นายกสมาคมโบ๊เบ๊ ติงรัฐบาลฟื้นกรุงเทพเมืองแฟชั่น อย่าเน้นแต่สร้างภาพลักษณ์ หันมองภาคผลิตและการค้าด้วย เพราะทั้งสามสิ่ง ผลิต การค้า และแฟชั่นจะต้องไปด้วยกันถึงจะเกิดผลสัมฤทธิ์ พร้อมเสนอแนะแยก แฟชั่นและ OEM ออกมาให้ชัดเจน เชื่องบกว่า พันล้านบาท ที่ผ่านมาต้องทำอะไรได้มากกว่านี้
นายคมสรรค์ วิจิตรวิกรม อุปนายกสมาคมโบ๊เบ๊ และประธานโครงการ Street Fashion Runway ภาคเอกชน กล่าวถึง การที่รัฐบาลมีนโยบายที่จะฟื้นโครงการกรุงเทพเมืองแฟชั่น กลับมาทำอีกครั้งหนึ่ง ว่า ขึ้นอยู่กับรัฐมนตรีที่รับผิดชอบว่า จะทำให้ภาพของกรุงเทพเมืองแฟชั่นออกมาในภาพกว้างขนาดไหน และรูปแบบในการจัดการเป็นอย่างไร ซึ่งต้องยอมรับว่าในภาพเดิมของกรุงเทพเมืองแฟชั่นที่ผ่านมาเนื้องาน 11 โครงการจะเน้นการสร้างภาพลักษณ์ ในเรื่องของแฟชั่น โดยไม่ได้ให้ความสำคัญกับภาคอุตสาหกรรมการผลิตการค้า และเอสเอ็มอี เลย
ทั้งนี้ ถ้าจะนำกลับมาทำใหม่ ในฐานะภาคเอกชน ต้องการจะเห็นผลสัมฤทธิ์ของการค้า ครอบคลุมในทุกส่วน โดยจำเป็นจะต้องแยกส่วนของแฟชั่น และ การรับจ้างผลิต หรือ OEM ออกมาให้ชัดเจน และถ้าแผนงานนโยบายออกมาครอบคลุมในทุกภาคส่วน ทั้งอุตสาหกรรม แฟชั่น การค้า และที่สำคัญต้องมีเอสเอ็มอี ด้วย เราก็พร้อมที่จะให้การสนับสนุน
ที่ผ่านมามีหลายข้อที่เป็นข้อติติงที่อยากจะฝากรัฐบาลช่วยแก้ไข ไม่ว่าจะเป็นงบประมาณ จำนวนมากถึงหลักพันล้านบาท ที่น่าจะทำอะไรได้มากกว่า นี้ ซึ่งผู้ที่ได้ประโยชน์ในครั้งที่ผ่านมาอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ และติงในจุดของการนำงบไปใช้กับแฟชั่นและหนังสือ ที่ไม่สามารถตอบโจทย์ในเรื่องของการค้าในภาคอุตสาหกรรม หรือ การส่งออกได้เลย และในส่วนของแฟชั่นเอง ดีไซน์เนอร์ ติดกับการทำงานตามแบบแฟชั่นในต่างประเทศ โดยลืมความเป็นไทย อยากให้ดีไซน์เนอร์ทั้งหลายทำงานโดยมีกลิ่นไอของความเป็นไทยผสมผสานอยู่ในผลงานด้วย
อย่างไรก็ตาม ถ้ารัฐบาลต้องการจะนำโครงการกรุงเทพเมืองแฟชั่นกลับมาทำใหม่ ไม่อยากให้รัฐบาลลืมที่จะนึกถึงและให้ความสำคัญกับกลุ่มผู้ประกอบการ เอสเอ็มอี และอยากเห็นการบริหารจัดการงบประมาณให้เกิดผลสัมฤทธิ์ มากกว่าที่ผ่านมา ซึ่งเชื่อว่างบประมาณจำนวนมากขนาดนี้ น่าจะทำอะไรได้มากกว่านี้ เพราะเมื่อเทียบกับโครงการ Street Fashion Runway ซึ่งใช้งบประมาณเพียง 20-30 ล้านบาท แต่สามารถทำอะไรได้จำนวนมาก ดังนั้น งบประมาณกรุงเทพเมืองแฟชั่นหลักพันล้านบาท น่าจะทำอะไรได้มากกว่าที่ผ่านมา
