อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หนุนสุดตัวรวมกลุ่มเอสเอ็มอี 10,000 ราย กำหนดบทบาทสมาคมเอสเอ็มอีแห่งแรกให้แข็งแกร่ง หวังต่อรองภาครัฐและเป็นตัวแทนประเทศไทยกำหนดบทบาทการค้าบนเวทีโลก เช่นเดียวสภาอุตสาหกรรม หรือหอการค้า ชี้ปัจจุบันสมาคมฯมีสมาชิกกลุ่ม คพอ.กว่า 5,000 ราย
นายปราโมทย์ วิทยาสุข อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวถึง การจัดตั้งสมาคมส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งเป็นครั้แรกของเอสเอ็มอีไทยที่มีการรวมตัวกันและตั้งเป็นสมาคมฯ ความคาดหวังของทางกรมฯ ต้องการจะเห็นการช่วยเหลือกันของกลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอี โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาหน่วยงานของราชการอย่างกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ในขณะที่กรมจะผันตัวเองไปทำหน้าที่อื่นๆ แทนจะใช้งบประมาณเพื่อมาคอยดูแลให้การช่วยเหลืออยู่ตลอดเวลา
ทั้งนี้ ยังคาดหวังว่าการรวมตัวกันของเอสเอ็มอีในลักษณะของสมาคมในครั้งนี้ จะมีบทบาท เช่นเดียวกับ การรวมตัวของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เพื่อที่จะได้มีปากมีเสียงและสามารถต่อรองกับภาครัฐบาลในการกำหนดบทบาทของเอสเอ็มอี หรือการเป็นตัวแทนของประเทศในเวทีการค้าระดับโลก เนื่องจากโดยภาพรวมธุรกิจเอสเอ็มอีในประเทศไทยมีมากถึง 2 ล้านราย ถ้ารวมตัวกันได้ มูลค่าการลงทุนหรือรายได้จำนวนหลักหลายพันล้านบาท ทำให้ภาครัฐบาลเองต้องหันมามองบทบาทของสมาคมฯ เช่นเดียวกับที่รัฐให้ความสำคัญกับสภาอุตสาหกรรมหรือ หอการค้า
ปัจจุบันสภาอุตสาหกรรม มีสมาชิกที่เป็นกลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจริง แค่ไม่กี่พันราย บทบาทของเอสเอ็มอีในสภาอุตสาหกรรมจึงมีไม่ได้มาก ซึ่งการจัดตั้งสมาคมในครั้งนี้ ทางกรมฯ ต้องการหาสมาชิกให้ครบ 10,000 ราย ให้เร็วที่สุด โดยปัจจุบันสมาคมมีสมาชิกอยู่ประมาณ 5,000-6,000 ราย เป็นกลุ่มสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรม (คพอ.) ซึ่งต่อไปคงจะได้มีการเปิดกว้างให้กับผู้ประกอบการที่เป็นรูปบริษัทสมัครแบบวิสามัญได้
สำหรับการตั้งสมาคมในเบื้องต้นทางกรมฯได้ให้การช่วยเหลือในเรื่องของงบประมาณ ผ่านการทำงานของสมาคม ฯอาทิ เช่น การจัดการฝึกอบรม งบที่จ่ายให้สมาคมเพื่อทำการสำรวจลักษณะข้อมูลธุรกิจในพื้นที่ต่างๆ เป็นต้น ซึ่งการสนับสนุนงบประมาณของภาครัฐในปัจจุบัน จะไม่มีการจ่ายแบบให้เปล่า แต่จะเป็นการจ่ายโดยมีข้อกำหนด ข้อแลกเปลี่ยน เสมอ
นายปราโมทย์ วิทยาสุข อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวถึง การจัดตั้งสมาคมส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งเป็นครั้แรกของเอสเอ็มอีไทยที่มีการรวมตัวกันและตั้งเป็นสมาคมฯ ความคาดหวังของทางกรมฯ ต้องการจะเห็นการช่วยเหลือกันของกลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอี โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาหน่วยงานของราชการอย่างกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ในขณะที่กรมจะผันตัวเองไปทำหน้าที่อื่นๆ แทนจะใช้งบประมาณเพื่อมาคอยดูแลให้การช่วยเหลืออยู่ตลอดเวลา
ทั้งนี้ ยังคาดหวังว่าการรวมตัวกันของเอสเอ็มอีในลักษณะของสมาคมในครั้งนี้ จะมีบทบาท เช่นเดียวกับ การรวมตัวของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เพื่อที่จะได้มีปากมีเสียงและสามารถต่อรองกับภาครัฐบาลในการกำหนดบทบาทของเอสเอ็มอี หรือการเป็นตัวแทนของประเทศในเวทีการค้าระดับโลก เนื่องจากโดยภาพรวมธุรกิจเอสเอ็มอีในประเทศไทยมีมากถึง 2 ล้านราย ถ้ารวมตัวกันได้ มูลค่าการลงทุนหรือรายได้จำนวนหลักหลายพันล้านบาท ทำให้ภาครัฐบาลเองต้องหันมามองบทบาทของสมาคมฯ เช่นเดียวกับที่รัฐให้ความสำคัญกับสภาอุตสาหกรรมหรือ หอการค้า
ปัจจุบันสภาอุตสาหกรรม มีสมาชิกที่เป็นกลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจริง แค่ไม่กี่พันราย บทบาทของเอสเอ็มอีในสภาอุตสาหกรรมจึงมีไม่ได้มาก ซึ่งการจัดตั้งสมาคมในครั้งนี้ ทางกรมฯ ต้องการหาสมาชิกให้ครบ 10,000 ราย ให้เร็วที่สุด โดยปัจจุบันสมาคมมีสมาชิกอยู่ประมาณ 5,000-6,000 ราย เป็นกลุ่มสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรม (คพอ.) ซึ่งต่อไปคงจะได้มีการเปิดกว้างให้กับผู้ประกอบการที่เป็นรูปบริษัทสมัครแบบวิสามัญได้
สำหรับการตั้งสมาคมในเบื้องต้นทางกรมฯได้ให้การช่วยเหลือในเรื่องของงบประมาณ ผ่านการทำงานของสมาคม ฯอาทิ เช่น การจัดการฝึกอบรม งบที่จ่ายให้สมาคมเพื่อทำการสำรวจลักษณะข้อมูลธุรกิจในพื้นที่ต่างๆ เป็นต้น ซึ่งการสนับสนุนงบประมาณของภาครัฐในปัจจุบัน จะไม่มีการจ่ายแบบให้เปล่า แต่จะเป็นการจ่ายโดยมีข้อกำหนด ข้อแลกเปลี่ยน เสมอ