สมาคมแฟรนไชส์ไทย จับมือ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) และสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง-ขนาดย่อม (สสว.) สร้างสุดยอดแฟรนไชส์รุ่นใหม่ ด้วยการจัดกิจกรรมสัมมนาให้ความรู้ Key Success the Best Franchise ระดมแฟรนไชส์ออกบูธกว่า 50 แบรนด์ หวังสร้างความเข้มแข็งให้คนรุ่นใหม่เป็นผู้ประกอบการแฟรนไชส์
สมจิตร ลิขิตสถาพร นายกสมาคมแฟรนไชส์ไทย เปิดเผยว่า ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ เป็นยุคดิจิตอลที่แตกต่างไปจากผู้ประกอบการรุ่นก่อน คือ คนรุ่นใหม่ยุคนี้สามารถเป็นเจ้าของกิจการตั้งแต่อายุยังน้อย และสร้างความสำเร็จได้เร็ว ดังนั้นแฟรนไชส์จึงเป็นวิธีการหนึ่งที่คนรุ่นใหม่สามารถใช้เพื่อเป็นทางลัดเพื่อเข้าสู่การเป็นเถ้าแก่รุ่นใหม่ได้ทันที หรือ ในกรณีที่คนรุ่นใหม่สร้างสรรค์ธุรกิจของตัวเองขึ้นมา แล้วประสบความสำเร็จในระดับหนึ่งแล้วก็สามารถใช้ระบบแฟรนไชส์เป็นช่องทางขยายธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว
โดยการจัดงาน Key Success The Best Franchise ครั้งนี้ จะจัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 8 พฤศจิกายน 2557 ที่ฮอลล์ 1 และ 2 สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (การจัดแสดงบูท เริ่ม 09.00-17.00 น. การจัดสัมมนาเริ่ม13.00-17.00 น) โดยเป็นความร่วมมือระหว่าง 3 องค์กรคือสมาคมแฟรนไชส์ไทย ร่วมกับ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) และสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง-ขนาดย่อม (สสว.) ร่วมกันจัดขึ้น เพื่อให้ความรู้ในเรื่องแฟรนไชส์ให้กับคนรุ่นใหม่ และบุคคลทั่วไปที่สนใจ โดยเป็นสัมมนาเปิดฟรี เรื่อง “Key Success The Best Franchise” เป็นความรู้เกี่ยวกับไขเคล็ดลับความสำเร็จ สู่สุดยอดการเป็นผู้ประกอบการแฟรนไชส์ยุคใหม่ ทั้งในด้านการเป็นแฟรนไชซอร์และแฟรนไชซี (ผู้ซื้อและผู้ขายแฟรนไชส์) จากผู้บริหาร บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) และนายกสมาคมแฟรนไชส์ไทย รวมถึงได้รู้นโยบายใหม่ล่าสุดในการให้การสนับสนุนจากภาครัฐแก่ผู้ประกอบการกิจการขนาดกลางขนาดย่อม โดย วีระยุทธ เชื้อไทย รองผู้อำนวยการ สำนักบริการผู้ประกอบการ สสว. และรับฟังแฟรนไชซอร์ แฟรนไชซีที่เป็นคนรุ่นใหม่ ที่มาเปิดประสบการณ์จากการเข้าสู่การเป็นเถ้าแก่แฟรนไชส์ยุคใหม่ที่ประสบความสำเร็จ
นอกจากนี้แล้วภายในงาน ยังมีการ Show Case คือการแสดงธุรกิจที่น่าสนใจ อาทิ ร้านคอนวีเนียน สโตร์เซเว่น อีเลฟเว่น,สุขอุทัย ผัดไทยสุโขทัย,สถาบัน 2 ภาษา ไทย-จีน สำหรับเด็ก คิดเอเบิ้ล,ร้านจำหน่ายจักรยานยนต์พีไบค์,สถาบันพัฒนาทักษะสมองของเด็ก เบรนฟิตเนส, กิจการร้านอินเตอร์เน็ทนีโอลูชั่ E-Sport,ส้มตำมาละเด้อ, ร้านกุญแจ บิ๊กคีย์และคีย์เวิลด์, ธุรกิจรักษาความปลอดภัย PCI, ร้านรับผลิตเสื้อ และจำหน่ายปลีก-ส่ง โปโลเมกเกอร์, เทคโนโลยี เพื่อร้านค้าปลีกครบวงจรอาร์เทค, กาแฟ คอฟฟี่เลิฟ,สถาบันการเงินเครื่องกรองน้ำมันพืช VITO เป็นต้น
