ม.หอการค้าไทย สำรวจตัวเลขผู้ประกอบการกระทบน้ำท่วม ชี้กว่า 70% แหล่งวัตถุดิบเสียหาย ขาดทุนประมาณ 8% ส่วนสต็อกสินค้าลด 15% คาดอีก 2-3 เดือน ธุรกิจจะฟื้นคืนสู่ปกติ ด้าน ผอ.ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ แนะแบงก์ชาติ ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.5% และชะลอเก็บภาษีดีเซล หวังเศรษฐกิจฟื้นตัวเร็ว
นางเสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจผลกระทบต่อผู้ประกอบการจากภาวะน้ำท่วม เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำท่วมที่ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการเอสเอ็มอีว่าส่วนใหญ่ ประมาณ 92.7 % ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ครั้งนี้ โดย 76.5% แหล่งวัตถุดิบเสียหาย ทำให้ยอดจำหน่ายลดลงกว่า 8.7% และในขณะเดียวกันส่งผลต้นทุนเพิ่มขึ้น 12.9% สต๊อกสินค้าลดลง 15.2%
ทั้งนี้คาดว่าสถานการณ์น้ำท่วมจะกระทบต่อธุรกิจไปอีก 2-3 เดือน ซึ่งทางผู้ประกอบการจะสามารถแบกรับภาระค่าใช้จ่ายต่างๆ ในช่วงที่ไม่มีรายได้ไปได้ประมาณ 2-3 เดือน และพอใจกับนโยบายในการช่วยแก่ผู้ประกอบการ ที่ได้รับจากรัฐบาลอยู่ในระดับน้อยถึงปานกลาง โดยสิ่งที่ต้องการให้รัฐบาลดำเนินการในปัจจุบันคือ เงินชดเชยการเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ลดภาษีให้กับผู้ที่ประสบอุทกภัย และให้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ
ด้านนายธนวัฒน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า ทางหอการค้าไทยสนับสนุนให้ธนาคารแห่งประเทศไทย โดยคณะกรรมการนโยบายการเงิน ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.5% เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวแรง และให้ทันต่อการรับมือกับภาวะเศรษฐกิจโลก ที่คาดว่าจะเปราะบางลง และการอนุมัติสินเชื่อ เพื่อผู้ประกอบการ จำนวน 300,000 ล้านบาท ควรที่จะใช้นโยบายผ่อนปรน รวมทั้งการชะลอการเก็บภาษีสรรพสามิต น้ำมันดีเซลเพื่อให้น้ำมันไม่ปรับเพิ่มขึ้น โดยในช่วงกลางเดือนหน้า ทางหอการค้าไทย จะมีการปรับประมาณการทางเศรษฐกิจใหม่ จากปัจจุบันที่มองว่า อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศในปีนี้ จะอยู่ที่ 1.5-2% ไตรมาสที่ 4 ขยายตัวติดลบ 4% และปีหน้าจะสามารถขยายตัวได้ 4-5% แต่หากนโยบายในการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลล่าช้า เศรษฐกิจจะขยายตัวได้เพียง 3-4% เท่านั้น
นางเสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจผลกระทบต่อผู้ประกอบการจากภาวะน้ำท่วม เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำท่วมที่ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการเอสเอ็มอีว่าส่วนใหญ่ ประมาณ 92.7 % ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ครั้งนี้ โดย 76.5% แหล่งวัตถุดิบเสียหาย ทำให้ยอดจำหน่ายลดลงกว่า 8.7% และในขณะเดียวกันส่งผลต้นทุนเพิ่มขึ้น 12.9% สต๊อกสินค้าลดลง 15.2%
ทั้งนี้คาดว่าสถานการณ์น้ำท่วมจะกระทบต่อธุรกิจไปอีก 2-3 เดือน ซึ่งทางผู้ประกอบการจะสามารถแบกรับภาระค่าใช้จ่ายต่างๆ ในช่วงที่ไม่มีรายได้ไปได้ประมาณ 2-3 เดือน และพอใจกับนโยบายในการช่วยแก่ผู้ประกอบการ ที่ได้รับจากรัฐบาลอยู่ในระดับน้อยถึงปานกลาง โดยสิ่งที่ต้องการให้รัฐบาลดำเนินการในปัจจุบันคือ เงินชดเชยการเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ลดภาษีให้กับผู้ที่ประสบอุทกภัย และให้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ
ด้านนายธนวัฒน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า ทางหอการค้าไทยสนับสนุนให้ธนาคารแห่งประเทศไทย โดยคณะกรรมการนโยบายการเงิน ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.5% เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวแรง และให้ทันต่อการรับมือกับภาวะเศรษฐกิจโลก ที่คาดว่าจะเปราะบางลง และการอนุมัติสินเชื่อ เพื่อผู้ประกอบการ จำนวน 300,000 ล้านบาท ควรที่จะใช้นโยบายผ่อนปรน รวมทั้งการชะลอการเก็บภาษีสรรพสามิต น้ำมันดีเซลเพื่อให้น้ำมันไม่ปรับเพิ่มขึ้น โดยในช่วงกลางเดือนหน้า ทางหอการค้าไทย จะมีการปรับประมาณการทางเศรษฐกิจใหม่ จากปัจจุบันที่มองว่า อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศในปีนี้ จะอยู่ที่ 1.5-2% ไตรมาสที่ 4 ขยายตัวติดลบ 4% และปีหน้าจะสามารถขยายตัวได้ 4-5% แต่หากนโยบายในการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลล่าช้า เศรษฐกิจจะขยายตัวได้เพียง 3-4% เท่านั้น