สมาพันธ์ผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์ไทย วอนรัฐฯ ปล่อยสินเชื่อฟื้นชีพ SMEs เร่งด่วน เสนอตัวเข้าช่วยรัฐบาลทำงาน หวังช่วยผู้ประกอบการโดยเร็วที่สุด เสนอตั้ง Machine Fund เชื่อเป็นโอกาสเปลี่ยนเครื่องจักรใหม่เสริมศักยภาพด้านผลิตทันสมัย คาดปี 55 อุตสาหกรรมไลฟ์สไตล์โต 7%
นายสุพัฒน์ ศรีวรรณวิทย์ ประธานสมาพันธ์ผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์ เปิดเผยถึงผลกระทบของผู้ประกอบการหลังประสบอุทกภัยว่า ผู้ประกอบการในสมาพันธ์ผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์ไทยที่ประกอบไปด้วย 7 สมาคม ได้รับผลกระทบบางส่วน ซึ่งอุตสาหกรรมไลฟ์สไตล์ไทยมีผู้ประกอบการที่เป็นสมาชิกประมาณ 1,200 ราย กระจายอยู่ในทุกธุรกิจ ทั้งได้รับผลกระทบทางตรงและทางอ้อม ส่งผลให้ผลประกอบการในไตรมาสสุดท้ายลดลงอย่างเห็นได้ชัด โดยที่ผ่านมาได้ย้ายฐายการผลิตไปต่างจังหวัด ที่มีเส้นทางการขนส่งสินค้าเชื่อมโยงสู่ท่าเรือได้สะดวก เช่น จ.นครนายก และราชบุรี ซึ่งภาครัฐฯ ได้ออกสินเชื่อเพื่อการย้ายฐานการผลิตและให้ผู้ประกอบการเข้าถึงแหล่งทุนโดยไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน
ด้านนายจิรบูลย์ วิทยสิงห์ เลขาธิการสมาพันธ์ผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์ไทย กล่าวว่า ทางสมาพันธ์ฯ ได้เสนอมาตรการกระตุ้นการเติบโตของอุตสาหกรรมไลฟ์สไตล์ไทยต่อภาครัฐฯ ในประเด็นต่างๆ ดังนี้ 1.รัฐบาลต้องให้การช่วยเหลือผู้ประกอบการเป็นรายอุตสาหกรรมเพื่อการช่วยเหลือได้ตรงจุด โดยไม่ต้องการให้ใช้มาตรการช่วยเหลือแบบเหมารวมโดยเฉพาะด้านการตลาด เนื่องจากบางอุตสาหกรรมตลาดบนยังมีกำลังซื้อ อย่าง อิตาลี เนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศส และญี่ปุ่น 2.ด้านการขอสินเชื่อให้แก่ผู้ประกอบการเพื่อนำไปฟื้นฟูกิจการ โดยผ่อนปรนเงื่อนไขให้ง่ายขึ้น 3.เน้นความช่วยเหลือแบบครบวงจรทั้งผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมโดยตรงและไม่ถูกน้ำท่วม เนื่องจากผู้ประกอบการในสมาพันธ์ฯ ส่วนใหญ่ใช้วัตถุดิบด้านการผลิตภายในประเทศกว่า 70% ดังนั้นรัฐบาลต้องฟื้นฟูผู้ประกอบการรอบด้าน และ4.จัดตั้ง Machine Fund วงเงินสินเชื่อเพื่อการเปลี่ยนเครื่องจักรใหม่ เพิ่มศักยภาพด้านการผลิตให้ทันสมัยรองรับการเปิดการค้าเสรีอาเซียน
“ขณะนี้เรื่องเงินทุนของ SMEs สำคัญมากเพื่อให้ธุรกิจกลับมาดำเนินการได้อีกครั้ง ทางเราขอให้สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อให้ โดยลดเงื่อนไขที่ยุ่งยากลง ส่วนเรื่องอัตราดอกเบี้ยเป็นยเรื่องสำคัญรองลงมา ในขณะที่มาตรการช่วยเหลือภาครัฐฯ ทางผู้ประกอบการไม่ต้องการใช้มาตรการช่วยเหลือเดียวกันทั้งหมดให้ดูเป็นรายอุตสาหกรรมไป หรือจะให้คนของสมาพันธ์ฯ เข้าไปช่วยรัฐบาลทำงาน เสนอแนะข้อมูลดังกล่าวก็ยินดี” นายจิรบูลย์กล่าว
สำหรับอัตราการเติบโตของอุตสาหกรรมไลฟ์สไตล์ในปี 2555 นั้น นายสุพัฒน์ คาดจะโตประมาณ 7% หรือประมาณหนึ่งแสนล้านบาท จากการที่ผู้ประกอบการนำสินค้าจัดแสดงในงานระดับประเทศ และยอดการส่งออกสินค้าไปยังประเทศแถบยุโรป ที่สินค้าไทยยังเป็นที่ต้องการในตลาดเหล่านี้จากคุณภาพและการออกแบบตรงกับความต้องการของลูกค้า
