xs
xsm
sm
md
lg

สสว.อัดกลยุทธ์ SPEED 5 หลัก ตั้งเป้าพัฒนา ผปก.กว่า 8,800 ราย

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เดินหน้าโครงการพัฒนาผู้ประกอบการใหม่ ผลักดันธุรกิจ SME พร้อมอัดฉีดกลยุทธ์ SPEED 5 หลัก พร้อมขยายกลุ่มเป้าหมายสู่ SME ภาคเกษตร กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้หญิง รวมถึงสร้างศักยภาพให้แก่ผู้ประกอบการ คาดปี 2562 พัฒนาผู้ประกอบการกว่า 8,800 ราย

นายสุวรรณชัย โลหะวัฒนกุล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยว่า สสว.เริ่มดำเนินโครงการพัฒนาผู้ประกอบการใหม่ (SME Start up : Early Stage) ในปี 2559 ตามนโยบายของรัฐบาล โดยปรับใช้เทคโนโลยี นวัตกรรมเพื่อบ่มเพาะและพัฒนาผู้ประกอบการรุ่นใหม่ โดยเริ่มแรกจะดำเนินการเพียงพัฒนาผู้ประกอบการใหม่แบบทั่วไป แต่เนื่องจากตลาดในยุคปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดด ทำให้ สสว.ได้พัฒนาโครงการอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ได้สร้างผู้ประกอบการใหม่ไปแล้วกว่า 30,000 ราย ทั้งผู้ประกอบการทั่วไปและผู้ประกอบการในภาคเกษตร เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศกว่า 2,500 ล้านบาท
นายสุวรรณชัย โลหะวัฒนกุล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)
ทั้งนี้ พร้อมอัดฉีดกลยุทธ์ “SPEED” ผ่าน 5 หลักปฏิบัติ คือ S - SMART ฉลาดรอบรู้ P - Proactive ทำงานในเชิงรุก E - Efficiency ทำงานมีประสิทธิภาพ E - Exclusive มีความพิเศษเฉพาะตัว และ D - Digitalization ปรับกระบวนการทำงานสู่ระบบดิจิทัล พร้อมขยายกลุ่มเป้าหมายสู่ SME ภาคเกษตร กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้หญิง พร้อมผลักดันผู้ประกอบการที่มีศักยภาพเข้าสู่การยกระดับธุรกิจ เริ่มต้นปูพรมยกระดับมาตรฐานสินค้าและบริการผ่านการอบรมเชิงลึกที่ปรับให้เข้ากับแต่ละกลุ่มธุรกิจ ตั้งเป้าพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการกว่า 8,800 รายในปี 2562

นอกจากนี้ ปี 2562 ยกระดับการบ่มเพาะเชิงลึกให้มีความเฉพาะเจาะจงตามความเหมาะสมกับบริบททางการตลาด เทคโลยี และสังคม พร้อมปรับรูปแบบการดูแลให้คำปรึกษาให้เข้ากับผู้ประกอบการแต่ละกลุ่มมากขึ้น ให้สามารถเริ่มต้นธุรกิจและเติบโตต่อไปได้อย่างก้าวกระโดด โดยเน้นใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อน ภายใต้ความร่วมมือกับ 10 หน่วยงาน ได้แก่ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สถาบันสิ่งทอ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

โดยขยายสู่ผู้ประกอบการกลุ่มสูงอายุ กลุ่มผู้หญิง กลุ่มดิจิทัล กลุ่มสิ่งทอ พร้อมต่อยอดผู้ประกอบการที่มีศักยภาพสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรม ในโครงการยกระดับธุรกิจเริ่มต้นที่จะเชื่อมโยงงานวิจัยและเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นเครื่องมือพัฒนาโมเดลการดำเนินธุรกิจรูปแบบใหม่ พร้อมยกระดับสู่มาตรฐานสามารถตอบโจทย์ความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ โดยคาดว่าจะมีผู้สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการกว่า 12,000 ราย สามารถบ่มเพาะและพัฒนาให้เป็นผู้ประกอบการรายใหม่ที่สามารถดำเนินธุรกิจของตนได้อย่างยั่งยืนมากกว่า 5,000 ราย





* * * คลิก Like เพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า "SMEsผู้จัดการ" รับข่าวสารในแวดวงธุรกิจเอสเอ็มอีที่สมบูรณ์แบบที่สุด และร่วมสนุกกับกิจกรรมลุ้นรับของรางวัลมากมายคลิกที่นี่เลย!! * * *







กำลังโหลดความคิดเห็น