ปัจจุบันธุรกิจสถาบันสอนภาษาอังกฤษแบรนด์คนไทย มีการเตรียมแผนการดำเนินงานในปี 2551 นี้กันอย่างคึกคัก เพื่อเตรียมเปิดตลาดเชิงรุกมากขึ้น เพราะต่างเล็งเห็นโอกาสของธุรกิจที่ขยายตัวครอบคลุมทุกอุตสาหกรรมหรือผู้ที่ต้องการใช้ความรู้จากภาษาอังกฤษที่ในสายอาชีพหลายแห่งวัดความรู้ การเพิ่มเงินเดือนพิเศษสำหรับผู้ที่ได้ภาษา รวมถึงการปูพื้นฐานสำหรับเด็กเล็ก เพื่อการเติบโตบนโลกไร้บนแดน ขณะที่แหล่งทำเลใหม่เกิดขึ้นจำนวนมาก
โดยจะเห็นการขยับตัวได้จาก 3 แบรนด์ที่ดำเนินธุรกิจด้วยระบบแฟรนไชส์ ประกอบด้วย สมาร์ท อิงลิช (Smart English) ฟัน อิงลิช (Fun English) อิงลิช พลัส (English Plus) ตั้งแต่ไตรมาสสุดท้ายต่อเนื่องไปถึงต้นปี 2551

'ฟัน อิงลิช' แตกแบรนด์ ขยายฐานวัยทำงาน
"ฟัน อิงลิช" สถาบันสอนภาษาอังกฤษมานานกว่า 10 ปี ที่พัฒนาหลักสูตรด้วยคนไทย คือ “จารุวรรณ ไกรเทพ” ที่เห็นความสำคัญของเรื่อง "Phonics" หรือการออกเสียง สำเนียงให้ถูกต้องตามต้นแบบของภาษาอังกฤษ และนับเป็นรายแรกและรายเดียวที่ชูจุดขายเรื่อง Phonics
จารุวรรณ บอกว่า ปัจจุบันพิสูจน์แล้วว่าตลาดสถาบันการศึกษาให้ความสำคัญกับการสอนเรื่อง Phonics มากขึ้นจะเห็นได้ว่าหลายสถาบันมีการเพิ่มหลักสูตรดังกล่าว และการเติบโตจากสาขาแฟรนไชซี 25 สาขาทั่วประเทศ และฐานผู้เรียนในแต่ละสาขาก็เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง รวมถึงการขยายเครือข่ายมาจากต่างประเทศ
ทั้งนี้เธอยอมรับว่า ด้วยระบบแฟรนไชส์ต้องมีการขยายเครือข่าย แต่ด้วยภาวการณ์ลงทุนในปัจจุบันอาจไม่เอื้อให้เกิดการลงทุนใหม่มากนัก ทำให้สถาบันมุ่งพัฒนาหลักสูตรขยายฐานผู้เรียนให้กว้างขึ้น จากเดิมมุ่งที่กลุ่มเด็ก สู่ตลาดกลุ่มวัยทำงาน บริษัทต่างๆ
และด้วยความรู้ ประสบการณ์ในวงการธุรกิจมานาน ทำให้เห็นช่องทางการต่อยอดธุรกิจ ล่าสุด อยู่ระหว่างการแตกแบรนด์ใหม่ มุ่งจับกลุ่มตลาดบริษัท สอนภาษาอังกฤษเพื่อใช้ในงานและการสอบเพื่อศึกษาต่อยังต่างประเทศ โดยบริษัทจะดำเนินการเอง
"เรามองเห็นตลาดใหญ่ที่รออยู่ข้างหน้า หลายองค์กรใช้ความรู้ภาษาอังกฤษในการพิจารณาเงินเดือนทำให้กลุ่มคนทำงานสนใจเพิ่มพูนความรู้ ประกอบกับคนทั่วไป หรือเด็กๆ การเรียนรู้ผ่าน Internet มากขึ้น ต้องใช้ความรู้ภาษาอังกฤษมาเป็นตัวช่วย"