นายสุพัฒน์ ศรีวรรณวิทย์ ประธานสมาพันธ์ผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์ เปิดเผยถึงผลกระทบของผู้ประกอบการหลังประสบอุทกภัยว่า ผู้ประกอบการในสมาพันธ์ผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์ไทยที่ประกอบไปด้วย 7 สมาคม ได้รับผลกระทบบางส่วน ซึ่งอุตสาหกรรมไลฟ์สไตล์ไทยมีผู้ประกอบการที่เป็นสมาชิกประมาณ 1,200 ราย กระจายอยู่ในทุกธุรกิจ ทั้งได้รับผลกระทบทางตรงและทางอ้อม ส่งผลให้ผลประกอบการในไตรมาสสุดท้ายลดลงอย่างเห็นได้ชัด โดยที่ผ่านมาได้ย้ายฐายการผลิตไปต่างจังหวัด ที่มีเส้นทางการขนส่งสินค้าเชื่อมโยงสู่ท่าเรือได้สะดวก เช่น จ.นครนายก และราชบุรี ซึ่งภาครัฐฯ ได้ออกสินเชื่อเพื่อการย้ายฐานการผลิตและให้ผู้ประกอบการเข้าถึงแหล่งทุนโดยไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน
ด้านนายจิรบูลย์ วิทยสิงห์ เลขาธิการสมาพันธ์ผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์ไทย กล่าวว่า ทางสมาพันธ์ฯ ได้เสนอมาตรการกระตุ้นการเติบโตของอุตสาหกรรมไลฟ์สไตล์ไทยต่อภาครัฐฯ ในประเด็นต่างๆ ดังนี้ 1.รัฐบาลต้องให้การช่วยเหลือผู้ประกอบการเป็นรายอุตสาหกรรมเพื่อการช่วยเหลือได้ตรงจุด โดยไม่ต้องการให้ใช้มาตรการช่วยเหลือแบบเหมารวมโดยเฉพาะด้านการตลาด เนื่องจากบางอุตสาหกรรมตลาดบนยังมีกำลังซื้อ อย่าง อิตาลี เนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศส และญี่ปุ่น 2.ด้านการขอสินเชื่อให้แก่ผู้ประกอบการเพื่อนำไปฟื้นฟูกิจการ โดยผ่อนปรนเงื่อนไขให้ง่ายขึ้น 3.เน้นความช่วยเหลือแบบครบวงจรทั้งผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมโดยตรงและไม่ถูกน้ำท่วม เนื่องจากผู้ประกอบการในสมาพันธ์ฯ ส่วนใหญ่ใช้วัตถุดิบด้านการผลิตภายในประเทศกว่า 70% ดังนั้นรัฐบาลต้องฟื้นฟูผู้ประกอบการรอบด้าน และ4.จัดตั้ง Machine Fund วงเงินสินเชื่อเพื่อการเปลี่ยนเครื่องจักรใหม่ เพิ่มศักยภาพด้านการผลิตให้ทันสมัยรองรับการเปิดการค้าเสรีอาเซียน
“ขณะนี้เรื่องเงินทุนของ SMEs สำคัญมากเพื่อให้ธุรกิจกลับมาดำเนินการได้อีกครั้ง ทางเราขอให้สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อให้ โดยลดเงื่อนไขที่ยุ่งยากลง ส่วนเรื่องอัตราดอกเบี้ยเป็นยเรื่องสำคัญรองลงมา ในขณะที่มาตรการช่วยเหลือภาครัฐฯ ทางผู้ประกอบการไม่ต้องการใช้มาตรการช่วยเหลือเดียวกันทั้งหมดให้ดูเป็นรายอุตสาหกรรมไป หรือจะให้คนของสมาพันธ์ฯ เข้าไปช่วยรัฐบาลทำงาน เสนอแนะข้อมูลดังกล่าวก็ยินดี” นายจิรบูลย์กล่าว
สำหรับอัตราการเติบโตของอุตสาหกรรมไลฟ์สไตล์ในปี 2555 นั้น นายสุพัฒน์ คาดจะโตประมาณ 7% หรือประมาณหนึ่งแสนล้านบาท จากการที่ผู้ประกอบการนำสินค้าจัดแสดงในงานระดับประเทศ และยอดการส่งออกสินค้าไปยังประเทศแถบยุโรป ที่สินค้าไทยยังเป็นที่ต้องการในตลาดเหล่านี้จากคุณภาพและการออกแบบตรงกับความต้องการของลูกค้า