหมดิบกว่า 30 ตันในแต่ละปีจากทั่วประเทศ โดยไม่มีการนำกลับมาใช้ประโยชน์ และหากไม่กำจัดกาวไหมอย่างถูกวิธีจะท้าให้เกิด ปัญหากับ สิ่งแวดล้อม

โปรตีนกาวไหมเซริซิน มีคุณสมบัติด้านเวชสำอาง มีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ไทโรซิเนส ยับยั้ง การท้างานของเอนไซม์อิลาสเทส ท้าให้เกิดความชุ่มชื้นกับผิวพรรณ เมื่อใช้เป็นวัตถุดิบของผลิตภัณฑ์เครื่องส้าอาง จากคุณสมบัติดังกล่าว จะเห็นได้ว่าโปรตีนกาวไหมมีศักยภาพสูงในการพัฒนาเป็นวัตถุดิบในเครื่องสำอาง จึงได้พัฒนาผลิตภัณฑ์เซรั่มที่มีส่วนผสมสารสกัดจาก ไหมคุณภาพดี ด้วยการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในกระบวนการผลิตเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ พร้อมสนับสนุนให้ชุมชนกลุ่มผู้ทอผ้าไหม ของประเทศได้มีโอกาสสร้างรายได้จากการเป็นผู้จัดเตรียมวัตถุดิบชั้นดีป้อนให้อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง เพิ่มศักยภาพการแข่งขันทาง ธุรกิจต่อไป


สนใจสอบถามข้อมูล คุณวิจิตราภรณ์ ถนัดทาง หน่วยงาน : ส้านักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) โทรศัพท์ : 02-1411690 อีเมล์ : wichitraporn@bedo.or.th




ผลิตภัณฑ์ยาสมุนไพร ตำรับประสะไพล

ผลงาน นักวิจัย ดร.สุพนิดา วินิจฉัย และคณะ สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตผลทางการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ที่มา ในปัจจุบันจะมีความต้องการในการนำพืชสมุนไพรไทยมาใช้ในการรักษาโรคมากขึ้น เนื่องจาก กระแสความนิยมผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติและแพทย์ทางเลือกที่เป็นภูมิปัญญาอันทรงคุณค่าของไทยมาแต่โบราณ แต่สิ่งสำคัญอีก ประการที่จะทำให้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยเติบโตอย่างยั่งยืนได้ก็คือ กระบวนการผลิตที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน เป็นการยกระดับ คุณภาพการผลิตยาสมุนไพรตามมาตรฐานสากลและสามารถเข้าสู่ตลาดอาเซียนหรือตลาดสากลได้ ประสะไพลจึงเป็น ทางเลือกหนึ่งในการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคดังกล่าว จึงพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์แคปซูลตำรับ ยาประสะไพล รวมทั้งกลุ่มลูกค้าเป้าหมายกว้าง ได้แก่ สุภาพสตรีวัยเจริญพันธุ์ที่ต้องการทางเลือกใหม่ในการบำรุงสุขภาพด้วยยา สมุนไพรที่มีคุณภาพ ทั้งนี้เพื่อสร้างมาตรฐานและคุณภาพให้กับผลิตภัณฑ์ ด้วยการพัฒนาด้านกรรมวิธีการผลิต การควบคุม คุณภาพวัตถุดิบตลอดจนควบคุมกรรมวิธีการผลิต อีกทั้งยังมีการตรวจสอบคุณภาพในด้านต่างๆ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์ที่ พัฒนาได้มีคุณภาพที่ดีที่สุดและเป็นไปตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด


สำหรับยาสมุนไพรตำรับประสะไพล เป็นตำรับที่มีไพลเป็นส่วนประกอบหลัก และมีส่วนประกอบของสมุนไพรอื่นๆ เช่น ผิว มะกรูด กระเทียม หัวหอม พริกไทย ดีปลี ขิง ขมิ้นอ้อย เป็นต้น ด้วยสรรพคุณที่บรรเทาอาการปวดประจำเดือน ประจำเดือนมาไม่ ปกติ ลดอาการปวดเกร็งของมดลูกโดยเฉพาะช่วงมีประจำเดือน ช่วยบำรุงโลหิต แก้จุกเสียด