ศรวีย์ พรมมา เอ็มดีบริษัท กล่าวเสริมว่าจะเห็นใน ปี 2551 ที่บริษัทจะเปิดตลาดเชิงรุก นอกจากการเปิดตัวแบรนด์ใหม่เพื่อขยายฐานลูกค้าแล้วนั้น ส่วนฟัน อิงลิช ที่เป็นระบบแฟรนไชส์ ยังพบโอกาสของธุรกิจสูงมาก หากพิจารณาจากเงินลงทุน ตอบโจทย์ผู้ที่เข้ามาลงทุนได้ไม่ยาก พื้นที่ขนาด 200 ตร.ม. ทำเลในห้างสรรพสินค้าการลงทุนที่ล้นบาทเศษ ส่วนอาคารพาณิชย์ 3 ชั้น 1 คูหาลงทุน 7 แสนบาท เงินลงทุนไม่สูงเมื่อเทียบแบรนด์อื่นๆ หรือจากต่างประเทศ และการลงทุนระดับแสนเป็นฐานผู้ลงทุนกลุ่มใหญ่ในไทย
ศรวีย์ ยังมองโอกาสธุรกิจที่เติบโตพร้อมกับทำเลใหม่ที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะ Community Mall ที่เกิดขึ้นจำนวนมาก เขายกตัวอย่างที่เห็นในปัจจุบันย่านรังสิตผู้ประกอบรวมตัวกันเป็นศูนย์สอนเสริมเด็กหลังเวลาเลิกเรียน รถรับส่งเด็กจะมาส่งเรียนเพิ่มที่ศูนย์แห่งนี้และผู้ปกครองมาแวะรับ
และเขายังมองว่าพฤติกรรมของคนไทยให้ความนิยมกับการเรียนเสริม ไม่ว่าจะเป็นคนที่เรียนเก่ง หรือจบการศึกษาสูงขนาดไหนก็ตามถ้าไม่เรียนอาจตกเทรนด์ได้ ซึ่งเรียกว่า "Peer Pressure" นับเป็นโอกาสของธุรกิจ
จารุวรรณ กล่าวเพิ่มเติมว่า เมื่อเปรียบเทียบการขยายตัวปริมาณสาขาอาจช้ากว่าที่ผ่านมาแต่จำนวนผู้เรียนในแต่ละสาขาเพิ่มขึ้น และแนวโน้มพบผู้ประกอบการรุ่นใหม่ๆ เลือกลงทุนกับธุรกิจการศึกษามากขึ้น ด้วยเล็งเห็นโอกาสของภาษาที่มีความสำคัญ เป็นธุรกิจที่ได้รับการยกเว้นการจ่ายภาษีเงินได้ และเป็นธุรกิจที่สามารถทำได้ในระยะยาวปัจจัยกระทบน้อยเมื่อเทียบธุรกิจอื่นๆ

'อิงลิช พลัส' เปิด 'อาร์ตแอคชั่น' ดับเบิ้ลแบรนด์ ดับเบิ้ลอิมแพค
ด้าน มาโนช เพศยนาวิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อีแอลที คอมมิวนิเคชั่น จำกัด หรือ ELT ผู้สร้างแบรนด์ “อิงลิช พลัส” ให้ข้อมูลว่า ไตรมาสสุดท้ายของปี 2550 นี้ ได้เปิดแบรนด์ศิลปะ “อาร์ตแอคชั่น” ชูคอนเซ็ปต์ “ดับเบิ้ลแบรนด์ ดับเบิ้ลอิมแพค” เล็งเห็นว่า การเปิด 2 แบรนด์ในพื้นที่เดียวกันยังเป็นการช่วยแฟรนไชซีในการเพิ่มฐานการใช้บริการด้วย
ขณะเดียวกันพบว่าความนิยมของผู้ปกครองในการสนับสนุนลูกให้เรียนศิลปะมากขึ้น เนื่องจากรู้ว่าศิลปะทำให้เด็กมีสมาธิ มีความตั้งใจมุ่งมั่นและเป็นการพัฒนาทั้งสมองซีกซ้ายและขวา ฉะนั้นการเรียนรู้สามารถควบคู่ทั้งภาษาอังกฤษและศิลปะและสะดวกภายในสถานบันเดียวกัน นอกจากนี้มองว่าศิลปะที่เด็กมีความสนใจเป็นพื้นฐานอยู่แล้วนั้นจะชักนำให้เกิดความสนใจและเรียนรู้ภาษาอังกฤษมากขึ้น เพราะการเรียนการสอนศิลปปะในอนาคตอันใกล้จะพัฒนาเป็นการสอนด้วยภาษาอังกฤษทั้งหมด
