xs
xsm
sm
md
lg

“ผัก Done” กิจการเพื่อสังคม ออกแบบกล่องหมักปุ๋ยหวังแก้ปัญหาขยะ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


โครงการพลังเปลี่ยนแปลงเพื่อสังคม หรือ Banpu Champions for Change โครงการส่งเสริมผู้ประกอบกิจการเพื่อสังคมรุ่นใหม่ของไทย โดยบริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) และสถาบัน Change Fusion องค์กรไม่แสวงผลกำไร ครั้งนี้ได้ดำเนินการมาเป็นปีที่ 7 (Banpu Champions for Change 7) โดยในครั้งนี้มีหนึ่งในกิจการเพื่อสังคมที่มีชื่อว่า “ผัก Done” เป็นหนึ่งใน 5 ทีมที่ได้รับการคัดเลือกจากบ้านปูให้เป็นกิจการดีเด่น และได้รับทุนสนับสนุน 1.25 ล้านบาท เพื่อนำไปสานต่อความคิดสร้างสรรค์ให้เป็นไปตามแผนธุรกิจที่วางไว้
เมื่อหมักผ่านไป 2 อาทิตย์
มาทำความรู้จักกับทีม “ผัก Done” ผ่านการบอกเล่าของ “อรสรวง บุตรนาค" หนึ่งในผู้ก่อตั้ง เล่าว่า สำหรับกิจการ “ผัก Done” เกิดขึ้นมาจาก ความต้องการของ "มานิตา" และเพื่อน คือ “ธนกร เจียรกมลชื่น” และ “อรสรวง บุตรนาค” ที่มีความคิดตรงกัน ต้องการแก้ปัญหาขยะ ผ่านกิจการเพื่อสังคมของ “ผัก Done” คือ การกำจัดขยะ ด้วยการนำเศษอาหารมาเป็นส่วนสำคัญในการปรุงดินเพื่อนำมาเป็นปุ๋ยในการปลูกต้นไม้ และเพื่อตอบโจทย์ให้การปรุงดินด้วยเศษอาหารเป็นเรื่องที่ง่ายสำหรับคนเมืองที่มีพื้นที่จำกัด จึงได้ออกแบบกล่อง ซึ่งกล่องหมักปุ๋ย เป็นกล่องพลาสติก และเจาะรูสวมท่อเล็กภายในกล่อง เพื่อช่วยให้จุลินทรีย์มีช่องอากาศหายใจ และเติบโตได้ดีในกล่องดังกล่าว
 อรสรวง บุตรนาค  และ “ธนกร เจียรกลมชื่น” เจ้าของ
สำหรับกล่องหมักปุ๋ยดังกล่าวเกิดขึ้นมาจากไอเดียของ “อาจารย์ชูเกียรติ โกแมน” เจ้าของไอเดียสวนผักคนเมือง อาจารย์ได้ออกแบบกล่องหมักปุ๋ยขึ้นมา และกล่องนี้เป็นตัวช่วยในการกำจัดขยะที่ตรงกับคอนเซ็ปต์ของผัก Done เราก็เลยขอนำกล่องดังกล่าวมาเผยแพร่ให้กับคนที่สนใจต้องการกำจัดขยะได้นำไปใช้ โดยรายได้ของผัก Done มาจากการจำหน่ายกล่องหมักปุ๋ย และปุ๋ยดินที่ได้จากการหมัก อันนี้ถือเป็นเพียงจุดเริ่มต้นแรกที่ผัก Done พยายามทำ แต่เป้าหมายที่ใหญ่กว่านั้นคือ การกำจัดขยะให้กับสถานที่ที่ใหญ่ขึ้น อย่าง ร้านอาหาร วัด โรงเรียน หรือชุมชน ฯลฯ ที่มีขยะจำนวนมาก โดยอยู่ระหว่างการออกแบบเครื่องมือที่ใหญ่ขึ้น
มานิตา วิวัฒน์เศรษฐชัย เจ้าของ
“ขยะเป็นปัญหาที่ทุกคนรับรู้ แต่การแก้ปัญหาและการกำจัดขยะเป็นเรื่องที่ต้องใช้พลังมาก และที่ผ่านมาประเทศของเราไม่ได้เอื้อให้สร้างนิสัยการแยกขยะ และนำขยะกลับไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ดังนั้น เราจึงอยากให้ทุกคนเห็นสิ่งที่เราเห็น กลัวผลกระทบของขยะ และร่วมลงมือแก้ปัญหาไปด้วยกับเรา ผ่านธุรกิจเพื่อสังคมของผัก Done โดยเริ่มรณรงค์ให้คนเห็นว่าสามารถกำจัดขยะได้ในทุกครัวเรือนโดยไม่จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีราคาแพง ทุกคนสามารถมีหน้าที่รับผิดชอบสังคมนี้ได้ผ่านเพียงแค่เรื่องของการกำจัดขยะในแบบที่ถูกต้อง และได้ประโยชน์จากขยะ” อรสรวงกล่าว