สนใจสอบถามข้อมูล คุณวิจิตราภรณ์ ถนัดทาง หน่วยงาน : ส านักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) โทรศัพท์ : 02-1411690 อีเมล์ : wichitraporn@bedo.or.th







สารสกัดจากเปลือกเงาะ ส่วนผสมในเครื่องสำอาง


ลงานผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปรานอม ขาวเมฆ อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

ที่มา จากงานวิจัยพบว่า เมื่อนำสารสกัดในส่วนต่างๆ จากเปลือกเงาะ มาทดสอบฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ โดยใช้วิตามินซีและวิตามินอีเป็นสารเปรียบเทียบพบว่า สารสกัดจากเปลือกเงาะ มีค่า IC50 อยู่ในช่วง 0.01 ถึง 0.13 ppm ส่วนวิตามินซี และวิตามินอี มีค่า IC50 เท่ากับ 1.52 และ 0.59 ppm ตามลำดับ ซึ่งจะพบว่าสารสกัดจากเปลือกเงาะ ให้ผลในการต้านอนุมูลอิสระที่ดีกว่าวิตามินซีและวิตามินอีค่อนข้างสูง

นอกจากนี้ ยังพบว่าสารสกัดจากเปลือกเงาะเหล่านี้ยังช่วยยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ผิวมีสีหมองคล้ำ จากการศึกษาองค์ประกอบ ทางเคมีพบว่า สารประกอบที่น่าจะเป็นสารที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพนี้คือ ascorbic acid, 3,4-dihydroxybenzoic acid และ 3,4-dihydroxybenzaldehyde จากการค้นข้อมูลโดยใช้ฐานข้อมูล Science Direct ยังไม่พบว่ามีงานวิจัยใดสามารถแยก ascorbic acid ได้จากสารสกัดของเปลือกเงาะ


สนใจ ติดต่อได้ที่ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ ม.รังสิต




เบเกอรี่ลดพลังงานจากผลไม้ท้องถิ่นไทย

ผลงาน อาจารย์ จันทร์จนา ศิริพันธ์วัฒนา ประธานหลักสูตรเทคโนโลยีการประกอบอาหารและการบริการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

มหาวิทยาลัยสวนดุสิตเปิดสูตรการทำเค้กเบเกอรีลดพลังงานจากผลไม้ท้องถิ่น เพื่อเป็นทางเลือกให้กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชนที่สนใจอบรมแปรรูป เพิ่มมูลค่าวัตถุดิบที่มีอยู่ในท้องถิ่น เป็นของฝากให้กลุ่มนักท่องเที่ยวทั่วไปทั้งโดยเฉพาะกลุ่มชาวจีน และยุโรป ที่ชื่นชอบผลไม้ไทย โดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) สนับสนุนทุนวิจัย

สำหรับสูตรในการทำเค้กผลไม้ประจำถิ่น...จะคำนวณปริมาณแป้ง ไขมันซึ่งใช้น้ำมันพืช เนย เพื่อให้แต่ละชิ้นมีปริมาณแคลอรีและพลังงานน้อย ส่วนความหวานนั้นได้จากผลไม้ แต่ชนิดที่รสหวานไม่เท่ากัน อย่างเค้กเบเกอรีสูตรมะม่วง ต้องใช้ผลสุกงอม วัดความหวาน เพื่อลดปริมาณน้ำตาล จากนั้นนำมาหั่นเป็นชิ้นขนาดเท่าลูกเต๋าหรือใช้วิธียีให้เนื้อละเอียด นำแป้งสาลีสำหรับทำเค้ก น้ำตาล เนยสด ไข่ไก่ ตีให้เข้ากัน ใส่เนื้อมะม่วง นำเข้าตู้อบ 15-20 นาที จะได้เค้กเบเกอรีสีเหลืองทองพองฟูน่ารับประทาน กลิ่นหอมจำเพาะของผลไม้ที่นำไปผสม ให้พลังงาน 285.89 แคลอรีต่อชิ้น น้อยกว่าเค้กเบเกอรีกล้วยหอมที่ให้พลังงาน 323 แคลอรี


สนใจ ติดต่อ 08-1805-2623 หรือ 0-2244-5281




กำลังโหลดความคิดเห็น