มาโนช ให้เหตุผลของการขยายสู่การสอนศิลปะเพราะการเติบโตในส่วนนี้สูงมาก การการสำรวจพบแบรนด์ที่สอนศิลปะมีมากกว่า 40 แห่ง เฉพาะในห้างสรรพสินค้าที่มี Education Zone นั้นมีไม่ต่ำกว่า 10 แบรนด์ที่เปิดสอน เช่น ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลปิ่นเกล้า
สำหรับเป้าหมายในการขยายสาขาคาดว่าปีหน้าจะเปิดสาขาแฟรนไชส์แบบ “ดับเบิ้ลแบรนด์ ดับเบิ้ลอิมแพค” ให้ได้ 10 สาขา ใช้พื้นที่ 200 ตารางเมตร งบลงทุน 2 ล้านบาท ส่วนการเปิดแบบแยกแบรนด์น่าจะเปิดได้แบรนด์ละ 10 สาขา และอาจจะมีการนำแบรนด์อาร์ตแอคชั่นเข้าไปเปิดเสริมในส่วนของที่มีการเปิดอิงลิช พลัส อยู่แล้ว อย่างที่ เสรีเซ็นเตอร์ และฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต
โดยการเปิดในเฟสแรกจะเป็นการสอนศิลปะสำหรับเด็กอายุ 2-13 ปี ส่วนเฟสที่สองจะเปิดในเดือนมกราคม 2551 เป็นการทำ ASP Program สำหรับเด็กอายุ 13-22 ปี โดยแบ่งออกเป็น 6 หลักสูตร คือ การปั้น, เปเปอร์มาเช่, วาดการ์ตูน, ศิลปะประดิษฐ์, และศิลปะเพื่อการเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัย และออกแบบนิเทศศิลป์ ส่วนเฟสที่สามจะนำครูต่างชาติเข้ามาสอนโดยจะเริ่มกลางปีหน้า
มาโนช กล่าวทิ้งท้ายว่า สำหรับการขยายตัวต่อไปของอาร์ตแอคชั่นมีบริษัทผลิตหนังสือจากประเทศมาเลเซียสนใจซื้อมาสเตอร์แฟรนไชส์ครอบคลุมตลาดอินโดจีน นอกจากนี้ ก็มีความสนใจจากจีนและอินเดีย ขณะเดียวกันบริษัทจะขยายหลักสูตรศิลปะไปยังกลุ่มโรงเรียนสาธิตฯ เช่นเดียวกับทำหลักสูตรภาษาอังกฤษ และอนาคตเล็งหลักสูตรวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เข้าเสริมอีกด้วย

'สมาร์ท อิงลิช' มุ่ง R&D แห่ลงทุนเกินเป้าที่ตั้งไว้
ด้าน "อาทิตย์ คงนคร" กล่าวว่า ที่ผ่านมามีการขยายตัวของสถานบันสอนภาษาอังกฤษอย่างต่อเนื่อง ทั้งแบรนด์ในประเทศและต่างประเทศ เนื่องจากการตื่นตัวของภาษาอังกฤษมีผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันโดยเฉพาะในองค์กรที่มีชาวต่างชาติ และความก้าวหน้าทางอาชีพ รวมถึงการเล็งเห็นความสำคัญของภาษาอังกฤษของพ่อแม่รุ่นใหม่ที่ต้องการให้ลูกมีความรู้ด้านภาษาที่ดี
จึงเกิดภาพการแข่งขันขึ้นในธุรกิจ แต่ในความเป็นจริงแล้วแต่ละสถาบันจะมีจุดขายที่แตกต่างกัน เช่น ช่วงอายุของผู้เรียน รูปแบบการเรียนการสอน
แต่ปัจจุบันกลับพบว่า ตลาดพบว่าการขยายตัวของสถาบันสอนภาษาอังกฤษค่อนข้างช้าลง โดยเฉพาะรายใหม่ๆ ได้มีการปิดตัวหรือหยุดขยายสาขา ที่ขยายตัวจะเป็นสถาบันที่อยู่ในธุรกิจมานาน ที่เห็นโอกาสและเข้ามทำถ้าไม่จริงจังหรือ Business Concept ไม่แน่นจะทยอยตายไปจากตลาด