ด้านอนิษฐา ธนมิตต์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารเซเว่น อีเลฟเว่น ร้านอิ่มสะดวกของคนไทย กล่าวว่า บริษัทฯ ยังคงมีเป้าหมายในการขยายสัดส่วน แฟรนไชส์ซี่อย่างต่อเนื่อง โดยให้ความสำคัญกับการสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่สู่การเป็นเถ้าแก่ธุรกิจแฟรนไชส์ เนื่องจากปัจจุบันคนรุ่นใหม่มีแนวโน้มต้องการมีธุรกิจของตัวเองมากขึ้น โดยในช่วงครึ่งปีหลัง 2557 บริษัทฯ คาดว่าจะมีการขยายร้านแฟรนไชส์เพิ่มขึ้นเป็น 4,500 สาขา คิดเป็นสัดส่วน 56% ของสาขาทั้งหมด ซึ่งซีพี ออลล์ มีนโยบายในการส่งเสริมการศึกษาและมุ่งหวังที่จะถ่ายทอดองค์ความรู้ และประสบการณ์ด้านการทำธุรกิจร้านค้าปลีกยุคใหม่ ตลอดจนเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการและคนรุ่นใหม่
“จากการบริหารแฟรนไชส์เซเว่น อีเลฟเว่นมากว่า 20 ปี จึงทำให้บริษัทฯ มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการวางระบบแฟรนไชส์ มีความแข็งแกร่งในการบริหารจัดการ รวมถึงการฝึกอบรมและให้คำ ปรึกษากับเจ้าของร้านแฟรนไชส์ ซึ่งการทำธุรกิจแฟรนไชส์ให้ประสบความสำเร็จนั้น นอกจากความตั้งใจจริงแล้วต้องมีใจรักการบริการ มีความอดทน ดังนั้นการมีทักษะด้านการบริการที่ดี จึงเป็นพื้นฐานสำคัญในการทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ” อนิษฐา กล่าว
ขณะที่วีระยุทธ เชื้อไทย รองผู้อำนวยการ สำนักบริการผู้ประกอบการ สสว.กล่าวถึงความร่วมมือในจัดกิจกรรม ครั้งนี้ว่า ความร่วมมือในครั้งนี้ จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ประกอบการ SMEs ไทย ในด้านการเชื่อมโยงข้อมูลที่จะเสริมสร้างความรู้ และกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่างๆ ซึ่งผู้ที่เริ่มต้นเข้าสู่ธุรกิจแฟรนไชส์ ก็เปรียบเสมือนผู้ประกอบการในช่วงก่อตั้งกิจการตามวงจรธุรกิจ ซึ่งจะต้องได้รับการส่งเสริมและพัฒนาในด้านต่างๆ เช่น เดียวกับผู้ประกอบการทั่วๆ ไป เพื่อให้กิจการก้าวไปสู่ช่วงขยายกิจการต่อไป ดังนั้น SMEs รุ่นใหม่ จำเป็นต้องมีการปรับตัวเพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจได้ท่ามกลางวิกฤตต่างๆ ที่เกิดขึ้นและสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน พร้อมเป็น SMEs ที่แข็งแกร่งซึ่งจะต้องมีการแสวงหาความรู้เบื้องต้นในการดําเนินธุรกิจ เพื่อใช้ในการตัดสินใจให้ทันต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง การนำความรู้และเทคโนโลยีสมัยใหม่มาปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตเพื่อให้มีต้นทุนลดลง มีผลผลิตและยอดขายเพิ่มขึ้น สามารถพัฒนาสินค้าและบริการได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับในตลาด การพัฒนาสินค้าและบริการเพื่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มอย่างสร้างสรรค์ การรวมกลุ่มและสร้างเครือข่ายพันธมิตรจะทำให้มีความเข้มแข็ง ก่อให้เกิดการเกื้อหนุนกันและเชื่อมโยงการดําเนินธุรกิจร่วมกันของเครือข่ายในห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) โดยพัฒนาเครือข่ายร่วมกับหน่วยงาน ภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลและองค์ความรู้ระหว่างกัน
