xs
xsm
sm
md
lg

SACICT นำศิลปหัตถรรมไทย ลุยตลาดญี่ปุ่น ในงาน Interior Lifestyle, TOKYO

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


SACICT หรือ ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) นำงานคราฟต์ไทยที่เกี่ยวข้องกับ ไลฟ์สไตล์ในชีวิตประจำวัน เช่น สิ่งทอ เครื่องจักสาน เสื่อผ้า เครื่องแต่งกาย เซรามิก พร้อมโชว์ศักยภาพงานหัตถศิลป์ของไทย ในงาน Interior Lifestyle, TOKYO ประเทศญี่ปุ่น 17-19 กรกฎาคม 2562 เพื่อเชื่อมโยงงานหัตถศิลป์เข้าเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน

นางอัมพวัน พิชาลัย ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า ด้วยบทบาทและหน้าที่ของ SACICT ที่มีหน้าที่ในการต่อยอดภูมิปัญญาและส่งเสริมด้านการตลาดทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงการผลักดันพัฒนาผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน โดยใช้ภูมิปัญญา และส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เข้าไปสู่ชีวิตประจำวันของคนในปัจจุบันรอบตัว จึงได้นำงานหัตกรรมไทยของสมาชิก ครูศิลป์ ครูช่าง ทายาท และสมาชิกกลุ่มงานหัตถกรรมเข้าร่วมงานในครั้งนี้ เพื่อเผยแพร่ สร้างการรับรู้ และขยายตลาดในต่างประเทศ ตลาดญี่ปุ่นเป็นตลาดที่นิยมงานหัตถกรรม โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่ใช้วัตถุดิบธรรมชาติ เป็นตลาดที่ให้คุณค่ากับงานฝีมือ รู้จักและคุ้นเคยกับผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมของไทยดี SACICT

จึงคัดเลือกผลิตภัณฑ์ที่เชื่อว่าตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภค เช่น ผลิตภัณฑ์จักสาน เซรามิก ของใช้ในชีวิตประจำวันที่ทำจากวัสดุธรรมชาติ เช่น ถาดทำจากกาบกล้วย เพื่อทดสอบตลาด รับคำสั่งซื้อ รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นและเสียงตอบรับของตลาดที่มีต่อผลิตภัณฑ์ของสมาชิก โดย SACICT จะเป็นพี่เลี้ยงให้แก่สมาชิกในขั้นตอนเจรจาธุรกิจเพื่อสร้างการเรียนรู้ และประสบการณ์ เตรียมความพร้อมของผู้ผลิตรองรับการเติบโตอย่างยั่งยืน การเข้าร่วมงานนี้ ยังเป็นการศึกษาวิจัยตลาดควบคู่กันไป ซึ่งข้อมูลที่ได้รับจะนำไปประมวล เป็นข้อแนะนำ เช่น การปรับปรุงรูปแบบ หรือการกำหนดราคาให้เหมาะสมยิ่งขึ้น งาน Interior Lifestyle, Tokyo ครั้งนี้พบว่า ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความสนใจและตอบรับอย่างดี ก็เป็นสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับชีวิตประจำวันทั้งเครื่องจักสาน กระเป๋า ผลิตภัณฑ์สิ่งทอที่เกี่ยวข้องกับร่างกาย เช่น ผ้าพันคอ หมวก เป็นต้น

นอกจากประเทศญี่ปุ่นแล้ว SACICT ยังมีความร่วมมือ (MOU) กับ สาธารณรัฐเกาหลี ไต้หวัน และฝรั่งเศส เพื่อเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ และขยายตลาดงานศิลปะหัตกรรมระหว่างกันอย่างต่อเนื่อง โดยก่อนหน้านี้ได้รับเชิญให้เข้าร่วมงานที่ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งได้นำศิลปะทั้งที่เป็นของดั้งเดิม และศิลปะที่มีการพัฒนาให้มีความร่วมสมัย มีการเผยแพร่ข้อมูลสร้างการรับรู้ ส่งเสริมงานงานศิลปหัตถกรรม ไปสู่ตลาดอีกระดับหนึ่ง โดยกลุ่มของแกเลอรี่ต่างๆ เพื่อให้งานศิลปหัตกรรม ตอบโจทย์ตลาดต่างประเทศในทุกระดับ โดยเฉพาะกลุ่มที่รับรู้ในคุณค่าของงานศิลปะที่มีความสากลมากขึ้น ส่วนในแง่ของการตลาดต่างประเทศกลุ่มที่ซื้อสินค้าจากเรามากที่สุดคือ กลุ่มจีน รองลงมาคือกลุ่มอเมริกา กลุ่มยุโรป ฝรั่งเศส อิตาลี เกาหลี ญี่ปุ่น

นางอัมพวันกล่าวเพิ่มเติมว่า “งานศิลปหัตถกรรมเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต ไม่ว่าจะผลิตที่ประเทศไหน ประเทศไทยก็เช่นเดียวกัน คือ การทำงานที่ใช้ในชีวิตประจำวัน โดยใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น และมีความเกี่ยวเนื่องกับวัฒนธรรม ความเป็นอยู่ และปัจจุบันการผลิตของผู้ประกอบการไทยมีความเป็นสากลมากขึ้น ได้รับการยอมรับในต่างประเทศ ทั้งในด้านวัตถุดิบ ทักษะ แนวคิดจากภูมิปัญญา ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่เป็นคุณค่าของศิลปะ ทำให้ต่างชาติ ได้รับรู้ ได้เห็นและสื่อถึงเรื่องของวัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ ดังนั้นจึงการต่อยอดภูมิปัญญาไทย และเชื่อว่าเราสามารถตอบโจทย์ตลาดในเรื่องการนำงานศิลปะหัตกรรมเข้ามาอยู่ในชีวิตประจำวันในประเทศต่างๆ ได้เป็นอย่างดี”

* * * คลิก Like เพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า “SMEs ผู้จัดการ” รับข่าวสารในแวดวงธุรกิจเอสเอ็มอีที่สมบูรณ์แบบที่สุด และร่วมสนุกกับกิจกรรมลุ้นรับของรางวัลมากมาย คลิกที่นี่เลย!! * * *



กำลังโหลดความคิดเห็น