นายคมสรรค์ วิจิตรวิกรม อุปนายกสมาคมโบ๊เบ๊ และประธานโครงการ Street Fashion Runway ภาคเอกชน กล่าวถึง การที่รัฐบาลมีนโยบายที่จะฟื้นโครงการกรุงเทพเมืองแฟชั่น กลับมาทำอีกครั้งหนึ่ง ว่า ขึ้นอยู่กับรัฐมนตรีที่รับผิดชอบว่า จะทำให้ภาพของกรุงเทพเมืองแฟชั่นออกมาในภาพกว้างขนาดไหน และรูปแบบในการจัดการเป็นอย่างไร ซึ่งต้องยอมรับว่าในภาพเดิมของกรุงเทพเมืองแฟชั่นที่ผ่านมาเนื้องาน 11 โครงการจะเน้นการสร้างภาพลักษณ์ ในเรื่องของแฟชั่น โดยไม่ได้ให้ความสำคัญกับภาคอุตสาหกรรมการผลิตการค้า และเอสเอ็มอี เลย
ทั้งนี้ ถ้าจะนำกลับมาทำใหม่ ในฐานะภาคเอกชน ต้องการจะเห็นผลสัมฤทธิ์ของการค้า ครอบคลุมในทุกส่วน โดยจำเป็นจะต้องแยกส่วนของแฟชั่น และ การรับจ้างผลิต หรือ OEM ออกมาให้ชัดเจน และถ้าแผนงานนโยบายออกมาครอบคลุมในทุกภาคส่วน ทั้งอุตสาหกรรม แฟชั่น การค้า และที่สำคัญต้องมีเอสเอ็มอี ด้วย เราก็พร้อมที่จะให้การสนับสนุน
ที่ผ่านมามีหลายข้อที่เป็นข้อติติงที่อยากจะฝากรัฐบาลช่วยแก้ไข ไม่ว่าจะเป็นงบประมาณ จำนวนมากถึงหลักพันล้านบาท ที่น่าจะทำอะไรได้มากกว่า นี้ ซึ่งผู้ที่ได้ประโยชน์ในครั้งที่ผ่านมาอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ และติงในจุดของการนำงบไปใช้กับแฟชั่นและหนังสือ ที่ไม่สามารถตอบโจทย์ในเรื่องของการค้าในภาคอุตสาหกรรม หรือ การส่งออกได้เลย และในส่วนของแฟชั่นเอง ดีไซน์เนอร์ ติดกับการทำงานตามแบบแฟชั่นในต่างประเทศ โดยลืมความเป็นไทย อยากให้ดีไซน์เนอร์ทั้งหลายทำงานโดยมีกลิ่นไอของความเป็นไทยผสมผสานอยู่ในผลงานด้วย
อย่างไรก็ตาม ถ้ารัฐบาลต้องการจะนำโครงการกรุงเทพเมืองแฟชั่นกลับมาทำใหม่ ไม่อยากให้รัฐบาลลืมที่จะนึกถึงและให้ความสำคัญกับกลุ่มผู้ประกอบการ เอสเอ็มอี และอยากเห็นการบริหารจัดการงบประมาณให้เกิดผลสัมฤทธิ์ มากกว่าที่ผ่านมา ซึ่งเชื่อว่างบประมาณจำนวนมากขนาดนี้ น่าจะทำอะไรได้มากกว่านี้ เพราะเมื่อเทียบกับโครงการ Street Fashion Runway ซึ่งใช้งบประมาณเพียง 20-30 ล้านบาท แต่สามารถทำอะไรได้จำนวนมาก ดังนั้น งบประมาณกรุงเทพเมืองแฟชั่นหลักพันล้านบาท น่าจะทำอะไรได้มากกว่าที่ผ่านมา