“พาณิชย์” เสริมแกร่งค้าปลีกชุมชน จับมือ 10 พันธมิตร อัดฉีดความรู้อีคอมเมิร์ซเต็มสูบ สู่ร้านค้าออนไลน์ครบวงจร เล็งนำโมเดลเทคโนโลยีบริหารจัดการสินค้าสต๊อก นำร่อง 114 ร้านค้าปลีก ขยายช่องทางจำหน่าย
นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงแผนการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน (Local Economy) ทางกระทรวงฯ จะมีการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้กับชุมชนท้องถิ่น เพื่อสร้างความเข้มแข็งเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็ง รวมถึงยังเป็นการช่วยเพิ่มรายได้ชุมชน เกษตรกร สหกรณ์ และผู้ประกอบการ SMEs รวมถึงกลุ่ม Start up ในพื้นที่ ซึ่งการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการได้นำเทคโนโลยีมาปรับใช้กับธุรกิจนั้น จะเน้นการทำตลาดดิจิทัลเป็นเครื่องมือในการทำ “ร้านค้าออนไลน์” แบบครบวงจร เพื่อให้เกิดการทำธุรกิจในรูปแบบอีคอมเมิร์ซ และสามารถทำตลาดผ่านตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของกระทรวงพาณิชย์ และหน่วยงานของรัฐบาล เอกชนอื่นๆ ได้
ทั้งนี้ เบื้องต้นจะนำโมเดลการพัฒนาร้านค้าส่งค้าปลีกเป็นต้นแบบมาใช้ เนื่องจากโมเดลดังกล่าวเป็นการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการบริหารจัดการสินค้าในสต๊อก ที่สามารถลดต้นทุน ลดเวลา และสินค้าคงเหลือได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงสามารถขยายโอกาสทางการตลาดด้วยระบบการค้าออนไลน์แบบครบวงจร ทั้งนี้ ได้ขอความร่วมมือร้านค้าส่งค้าปลีกต้นแบบในพื้นที่ทั่วประเทศจำนวน 114 ร้านค้า และร้านค้าเครือข่ายอีกกว่า 5,000 แห่ง เป็นจุดช่วยกระจายสินค้า และเป็นพี่เลี้ยงให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจในชุมชน เพื่อให้ธุรกิจมีความเข้มแข็ง ท้องถิ่นมีความมั่นคง และสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน
นอกจากนี้ กระทรวงพาณิชย์ยังได้ร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตรในการบูรณาการแพล็ตฟอร์ม อี-คอมเมิร์ซ ของหน่วยงานภาครัฐ โดยมอบหมายให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้าเป็นหน่วยงานกลางในการรวบรวมข้อมูลของแต่ละแพลตฟอร์ม อี-คอมเมิร์ซ รวมถึงเร่งประชาสัมพันธ์ให้สมาชิก แพลตฟอร์ม อี-คอมเมิร์ซต่างๆ ที่เป็นผู้ขายสินค้า/บริการออนไลน์ ต้องจดทะเบียนพาณิชย์แสดงสถานะตัวตนและขอรับเครื่องหมายรับรองการจดทะเบียนผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (DBD Registered) และเครื่องหมายรับรองความน่าเชื่อถือในการประกอบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (DBD Verified) เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือในการซื้อขายผ่านร้านค้าออนไลน์อีกด้วย
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากคุณลักษณะในด้านรสชาติ และเนื้อสัมผัสที่แตกต่างจากกุ้งขาว กุ้งกุลาดำจึงยังมีความต้องการบริโภคของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศประเทศ ซึ่งปัจจุบันกุ้งกุลาดำที่ขายปลีกในประเทศไทยมีน้อยมาก การสร้างจุดเด่นเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับกุ้งกุลาดำนับเป็นสิ่งสำคัญไม่น้อยเช่นกัน ดังนั้น “กุ้งกุลาดำโอเมกา” นับว่าเป็นนวัตกรรมใหม่สำหรับการผลิตกุ้งพรีเมี่ยมซึ่งเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการบริโภคกุ้งของกลุ่มผู้รักสุขภาพ
ปัจจุบัน ไบโอเทคมีคลังจุลินทรีย์ที่เก็บรวบรวมจุลินทรีย์จากแหล่งต่างๆ ไว้มากกว่า 80,000 สายพันธุ์ ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในงานวิจัยด้านต่างๆ ได้ ตลอดจนการให้บริการจุลินทรีย์และชีววัสดุที่มีการบริหารจัดการชีววัสดุ ข้อมูล และกฎหมายชีวภาพที่เชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบมีประสิทธิภาพได้มาตรฐาน เพื่อสร้างเสริมศักยภาพที่สำคัญของประเทศในการเป็นผู้นำอาเซียนในด้านทรัพยากรชีวภาพ
* * * คลิก Like เพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า “SMEs ผู้จัดการ” รับข่าวสารในแวดวงธุรกิจเอสเอ็มอีที่สมบูรณ์แบบที่สุด และร่วมสนุกกับกิจกรรมลุ้นรับของรางวัลมากมาย คลิกที่นี่เลย!! * * *