3 หน่วยงานหลัก สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.) และสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ผู้ก่อตั้งสมาคมหน่วยบ่มเพาะธุรกิจและอุทยานวิทยาศาสตร์ไทย เตรียม จัดงานครบรอบ 1 ปี แสดงศักยภาพผู้ประกอบการผ่านการบ่มเพาะ พร้อมขนงานวิจัยของนักวิจัยกว่า 40 ผลงานร่วมโชว์งานต่อยอดเชิงพาณิชย์
ศ.ดร.ชัชนาถ เทพธรานนท์ รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ในฐานะนายกสมาคมหน่วยบ่มเพาะธุรกิจและอุทยานวิทยาศาสตร์ไทย เปิดเผยว่า เนื่องจากทางสมาคมฯ ได้ดำเนินการมาครบ 1 ปี และเพื่อให้หน่วยงานองค์กร และผู้ประกอบการเอกชนได้รู้จักสมาคมฯให้มากขึ้น จึงได้จัดงาน Thai – BISPA DAY ขึ้น ในวันที่ 15 มกราคม 2553 ที่โรงแรมอโนมา กรุงเทพฯ และวัตถุประสงค์ของการจัดงานเพื่อเผยแพร่ผลงานต่างๆ ของสมาชิกทั้งที่เป็นหน่วยบ่มเพาะ และอุทยานวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย
สำหรับสมาคมหน่วยบ่มเพาะธุรกิจและอุทยานวิทยาศาสตร์ไทย หรือ Thai-BISPA (Thai Business Incubators and Science Parks Association) เป็นหน่วยงานที่เกิดขึ้นมาจากการรวมตัวของ 3 หน่วยงานหลัก คือ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.) และสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) วัตถุประสงค์ของสมาคมฯ เพื่อเป็นศูนย์กลางของเครือข่ายหน่วยบ่มเพาะธุรกิจและอุทยานวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย และเป็นศูนย์กลางในการติดต่อเครือข่ายต่างประเทศ แลกเปลี่ยนและเผยแพร่ข้อมูลทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการวิจัยและพัฒนาระหว่างสมาชิก
ปัจจุบันมีสมาชิกอยู่ทั้งสิ้น 22 ราย คาดว่าในปีนี้ น่าจะมีสมาชิกเพิ่มขึ้นได้ถึง 70 ราย ในตอนนี้ มีผู้สนใจต้องการมาเข้าร่วมเป็นสมาชิกเพิ่มขึ้น ซึ่งผู้ประกอบการหน้าใหม่ หรือนักวิจัยที่มีผลงาน และไม่ต้องการเช่าพื้นที่ หรือลงทุนในการทำวิจัย สามารถเข้ามาเป็นสมาชิก และใช้พื้นที่อุทยานวิทยาศาสตร์เป็นหน่วยบ่มเพาะธุรกิจได้ ซึ่งในศูนย์บ่มเพาะมีห้องแล็ป มีนักวิจัย และเจ้าหน้าคอยดูแลให้ฐานความรู้ก่อนที่จะลงมือทำธุรกิจอย่างจริงจัง โดยในต่างประเทศให้ความสำคัญกับศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ และอุทยานวิทยาศาสตร์เป็นอย่างมาก เช่น ประเทศ สหรัฐอเมริกามีศูนย์เหล่านี้มากถึง 100 ศูนย์ เพื่อคอยให้คำแนะนำและบ่มเพาะนักธุรกิจหน้าใหม่ ให้สามารถดำเนินธุรกิจและอยู่รอดได้อย่างยังยืน ซึ่งจะเห็นว่านักธุรกิจหน้าใหม่ที่ผ่านการบ่มเพาะจากศูนย์จะอยู่รอดได้มากกว่า 10%
ด้านนายวชิระ แก้วกอ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาระบบส่งเสริม SMEs สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) กล่าวต่อว่า เนื่องจากสสว. เป็นองค์กรหลักในการส่งเสริมเอสเอ็มอี การร่วมกับ 3 หน่วยงาน จัดตั้งสมาคมฯในครั้งนี้ ถือว่าภารกิจของเราด้วย ในการสร้างแรงจูงใจ ให้กับผู้ประกอบการในการเข้ามาใช้บริการของบ่มเพาะธุรกิจ เพื่อสร้างฐานความรู้ที่แข็งแกร่งและยั่งยืน และการจัดงานในครั้งนี้ เสมือนเป็นเวทีให้ผู้ประกอบการหน้าใหม่ที่เข้ารับการบ่มเพาะสามารถเข้าถึงแหล่งทุนโดยตรง และภายในงานได้โชว์ผลงานวิจัยที่พร้อมนำไปต่อยอดกว่า 40 ผลงาน และเกิดการเชื่อมโยงให้มีการจับคู่ธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการได้รับการบ่มเพาะ นักลงทุน และนักวิจัย –นักธุรกิจ คาดว่ามีผู้เข้าร่วมงานมากกว่า 300 คน