* * * คลิก Like เพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า SME ผู้จัดการออนไลน์ รับข่าวสารในแวดวงธุรกิจเอสเอ็มอีที่สมบูรณ์แบบที่สุด และร่วมสนุกกับกิจกรรมลุ้นรับของรางวัลมากมายคลิกที่นี่เลย!! * * *
สมจิตร ลิขิตสถาพร นายกสมาคมแฟรนไชส์ไทย เปิดเผยว่า ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ เป็นยุคดิจิตอลที่แตกต่างไปจากผู้ประกอบการรุ่นก่อน คือ คนรุ่นใหม่ยุคนี้สามารถเป็นเจ้าของกิจการตั้งแต่อายุยังน้อย และสร้างความสำเร็จได้เร็ว ดังนั้นแฟรนไชส์จึงเป็นวิธีการหนึ่งที่คนรุ่นใหม่สามารถใช้เพื่อเป็นทางลัดเพื่อเข้าสู่การเป็นเถ้าแก่รุ่นใหม่ได้ทันที หรือ ในกรณีที่คนรุ่นใหม่สร้างสรรค์ธุรกิจของตัวเองขึ้นมา แล้วประสบความสำเร็จในระดับหนึ่งแล้วก็สามารถใช้ระบบแฟรนไชส์เป็นช่องทางขยายธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว
โดยการจัดงาน Key Success The Best Franchise ครั้งนี้ จะจัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 8 พฤศจิกายน 2557 ที่ฮอลล์ 1 และ 2 สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (การจัดแสดงบูท เริ่ม 09.00-17.00 น. การจัดสัมมนาเริ่ม13.00-17.00 น) โดยเป็นความร่วมมือระหว่าง 3 องค์กรคือสมาคมแฟรนไชส์ไทย ร่วมกับ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) และสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง-ขนาดย่อม (สสว.) ร่วมกันจัดขึ้น เพื่อให้ความรู้ในเรื่องแฟรนไชส์ให้กับคนรุ่นใหม่ และบุคคลทั่วไปที่สนใจ โดยเป็นสัมมนาเปิดฟรี เรื่อง “Key Success The Best Franchise” เป็นความรู้เกี่ยวกับไขเคล็ดลับความสำเร็จ สู่สุดยอดการเป็นผู้ประกอบการแฟรนไชส์ยุคใหม่ ทั้งในด้านการเป็นแฟรนไชซอร์และแฟรนไชซี (ผู้ซื้อและผู้ขายแฟรนไชส์) จากผู้บริหาร บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) และนายกสมาคมแฟรนไชส์ไทย รวมถึงได้รู้นโยบายใหม่ล่าสุดในการให้การสนับสนุนจากภาครัฐแก่ผู้ประกอบการกิจการขนาดกลางขนาดย่อม โดย วีระยุทธ เชื้อไทย รองผู้อำนวยการ สำนักบริการผู้ประกอบการ สสว. และรับฟังแฟรนไชซอร์ แฟรนไชซีที่เป็นคนรุ่นใหม่ ที่มาเปิดประสบการณ์จากการเข้าสู่การเป็นเถ้าแก่แฟรนไชส์ยุคใหม่ที่ประสบความสำเร็จ
นอกจากนี้แล้วภายในงาน ยังมีการ Show Case คือการแสดงธุรกิจที่น่าสนใจ อาทิ ร้านคอนวีเนียน สโตร์เซเว่น อีเลฟเว่น,สุขอุทัย ผัดไทยสุโขทัย,สถาบัน 2 ภาษา ไทย-จีน สำหรับเด็ก คิดเอเบิ้ล,ร้านจำหน่ายจักรยานยนต์พีไบค์,สถาบันพัฒนาทักษะสมองของเด็ก เบรนฟิตเนส, กิจการร้านอินเตอร์เน็ทนีโอลูชั่ E-Sport,ส้มตำมาละเด้อ, ร้านกุญแจ บิ๊กคีย์และคีย์เวิลด์, ธุรกิจรักษาความปลอดภัย PCI, ร้านรับผลิตเสื้อ และจำหน่ายปลีก-ส่ง โปโลเมกเกอร์, เทคโนโลยี เพื่อร้านค้าปลีกครบวงจรอาร์เทค, กาแฟ คอฟฟี่เลิฟ,สถาบันการเงินเครื่องกรองน้ำมันพืช VITO เป็นต้น