และสำหรับการเติบโตของ สมาร์ท อิงลิช ที่ดำเนินการมา 12 ปีแล้วนั้น ปัจจุบันมีสาขาทั่วประเทศ 90 สาขา แม้ตลาดภาษาอังกฤษสำหรับเด็กเล็กแข่งขันกันสูงแต่สมาร์ท อิงลิช ขยายตัวต่อเนื่อง การตอบรับในปี 2550 นี้เกินเป้าที่ตั้งไว้ จากเป้าสาขาแฟรนไชส์ตั้งไว้ 10 สาขา ปรากฏว่าเพียงไตรมาสที่ 2 มีการขายแฟรนไชส์รายใหม่ 17 รายแล้ว การเติบโตที่เกิดขึ้นขยายไปยังต่างจังหวัดเพราะมีกำลังซื้อสูงในผู้ลงทุน และผู้บริโภคแต่ที่ผ่านมาไม่มีโปรดักส์เข้าไปขาย
การที่สมาร์ทอิงลิชสามารถตอบโจทย์ผู้เข้ามาร่วมลงทุนทำให้ปัจจุบันการคืนทุนเร็วขึ้น โดยแบ่งเป็นกลุ่มนักลงทุนใหม่ที่ไม่เคยทำธุรกิจมาก่อนระยะเวลาการคืนทุน 2 ปีถึงสองปีครึ่งจากเม็ดเงินการลงทุนทั้งสิ้น 500,000 บาท และอีกกลุ่มคือนักลงทุนที่มีสถาบันสอนภาษาอยู่แล้วและได้ซื้อแฟรนไชส์สมาร์ทอิงลิชการคืนทุนประมาณ 1 เดือนเท่านั้นเพราะมีฐานผู้เรียนเดิมอยู่แล้ว
นอกจากนี้การพัฒนาหลักสูตรของสมาร์ทอิงลิชไม่ได้หยุดนิ่ง เพื่อพัฒนาการในการเรียนรู้ ได้ทำ R&D เชิงลึกพัฒนาทักษะทั้ง 4 ด้าน ฟัง พูด อ่าน เขียน ซึ่งน้ำหนักของการพัฒนาธุรกิจนั้นมุ่งไปที่การวิจัยพัฒนาหลักสูตรมากที่สุด ขณะเดียวกันจะเห็นว่าเงินลงทุนกับสมาร์ทอิงลิชจะไม่สูงมากนัก เพราะมีการตกแต่งไม่มากฉะนั้นงบประมาณจะมุ่งที่การพัฒนาหลักสูตรมากกว่า
อาทิตย์ ให้ข้อมูลอีกว่า เมื่อคอนเซ็ปต์ธุรกิจแน่นการยอมรับของผู้ประกอบการสูงถือว่าประสบความสำเร็จในธุรกิจที่ไม่ได้ดูที่ยอดขายเป็นหลักแต่ดูที่การยอมรับจากผู้ลงทุน
โดยจะเห็นการขยับตัวได้จาก 3 แบรนด์ที่ดำเนินธุรกิจด้วยระบบแฟรนไชส์ ประกอบด้วย สมาร์ท อิงลิช (Smart English) ฟัน อิงลิช (Fun English) อิงลิช พลัส (English Plus) ตั้งแต่ไตรมาสสุดท้ายต่อเนื่องไปถึงต้นปี 2551
'ฟัน อิงลิช' แตกแบรนด์ ขยายฐานวัยทำงาน
"ฟัน อิงลิช" สถาบันสอนภาษาอังกฤษมานานกว่า 10 ปี ที่พัฒนาหลักสูตรด้วยคนไทย คือ “จารุวรรณ ไกรเทพ” ที่เห็นความสำคัญของเรื่อง "Phonics" หรือการออกเสียง สำเนียงให้ถูกต้องตามต้นแบบของภาษาอังกฤษ และนับเป็นรายแรกและรายเดียวที่ชูจุดขายเรื่อง Phonics
จารุวรรณ บอกว่า ปัจจุบันพิสูจน์แล้วว่าตลาดสถาบันการศึกษาให้ความสำคัญกับการสอนเรื่อง Phonics มากขึ้นจะเห็นได้ว่าหลายสถาบันมีการเพิ่มหลักสูตรดังกล่าว และการเติบโตจากสาขาแฟรนไชซี 25 สาขาทั่วประเทศ และฐานผู้เรียนในแต่ละสาขาก็เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง รวมถึงการขยายเครือข่ายมาจากต่างประเทศ