ศ.ดร.ชัชนาถ เทพธรานนท์ รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ในฐานะนายกสมาคมหน่วยบ่มเพาะธุรกิจและอุทยานวิทยาศาสตร์ไทย เปิดเผยว่า เนื่องจากทางสมาคมฯ ได้ดำเนินการมาครบ 1 ปี และเพื่อให้หน่วยงานองค์กร และผู้ประกอบการเอกชนได้รู้จักสมาคมฯให้มากขึ้น จึงได้จัดงาน Thai – BISPA DAY ขึ้น ในวันที่ 15 มกราคม 2553 ที่โรงแรมอโนมา กรุงเทพฯ และวัตถุประสงค์ของการจัดงานเพื่อเผยแพร่ผลงานต่างๆ ของสมาชิกทั้งที่เป็นหน่วยบ่มเพาะ และอุทยานวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย
สำหรับสมาคมหน่วยบ่มเพาะธุรกิจและอุทยานวิทยาศาสตร์ไทย หรือ Thai-BISPA (Thai Business Incubators and Science Parks Association) เป็นหน่วยงานที่เกิดขึ้นมาจากการรวมตัวของ 3 หน่วยงานหลัก คือ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.) และสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) วัตถุประสงค์ของสมาคมฯ เพื่อเป็นศูนย์กลางของเครือข่ายหน่วยบ่มเพาะธุรกิจและอุทยานวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย และเป็นศูนย์กลางในการติดต่อเครือข่ายต่างประเทศ แลกเปลี่ยนและเผยแพร่ข้อมูลทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการวิจัยและพัฒนาระหว่างสมาชิก
ปัจจุบันมีสมาชิกอยู่ทั้งสิ้น 22 ราย คาดว่าในปีนี้ น่าจะมีสมาชิกเพิ่มขึ้นได้ถึง 70 ราย ในตอนนี้ มีผู้สนใจต้องการมาเข้าร่วมเป็นสมาชิกเพิ่มขึ้น ซึ่งผู้ประกอบการหน้าใหม่ หรือนักวิจัยที่มีผลงาน และไม่ต้องการเช่าพื้นที่ หรือลงทุนในการทำวิจัย สามารถเข้ามาเป็นสมาชิก และใช้พื้นที่อุทยานวิทยาศาสตร์เป็นหน่วยบ่มเพาะธุรกิจได้ ซึ่งในศูนย์บ่มเพาะมีห้องแล็ป มีนักวิจัย และเจ้าหน้าคอยดูแลให้ฐานความรู้ก่อนที่จะลงมือทำธุรกิจอย่างจริงจัง โดยในต่างประเทศให้ความสำคัญกับศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ และอุทยานวิทยาศาสตร์เป็นอย่างมาก เช่น ประเทศ สหรัฐอเมริกามีศูนย์เหล่านี้มากถึง 100 ศูนย์ เพื่อคอยให้คำแนะนำและบ่มเพาะนักธุรกิจหน้าใหม่ ให้สามารถดำเนินธุรกิจและอยู่รอดได้อย่างยังยืน ซึ่งจะเห็นว่านักธุรกิจหน้าใหม่ที่ผ่านการบ่มเพาะจากศูนย์จะอยู่รอดได้มากกว่า 10%
ด้านนายวชิระ แก้วกอ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาระบบส่งเสริม SMEs สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) กล่าวต่อว่า เนื่องจากสสว. เป็นองค์กรหลักในการส่งเสริมเอสเอ็มอี การร่วมกับ 3 หน่วยงาน จัดตั้งสมาคมฯในครั้งนี้ ถือว่าภารกิจของเราด้วย ในการสร้างแรงจูงใจ ให้กับผู้ประกอบการในการเข้ามาใช้บริการของบ่มเพาะธุรกิจ เพื่อสร้างฐานความรู้ที่แข็งแกร่งและยั่งยืน และการจัดงานในครั้งนี้ เสมือนเป็นเวทีให้ผู้ประกอบการหน้าใหม่ที่เข้ารับการบ่มเพาะสามารถเข้าถึงแหล่งทุนโดยตรง และภายในงานได้โชว์ผลงานวิจัยที่พร้อมนำไปต่อยอดกว่า 40 ผลงาน และเกิดการเชื่อมโยงให้มีการจับคู่ธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการได้รับการบ่มเพาะ นักลงทุน และนักวิจัย –นักธุรกิจ คาดว่ามีผู้เข้าร่วมงานมากกว่า 300 คน