xs
xsm
sm
md
lg

สวทช.ผนึก มทร.อีสาน ชู ITAP หนุน SMEs เติบโตด้วยเทคโนโลยี

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

ผู้บริหาร สวทช. กับ มทร.อีสาน  ร่วมดำเนินโครงการส่งเสริมการเครือข่ายโปรแกรมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทยหรือเครือข่าย  (ITAP)  ช่วยให้ SMEs ได้รับการส่งเสริมสนับสนุนทางด้านเทคโนโลยีจำนวนมากขึ้น
สวทช.ร่วมกับ มทร.อีสาน สร้างเครือข่าย ITAP สนับสนุน SMEs เติบโตด้วยการวิจัยพัฒนาและนวัตกรรม ตั้งเป้าช่วยเหลือไม่น้อยกว่าปีละ 30 รายครอบคลุมพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เปิดเผยว่า สวทช.ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (มทร.อีสาน) ส่งเสริมการเครือข่ายโปรแกรมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทยหรือเครือข่าย (ITAP) ช่วยให้ SMEs ได้รับการส่งเสริมสนับสนุนทางด้านเทคโนโลยีจำนวนมากขึ้น เนื่องจาก มทร.อีสาน มีบุคลากรที่มีความรู้และประสบการณ์ในหลากหลายสาขา และมีวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยครอบคลุมทั่วทั้งพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ทั้งนี้ การร่วมมือกันจะช่วยสร้างกลไกการทำงานที่ตอบโจทย์ความต้องการจากภาคเอกชนได้อย่างชัดเจนและครบวงจรมากขึ้น โดย สวทช.จะให้ความรู้และถ่ายทอดวิธีการสนับสนุน SME โดยใช้โปรแกรม ITAP แก่เจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัย เพื่อให้สามารถสนับสนุนผู้ประกอบการได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งจะช่วยกันส่งเสริมให้บุคลากรของมหาวิทยาลัยทำโครงการวิจัยและพัฒนาที่ตอบโจทย์ภาคเอกชนมากขึ้น เพราะเป็นการรับโจทย์จากปัญหาหรือความต้องการของภาคอุตสาหกรรม หรือ SMEs โดยตรง ทำให้ผลงานของมหาวิทยาลัยสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ส่งผลต่อเครษฐกิจภาพรวมของประเทศได้ต่อไป”

ด้าน ผศ.ดร.วิโรจน์ ลิ้มไขแสง อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน เปิดเผยว่า มทร.อีสานมีความร่วมมือกับทาง ITAP สวทช.มาระยะหนึ่งแล้ว ในฐานะผู้เชี่ยวชาญโปรแกรม ITAP ด้วยเล็งเห็นประโยชน์ของโปรแกรม ITAP เพื่อพัฒนาศักยภาพทางเทคโนโลยีของ SMEs ให้มีขีดความสามารถทางเทคโนโลยีสูงขึ้น เกิดการสร้างนวัตกรรมและพึ่งพาตนเองได้ด้วยเทคโนโลยี โดยตั้งเป้าสนับสนุนไม่น้อยกว่า 30 รายต่อปี ระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี

ด้าน ผศ.ดร.จักรกฤษณ์ เยรัมย์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ มทร.อีสาน กล่าวเพิ่มเติมว่า มทร.อีสาน มีวิทยาเขตครอบคลุมพื้นที่ทั่วทั้งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 4 วิทยาเขต คือ นครราชสีมา ขอนแก่น สุรินทร์ และสกลนคร ทำให้สามารถสนับสนุนและช่วยเหลือ SMEs ได้ทั้วทั่งภาค โดยแต่ละวิทยาเขตจะมีความโดดเด่นในการสนับสนุน SMEs ตามความเชี่ยวชาญเป็นหลัก อย่าง มทร.อีสาน วิทยาเขตนครราชสีมา และขอนแก่น ที่มีประสบการณ์ดำเนินงานในฐานะเป็นผู้เชี่ยวชาญ ITAP มาก่อนหน้านี้แล้ว จะมีความเชี่ยวชาญในเรื่องช่างอุตสาหกรรม และโลหะหล่อต่างๆ ขณะที่วิทยาเขตสุรินทร์จะเน้นหลักในด้านการเกษตร และวิทยาเขตสกลนครจะเน้นในด้านอาหารและสุขภาพ เนื่องจากมีโรงพยาบาลแพทย์แผนไทยที่นั่นและมีหลักสูตรเฉพาะด้านแพทย์แผนไทย ทั้งนี้ ในการดำเนินงานโปรแกรม ITAP เครือข่าย มทร.อีสาน เบื้องต้นทาง สวทช.จะช่วยในการอบรมพัฒนาผู้เชี่ยวชาญและคณาจารย์ของทางมหาวิทยาลัยในการเป็นที่ปรึกษาเทคโนโลยี (Industrial Technology Advisor : ITA) จากนั้นเมื่อเกิดความเชี่ยวชาญแล้วจะเริ่มดำเนินการเชิงรุกในการเข้าให้การสนับสนุน SMEs ตามแผนการดำเนินงานเพื่อสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขันที่ยั่งยืนให้แก่ SMEs ต่อไป

* * * คลิก Like เพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า “SMEs ผู้จัดการ” รับข่าวสารในแวดวงธุรกิจเอสเอ็มอีที่สมบูรณ์แบบที่สุด และร่วมสนุกกับกิจกรรมลุ้นรับของรางวัลมากมาย คลิกที่นี่เลย!! * * *


กำลังโหลดความคิดเห็น