ทั้งนี้เธอยอมรับว่า ด้วยระบบแฟรนไชส์ต้องมีการขยายเครือข่าย แต่ด้วยภาวการณ์ลงทุนในปัจจุบันอาจไม่เอื้อให้เกิดการลงทุนใหม่มากนัก ทำให้สถาบันมุ่งพัฒนาหลักสูตรขยายฐานผู้เรียนให้กว้างขึ้น จากเดิมมุ่งที่กลุ่มเด็ก สู่ตลาดกลุ่มวัยทำงาน บริษัทต่างๆ
และด้วยความรู้ ประสบการณ์ในวงการธุรกิจมานาน ทำให้เห็นช่องทางการต่อยอดธุรกิจ ล่าสุด อยู่ระหว่างการแตกแบรนด์ใหม่ มุ่งจับกลุ่มตลาดบริษัท สอนภาษาอังกฤษเพื่อใช้ในงานและการสอบเพื่อศึกษาต่อยังต่างประเทศ โดยบริษัทจะดำเนินการเอง
"เรามองเห็นตลาดใหญ่ที่รออยู่ข้างหน้า หลายองค์กรใช้ความรู้ภาษาอังกฤษในการพิจารณาเงินเดือนทำให้กลุ่มคนทำงานสนใจเพิ่มพูนความรู้ ประกอบกับคนทั่วไป หรือเด็กๆ การเรียนรู้ผ่าน Internet มากขึ้น ต้องใช้ความรู้ภาษาอังกฤษมาเป็นตัวช่วย"
ศรวีย์ พรมมา เอ็มดีบริษัท กล่าวเสริมว่าจะเห็นใน ปี 2551 ที่บริษัทจะเปิดตลาดเชิงรุก นอกจากการเปิดตัวแบรนด์ใหม่เพื่อขยายฐานลูกค้าแล้วนั้น ส่วนฟัน อิงลิช ที่เป็นระบบแฟรนไชส์ ยังพบโอกาสของธุรกิจสูงมาก หากพิจารณาจากเงินลงทุน ตอบโจทย์ผู้ที่เข้ามาลงทุนได้ไม่ยาก พื้นที่ขนาด 200 ตร.ม. ทำเลในห้างสรรพสินค้าการลงทุนที่ล้นบาทเศษ ส่วนอาคารพาณิชย์ 3 ชั้น 1 คูหาลงทุน 7 แสนบาท เงินลงทุนไม่สูงเมื่อเทียบแบรนด์อื่นๆ หรือจากต่างประเทศ และการลงทุนระดับแสนเป็นฐานผู้ลงทุนกลุ่มใหญ่ในไทย
ศรวีย์ ยังมองโอกาสธุรกิจที่เติบโตพร้อมกับทำเลใหม่ที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะ Community Mall ที่เกิดขึ้นจำนวนมาก เขายกตัวอย่างที่เห็นในปัจจุบันย่านรังสิตผู้ประกอบรวมตัวกันเป็นศูนย์สอนเสริมเด็กหลังเวลาเลิกเรียน รถรับส่งเด็กจะมาส่งเรียนเพิ่มที่ศูนย์แห่งนี้และผู้ปกครองมาแวะรับ
และเขายังมองว่าพฤติกรรมของคนไทยให้ความนิยมกับการเรียนเสริม ไม่ว่าจะเป็นคนที่เรียนเก่ง หรือจบการศึกษาสูงขนาดไหนก็ตามถ้าไม่เรียนอาจตกเทรนด์ได้ ซึ่งเรียกว่า "Peer Pressure" นับเป็นโอกาสของธุรกิจ
จารุวรรณ กล่าวเพิ่มเติมว่า เมื่อเปรียบเทียบการขยายตัวปริมาณสาขาอาจช้ากว่าที่ผ่านมาแต่จำนวนผู้เรียนในแต่ละสาขาเพิ่มขึ้น และแนวโน้มพบผู้ประกอบการรุ่นใหม่ๆ เลือกลงทุนกับธุรกิจการศึกษามากขึ้น ด้วยเล็งเห็นโอกาสของภาษาที่มีความสำคัญ เป็นธุรกิจที่ได้รับการยกเว้นการจ่ายภาษีเงินได้ และเป็นธุรกิจที่สามารถทำได้ในระยะยาวปัจจัยกระทบน้อยเมื่อเทียบธุรกิจอื่นๆ
'อิงลิช พลัส' เปิด 'อาร์ตแอคชั่น' ดับเบิ้ลแบรนด์ ดับเบิ้ลอิมแพค
