xs
xsm
sm
md
lg

“เชฟรอน” ผนึก “สวทช.” ประกาศผลสิ่งประดิษฐ์ “นวัตกรรมผู้สูงอายุ” ของกลุ่มเมกเกอร์ไทยแลนด์

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


บริษัท เชฟรอน ประเทศไทย สำรวจและผลิต จำกัด ร่วมกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และพันธมิตร จัดงานมหกรรมแสดงผลงานและสิ่งประดิษฐ์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ “Bangkok Mini Maker Faire ปี 2 ทำของมาอวด” รวมพล “เมกเกอร์” หรือนักสร้างสรรค์และนักประดิษฐ์ ทั้งชาวไทยและต่างประเทศกว่าร้อยชีวิต พร้อมประกาศผลผู้ที่ได้รับรางวัล การประกวดสิ่งประดิษฐ์ “นวัตกรรมผู้สูงอายุ” ส่งเสริมวัฒนธรรมเมกเกอร์ในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง อันเป็นหนึ่งในรากฐานสำคัญในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0

ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า “เพื่อเป็นการขานรับนโยบายประเทศไทย 4.0 ของรัฐบาล กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงได้ การจัดงานเมกเกอร์แฟร์ ขึ้น และเพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของเมกเกอร์ที่ไม่ได้เป็นเพียงงานอดิเรกเหมือนเดิม แต่เป็นการส่งเสริมสังคมเมกเกอร์ให้มีความแข็งแกร่ง นับเป็นการบ่มเพาะสตาร์ทอัพที่มีคุณภาพเพื่อเตรียมพร้อมเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ

สำหรับงาน Bangkok Mini Maker Faire ปี 2 จัดแสดงผลงานนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ของเมกเกอร์จากทั่วประเทศไทย กว่า 60 บูท นอกจากนั้นยังมีการประกาศผลการประกวดสิ่งประดิษฐ์สำหรับเมกเกอร์ ในระดับนักเรียน-นักศึกษาสายสามัญและอาชีวศึกษา ในรายการ “Enjoy Sciences: Young Makers Contest” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Chevron Enjoy Science : สนุกวิทย์ พลังคิด เพื่ออนาคต โดยในครั้งนี้ได้กำหนดหัวข้อ “นวัตกรรมเพื่อผู้สูงอายุและผู้พิการ” ซึ่งผู้ชนะจะได้รับรางวัลทุนการศึกษา ตลอดจนทริปเข้าร่วมงาน Maker Faire ในสหราชอาณาจักรและประเทศญี่ปุ่น รวมมูลค่ากว่า 1.5 ล้านบาท ซึ่งการประกวดในปีนี้ยังได้รับการสนับสนุนจากอีกสองพันธมิตรสำคัญ คือ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) และสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.)

โดยผู้ได้รับรางวัลในครั้งนี้ ประกอบด้วย

ผลรางวัล ประเภทสายสามัญ

รางวัลชนะเลิศ (เงินรางวัล 400,000 บาท พร้อมดูงานที่สหราชอาณาจักร) ได้แก่ “ระบบเฝ้าระวังผู้สูงอายุ โดยใช้กล้องตรวจจับการเคลื่อนไหวแบบ 3 มิติ ตรวจจับการล้มพร้อมแจ้งเตือน” (The fall surveillance system by 3D non-contact senser) ของทีม BME Innovation KMITL Team2 จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 (เงินรางวัล 300,000 บาท พร้อมดูงานที่ประเทศญี่ปุ่น) ได้แก่ “หุ่นเคลื่อนที่ดูแลผู้สูงอายุช่วยประคองคนเดิน” ของทีม No Comment จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 (เงินรางวัล 30,000 บาท) ได้แก่ “การออกแบบและพัฒนาระบบช่วยกำลังสามล้อถีบ สำหรับเด็กพิการทางสมอง” ของทีม AOFNUS มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

รางวัล POPPULAR VOTE (เงินรางวัล 10,000 บาท) ได้แก่ “The Flushing UP” ของทีม Rajinian 112.5 จากโรงเรียนราชินี

รางวัลชมเชย 2 รางวัล (รางวัลละ 10,000 บาท) ได้แก่ผลงาน “PhysiotherapyWheelchair” ของทีม KPSP01 จากโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย จ.สุพรรณบุรี ผลงาน “The Flushing UP” ของทีม Rajinian 112.5 จากโรงเรียนราชินี

ผลรางวัล ประเภทสายอาชีวะ


รางวัลชนะเลิศ (เงินรางวัล 400,000 บาท พร้อมดูงานที่สหราชอาณาจักร) ได้แก่ “ไม้เท้าแจ้งเตือนการล้มสำหรับผู้สูงอายุ” ของทีมสมิหลา ทีม A จากวิทยาลัยสารพัดช่างสงขลา

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 (เงินรางวัล 300,000 บาท พร้อมดูงานที่ประเทศญี่ปุ่น) ได้แก่ “อุปกรณ์ช่วยเดิน (Walker) สำหรับช่วยลุกยืน ของผู้สูงอายุและผู้พิการ” ของทีม เมืองหอยใหญ่ จากวิทยาลัยสุราษฎร์ธานี

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 (เงินรางวัล 30,000 บาท) ได้แก่ “เก้าอี้ช่วยบริหาร สำหรับโรคข้อเข้าเสื่อม และอักเสบพร้อมระบบประคบร้อน” ของทีมดอกบัว 1 จากวิทยาลัยสารพัดช่างอุบลราชธานี

รางวัล POPPULAR VOTE (เงินรางวัล 10,000 บาท ได้แก่ “HEMISPHERE” ของทีม TONY CISAT จากวิทยาลัยเทคโนโลยีและสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

รางวัลชมเชย 2 รางวัล (รางวัลละ 10,000 บาท) ผลงาน “ขากลเพื่อคนพิการ โดยใช้เทคนิคการจรูปแบบการเดิน” ของทีม “WALK WITH ME” จากวิทยาลัยเทคนิคสุรินทร์
ผลงาน “อุปกรณ์อำนวยความสะดวก ในการสระผมผู้ป่วยและผู้พิการ” ของทีมYoung Inventors of SRTC จากวิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี
กำลังโหลดความคิดเห็น