ปุ๋ยที่ได้จากการหมัก
คุณอรสรวง และเพื่อนที่ร่วมก่อตั้ง ผัก Done เล่าถึงแรงบันดาลใจจนเกิดเป็นกิจการเพื่อสังคมในครั้งนี้ว่า เกิดขึ้นมาจากความชอบส่วนตัวในการทำอาหาร ดังนั้น ความปลอดภัย และแหล่งที่มาของอาหารจึงเกิดเป็นความฝันที่ทำให้เราอยากสร้างพื้นที่อาหารให้กับตัวเอง จึงเป็นจุดเริ่มต้นของผัก Done เพราะความปลอดภัยของอาหารเริ่มต้นมาจากดิน เป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างอาหาร 2. เศษผัก ผลไม้ และเศษอาหาร เหล่านี้ไม่ใช่ขยะ เป็นวัสดุปรุงดินชั้นเลิศ และ 3. รายได้ ไม่ใช่เป้าหมายสำคัญ แต่เป็นกุญแจสำคัญในการเดินไปถึงเป้าหมาย
คลุกดิน และ เศษอาหาร
ทั้งนี้ แผนทางธุรกิจ คือ ต้องการส่งเสริม ให้ความรู้และสนับสนุนการคัดแยกขยะ และให้การแยกขยะเป็นเรื่องที่มีคุณค่า ง่าย และเป็นเรื่องควรทำ อีกทั้งยังเป็นการคืนดินทรัพยากรในรูปแบบของปุ๋ย และดินคุณภาพ กลับคืนสู่กระบวนการสร้างอาหารที่ปลอดภัย และยั่งยืน โดยการจัดอบรม และบริการเครื่องมือและวัตถุดิบในการหมักขยะอินทรีย์ระดับครัวเรือน และนำปุ๋ยหมักที่ได้จากการจัดการขยะอินทรีย์มาจัดจำหน่ายในรูปแบบต่างๆ ส่วนแผนในระยะยาว จะขยายรูปแบบสู่การจัดการขยะอินทรีย์ในองค์กร ร้านอาหารขนาดใหญ่ อาคารสำนักงาน ที่มีพื้นที่จำกัด แต่มีปริมาณขยะอินทรีย์จำนวนมากต่อวัน ต้องการการจัดการอย่างรวดเร็ว สะอาด และปลอดภัย และนำส่งปุ๋ยกลับคืนสู่สังคม
ภายในกล่อง
สำหรับหลักการหมักปุ๋ยในกล่อง เริ่มจาก นำเศษอาหาร ขยะ มาปรุง โดยใช้ดินขุยมะพร้าว (ขายทั่วไป) เศษใบไม้ (ใช้ใบก้ามปู) กากกาแฟ และปุ๋ยขี้วัว และเติมหัวเชื้อจุลินทรีย์ ซึ่งทำขึ้นมาจากเชื้อราที่ได้จากใต้ต้นไม้ ทุกอย่างผสมกันในสัดส่วน 1 ต่อ 1 ใช้เวลาในการหมักประมาณ 1 เดือน ปุ๋ยที่ได้จะมีธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ เพราะมีจุลินทรีย์ที่พืชต้องการ ซึ่งถ้าลูกค้าต้องการจะหมักปุ๋ยด้วยกล่องดังกล่าว และกังวลว่าไม่รู้จะเอาดินไปทำอะไร ทางทีมผัก Done ของเราก็ยินดีที่จะเป็นตัวกลางในการจำหน่ายให้

ในส่วนของบ้านปูฯ ในฐานะหน่วยงานที่ให้ทุนในครั้งนี้มีความเชื่อว่า “การเรียนรู้” เป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนา “คน” ซึ่งจะขับเคลื่อนชุมชนและสังคมให้พัฒนาอย่างยั่งยืน และโครงการซีเอสอาร์ของบ้านปูฯ มุ่งเน้นสนับสนุนและส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่เยาวชนและชุมชนในหลากหลายรูปแบบ รวมถึงโครงการดังกล่าวนี้ด้วย

สนใจกิจการเพื่อสังคม ผัก Done โทร. 08-1403-7136 Facebook.com : ผักDone

 กล่องหมักปุ๋ย
* * * คลิก Like เพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า "SMEsผู้จัดการ" รับข่าวสารในแวดวงธุรกิจเอสเอ็มอีที่สมบูรณ์แบบที่สุด และร่วมสนุกกับกิจกรรมลุ้นรับของรางวัลมากมายคลิกที่นี่เลย!! * * *

กำลังโหลดความคิดเห็น