ด้าน มาโนช เพศยนาวิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อีแอลที คอมมิวนิเคชั่น จำกัด หรือ ELT ผู้สร้างแบรนด์ “อิงลิช พลัส” ให้ข้อมูลว่า ไตรมาสสุดท้ายของปี 2550 นี้ ได้เปิดแบรนด์ศิลปะ “อาร์ตแอคชั่น” ชูคอนเซ็ปต์ “ดับเบิ้ลแบรนด์ ดับเบิ้ลอิมแพค” เล็งเห็นว่า การเปิด 2 แบรนด์ในพื้นที่เดียวกันยังเป็นการช่วยแฟรนไชซีในการเพิ่มฐานการใช้บริการด้วย
ขณะเดียวกันพบว่าความนิยมของผู้ปกครองในการสนับสนุนลูกให้เรียนศิลปะมากขึ้น เนื่องจากรู้ว่าศิลปะทำให้เด็กมีสมาธิ มีความตั้งใจมุ่งมั่นและเป็นการพัฒนาทั้งสมองซีกซ้ายและขวา ฉะนั้นการเรียนรู้สามารถควบคู่ทั้งภาษาอังกฤษและศิลปะและสะดวกภายในสถานบันเดียวกัน นอกจากนี้มองว่าศิลปะที่เด็กมีความสนใจเป็นพื้นฐานอยู่แล้วนั้นจะชักนำให้เกิดความสนใจและเรียนรู้ภาษาอังกฤษมากขึ้น เพราะการเรียนการสอนศิลปปะในอนาคตอันใกล้จะพัฒนาเป็นการสอนด้วยภาษาอังกฤษทั้งหมด
มาโนช ให้เหตุผลของการขยายสู่การสอนศิลปะเพราะการเติบโตในส่วนนี้สูงมาก การการสำรวจพบแบรนด์ที่สอนศิลปะมีมากกว่า 40 แห่ง เฉพาะในห้างสรรพสินค้าที่มี Education Zone นั้นมีไม่ต่ำกว่า 10 แบรนด์ที่เปิดสอน เช่น ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลปิ่นเกล้า
สำหรับเป้าหมายในการขยายสาขาคาดว่าปีหน้าจะเปิดสาขาแฟรนไชส์แบบ “ดับเบิ้ลแบรนด์ ดับเบิ้ลอิมแพค” ให้ได้ 10 สาขา ใช้พื้นที่ 200 ตารางเมตร งบลงทุน 2 ล้านบาท ส่วนการเปิดแบบแยกแบรนด์น่าจะเปิดได้แบรนด์ละ 10 สาขา และอาจจะมีการนำแบรนด์อาร์ตแอคชั่นเข้าไปเปิดเสริมในส่วนของที่มีการเปิดอิงลิช พลัส อยู่แล้ว อย่างที่ เสรีเซ็นเตอร์ และฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต
โดยการเปิดในเฟสแรกจะเป็นการสอนศิลปะสำหรับเด็กอายุ 2-13 ปี ส่วนเฟสที่สองจะเปิดในเดือนมกราคม 2551 เป็นการทำ ASP Program สำหรับเด็กอายุ 13-22 ปี โดยแบ่งออกเป็น 6 หลักสูตร คือ การปั้น, เปเปอร์มาเช่, วาดการ์ตูน, ศิลปะประดิษฐ์, และศิลปะเพื่อการเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัย และออกแบบนิเทศศิลป์ ส่วนเฟสที่สามจะนำครูต่างชาติเข้ามาสอนโดยจะเริ่มกลางปีหน้า
มาโนช กล่าวทิ้งท้ายว่า สำหรับการขยายตัวต่อไปของอาร์ตแอคชั่นมีบริษัทผลิตหนังสือจากประเทศมาเลเซียสนใจซื้อมาสเตอร์แฟรนไชส์ครอบคลุมตลาดอินโดจีน นอกจากนี้ ก็มีความสนใจจากจีนและอินเดีย ขณะเดียวกันบริษัทจะขยายหลักสูตรศิลปะไปยังกลุ่มโรงเรียนสาธิตฯ เช่นเดียวกับทำหลักสูตรภาษาอังกฤษ และอนาคตเล็งหลักสูตรวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เข้าเสริมอีกด้วย
