xs
xsm
sm
md
lg

ก.อุตฯ ตั้งเป้าจบงาน “เส้นทาง SME 4.0” เกิดมูลค่า ศก.กว่า 8 พันล้าน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

ดร.อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
รมว.กระทรวงอุตสาหกรรม สรุปผลการจัดงาน SME Revolution เส้นทางสายโอกาสเอสเอ็มอี 4.0 ตลอด 3 วัน (10-12 มี.ค. 60) มีผู้สนใจเข้าร่วมงานกว่า 14,708 ราย มีผู้ขอกู้เงิน 960 ราย วงเงิน 2,722 ล้านบาท และมีผู้ขอกู้ออนไลน์ผ่าน ธพว.จำนวน 5,211 ล้านบาท ส่วนการอบรมมีผู้เข้าอบรม 20 หลักสูตร จำนวน 2,511 คน ยอดขายสินค้าในงาน 80 ราย วงเงิน 3.76 ล้านบาท

ดร.อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยถึง การงาน SME Revolution เส้นทางสายโอกาสเอสเอ็มอี 4.0 ที่ผ่นมา (วันที่ 10-12 มีนาคม 2560) ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ซึ่งมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มาเป็นประธานเปิดงาน โดยผลสรุปการจัดงานในครั้งนี้พบว่า ตลอดการจัดงาน 3 วันมีผู้เข้าร่วมชมงานจำนวน 14,708 คน มีผู้ประกอบการขอกู้เงินภายในงาน รวม 960 ราย เป็นวงเงินรวม 2,722 ล้านบาท แบ่งเป็น กองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ จำนวน 282 ราย วงเงิน 297 ล้านบาทกองทุนฟื้นฟูเอสเอ็มอี จำนวน 230 ราย วงเงิน 186.7 ล้านบาท สินเชื่อจาก SME Bank จำนวน 142 ราย วงเงิน 581.3 ล้านบาท ธนาคารรัฐและเอกชนที่ร่วมออกบูทในงาน จำนวน 306 ราย วงเงิน 1,657 ล้านบาท

นอกจากนี้ ยังมีผู้ที่ประสงค์ยื่นกู้ผ่านสื่อ Online ของ SME Bank ในช่วงระหว่างงานอีก จำนวน 1,410 ราย จำนวนเงินรวม 5,211 ล้านบาท

สำหรับกิจกรรมอบรมสัมมนาให้ความรู้และการให้คำปรึกษาแนะนำ พบว่ามีผู้เข้าร่วมการอบรมสัมมนาที่น่าสนใจที่จัดขึ้นในระหว่างงาน อาทิ Digital Marketing, การเข้าสู่ตลาด MAI, เปลี่ยนผ่าน SMEs สู่ยุค Industry 4.0, ถอดรหัส SMEs สู่วิถีความเป็นอัจฉริยะ (Intelligent SMEs) และอื่นๆ กว่า 20 หลักสูตร จำนวนรวม 2,511 คน มีผู้เข้ารับคำปรึกษาแนะนำในเรื่องการดำเนินธุรกิจ 969 ราย โดยในระหว่างงานยังได้มีการถ่ายทอดสดกิจกรรมต่างๆ ผ่านสื่อ Social Online ซึ่งมีผู้รับชมวิดีโอถ่ายทอดสดต่างๆ รวม 76,326 ราย

ในส่วนการจัดจำหน่ายสินค้าภายในงาน มีผู้ประกอบการมาร่วมออกบูทในงานประมาณ 80 ราย มียอดจำหน่ายรวม 3.76 ล้านบาท ซึ่งผลของการจัดงานในครั้งนี้นอกจากจะช่วยสร้างให้เกิดยอดมูลค่าโอกาสทางเศรษฐกิจกว่า 8,000 ล้านบาทแล้ว ยังเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ประกอบการ SMEs ถึงมาตรการและกลไกของภาครัฐในการสนับสนุนส่งเสริมพัฒนาและช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ที่ครอบคลุมทั้ง 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่อยู่ในระยะเริ่มต้นของการทำธุรกิจ และกลุ่มที่เพิ่งจะเริ่มต้นทำธุรกิจใหม่ซึ่งมีศักยภาพในการเติบโตโดยอาศัยนวัตกรรมเป็นพลังสำคัญ กลุ่ม SME ที่ดำเนินธุรกิจอยู่แล้วและพร้อมที่จะยกระดับกิจการ ขยายการลงทุน สร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าและบริการมีศักยภาพที่จะเข้าถึงตลาดในต่างประเทศได้ และกลุ่มสุดท้ายคือกลุ่ม SME ที่ประสบปัญหาในการดำเนินธุรกิจ แต่กิจการยังมีศักยภาพ หากได้รับความช่วยเหลือที่เหมาะสม ก็จะสามารถพลิกฟื้นให้กลับมาดำเนินธุรกิจต่อไปได้อย่างเข้มแข็งต่อไปอีกด้วย

* * * คลิก Like เพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า “SMEs ผู้จัดการ” รับข่าวสารในแวดวงธุรกิจเอสเอ็มอีที่สมบูรณ์แบบที่สุด และร่วมสนุกกับกิจกรรมลุ้นรับของรางวัลมากมาย คลิกที่นี่เลย!! * * *


กำลังโหลดความคิดเห็น