ด้านอนิษฐา ธนมิตต์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารเซเว่น อีเลฟเว่น ร้านอิ่มสะดวกของคนไทย กล่าวว่า บริษัทฯ ยังคงมีเป้าหมายในการขยายสัดส่วน แฟรนไชส์ซี่อย่างต่อเนื่อง โดยให้ความสำคัญกับการสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่สู่การเป็นเถ้าแก่ธุรกิจแฟรนไชส์ เนื่องจากปัจจุบันคนรุ่นใหม่มีแนวโน้มต้องการมีธุรกิจของตัวเองมากขึ้น โดยในช่วงครึ่งปีหลัง 2557 บริษัทฯ คาดว่าจะมีการขยายร้านแฟรนไชส์เพิ่มขึ้นเป็น 4,500 สาขา คิดเป็นสัดส่วน 56% ของสาขาทั้งหมด ซึ่งซีพี ออลล์ มีนโยบายในการส่งเสริมการศึกษาและมุ่งหวังที่จะถ่ายทอดองค์ความรู้ และประสบการณ์ด้านการทำธุรกิจร้านค้าปลีกยุคใหม่ ตลอดจนเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการและคนรุ่นใหม่
“จากการบริหารแฟรนไชส์เซเว่น อีเลฟเว่นมากว่า 20 ปี จึงทำให้บริษัทฯ มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการวางระบบแฟรนไชส์ มีความแข็งแกร่งในการบริหารจัดการ รวมถึงการฝึกอบรมและให้คำ ปรึกษากับเจ้าของร้านแฟรนไชส์ ซึ่งการทำธุรกิจแฟรนไชส์ให้ประสบความสำเร็จนั้น นอกจากความตั้งใจจริงแล้วต้องมีใจรักการบริการ มีความอดทน ดังนั้นการมีทักษะด้านการบริการที่ดี จึงเป็นพื้นฐานสำคัญในการทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ” อนิษฐา กล่าว
ขณะที่วีระยุทธ เชื้อไทย รองผู้อำนวยการ สำนักบริการผู้ประกอบการ สสว.กล่าวถึงความร่วมมือในจัดกิจกรรม ครั้งนี้ว่า ความร่วมมือในครั้งนี้ จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ประกอบการ SMEs ไทย ในด้านการเชื่อมโยงข้อมูลที่จะเสริมสร้างความรู้ และกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่างๆ ซึ่งผู้ที่เริ่มต้นเข้าสู่ธุรกิจแฟรนไชส์ ก็เปรียบเสมือนผู้ประกอบการในช่วงก่อตั้งกิจการตามวงจรธุรกิจ ซึ่งจะต้องได้รับการส่งเสริมและพัฒนาในด้านต่างๆ เช่น เดียวกับผู้ประกอบการทั่วๆ ไป เพื่อให้กิจการก้าวไปสู่ช่วงขยายกิจการต่อไป ดังนั้น SMEs รุ่นใหม่ จำเป็นต้องมีการปรับตัวเพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจได้ท่ามกลางวิกฤตต่างๆ ที่เกิดขึ้นและสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน พร้อมเป็น SMEs ที่แข็งแกร่งซึ่งจะต้องมีการแสวงหาความรู้เบื้องต้นในการดําเนินธุรกิจ เพื่อใช้ในการตัดสินใจให้ทันต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง การนำความรู้และเทคโนโลยีสมัยใหม่มาปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตเพื่อให้มีต้นทุนลดลง มีผลผลิตและยอดขายเพิ่มขึ้น สามารถพัฒนาสินค้าและบริการได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับในตลาด การพัฒนาสินค้าและบริการเพื่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มอย่างสร้างสรรค์ การรวมกลุ่มและสร้างเครือข่ายพันธมิตรจะทำให้มีความเข้มแข็ง ก่อให้เกิดการเกื้อหนุนกันและเชื่อมโยงการดําเนินธุรกิจร่วมกันของเครือข่ายในห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) โดยพัฒนาเครือข่ายร่วมกับหน่วยงาน ภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลและองค์ความรู้ระหว่างกัน