'สมาร์ท อิงลิช' มุ่ง R&D แห่ลงทุนเกินเป้าที่ตั้งไว้
ด้าน "อาทิตย์ คงนคร" กล่าวว่า ที่ผ่านมามีการขยายตัวของสถานบันสอนภาษาอังกฤษอย่างต่อเนื่อง ทั้งแบรนด์ในประเทศและต่างประเทศ เนื่องจากการตื่นตัวของภาษาอังกฤษมีผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันโดยเฉพาะในองค์กรที่มีชาวต่างชาติ และความก้าวหน้าทางอาชีพ รวมถึงการเล็งเห็นความสำคัญของภาษาอังกฤษของพ่อแม่รุ่นใหม่ที่ต้องการให้ลูกมีความรู้ด้านภาษาที่ดี
จึงเกิดภาพการแข่งขันขึ้นในธุรกิจ แต่ในความเป็นจริงแล้วแต่ละสถาบันจะมีจุดขายที่แตกต่างกัน เช่น ช่วงอายุของผู้เรียน รูปแบบการเรียนการสอน
แต่ปัจจุบันกลับพบว่า ตลาดพบว่าการขยายตัวของสถาบันสอนภาษาอังกฤษค่อนข้างช้าลง โดยเฉพาะรายใหม่ๆ ได้มีการปิดตัวหรือหยุดขยายสาขา ที่ขยายตัวจะเป็นสถาบันที่อยู่ในธุรกิจมานาน ที่เห็นโอกาสและเข้ามทำถ้าไม่จริงจังหรือ Business Concept ไม่แน่นจะทยอยตายไปจากตลาด
และสำหรับการเติบโตของ สมาร์ท อิงลิช ที่ดำเนินการมา 12 ปีแล้วนั้น ปัจจุบันมีสาขาทั่วประเทศ 90 สาขา แม้ตลาดภาษาอังกฤษสำหรับเด็กเล็กแข่งขันกันสูงแต่สมาร์ท อิงลิช ขยายตัวต่อเนื่อง การตอบรับในปี 2550 นี้เกินเป้าที่ตั้งไว้ จากเป้าสาขาแฟรนไชส์ตั้งไว้ 10 สาขา ปรากฏว่าเพียงไตรมาสที่ 2 มีการขายแฟรนไชส์รายใหม่ 17 รายแล้ว การเติบโตที่เกิดขึ้นขยายไปยังต่างจังหวัดเพราะมีกำลังซื้อสูงในผู้ลงทุน และผู้บริโภคแต่ที่ผ่านมาไม่มีโปรดักส์เข้าไปขาย
การที่สมาร์ทอิงลิชสามารถตอบโจทย์ผู้เข้ามาร่วมลงทุนทำให้ปัจจุบันการคืนทุนเร็วขึ้น โดยแบ่งเป็นกลุ่มนักลงทุนใหม่ที่ไม่เคยทำธุรกิจมาก่อนระยะเวลาการคืนทุน 2 ปีถึงสองปีครึ่งจากเม็ดเงินการลงทุนทั้งสิ้น 500,000 บาท และอีกกลุ่มคือนักลงทุนที่มีสถาบันสอนภาษาอยู่แล้วและได้ซื้อแฟรนไชส์สมาร์ทอิงลิชการคืนทุนประมาณ 1 เดือนเท่านั้นเพราะมีฐานผู้เรียนเดิมอยู่แล้ว
นอกจากนี้การพัฒนาหลักสูตรของสมาร์ทอิงลิชไม่ได้หยุดนิ่ง เพื่อพัฒนาการในการเรียนรู้ ได้ทำ R&D เชิงลึกพัฒนาทักษะทั้ง 4 ด้าน ฟัง พูด อ่าน เขียน ซึ่งน้ำหนักของการพัฒนาธุรกิจนั้นมุ่งไปที่การวิจัยพัฒนาหลักสูตรมากที่สุด ขณะเดียวกันจะเห็นว่าเงินลงทุนกับสมาร์ทอิงลิชจะไม่สูงมากนัก เพราะมีการตกแต่งไม่มากฉะนั้นงบประมาณจะมุ่งที่การพัฒนาหลักสูตรมากกว่า
อาทิตย์ ให้ข้อมูลอีกว่า เมื่อคอนเซ็ปต์ธุรกิจแน่นการยอมรับของผู้ประกอบการสูงถือว่าประสบความสำเร็จในธุรกิจที่ไม่ได้ดูที่ยอดขายเป็นหลักแต่ดูที่การยอมรับจากผู้ลงทุน