กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เผยอนุญาตให้ต่างด้าวเข้ามาประกอบธุรกิจในไทยช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา จำนวน 12 ราย มีเงินทุนไหลเข้ามามากถึง 274 ล้านบาท เกิดการจ้างงาน 112 คน นักธุรกิจจาก ญี่ปุ่น มาเลเซีย ฮ่องกง ฯลฯ
นางกุลณี อิศดิศัย รองอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าในฐานะผู้ช่วยกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว เปิดเผยว่า จากการที่คณะกรรมการฯ ได้อนุญาตให้คนต่างด้าวประกอบธุรกิจในประเทศไทยจำนวน 12 ราย ส่งผลให้ มีเงินทุนไหลเข้ามาเพื่อใช้ในการประกอบธุรกิจมากถึง 274 ล้านบาท และเกิดการจ้างงานภายในประเทศจำนวน 112 คน
โดยธุรกิจที่อนุญาตประกอบด้วย บริษัท โพลีพลาสติกส์ มาร์เก็ตติ้ง (ที) จำกัด [Polyplastics Marketing (T) Ltd.] ซึ่งนักลงทุนจากประเทศญี่ปุ่น ประกอบธุรกิจจัดการและติดต่อประสานงานแก่ผู้ให้บริการด้านขนส่งระหว่างประเทศ ด้านคลังสินค้า และด้านพิธีการศุลกากร ให้แก่บริษัทในเครือและลูกค้าของบริษัทที่สั่งซื้อพลาสติกวิศวกรรม
และบริษัท สมาร์ทแท็ก โซลูชั่นส์ เบอร์ฮาร์ด (Smartag Solutions Berhad) จากประเทศมาเลเซีย ธุรกิจบริการติดตามตู้สินค้าของบริษัทผู้นำเข้า-ส่งออก และบริษัทบริหารการจัดส่งสินค้าด้วยระบบการชี้เฉพาะด้วยคลื่นความถี่วิทยุ (Radio Frequency Identification : RFID) ให้แก่บริษัท เน็ตเบย์ จำกัด ซึ่งเป็นบริการที่สนับสนุนการดำเนินงานของกรมศุลกากรในการติดตามควบคุมทางศุลกากร อัลคาเทล-ลูเซ่น เซี่ยงไฮ้ เบลล์ (ฮ่องกง) ลิมิเต็ด [Alcatel-Lucent Shanghai Bell (Hongkong) Limited] จากเขตบริหารพิเศษฮ่องกง ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจบริการจัดหา ติดตั้ง ตรวจสอบ และทดสอบอุปกรณ์โทรคมนาคมเพื่อการส่งข้อมูลให้แก่ บริษัท ทรู ยูนิเวอร์แซล คอนเวอร์เจ้นซ์ จำกัด เป็นต้น
สำหรับในปี 2554 คณะกรรมการฯ ได้อนุญาตให้คนต่างด้าวประกอบธุรกิจในประเทศไทยแล้วจำนวน 30 ราย มีเงินลงทุนทั้งสิ้น 1,275 ล้านบาท และมีการจ้างงานคนไทยจำนวน 629 คน ประเทศที่เข้ามาลงทุนสามอันดับแรกได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น (ร้อยละ 33) เขตบริหารพิเศษฮ่องกง (ร้อยละ 17) สาธารณรัฐเกาหลี (ร้อยละ 10) ตามลำดับ
ทั้งนี้ นับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2543 ที่มีการบังคับใช้พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2554 คณะกรรมการฯ ได้อนุญาตให้คนต่างด้าวประกอบธุรกิจไปแล้ว 2,651 ราย และมีเงินทุนเพื่อใช้ในการประกอบธุรกิจทั้งสิ้น 138,395 ล้านบาท ประเทศที่เข้ามาลงทุนสามอันดับแรกได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น (ร้อยละ 36) สิงคโปร์ (ร้อยละ 15) และเยอรมนี (ร้อยละ 6)
นางกุลณี อิศดิศัย รองอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าในฐานะผู้ช่วยกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว เปิดเผยว่า จากการที่คณะกรรมการฯ ได้อนุญาตให้คนต่างด้าวประกอบธุรกิจในประเทศไทยจำนวน 12 ราย ส่งผลให้ มีเงินทุนไหลเข้ามาเพื่อใช้ในการประกอบธุรกิจมากถึง 274 ล้านบาท และเกิดการจ้างงานภายในประเทศจำนวน 112 คน
โดยธุรกิจที่อนุญาตประกอบด้วย บริษัท โพลีพลาสติกส์ มาร์เก็ตติ้ง (ที) จำกัด [Polyplastics Marketing (T) Ltd.] ซึ่งนักลงทุนจากประเทศญี่ปุ่น ประกอบธุรกิจจัดการและติดต่อประสานงานแก่ผู้ให้บริการด้านขนส่งระหว่างประเทศ ด้านคลังสินค้า และด้านพิธีการศุลกากร ให้แก่บริษัทในเครือและลูกค้าของบริษัทที่สั่งซื้อพลาสติกวิศวกรรม
และบริษัท สมาร์ทแท็ก โซลูชั่นส์ เบอร์ฮาร์ด (Smartag Solutions Berhad) จากประเทศมาเลเซีย ธุรกิจบริการติดตามตู้สินค้าของบริษัทผู้นำเข้า-ส่งออก และบริษัทบริหารการจัดส่งสินค้าด้วยระบบการชี้เฉพาะด้วยคลื่นความถี่วิทยุ (Radio Frequency Identification : RFID) ให้แก่บริษัท เน็ตเบย์ จำกัด ซึ่งเป็นบริการที่สนับสนุนการดำเนินงานของกรมศุลกากรในการติดตามควบคุมทางศุลกากร อัลคาเทล-ลูเซ่น เซี่ยงไฮ้ เบลล์ (ฮ่องกง) ลิมิเต็ด [Alcatel-Lucent Shanghai Bell (Hongkong) Limited] จากเขตบริหารพิเศษฮ่องกง ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจบริการจัดหา ติดตั้ง ตรวจสอบ และทดสอบอุปกรณ์โทรคมนาคมเพื่อการส่งข้อมูลให้แก่ บริษัท ทรู ยูนิเวอร์แซล คอนเวอร์เจ้นซ์ จำกัด เป็นต้น
สำหรับในปี 2554 คณะกรรมการฯ ได้อนุญาตให้คนต่างด้าวประกอบธุรกิจในประเทศไทยแล้วจำนวน 30 ราย มีเงินลงทุนทั้งสิ้น 1,275 ล้านบาท และมีการจ้างงานคนไทยจำนวน 629 คน ประเทศที่เข้ามาลงทุนสามอันดับแรกได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น (ร้อยละ 33) เขตบริหารพิเศษฮ่องกง (ร้อยละ 17) สาธารณรัฐเกาหลี (ร้อยละ 10) ตามลำดับ
ทั้งนี้ นับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2543 ที่มีการบังคับใช้พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2554 คณะกรรมการฯ ได้อนุญาตให้คนต่างด้าวประกอบธุรกิจไปแล้ว 2,651 ราย และมีเงินทุนเพื่อใช้ในการประกอบธุรกิจทั้งสิ้น 138,395 ล้านบาท ประเทศที่เข้ามาลงทุนสามอันดับแรกได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น (ร้อยละ 36) สิงคโปร์ (ร้อยละ 15) และเยอรมนี (ร้อยละ 6)